อย่างที่รู้กันว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว นั่นหมายความว่าเรากำลังเผชิญหน้ากับผลกระทบในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านสุขภาพที่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด เพราะผู้สูงวัยเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง รวมถึง ‘โรคอัลไซเมอร์’ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นในทุกๆ ปี จากข้อมูลของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยอัลไซเมอร์เกือบ 1 ล้านคนแล้ว หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 100,000 คนต่อปี และคาดการณ์ว่าเราจะมีผู้ป่วยอัลไซเมอร์ราว 1,177,000 คน ภายในพ.ศ. 2573
มหันตภัย อัลไซเมอร์
เมื่อผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปต่างก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นอัลไซเมอร์กันมากขึ้น โดยพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 10-15% และผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปพบมากถึง 20-30% ผู้ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ไม่ได้มีแค่เพียงอาการหลงลืมเท่านั้น แต่เมื่ออาการของโรคดำเนินไป ผู้ป่วยจะเกิดความบกพร่องในการรู้คิดด้านอื่นด้วย เช่น หลงทาง กลับบ้านไม่ถูก เริ่มทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองไม่ได้ แม้จะเป็นเรื่องง่ายๆ อย่างการแปรงฟันหรือแต่งตัวก็ตาม
นอกจากนั้น ผู้ป่วยยังสูญเสียความสามารถในการคิดอย่างที่เคยทำได้ เช่น คิดเลขไม่ได้ ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษา ไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง รวมถึงมีปัญหาด้านอารมณ์ ความผิดปกติทางจิต และประสาทหลอน เป็นต้น จนเมื่อโรคเข้าสู่ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย ทำให้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง สร้างความลำบากให้แก่ทั้งตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวจึงจำเป็นต้องใช้ผู้ดูแลมืออาชีพมาดูแล ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคอัลไซเมอร์ที่รักษาให้หายขาดได้ ยาที่แพทย์ใช้ในปัจจุบันมีคุณสมบัติช่วยชะลออาการของโรคเพื่อเข้าสู่ระยะท้ายให้ช้าที่สุด
ผลกระทบทางการเงินที่เกิดจากโรคอัลไซเมอร์
หลายคนอาจจะมองผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้น มีเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามปกติเหมือนกับโรคอื่นทั่วๆ ไป แต่คุณรู้หรือไม่ว่า โรคอัลไซเมอร์นั้นมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงอยู่มากมายอย่างที่คุณคาดไม่ถึง
ค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ สำหรับครอบครัวผู้ป่วยอัลไซเมอร์
ด้านการตรวจวินิจฉัยการรักษา
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่น ค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัย ค่าการตรวจวินิจฉัยระดับสูงที่ใช้ในการแยกโรค เช่น MRI สมอง หรือ PET scan สมอง ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งตัวโรคอัลไซเมอร์เองและโรคผู้สูงอายุที่เป็นอยู่ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคอัลไซเมอร์เข้าสู่ระยะท้ายได้ไวกว่าปกติ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน เป็นต้น
ด้านการดูแลผู้ป่วย
- ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย เนื่องจากภาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินไปของโรค จำเป็นต้องมีผู้ดูแลคอยดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
- ค่าวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น แพมเพิร์ส เมื่อผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการขับถ่าย หรือค่าอาหารเสริม เมื่อผู้ป่วยทานอาหารได้ลำบากมากขึ้น
- ค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมบำบัดต่างๆ เพื่อชะลอไม่ให้อาการของโรคแย่ลงอย่างรวดเร็วจนเกินไป
ด้านของผู้ดูแล
- ค่าสูญเสียโอกาสในการทำงาน ทั้งของตัวผู้ป่วยเอง หากถูกวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ในช่วงท้ายของวัยทำงาน หรือ แม้กระทั่งตัวผู้ดูแลที่อาจจะต้องออกจากงานเพื่อมาดูแลพ่อแม่ที่ป่วยด้วยโรคนี้
- ค่ารักษาความเจ็บป่วยทางใจของผู้ดูแล อันเกิดจากอาการทางพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ก้าวร้าว มีอารมณ์ที่รุนแรง ส่งผลให้ผู้ดูแลบางท่านเกิดอาการเครียด มีอาการซึมเศร้า จนต้องขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์
- ภาระทางใจของผู้ดูแลและคนในครอบครัว อันเนื่องมาจากอาการและพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้นของผู้ป่วย จนอาจเกิดเป็นความเครียด ความเศร้าเสียใจของคนในครอบครัวที่เราไม่สามารถประเมินมูลค่าได้
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงต่างๆ ที่ไม่สามารถจำแนกได้หมด เช่นนี้แล้วคงจะดีไม่น้อย หากเรามีการวางแผนด้านสุขภาพและการเงินไว้ล่วงหน้า เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นหากเป็นโรคอัลไซเมอร์ในอนาคตตั้งแต่วันนี้
อีกหนึ่งทางเลือกเพื่ออนาคต ‘ผลิตภัณฑ์แรก’ ที่ให้ความคุ้มครองผู้ป่วย ‘โรคอัลไซเมอร์ทุกระยะ’
การมีสุขภาพที่ยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับทุกคนในสังคม แต่ในบางครั้งความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงอาจมาเยี่ยมเยื่อนเราโดยไม่คาดคิด การมีประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรัก รวมทั้งครอบครัวมั่นใจได้ว่าจะไม่ประสบปัญหาด้านการเงินในการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตจากปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่คาดไม่ถึง
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ) จัดให้โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งใน 50 โรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง โดยอนุญาตให้บริษัทประกันสามารถออกกรมธรรม์ที่ครอบคลุมโรคนี้เฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อยู่ในระยะท้าย (หรือสูญเสียกิจวัตรประจำวันตามที่ระบุในประกาศ คปภ) เท่านั้น ดังนั้นที่ผ่านมาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะแรกเริ่มจนถึงระยะกลาง (Early-Intermediate Stage) จึงไม่สามารถได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันในประเทศไทยได้
ดังนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรคอัลไซเมอร์ที่สร้างความยากลำบากให้แก่ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว บริษัท เอไซ (ประเทศไทย) มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยาด้านการรักษาโรคอัลไซเมอร์และเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์มาตลอด ได้จับมือกับ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) พัฒนานวัตกรรมสินค้าขยายความคุ้มครองโรคอัลไซเมอร์ครอบคลุมทุกระยะของโรคเป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยได้รับอนุมัติจาก คปภ. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ‘ไทยประกันชีวิต พร้อมเพย์ 108 โรคร้าย ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความคุ้มครองการรักษาทุกระยะโรคอัลไซเมอร์’ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงทางเลือกการรักษาที่ดีที่สุด และลดภาระครอบครัวในระยะยาว โดยได้ขยายความคุ้มครองครอบคลุมการรักษาโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นรวมผลประโยชน์สูงสุด 25% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ระยะปานกลางรวมผลประโยชน์สูงสุด 50% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย และความคุ้มครองเดิมกรณีป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์เฉพาะระยะรุนแรง รวมผลประโยชน์สูงสุด 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
สุดท้ายถึงแม้จะมีประกันที่ช่วยแบกรับความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์แล้วก็ตาม แต่การดูแลสุขภาพด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรค รวมถึงการหมั่นสังเกตุและดูแลสุขภาพสมองให้ดีอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง พร้อมที่จะดูแลสุขภาพของตัวเองกันหรือยังคะ
–