รู้เท่าทันโรคหัวใจ: วิธีตรวจโรคหัวใจก่อนสายไป

Health / Mind

ตรวจโรคหัวใจ ก้าวแรกสู่สุขภาพที่ดีและป้องกันโรคร้ายในอนาคต

โรคหัวใจนับว่าเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่คร่าชีวิตของคนไทยเป็นอันดับต้น ๆ ในบางคนอาจจะไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าตนเองเป็นโรคหัวใจเนื่องจากไม่เคยตรวจโรคหัวใจ ซึ่งโรคหัวใจสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอายุ
ที่มากขึ้น กรรมพันธุ์ หรือโรคอื่น ๆ ที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่มีหลายโรค อย่างเช่นโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุ เบาหวาน ล้วนทำให้มีความเสี่ยงของโรคเพิ่มมากขึ้น 

ในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีในการตรวจโรคหัวใจ รวมไปถึงวิธีตรวจโรคหัวใจด้วยตัวเองเพื่อที่จะได้สังเกตตนเองว่ามีอาการเสี่ยงต่าง ๆ หรือไม่ หากมีอาการที่บ่งบอกว่าอาจจะเป็นโรคหัวใจ ควรไปโรงพยาบาลและรับวิธีตรวจโรคหัวใจในรูปแบบต่าง ๆ จากแพทย์อีกครั้งเพื่อได้รับคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้อง

รีบเช็กก่อนสายไป! ใครคือคนที่มีความเสี่ยง ควรไปตรวจโรคหัวใจ

สำหรับใครที่กังวลว่าตนเองนั้นจะเป็นโรคหัวใจหรือไม่ วันนี้เราได้รวบรวมเช็กลิสต์ว่าใครคือคนที่มีความเสี่ยงของโรคหัวใจ เพราะโรคหัวใจสามารถส่งผลต่อโรคอื่น ๆ อย่างโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุหนึ่งมาจากโรคหัวใจ ดังนั้นควรรีบไปตรวจโรคหัวใจให้ชัวร์ ลดความเสี่ยงของโรคอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้

  • เพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิง
  • ผู้ป่วยเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจมากถึง 2-4 เท่า
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  • มีความเครียดสะสม
  • ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • การสูบบุหรี่ โดยผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ชาย
  • การรับประทานอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อวัวติดมัน เบคอน แฮม เนื้อไก่ติดหนัง เนย ชีส ฯลฯ เป็นต้น
  • พันธุกรรม โดยเฉพาะผู้ที่มีครอบครัวสายตรงเป็นโรคหัวใจจะยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนอื่น

รู้จักประเภทโรคหัวใจ เพื่อตรวจโรคหัวใจด้วยตัวเองในเบื้องต้น

โรคหัวใจคือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ สามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน

ดังนั้น ควรทำความรู้จักกับโรคหัวใจแต่ละประเภท เพื่อที่จะสามารถรับมือได้อย่างถูกวิธี และไปตรวจโรคหัวใจโดยแพทย์ได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อโรคที่เป็นอยู่เดิม เช่น ในผู้ชายโรคหัวใจส่งผลให้อาการของต่อมลูกหมากโตรุนแรงขึ้นได้

ภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อได้ยินชื่อแล้วอาจจะดูน่ากลัวเหมือนกับหัวใจจะหยุดทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้วคือการที่หัวใจของเราไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การทำงานของหัวใจเสื่อมลง ทำกิจกรรมที่เคยทำได้ยากเนื่องจากเหนื่อยกว่าปกติ

อาการ: ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว อาการเบื้องต้นที่สามารถตรวจโรคหัวใจได้ด้วยตนเอง คือมักจะมีอาการหายใจเหนื่อยและอ่อนเพลีย เนื่องจากการทำงานของหัวใจลดลง ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ ในบางคนอาจจะมีอาการเท้าและขาบวมน้ำร่วมด้วย

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากการแข็งตัวหรือมีการเกาะของไขมันบนผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบแคบลงและปริมาณเลือดที่ไหลผ่านลดลง นั่นส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบพบได้มากในผู้ใหญ่ ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ อายุที่เพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

อาการ: หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย จุกเสียดแน่น หรือแสบร้อนบริเวณอก เหงื่อออก ใจสั่น ไปจนถึงขั้นเป็นลม ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพราะอาจเกิดการหัวใจวาย และมีโอกาสเสียชีวิตสูง หากใครตรวจโรคหัวใจด้วยตนเอง แล้วพบว่ามีอาการเบื้องต้นดังที่กล่าวมาควรรีบไปพบแพทย์

