สุขภาพจิตดีเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การดูแลสุขภาพในทุก ๆ ช่วงวัยเป็นไปได้อย่างดีและมีความสุข แต่ในบางครั้งการดำเนินชีวิตกลับมีเรื่องราวและปัญหามากมายที่ทำให้เราต้องพบกับความเครียด ความเศร้า หรือสภาวะทางอารมณ์ที่นำมาซึ่งปัญหาทางสุขภาพจิต เราจึงควรมองหาวิธีดูแลสุขภาพจิตและวิธีดูแลจิตใจที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อให้เราสามารถเพิ่มความผ่อนคลาย และเสริมสุขภาพจิตให้ดียิ่งขึ้นในทุก ๆ วันได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง
ซึ่งหนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพจิตและวิธีดูแลจิตใจที่น่าสนใจและเป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเอง นั่นก็คือการใช้เสียงดนตรีเพื่อบำบัดจิตใจ หรือที่เรียกว่า ‘ดนตรีบำบัด’
แล้วดนตรีบำบัดคืออะไร ทำไมถึงช่วยให้สุขภาพจิตดี มีองค์ประกอบของเสียงดนตรีอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการบำบัดจิตใจ ไปดูกัน
รู้จักกับ ดนตรีบำบัด เสียงเพลงช่วยให้เรามีสุขภาพจิตดีได้อย่างไร
‘ดนตรีบำบัด’ คือ ศาสตร์ทางการแพทย์ที่เป็นการใช้เสียงดนตรีหรือเสียงเพลงในการช่วยบำบัดจิตใจ เพิ่มความผ่อนคลายทางอารมณ์ และมีประโยชน์อีกมากมายที่ส่งผลให้เรามีสุขภาพจิตที่ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมนแห่งความสุข คลายความกังวล และช่วยยกระดับจิตใจให้ได้เป็นอย่างดี
โดยการใช้เสียงดนตรีเพื่อการบำบัดสามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกช่วงอายุ เพราะเป็นวิธีดูแลสุขภาพจิตที่นอกจากจะช่วยเพิ่มความผ่อนคลายทำให้เรามีสุขภาพจิตดีแล้ว ยังช่วยให้เกิดความเพลิดเพลินและช่วยสร้างแรงบันดาลใจดี ๆ ให้กับเราได้อีกด้วย
ประโยชน์ของการใช้ดนตรีบำบัดจิตใจ
‘จากเสียงเพลงและเสียงดนตรี สู่ การบำบัดจิตใจให้มีความสุข’
ดนตรีบำบัด เป็นวิธีดูแลสุขภาพจิตที่ได้รับการยอมรับและถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านสภาวะทางจิตใจ เนื่องจากมีประโยชน์มากมายทั้งไม่ว่าจะทางด้านของความสุข การนอนหลับ หรือแรงบันดาลใจเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น
กระตุ้นการสร้างสารแห่งความสุข
เสียงเพลงที่ชอบจากการใช้ดนตรีบำบัดจะทำให้สมองหลั่งสารโดพามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่จะช่วยควบคุมความรู้สึก ช่วยในเรื่องของการรับรู้ และช่วยทำให้เรารู้สึกดี มีความสุข มองโลกในแง่ดีและมีสุขภาพจิตดียิ่งขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ในขณะที่ฟังเพลงสมองจะถูกกระตุ้นให้หลั่งสารเอ็นโดฟินซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ซึ่งจะช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ลดความตื่นเต้น ความเครียด ความวิตกกังวล และลดความดันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
เพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับ
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพจิตดี ซึ่งวิธีดูแลจิตใจด้วยดนตรีบำบัดจะช่วยให้ร่างกายได้รับความผ่อนคลายและทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ส่งผลให้เรามีการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้าลง และด้วยความผ่อนคลายนี้จึงทำให้เรานอนหลับได้ง่าย และหลับสบายมากยิ่งขึ้นได้นั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตามเราขอแนะนำให้เลือกเสียงดนตรีหรือเสียงเพลงที่เหมาะสมต่อการนอนหลับ ไม่เป็นเพลงที่ทำให้เกิดอาการ Earwarm หรือเพลงติดหู และไม่เป็นเพลงที่มีจังหวะเร็วเกินไป ซึ่งเสียงดนตรีที่เราแนะนำคือ เพลงที่มีความเร็ว (Tempo) อยู่ระหว่าง 60–80 BPM
