อาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่คือสัญญาณเตือนโรคร้าย

Brain / Health

อาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่เป็นอย่างไร คนใกล้ตัวช่วยสังเกตได้

อาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้จากการเสื่อมถอยของสมองเมื่ออายุมากขึ้น อาจเริ่มจากการลืมเรื่องเล็กน้อย เช่น วางของไว้ที่ไหน จำชื่อคนไม่ค่อยได้ การนึกคำที่ต้องการใช้ไม่ออก หรือใช้เวลานาน
ในการนึก การนึกถึงสิ่งของที่จะเรียกไม่ออก หรือลืมรายละเอียดเรื่องที่ผ่านมาแล้ว แต่ไม่ใช่การลืมอย่างถาวร
แต่จะนึกออกในภายหลัง 

สาเหตุหลักมักมาจากสภาพของสมองที่เสื่อมถอยจนไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจากอายุ
ที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะมาจากอาการอัลไซเมอร์ หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองได้เช่นกัน 

สำหรับใครที่มีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านควรหมั่นคอยสังเกตว่าผู้สูงอายุหลง ๆ ลืม ๆ หรือไม่ บทความนี้จะพาทุกคน
ไปรู้จักกับอาการคนแก่หลง ๆ ลืม ๆ ให้มากขึ้นว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง มีวิธีแก้อาการหลง ๆ ลืม ๆอย่างไรก่อนที่อาการจะมากขึ้นจนนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงขึ้น

เคลียร์ให้ชัด! อาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่เกิดจากสาเหตุใด

อาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่เป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น
การลืมเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วนึกออกในภายหลังยังเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ และไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าหากความจําสั้นขี้ลืมจนกระทบต่อชีวิตประจำวัน เป็นสัญญาณเตือนว่าอาจนำไปสู่อาการเกี่ยวกับสมองที่ร้ายแรงได้ โดยสาเหตุของอาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้

  • เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อสมองจะหดเล็กลง ส่งผลต่อการเรียนรู้และการใช้ความคิดที่ซับซ้อน
  • ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงตามอายุที่มากขึ้น
  • การลดลงของสารเซโรโทนินและโดปามีน และการเพิ่มขึ้นของสารอนุมูลอิสระภายในสมอง
    ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาต้านซึมเศร้า หรือยานอนหลับบางประเภท
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  • การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ
  • อาการบาดเจ็บทางสมอง
  • ความเครียดสะสมซึ่งทำให้สมองทำงานหนัก ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความจำได้
  • โรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

อาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่แบบไหนเข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เซลล์สมองจะเริ่มตายลงอย่างต่อเนื่อง โดยภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการสูญเสียการทำงานของสมองหลายอย่างพร้อมกัน อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นอย่างช้า ๆ
ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและปัจจัยของแต่ละบุคคล สิ่งสำคัญคือเซลล์สมองจะไม่มีการเกิดใหม่ขึ้นมาทดแทน

โดยทั่วไป หน้าที่ของสมองที่มักสูญเสียไปก่อนเป็นอันดับแรกคือความจำ ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่ การสูญเสียดังกล่าวส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบอาชีพ เข้าสังคม หรือช่วยเหลือตนเองได้ในที่สุด อาการเหล่านี้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงและต้องพึ่งพาการดูแลจากครอบครัวและผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นมาดูกันดีกว่าว่าอาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่แบบไหนที่เข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์ เพื่อที่คนใกล้ชิดหรือผู้สูงอายุเองจะได้หาวิธีป้องกันอัลไซเมอร์ได้อย่างทันท่วงที

  • จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญ
    ที่ผ่านมา
  • สับสนเกี่ยวกับเวลา สถานที่ หลงทิศทาง กลับบ้านไม่ถูก ทั้งที่กลับเป็นประจำ
  • จดจำบุคคลใกล้ชิด ญาติ เพื่อนสนิท หรือคนในครอบครัวไม่ได้
  • เรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคเดิมซ้ำ ๆ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การไม่อาบน้ำ แปรงฟัน การนับเงินทอน เป็นต้น

อาการของ คนแก่หลง ๆ ลืม ๆ

รู้จักกับประเภทของอาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่ ว่ามีอะไรบ้าง

อาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยแต่ละประเภทมีลักษณะและสาเหตุ
ที่แตกต่างกัน การทำความเข้าใจประเภทของอาการคนแก่หลง ๆ ลืม ๆ จะช่วยในการรับมือและดูแลผู้สูงอายุ
ได้อย่างเหมาะสม

การสูญเสียความทรงจำระยะสั้นในผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย โดยผู้ที่มีอาการนี้มักจะลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือกิจกรรมที่เพิ่งทำไป เช่น ลืมว่าวางสิ่งของไว้ที่ใด ลืมว่าเพิ่งอ่านหรือเห็นอะไร หรือแม้กระทั่งลืมสิ่งที่เพิ่งถามหรือทำไป เช่น การกินข้าวหรือการอาบน้ำ

อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเป็นปกติเมื่ออายุมากขึ้น แต่ในบางกรณี การสูญเสียความทรงจำระยะสั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรง เช่น โรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ การทำความเข้าใจและตระหนักถึงอาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่เหล่านี้มีความสำคัญ เพราะจะทำให้สามารถรับมือและดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม รวมถึงระวังได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่ผู้สูงอายุจะมีอาการรุนแรงมากกว่านี้

ความทรงจำระยะยาวมีความสำคัญในการเก็บข้อมูล ความเข้าใจ และความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ความทรงจำระยะยาวค่อย ๆ เสื่อมลงได้ แต่กระบวนการนี้มักเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยที่ความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้มาตลอดชีวิตมักจะยังคงอยู่ ในบางกรณี ผู้สูงอายุอาจพบว่า การนึกถึงข้อมูลเก่าต้องใช้เวลานานขึ้น การเรียนรู้หรือการเข้าใจสิ่งใหม่ ๆ ช้าลง หรือการทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกันเป็นไปได้ยากขึ้น 

หากพบว่าความทรงจำระยะยาวเสื่อมลงอย่างรวดเร็วหรือมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินและวินิจฉัยโรคที่อาจเกิดขึ้น เพื่อได้รับการดูแลและรักษาอย่างเหมาะสมอีกทั้งช่วยชะลอการเสื่อมถอยของสมองและช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผู้สูงอายุบางคนมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่ แต่ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของพวกเขา อาจจะมีแค่ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น เช่น การลืมที่อยู่ของของใช้ทั่วไป ผิดนัดเพราะลืมวัน อาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่ประเภทนี้เป็นสิ่งปกติที่เกิดจากการเสื่อมของสมองตามอายุที่มากขึ้น หรืออาจเป็นสัญญาณแสดงถึงโรคที่รุนแรงขึ้นได้เช่นเดียวกัน

เคล็ดลับง่าย ๆ แก้ไขอาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่ ไม่ว่าใครก็ทำได้

ถึงแม้ว่าอาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่จะเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ให้เกิดไม่ได้ แต่ก็สามารถชะลอให้อาการเกิดขึ้นช้าลงได้ด้วยวิธีเหล่านี้ ซึ่งทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติตามโดยมีตั้งแต่การรับประทานอาหาร การเล่นเกม รวมไปถึงการออกกำลังกาย

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวกล้องงอก เนื้อปลา แปะก๊วย ผักโขม ไข่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • จัดการกับความเครียด ให้ไม่เครียดจนเกินไปเพราะอาจส่งผลต่อการทำงานของสมองได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เล่นเกมที่ช่วยบริหารสมอง เช่น
    • หมากรุก
    • เกมจับผิดภาพ
    • ซูโดกุ
    • เกมบวกเลข
    • เกมเขาวงกต
  • พยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง เช่น จัดสวน เข้าคอร์สทำอาหาร วาดรูป หรือเล่นดนตรี เป็นต้น

อาการหลง ๆ ลืม ๆ ในคนแก่ถึงแม้ว่าจะเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ตามวัย แต่ในบางกรณีอาการคนแก่หลง ๆ ลืม ๆ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังเป็นโรคร้ายแรงได้เช่นเดียวกัน เช่น โรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม ดังนั้นเมื่อมีอาการผู้สูงอายุหลง ๆ ลืม ๆ จนกระทบต่อชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีแก้อาการหลง ๆ ลืม ๆ ให้ได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดความเสี่ยงของอาการหลงลืมที่รุนแรงขึ้นและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้สูงอายุ

บทความที่เกี่ยวข้อง