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะคือการที่หัวใจเต้นเร็วหรือช้าไปจากปกติ อันเนื่องมาจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งอาจมีต้นเหตุมาจากความผิดปกติของหัวใจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

อาการ: ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาการ ใจสั่น หน้ามืด อ่อนเพลีย อาจจะหนักถึงขั้นหมดสติหรือหัวใจวายได้ หากมีอาการเพียงเริ่มต้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโรคหัวใจเพื่อความปลอดภัยและการรักษาได้อย่างทันท่วงที

รวมเหตุผลทำไมเราถึงต้องหมั่นไปตรวจโรคหัวใจเป็นประจำ

การตรวจสุขภาพเป็นประจำช่วยให้เราพบปัญหาสุขภาพในระยะแรกเริ่ม ก่อนที่จะกลายเป็นโรคร้ายแรง
เพราะการที่พบความผิดปกติของร่างกายในระยะแรกเริ่ม ทำให้สามารถดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่รุนแรงขึ้น 

การตรวจโรคหัวใจก็เช่นเดียวกัน โดยทั่วไปเราควรตรวจสุขภาพของหัวใจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองและ สงสัยว่าจะนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ ดังนั้นการที่ตรวจโรคหัวใจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว และป้องกันโรคร้ายที่จะตามมาได้อีกด้วย

รู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า ตรวจอย่างไรได้บ้าง

คนจำนวนไม่น้อยที่อาจจะยังไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากในบางคนมีอาการน้อยเพียงแค่เริ่มต้น และคิดว่าอาการเหล่านั้นมาจากการพักผ่อนน้อยหรือเครียด เพียงแค่พักผ่อนให้มากขึ้นก็หายแล้ว ซึ่งกว่าจะรู้ว่าเป็นโรคหัวใจก็อาจจะสายเกินไปแล้ว ซึ่งการตรวจโรคหัวใจสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง รวมถึงการตรวจอย่างละเอียดในโรงพยาบาลโดยแพทย์เฉพาะทาง

สัญญาณอะไรที่บอกว่าอาจจะเป็นโรคหัวใจ

อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจจะกำลังเป็นโรคหัวใจ สำหรับให้สังเกตด้วยตนเองเบื้องต้น ก่อนที่จะไปตรวจโรคหัวใจที่โรงพยาบาล คือ

  • ใจสั่น
  • เจ็บหน้าอก ร้าวไปที่กราม แขน ไหล่ หรือลิ้นปี่
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • ขาและเท้าบวม
  • มีอาการวูบหรือหน้ามืด

หากใครมีอาการเหล่านี้ให้สงสัยในเบื้องต้นได้เลยว่ามีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโรคหัวใจอย่างละเอียดอีกครั้ง

การตรวจโรคหัวใจที่โรงพยาบาล

ปัจจุบันการตรวจโรคหัวใจสามารถทำได้หลากหลายวิธีเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้วิธีการตรวจแต่ละแบบขึ้นอยู่กับอาการและดุลยพินิจของแพทย์ร่วมด้วย

EKG เป็นวิธีการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าที่หัวใจผลิตออกมาในขณะที่หัวใจหดตัวและคลายตัว คลื่นไฟฟ้านี้จะแสดงรูปแบบที่สามารถบ่งชี้ถึงความปกติหรือความผิดปกติของหัวใจได้ การตรวจนี้เป็นวิธีการตรวจโรคหัวใจเบื้องต้นที่ง่ายและสะดวก ไม่เจ็บ และให้ผลรวดเร็วภายในเวลา 10 นาที

วิธีนี้ทำโดยการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) เพื่อตรวจวัดระดับแคลเซียมหรือคราบหินปูนที่สะสมในผนังหลอดเลือดหัวใจ เป็นวิธีการคัดกรองความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการ วิธีนี้สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้

การทำ CT Scan จะให้ภาพที่คมชัด แม้ปริมาณคราบหินปูนน้อย ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว และรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 20-30 นาที แพทย์สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่ยังไม่มีอาการได้อย่างแม่นยำ

การวิ่งสายพาน เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการวิ่งบนสายพาน การตรวจโรคหัวใจด้วยวิธีนี้ช่วยตรวจสอบว่าขณะที่ร่างกายต้องออกแรงอย่างหนัก กล้ามเนื้อหัวใจมีการขาดเลือดหรือไม่ โดยดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ และการขาดเลือดของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างเต็มที่ รวมถึงอาการอื่น ๆ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หรือหายใจลำบาก