กระตุ้นพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์
เมื่อสมองได้รับความผ่อนคลายจากวิธีดูแลสุขภาพจิตด้วยดนตรีบำบัด จะส่งผลให้สมองทำงานได้ดีขึ้น ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ สร้างความหวัง ความมั่นใจ ความคิดด้านบวก และกระตุ้นให้เรามีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อเนื่องถึงสุขภาพจิตที่ดีขึ้นนั่นเอง
โดยการทำงานที่ดีที่สุดของสมองจะอยู่ในช่วงที่สมองอยู่ตรงกลางระหว่างความผ่อนคลายกับความรู้สึกตื่นเต้น ซึ่งการใช้เสียงเพลงที่ให้ทั้งความผ่อนคลาย ความสุข และความตื่นตัวจึงเป็นวิธีดูแลจิตใจที่ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพในการทำงานของสมองได้เป็นอย่างดี
องค์ประกอบของเสียงดนตรีที่ส่งผลต่อการบำบัดจิตใจ
ไม่ใช่ว่าดนตรีแบบไหนก็สามารถบำบัดจิตใจให้มีสุขภาพจิตดีได้ เพราะองค์ประกอบของเสียงดนตรีนั้นส่งผลต่อการทำงานของสมองโดยตรง หากเลือกเสียงดนตรีที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะไม่สามารถใช้เสียงเพลงในการบำบัดจิตใจให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งองค์ประกอบของเสียงดนตรีที่ส่งผลต่อการบำบัดจิตใจให้มีสุขภาพจิตดีด้วยวิธีดูแลจิตใจนั้น ได้แก่
- จังหวะของเสียงดนตรี (Rhythm)
- ระดับของเสียง (Pitch)
- ความดังของเสียง (Volume/Intensity)
- เสียงประสาน (Haemony)
- ทำนองเพลง (Melody)
แล้วในองค์ประกอบแต่ละประเภทจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง ไปดูกัน
จังหวะของเสียงดนตรี (Rhythm)
จังหวะของเสียงดนตรีที่เหมาะสมในการทำดนตรีบำบัดนั้น คือดนตรีที่อยู่ในจังหวะประมาณ 70-80 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ถึงความผ่อนคลายและกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขหรือสารเอ็นดอร์ฟินออกมา อีกทั้งยังเป็นวิธีดูแลสุขภาพจิตที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิได้อีกด้วย
ระดับของเสียง (Pitch)
สำหรับระดับเสียงที่ส่งผลดีต่อการทำดนตรีบำบัดนั้น คือเสียงที่อยู่ในระดับต่ำและระดับสูงปานกลาง เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความรู้สึกสงบ และเพิ่มความผ่อนคลายในจิตใจได้เป็นอย่างดี
ความดังของเสียง (Volume/Intensity)
การทำดนตรีบำบัดเพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตดีควรเลือกดนตรีที่มีเสียงเบาและนุ่ม เพราะจะช่วยทำให้จิตใจเกิดความสงบ ช่วยเพิ่มความสบายใจ และเพิ่มความผ่อนคลาย แตกต่างจากดนตรีที่มีเสียงดังที่อาจทำให้เกิดอาการกระตุกและอาการเกร็งของกล้ามเนื้อได้
เสียงประสาน (Haemony)
เสียงประสานหรือเพลงที่มีการประสานเสียงเป็นสิ่งที่ช่วยบ่งบอกได้ถึงระดับของอารมณ์ของเราได้ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคทางสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวเอง เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะมีปฏิกิริยาที่แสดงออกมาหลังจากฟังเสียงประสานจากการขับร้องของคนหลาย ๆ คน ทำให้เป็นดนตรีบำบัดที่ถูกนำไปใช้ในการประเมินการรักษาของผู้ที่มีอาการนี้
ทำนองเพลง (Melody)
