สาเหตุต่อมลูกหมากโตคืออะไร ทำไมถึงเป็นภัยร้ายของผู้ชายที่ต้องรับมือ

Health

สาเหตุต่อมลูกหมากโตถือเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คุณผู้ชายมักจะต้องพบเจอกับปัญหาทางสุขภาพและอาการเจ็บปวดต่างๆ มากมาย เพราะไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของต่อมลูกหมากโตแบบไหนก็อาจนำไปสู่อาการที่รุนแรง และมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนสุดอันตรายด้วยกันทั้งสิ้น วันนี้เราจึงจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต และแนวทางการรับมือกับโรคนี้ไปพร้อมกัน 

โรคต่อมลูกหมากโต หรือ Benign Prostate Hyperplasia (BPH) เป็นโรคที่ต่อมลูกหมากของคุณผู้ชายจะมีขนาดที่ใหญ่หรือโตมากเกินกว่าปกติที่ควรจะเป็น ซึ่งถือได้ว่าโรคนี้เป็นโรคที่สร้างความหนักใจและสร้างความทุกข์ทรมานทางกายให้กับเหล่าคุณผู้ชายทั้งหลายเป็นอย่างมาก เพราะผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะมีอาการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งการดำเนินชีวิต และนำไปสู่ความอันตรายอื่นๆ ตามมา 

โดยโรคต่อมลูกหมากโตนั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคุณผู้ชายที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป และยิ่งมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น นั่นก็เป็นเพราะเมื่อคุณผู้ชายมีอายุมากขึ้น ฮอร์โมนก็จะเริ่มลดลงและต่อมลูกหมากก็จะค่อยๆ โตขึ้นตามอายุ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วต่อมลูกหมากของผู้ชายที่มีอายุ 20 ปี จะมีขนาดประมาณ 20 กรัม และจะค่อยๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่หากมันโตขึ้นมากเกินมากกว่าปกติก็จะกลายเป็นปัญหา และทำให้เกิดเป็นโรคต่อมลูกหมากโตได้นั่นเอง 

และถึงแม้การที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นเพียงเล็กน้อยอาจไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่มันมีขนาดที่ใหญ่เกินกว่าปกติ และร้ายแรงไปถึงขั้นเป็นโรคต่อมลูกหมากโตจะทำให้เกิดผลเสียมากมายตามมา เพราะต่อมลูกหมากที่มีขนาดใหญ่เกินไปจะกดทับกับท่อปัสสาวะของคุณผู้ชาย ทำให้ท่อปัสสาวะมีขนาดที่เล็กหรือแคบลง อีกทั้งการกดทับยังส่งผลให้ผนังกล้ามเนื้อของเพาะปัสสาวะของคุณผู้ชายหนาขึ้นเรื่อยๆ เพราะกระเพาะปัสสาวะจะต้องทำงานหนักขึ้นและบีบตัวแรงขึ้นเพื่อลำเลียงน้ำปัสสาวะผ่านท่อที่มีขนาดที่เล็กลง ซึ่งภาวะเหล่านี้นี่เองที่ทำให้คุณผู้ชายได้รับผลกระทบต่างๆ มากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็นการปัสสาวะติดขัด การปัสสาวะบ่อยจากกระเพาะปัสสาวะที่กักเก็บน้ำปัสสาวะลดลง หรือแม้กระทั่งการมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยเกินไป หรือมีการปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหัน

ความรุนแรงของโรคนี้ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะหากไม่สามารถรับมือกับโรคนี้ได้อย่างทันท่วงทีก็อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ และเพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับโรคสุดอันตรายของคุณผู้ชายอย่างโรคต่อมลูกหมากโตกันให้มากขึ้น เราก็ได้รวบรวมสาเหตุโรคต่อมลูกหมากโต อาการของโรคต่อมลูกหมากโตสาเหตุต่างๆ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การวินิจฉัยและการรักษา รวมถึงแนวทางการรับมือกับโรคนี้มาให้ทุกคนแล้ว ตามเราไปอ่านกันต่อได้เลย!