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หรือที่เรียกว่า เอคโค่ ใช้หลักการส่งคลื่นความถี่สูงไปยังหัวใจและรับสัญญาณที่สะท้อนกลับมาเพื่อนำมาสร้างภาพแสดงเงาของเนื้อเยื่อตามความหนาบางที่คลื่นตกกระทบ

เอคโค่ช่วยดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ รูปร่างและความหนาของหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจว่ามีลักษณะตีบหรือรั่วหรือไม่ ตรวจภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ภาวะหัวใจโต และภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ข้อมูลจากการตรวจนี้ช่วยในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป

อย่างไรก็ตาม การตรวจด้วยเอคโค่ไม่สามารถเห็นหลอดเลือดหัวใจโดยตรง และในกรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักมากหรือผอมมาก ภาพที่ได้อาจไม่ชัดเจน แม้ว่าวิธีนี้จะมีความแม่นยำปลอดภัย รวดเร็วเพราะใช้เวลาเพียง 30-45 นาที และไม่มีผลข้างเคียง

แนวทางการรักษามีอะไรบ้าง หลังตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจ

เมื่อตรวจพบแล้วว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ การรักษาโดยส่วนใหญ่จะมีตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานยา ไปจนถึงการผ่าตัด โดยใช้วิธีดังต่อไปนี้

1. การรักษาด้วยยา โดยส่วนมากจะเป็นการให้ยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด ยาขยายหลอดเลือด ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ หรืออาจจะเป็นยาลดความดัน ยาลดไขมันในเส้นเลือด

2. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจ หรือ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (CABG) เป็นวิธีการผ่าตัดเพื่อสร้างเส้นทางใหม่ให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นบริเวณที่มีการตีบหรือตัน เส้นเลือดที่ใช้ในการผ่าตัดอาจมาจากเส้นเลือดแดงบริเวณหน้าอก เส้นเลือดบริเวณข้อมือ หรือเส้นเลือดดำบริเวณขา ซึ่งการจะเลือกใช้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและตำแหน่งของเส้นเลือดที่เหมาะสมที่สุด

3. การทำบอลลูนหัวใจ (Balloon Angioplasty) เป็นหัตถการที่รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยสามารถทำได้ทันทีหลังจากการฉีดสีตรวจโรคหัวใจตีบ วิธีนี้ช่วยดันไขมันที่อุดตันให้ไปชิดกับผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลผ่านสะดวกขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำกว่าการผ่าตัดบายพาส

4. การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการจี้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Electrophysiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นวิธีการรักษาที่ใช้สายสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดบริเวณขาหนีบ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ เพื่อหาตำแหน่งวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ อาจทำการกระตุ้นหัวใจช่วงสั้นๆ เมื่อพบตำแหน่งที่ผิดปกติ แพทย์จะปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงไปยังตำแหน่งดังกล่าว เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

5. การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) เป็นการฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในผนังหน้าอกใต้ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ โดยเฉพาะในกรณีที่หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องที่ทำงานผิดปกติ เพื่อให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้เพียงพอ

ดูแลสุขภาพหัวใจอย่างไรให้แข็งแรง ลดความเสี่ยง ห่างไกลโรค

สำหรับใครที่อยากลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ หรือลดความรุนแรงของการเป็นโรคหัวใจที่มากขึ้น
การดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงสามารถทำได้ดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารเค็มจัด มันจัด
  • ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
  • พยายามรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นที่ผักและผลไม้
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ และธัญพืชต่าง ๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด
  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 – 40 ปีขึ้นไป ควรหมั่นตรวจเช็กสุขภาพหัวใจเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

โรคหัวใจเป็นโรคร้ายภัยเงียบที่คอยพรากชีวิตคนไทยในทุก ๆ ชั่วโมง ดังนั้นการตรวจโรคหัวใจเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจที่รุนแรงได้ ซึ่งมีทั้งวิธีตรวจโรคหัวใจด้วยตัวเองเพื่อวิเคราะห์ตนเองในเบื้องต้น และหากสงสัยว่าตนเองนั้นมีความเสี่ยงของโรคหัวใจควรใช้วิธีตรวจโรคหัวใจโดยแพทย์อีกครั้งเพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค พร้อมทั้งการได้รับคำแนะนำและทำนัดเพื่อรับการตรวจโรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง