อาการอัลไซเมอร์ระยะแรก สังเกตให้ดี เพื่อรักษาอย่างตรงจุด

Health

รู้หรือไม่ว่าอาการอัลไซเมอร์ระยะแรกนั้นเป็นอาการที่ต้องเฝ้าระวังและคอยสังเกตให้ดี เพราะเพียงแค่อาการเริ่มแรกอัลไซเมอร์ก็สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นการหมั่นสังเกตอาการเริ่มแรกของอัลไซเมอร์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพื่อป้องกันอัลไซเมอร์ไม่ให้มีอาการลุกลามมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถดูแลโรคอัลไซเมอร์ระยะแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการอัลไซเมอร์ระยะแรกมักจะพบมากในผู้สูงอายุ โดยมักจะเกิดขึ้นจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างเนื้อเยื่อสมอง ทำให้มีอาการหลงลืมเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงต้องเฝ้าระวังผู้สูงอายุใกล้ตัวว่ามีสัญญาณเตือนของอาการเริ่มแรกอัลไซเมอร์หรือไม่ 

อัลไซเมอร์เกิดจากหลากหลายปัจจัย ทั้งการเสื่อมของการทำงานหรือโครงสร้างเนื้อเยื่อของสมอง และปัจจัยอื่น ๆ อย่างพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และอายุ หรือสรุปได้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวันก็สามารถส่งผลต่อการเกิดอาการอัลไซเมอร์ระยะแรกได้ ซึ่งจะสามารถสังเกตสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ได้ดังนี้

  • เริ่มหลงลืมเหตุการณ์ระยะสั้น
  • ถามถึงสิ่งเดิมซ้ำ ๆ
  • ไม่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
  • ไม่สามารถวางแผนได้
  • ไม่สามารถทำสิ่งที่คุ้นเคยได้
  • มีปัญหาด้านการพูดและการเขียน
  • สับสนชั่วขณะ
  • ลืมของไว้ในที่ที่ไม่ควร
  • ความสามารถในการตัดสินใจลดลง
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป
  • บุคลิกภาพไม่เหมือนเดิม

หากสังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ก็อาจจะหมายความว่าผู้สูงอายุเริ่มมีอาการเริ่มแรกอัลไซเมอร์แล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องดูแลผู้สูงอายุที่มีสัญญาณเหล่านี้อย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะสามารถดูแลอาการเริ่มแรกของอัลไซเมอร์ได้อย่างตรงจุด

ในเมื่ออัลไซเมอร์เกิดจากหลายปัจจัยทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เจอในชีวิตประจำวัน ก็จะต้องหมั่นสังเกตผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาการอัลไซเมอร์ระยะแรกจะเป็นอย่างไร? ไปดูกัน

อาการเริ่มแรกอัลไซเมอร์ที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คือความจำที่ถดถอยลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะเมื่อมีอาการความจำถดถอยแล้วจะส่งผลให้หลงลืมสิ่งต่าง ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย รวมถึงลืมชื่อคนรู้จัก ลืมวิธีทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

เมื่อสังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุเริ่มมีอาการทำกิจวัตรประจำวันลำบากก็นับว่าเป็นอาการเริ่มแรกของอัลไซเมอร์ เพราะความสามารถที่ถดถอยนั้นจะเกิดจากการทำงานของสมองที่ไม่เหมือนเดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  • การใส่เสื้อผ้า
  • การกินอาหาร
  • การใช้โทรศัพท์
  • การอาบน้ำ

อาการของโรคอัลไซเมอร์จะทำให้ผู้สูงอายุหลงลืมตำแหน่งที่วางสิ่งของหรือนำสิ่งของไปวางไว้ในตำแหน่งที่ไม่ควรวาง หรือเก็บของแล้วจำไม่ได้ว่านำไปวางไว้ที่ไหน ซึ่งการหลงลืมแบบนี้จะกระทบกับการใช้ชีวิตโดยตรงและอาจจะทำให้รู้สึกว่าสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้เก็บไว้เป็นที่แล้วหายไปอยู่บ่อย ๆ 

อาการอัลไซเมอร์ระยะแรกจะทำให้ผู้สูงอายุมีอาการสับสนเวลา สถานที่ จนมักจะมีเหตุการณ์หลงทางในสถานที่ที่คุ้นเคย ออกจากบ้านอย่างไร้จุดหมาย ไม่รู้วันที่ ไม่รู้ฤดูกาล ซึ่งเมื่อมีอาการแบบนี้แล้วก็จะส่งผลให้ใช้ชีวิตได้ยากและลำบากมากกว่าปกติและต้องมีคนคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา

โรคอัลไซเมอร์จะทำให้มีปัญหาในด้านการสื่อสารแบบเห็นได้ชัด เพราะการทำงานของสมองจะมีประสิทธิภาพลดลง ส่งผลให้การเรียบเรียงคำหรือการสร้างประโยคนั้นกลายเป็นเรื่องยาก ซึ่งจะสามารถพบได้อยู่บ่อยครั้ง ว่าผู้สูงอายุที่เป็นอัลไซเมอร์มักจะลืมคำพูดคำที่ต้องการสื่อสาร หรือใช้คำที่ผิดความหมายได้ เป็นต้น

อีกหนึ่งอาการที่พบได้ในโรคอัลไซเมอร์ระยะแรกก็คือปัญหาในด้านของการทำความเข้าใจสิ่งที่เห็น เช่น ตัวเลข ระยะทาง ตัวหนังสือ และการรับรู้สี ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เช่น ไม่สามารถขับรถเองได้

อีกหนึ่งอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำเป็นอย่างมากก็คือการสูญเสียความสามารถในการตัดสินใจ เพราะจะทำให้ไม่สามารถตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น การเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ เป็นต้น

อาการอัลไซเมอร์ระยะแรกจะส่งผลให้มีพฤติกรรมที่มีอารมณ์แปรปรวนแบบเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย หรืออารมณ์สลับไปมาโดยไม่มีเหตุผล และที่สำคัญคืออาจจะมีอาการหวาดระแวงคนในครอบครัวด้วย

อาการอัลไซเมอร์ระยะแรกอาจจะทำให้ผู้สูงอายุไม่อยากพบเจอกับผู้คนและปลีกตัวออกจากสังคมรอบข้าง และยังมีอาการหมดความสนใจในสิ่งที่ชื่นชอบหรืองานอดิเรกอีกด้วย

เราสามารถดูแลผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากอาการอัลไซเมอร์ระยะแรกได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้วิธีชะลอไม่ให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ที่สามารถทำได้ในการใช้ชีวิตประจำวันและสามารถเริ่มต้นทำได้เลยในทันที ซึ่งวิธีการชะลอโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีอะไรบ้าง? ตามไปดูกันได้เลย

  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • กินอาหารที่มีประโยชน์
  • กินอาหารที่มีสัดส่วนพอดีกับร่างกาย
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 30 นาที
  • ตรวจและดูแลระดับความดันโลหิต
  • ทำกิจกรรมที่กระตุ้นการทำงานของสมอง

เพียงนำวิธีเหล่านี้ไปปรับเป็นกิจวัตรประจำวันก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี เพราะการทำกิจกรรมที่เหมาะสมอย่างการออกกำลัง การกินอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดจะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และที่สำคัญการทำกิจกรรมที่กระตุ้นการทำงานของสมองก็จะสามารถทำให้สมองได้ทำงานและลดโอกาสการเป็นอัลไซเมอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางหรือวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งการทำกิจกรรมกระตุ้นการทำงานของสมองจะสามารถหลีกเลี่ยงโอกาสการเกิดอาการอัลไซเมอร์ระยะแรกได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น

  • นวดขมับทั้งสองข้างเบา ๆ เป็นวงกลม และกวาดสายตาไปซ้ายขวา 30 วินาที เพื่อทำให้สมองทั้งสองซีกทำงานสมดุลกัน
  • ทำสมาธิเป็นประจำจะทำให้จิตใจสงบ จดจ่อกับสิ่งตรงหน้า กระตุ้นความทรงจำ และช่วยให้สมองทำงานได้ดี
  • เต้นรำกับดนตรีแนวต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มทักษะการเคลื่อนไหว การทรงตัว และการรับรู้สิ่งรอบข้าง
  • เล่นเกมฝึกสมองระหว่างวันจะเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองได้เป็นอย่างดี
  • เล่นดนตรีจะเป็นการเปิดการรับรู้และการสื่อสารของประสาทสัมผัส 
  • ทำกิจกรรมที่ใช้มือเป็นหลัก เช่น การถักไหมพรม วาดภาพ ระบายสี และอื่น ๆ จะช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวและทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้้น
  • เรียนภาษาต่างประเทศสามารถช่วยสมองกระตุ้นการเรียนรู้และการจดจำ ทั้งการฟัง การอ่าน และการเขียน 

จะเห็นได้ว่าอาการอัลไซเมอร์ระยะแรกนั้นจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำหลากหลายด้าน ทำให้ต้องหมั่นสังเกตอย่างละเอียดว่าผู้สูงอายุใกล้ตัวมีสัญญาณเตือนระยะของอาการเริ่มแรกอัลไซเมอร์หรือยัง เพื่อที่จะได้สามารถดูแลอาการเริ่มแรกของอัลไซเมอร์อย่างถูกต้องและตรงจุด รวมถึงทำให้โรคอัลไซเมอร์ระยะแรกมีอาการดีขึ้นจนไม่ส่งกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้อย่างแท้จริง

บทความที่เกี่ยวข้อง