ในส่วนของทำนองเพลงที่ดีจะช่วยให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์และลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากทำนองเพลงคือสิ่งที่จะเข้าถึงอารมณ์ของผู้ฟังได้เป็นอย่างดี ทำให้เข้าถึงอารมณ์ส่วนลึกของจิตใจ กระตุ้นให้เราได้ระบายความรู้สึกต่าง ๆ ออกมาเพื่อลดความกังวลที่เกิดขึ้น
ลักษณะของเสียงดนตรีบำบัดที่แนะนำ
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาวิธีดูแลจิตใจให้มีสุขภาพจิตดีและต้องการดูแลสุขภาพจิตด้วยดนตรีบำบัด ควรเลือกเสียงดนตรีที่มีลักษณะเหล่านี้
- ควรเป็นเพลงบรรเลงที่ไม่มีเนื้อร้อง
- อาจใช้เป็นเพลงที่มีเสียงจากธรรมชาติอย่างเสียงฝน เสียงน้ำตก และเสียงนก ฯลฯ เพื่อเพิ่มความผ่อนคลาย
- ควรเป็นเพลงที่มีจังหวะของดนตรีที่ช้าและมั่นคง
- ควรเลือกเพลงที่มีทำนองที่นุ่มนวล ผ่อนคลาย มีความราบเรียบ และต่อเนื่องกัน
- ควรเลือกเพลงที่ระดับเสียงอยู่ที่ปานกลางไปถึงต่ำ
- ควรเป็นเพลงที่ไม่มีเสียงดังมากเกินไป
ประเภทของเสียงและเครื่องดนตรีที่นิยมใช้ในการทำดนตรีบำบัด
สำหรับประเภทของเสียงและเครื่องดนตรีที่นิยมใช้ได้นั้น ได้แก่
- พิณ
- กีตาร์
- วงดนตรีออเคสตร้า
- เพลงแจซ (แบบช้า ๆ และนุ่มนวล)
- เพลงคลาสสิก เป็นต้น
8 เพลงแนะนำจากนักดนตรีบำบัดและอาจารย์อาวุโสด้านดนตรีบำบัด
นักดนตรีบำบัดและอาจารย์อาวุโสด้านดนตรีบำบัดอย่าง อาลิซาเบธ คอมเบส (Elizabeth Coombes) ได้แนะนำเพลงที่เหมาะสมกับวิธีดูแลสุขภาพจิตที่ให้สุขภาพจิตดีด้วยดนตรีบำบัด เพื่อให้ทุกคนได้เลือกฟังเพื่อบำบัดและฟื้นฟูจิตใจกันได้ง่าย ๆ
ซึ่ง 8 เพลงแนะนำจาก อาลิซาเบธ คอมเบส นั้น ได้แก่
- Ambient 1: Music for Airports – Brian Eno
- Pieds-en-l’air from Capriol Suite – Peter Warlock
- Om Namah Shivaya – Deva Premal
- Some One Like You – Adele
- I Giorni – Ludovico Einaudi
- In Paradisum – Gabriel Fauré
- Stopover at Djibouti – Anouar Brahem
- Wilmas Tema – Stefan Nilsson
ประโยชน์ของเสียงดนตรีที่มากกว่าแค่การบำบัดจิตใจ
นอกจากการมีสุขภาพจิตดีด้วยดนตรีบำบัดแล้ว เสียงดนตรียังมีข้อดีและประโยชน์ที่มากกว่านั้น! เนื่องจากการฟังเพลงที่เหมาะสมจะทำให้เราได้รับประโยชน์มากมาย ดังนี้
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย
- ช่วยให้มีสมาธิในการทำงาน
- ช่วยพัฒนาสมอง เสริมสร้างความจำ
- ช่วยเสริมสร้างทักษะทางด้านภาษา
- ช่วยลดความตึงตัวและความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ
- ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคต่าง ๆ
ตัวอย่างของโรคที่ฟื้นฟูได้ด้วยการใช้ ‘ดนตรีบำบัด’
ดนตรีมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางกายหรือโรคทางสภาวะจิตใจ ซึ่งตัวอย่างของโรคที่สามารถฟื้นฟูได้ด้วยการใช้ดนตรีบำบัดนั้น ได้แก่
- โรคทางจิตประสาท : ช่วยปรับพฤติกรรม ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตดียิ่งขึ้น
- โรคที่เกี่ยวข้องกับความพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต : ช่วยบำบัดโดยการให้ผู้ป่วยได้ลองฟังเพลง เล่นดนตรี หรือเคลื่อนไหวไปตามเสียงดนตรีที่ได้รับฟัง
- อาการบาดเจ็บทางร่างกาย : ช่วยบำบัดให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย และช่วยลดความเจ็บปวด
- โรคมะเร็ง : ช่วยผ่อนคลายความเครียด และลดความเจ็บปวดจากอาการข้างเคียงของโรค
———————————–
จะเห็นได้ว่าเราสามารถมีสุขภาพจิตดีได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีดูแลสุขภาพจิตและวิธีดูแลจิตใจด้วยดนตรีบำบัด มาฟังเพลงเพื่อการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกันดีกว่า!