รวมสาเหตุต่อมลูกหมากโตที่คุณผู้ชายต้องรู้

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคต่อมลูกหมากโตนั้น ได้มีการวินิจฉัยมาแล้วว่ามีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้

อายุที่เพิ่มมากขึ้น

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นก็ล้วนส่งผลกระทบให้ระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ในร่างกายลดน้อยลง ซึ่งมักจะทำให้เกิดปัญหาความเจ็บป่วยและโรคร้ายต่างๆ ตามมา โรคต่อมลูกหมากโตก็เป็นหนึ่งในนั้น เพราะโรคต่อมลูกหมากโตจะพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และจะมีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้นหากพบในผู้ที่มีอายุมาก นั่นหมายความว่าคุณผู้ชายที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่อมลูกหมากโตนั้น ก็คือผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปนั่นกว่า

และนอกจากนี้ยังได้มีการยืนยันออกมาแล้วว่าโรคต่อมลูกหมากโตจัดเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเพศชายที่กำลังอยู่ในช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายเริ่มลดลง ซึ่งส่งผลให้โรคนี้เป็นโรคที่พบได้ถึง 80% ของชายสูงอายุวัย ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป และจะไม่ค่อยพบในกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ที่ฮอร์โมนในร่างกายจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่า

การมีปัญหาต่างๆ ทางสุขภาพต่างๆ 

อีกหนึ่งสาเหตุของต่อมลูกหมากโต ที่ถือได้ว่าเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ส่งผลให้คุณผู้ชายต้องป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโตนั่นก็คือการที่คุณผู้ชายมีปัญหาทางสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมลูกหมาก อาทิ

  • มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • มีภาวะท่อปัสสาวะตีบ 
  • มีอาการต่อมลูกหมากอักเสบ
  • มีภาวะเส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะทำงานอย่างผิดปกติ
  • เป็นแผลเป็นในคอกระเพาะปัสสาวะ (จากการผ่าตัด)
  • เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 
  • เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือเป็นนิ่วในไต

การใช้สมุนไพรบางชนิด

การใช้สมุนไพรต่างๆ อาจไม่ได้ส่งผลที่ดีต่อร่างกายเสมอไป เพราะได้มีการศึกษาวิจัยและพบว่าการใช้สมุนไพรบางชนิดก็อาจเป็นสาเหตุต่อมลูกหมากโตได้ โดยเฉพาะสมุนไพรที่ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนเพศชาย หรือเป็นสมุนไพรที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายเพิ่มสูงขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็ยังได้มีการศึกษาเพื่อนำสมุนไพรต่างๆ มาใช้เพื่อการบรรเทาอาการและใช้ประกอบการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากต้องการใช้สมุนไพรแต่ยังไม่มั่นใจในสรรพคุณ เราขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรวิทยาก่อนการใช้ยา เพื่อความปลอดภัยและห่างไกลจากโรคต่างๆ นั่นเอง

การป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ 

นอกจากปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตที่เราได้เล่าไปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุโรคต่อมลูกหมากโตที่ส่งผลมาจากการป่วยเป็นโรคที่ส่งผลทางอ้อมต่อการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต นั่นก็คือการป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ 

เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการศึกษาและพบว่าผู้ป่วยชายที่เป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ อาจนำไปสู่การป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโตในอนาคตได้ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาในกลุ่ม Beta Blockers (เบต้า บล็อกเกอร์) เพื่อการรักษาโรคหัวใจ หรือโรคอื่นๆ อย่างโรคความดันโลหิตสูงและโรควิตกกังวล เนื่องจากการใช้ยาประเภทนี้อาจจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อมลูกหมากโตในอนาคตได้

สังเกตตัวเองสักนิด! อาการแบบไหน ที่ใช่ภาวะต่อมลูกหมากโต

จากสาเหตุต่อมลูกหมากโตที่เราได้แนะนำไป หากใครที่เป็นกังวลว่าตัวเองจะเป็นโรคต่อมลูกหมากโตอยู่หรือเปล่า เราขอแนะนำให้สำรวจและตรวจเช็กอาการของตัวเองอยู่เสมอ เพราะหากมีอาการที่เข้าข่ายของผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตจะได้สามารถเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างทันท่วงที 

ซึ่งอาการของโรคต่อมลูกหมากโตนั้น มีดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อยขึ้นอย่างผิดสังเกต มักจะปัสสาวะถี่ และห่างกันไม่เกิน 2 ชั่วโมง
  • ตื่นกลางดึกเพื่อมาปัสสาวะ 2 ครั้งขึ้นไป
  • ปัสสาวะยาก ต้องออกแรงเบ่ง หรือใช้เวลานานในการทำให้ปัสสาวะออกมา
  • มีอาการปัสสาวะติดขัด ไหลๆ หยุดๆ 
  • มีอาการปัสสาวะเบา ปัสสาวะไม่พุ่งแรง และไหลช้า 
  • หลังปัสสาวะเสร็จแล้วมีปัสสาวะหยด
  • ปัสสาวะไม่สุด และรู้สึกว่าจะต้องปัสสาวะอยู่เรื่อยๆ
  • เมื่อปวดปัสสาวะแล้วจะต้องปัสสาวะทันที ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้
  • รู้สึกว่าการปัสสาวะเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้อาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโตอื่นๆ ที่อาจพบเห็นได้ด้วยเช่นกันได้แก่ 

  • มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 
  • มีอาการปวดแสบปวดร้อนเมื่อปัสสาวะ
  • สีปัสสาวะมีสีแดง เนื่องจากมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ

ซึ่งแน่นอนว่าหากมีอาการเหล่านี้ ผู้ที่มีอาการควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยสาเหตุของต่อมลูกหมากโต และวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้มีอาการที่รุนแรงหรือมีแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาในอนาคต

2 ภาวะแทรกซ้อนสุดอันตรายของโรคต่อมลูกหมากโต

หากไม่รีบวินิจฉัยสาเหตุต่อมลูกหมากโต และทำการรักษาอาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยๆ ในผู้ป่วยที่มีอาการต่อมลูกหมากโตที่รุนแรงนั้น ได้แก่

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ผู้ที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต มักจะมีอาการของโรคปัสสาวะอักเสบตามมา เนื่องจากพฤติกรรมการปัสสาวะที่ผิดปกติ บวกกกับประสิทธิภาพการทำงานของกระเพาะปัสสาวะที่ลดน้อยลง โดยผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตที่มีภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้มีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น จะมีอาการที่แสดงออกมาให้เห็นได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อย 
  • ปัสสาวะครั้งละน้อยๆ 
  • ปัสสาวะไม่สุด 
  • ปวดบริเวณท้องน้อย 
  • ปวดแสบและรู้สึกขัดๆ ในขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นที่ผิดปกติ 
  • ปัสสาวะมีเลือดปน

ไตเสื่อม ไตวาย

ผู้ที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุโรคต่อมลูกหมากโตแบบไหนก็ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของโรคต่อมลูกหมากโตที่พบได้คือการมีภาวะไตเสื่อมและไตวาย ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตมีภาวะไตเสื่อม ไตวายเป็นภาวะแทรกซ้อนนั้น มีดังนี้

  • ผิวซีด หรือมีสีที่คล้ำขึ้น 
  • มีอาการคันบริเวณผิวหนัง ปวดตามตัว ร่วมกับอาการอื่นๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน 
  • เบื่ออาหาร มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย 
  • ปวดหัวง่าย เป็นหวัดง่าย
  • ความสามารถในการจดจำสิ่งต่างๆ ลดลง
  • ปัสสาวะสีแดง ปัสสาวะสีเข้มขึ้น
  • ปัสสาวะบ่อยๆ ตอนกลางคืน
  • ชาที่บริเวณปลายมือ ปลายเท้า หรือเป็นตะคริว
  • กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการชัก

การวินิจฉัยและการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต

การเป็นโรคต่อมลูกหมากโตสาเหตุนั้นมีอยู่มากมาย และการจะรักษาให้หายได้จะต้องให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด และที่สำคัญคือจะต้องเข้ามารับการรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากในปัจจุบันได้มีแนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตที่หลากหลาย แพทย์จึงจะต้องทำการประเมินอาการและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดแบบ Case by case ซึ่งในการวินิจฉัยโรคโดยทั่วไปนั้น จะมีขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ดังนี้

  • ซักประวัติ พูดคุย และสอบถามอาการ
  • เข้ารับการตรวจในด้านต่างๆ อาทิ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ รวมถึงการตรวจวัดระดับความแรงของการปัสสาวะ 
  • เข้ารับการอัลตราซาวนด์ เพื่อตรวจสอบขนาดของต่อมลูกหมาก
  • ทำ Digital Rectal Examination เพื่อตรวจความปิดปกติของต่อมลูกหมากผ่านทางท่อทวารหนัก

หลังจากการเข้ารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยอาการและสาเหตุต่อมลูกหมากโตเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะทำการวางแผนการรักษาและเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยในแต่ละราย ซึ่งการที่จะเลือกวิธีรักษาที่ดีที่สุดได้นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่

  • อายุของผู้ป่วย
  • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
  • ขนาดของต่อมลูกหมาก
  • อาการแสดงออกของผู้ป่วย เช่น จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ

และเมื่อแพทย์ประเมินอาการแล้วพบว่าอาการของผู้ป่วยนั้นอยู่ในระยะเริ่มต้นหรือยังไม่มีอาการหนักมากนัก แพทย์จะทำการแนะนำถึงการปรับพฤติกรรมเพื่อลดอาการลง เช่น การลดการดื่มน้ำก่อนการนอนหลับ รวมไปถึงการลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่หากมีการดำเนินการปรับพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ในลำดับต่อไป 

5 วิธีการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต

จากขั้นตอนการวินิจฉัยของแพทย์ที่ครอบคลุม แพทย์จะสามารถรู้ได้ว่าแท้จริงแล้วสาเหตุต่อมลูกหมากโตของผู้ป่วยคืออะไร และผู้ป่วยในแต่ละรายนั้นมีอาการหนักแค่ไหน นั่นจึงทำให้แพทย์จะสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับผู้ป่วยในแต่ละรายได้ จากการรักษาโรคต่อมลูกมากโตทั้ง 5 รูปแบบ ดังนี้

  1. การรักษาด้วยยา 
  • ยาในกลุ่ม Alpha blockers
  • ยาในกลุ่ม 5 Alpha Reductase Inhibitor
  • ยาที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน (DHT) (Dihydrotestosterone) 
  • ยาสมุนไพร
  1. การผ่าตัดส่องกล้อง / การศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้อง
  • การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดต่อมลูกหมาก
  • การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขยายท่อปัสสาวะ
  • การผ่าตัดด้วยการใช้คลื่นไมโครเวฟ
  • การผ่าตัดส่องกล้องด้วยเข็ม
  • การรักษาด้วยเลเซอร์
  1. การย้าย / ยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะ
  2. การอุดกั้นหลอดเลือดที่ส่งไปยังหรือจากต่อมลูกหมาก 
  3. การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้หุ่นยนต์ / การผ่าตัดแบบเปิด

ปรับด่วน! หากไม่ต้องการเสี่ยงเป็นโรคต่อมลูกหมากโต

ถึงแม้โรคต่อมลูกหมากโตจะมีวิธีการรักษา แต่แน่นอนว่าไม่เป็นก็คงจะดีกว่า! ก่อนที่จะจบบทความนี้เราจึงขอเชิญชวนให้ทุกคนมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพื่อบอกลาความเสี่ยงในการเป็นโรคต่อมลูกหมากโตที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งแนวทางการปรับพฤติกรรม เพื่อบอกลาการกระทำที่เป็นสาเหตุโรคต่อมลูกหมากโตนั้น มีดังนี้

  • ปรับเรื่องการดื่มน้ำเปล่า : ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว  เลี่ยงการดื่มน้ำครั้งละมากๆ เลี่ยงการดื่มน้ำเยอะก่อนนอน 
  • ปรับเรื่องการกดื่มคาเฟอีน : ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน 
  • ปรับเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ : ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และหากต้องการดื่มให้เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากๆ และงดดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลากลางคืนหรือก่อนนอน
  • ปรับเรื่องการปัสสาวะ : ควรปัสสาวะสม่ำเสมอ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ และไม่ควรเบ่งหรือพยายามบังคับให้มีการปัสสาวะ 

และหากคุณผู้ชายเป็นกังวลว่าตัวเองจะเป็นโรคต่อมลูกหมากโต เราขอแนะนำให้มีการเข้ารับการตรวจสุขภาพอยู่เสมอ และหากมีอาการที่บ่งบอกถึงสาเหตุต่อมลูกหมากโตให้รีบติดต่อและเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อทำการวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต และหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้อย่างทันท่วงที


สำหรับใครที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสาเหตุต่อมลูกหมากโต หรือใครที่อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลตัวเองเพิ่มเติมนอกเหนือจากเรื่องสาเหตุของต่อมลูกหมากโต เช่น การรับมือกับอาการปวดปัสสาวะบ่อยเกินไป วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ การสังเกตสีปัสสาวะของตัวเอง ฯลฯ สามารถติดตามบทความดีๆ ของเราได้ผ่านทางเว็บไซต์และเพจ Facebook ที่นอกจากรวบรวมเรื่องราวของสาเหตุโรคต่อมลูกหมากโตไว้แล้ว เราก็ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พร้อมนำมานำเสนอให้ทุกท่านได้ติดตาม เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของคุณและคนรอบข้างอย่างแท้จริง

บทความที่เกี่ยวข้อง