หลาย ๆ คนอาจจะกังวลว่าอาการหลงลืมที่เป็นอยู่อาจจะเป็นอัลไซเมอร์อาการในรูปต่าง ๆ หรือเปล่า? แต่รู้หรือไม่ว่าอาการอัลไซเมอร์นั้นแตกต่างจากการหลงลืมทั่วไป เพราะโรคอัลไซเมอร์อาการจะสามารถแบ่งออกได้หลายระยะ ทำให้อาการของโรคอัลไซเมอร์จะไม่เหมือนและมีความแตกต่างกับการหลงลืมที่เกิดขึ้นตามวัยนั่นเอง
ตามที่รู้กันดีว่าอัลไซเมอร์จะส่งผลต่อความทรงจำต่าง ๆ และความสามารถในการจดจำในระยะยาว เราจึงควรหันมาใส่ใจดูแลตัวเองเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์ที่อาจจะเกิดขึ้น และทำให้สมองของเราทำงานเต็มที่ได้นาน ๆ ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่าสาเหตุที่ทำให้เป็นอัลไซเมอร์คืออะไร? อัลไซเมอร์อาการเป็นอย่างไร? ตามไปดูกันได้เลย
สาเหตุที่ทำให้เกิดอัลไซเมอร์อาการต่าง ๆ
โรคอัลไซเมอร์หรืออัลไซเมอร์อาการนั้นไม่ใช่ความเสื่อมของสมองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากโปรตีนที่เรียกว่า Beta Amyloid ไปจับอยู่ที่เซลล์สมอง ซึ่งโปรตีนชนิดนี้จะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อ ทำให้การสื่อสารของเซลล์สมองเสียหาย โดยความเสียหายเหล่านี้จะส่งผลต่อการทำงานของสมองโดยตรงจนกลายมาเป็นอาการอัลไซเมอร์ในที่สุด ดังนั้นจึงต้องหมั่นดูแลตัวเองและคนในครอบครัวเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์ ที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
อาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไร?
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะต้องเริ่มต้นจากการรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์อาการต่าง ๆ เสียก่อน เพราะเมื่อสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้แล้วก็จะทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องตามระยะและอาการ ซึ่งอาการของโรคอัลไซเมอร์จะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะแรก (Early-Stage)
อัลไซเมอร์อาการในระยะแรกจะทำให้ผู้ป่วยเริ่มมีอาการสมองเสื่อมประเภทอัลไซเมอร์ โดยผู้ป่วยจะยังคงใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่จะเริ่มมีอาการหลงลืมเรื่องราวใหม่ ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้
- ถามซ้ำ
- พูดซ้ำ
- สับสนทิศ
- อารมณ์ไม่คงที่
- ซึมเศร้า
ระยะกลาง (Middle-Stage)
อาการของโรคอัลไซเมอร์ระยะกลางจะเริ่มมีอาการชัดเจนมากกว่าระยะแรก ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการมากขึ้นและมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปมากจนคนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยสามารถสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงได้เลย เช่น
- เริ่มจำคนสนิทไม่ได้
- สับสนวันและเวลา
- นอนไม่หลับ
- หลงทาง
- คิดถึงสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริง
- พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
ระยะสุดท้าย (Late-Stage)
โรคอัลไซเมอร์อาการระยะสุดท้ายจะรุนแรงมากกว่าระยะแรกและระยะปานกลาง ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมหรือผู้คนได้น้อยลง สุขภาพโดยรวมทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้แล้วก็จะส่งผลต่อร่างกายของผู้ป่วยที่จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตนเอง รวมถึงมีอาการอื่นตามมาด้วย เช่น
- สุขภาพทรุด
- ไม่ชอบการเข้าสังคม
- มีความเฉยเมย
- กินอาหารได้น้อยลง
- เคลื่อนไหวได้น้อยลง
- ระบบขับถ่ายเสื่อม
- สูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน
อาการหลงลืมทั่วไปแตกต่างจากโรคอัลไซเมอร์อย่างไร?
โดยทั่วไปแล้วอาการหลงลืมมีอยู่หลายแบบทั้งลืมเพราะตื่นเต้น ลืมเพราะไม่มีสมาธิ ลืมเพราะต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน ซึ่งอาการแบบนี้จะเป็นอาการลืมแบบปกติ แต่จะมีอาการลืมอีกแบบหนึ่งที่นับว่าเป็นอัลไซเมอร์อาการต่าง ๆ และจะมีลักษณะไม่เหมือนกับอาการลืมแบบปกติ ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
อาการหลงลืมตามวัย
อาการหลงลืมตามวัยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติ โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปี เพราะสมองจะมีความเสื่อมไปตามวัย อาจจะทำให้คิดช้า ใช้เวลาในการนึกหรือตัดสินใจนานขึ้น รวมถึงจะเริ่มหลงลืมเล็กน้อย เช่น
- นึกชื่อคนที่ไม่ได้เจอนานไม่ออก
- ลืมที่จอดรถ
ซึ่งอาการหลงลืมตามวัยนั้นจะยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันด้วยตัวเองได้ เพียงแค่จะเริ่มลืมบางสิ่งไปเนื่องจากความสามารถของสมองที่ถดถอยลงเท่านั้น แตกต่างจากอัลไซเมอร์อาการในระยะต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย
อาการหลงลืมที่เข้าข่ายเป็นอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์อาการลืมจะหนักกว่าการหลงลืมตามวัย เพราะโปรตีน Beta Amyloid เริ่มไปจับอยู่ที่เซลล์สมองแล้ว อีกทั้งโปรตีนชนิดนี้ยังสามารถทำให้เซลล์สมองเสื่อม ฝ่อ และเกิดความเสียหาย ดังนั้นอัลไซเมอร์อาการจึงจะมีมากกว่าการหลงลืมแบบทั่วไป เช่น
- จำไม่ได้ว่ามีเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น
- พยายามนึกแต่ก็นึกไม่ออก
- ลืมบางสิ่งไปสนิท
- ลืมทักษะการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ
- ลืมชื่อคนในครอบครัว
ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าอาการหลงลืมตามวัยจะน้อยกว่าอาการการหลงลืมของโรคอัลไซเมอร์ และการเป็นอัลไซเมอร์จะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากความหลงลืมมากกว่า แถมยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาวอีกด้วย
วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
เมื่อรู้แล้วว่าสาเหตุของการเกิดอัลไซเมอร์อาการต่าง ๆ มาจากสาเหตุใด อาการของโรคนี้มีกี่ระยะและเป็นอย่างไรบ้าง ในหัวข้อนี้เราจึงจะพาไปดูกันว่าเมื่อคนในครอบครัวเป็นอัลไซเมอร์แล้วจะต้องดูแลอย่างไร ถึงจะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการอัลไซเมอร์มีสุขภาพที่ดีและยังคงใช้ชีวิตประจำได้อย่างมีความสุข ซึ่งหลัก ๆ แล้วการดูแลผู้ป่วยก็จะมุ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะในชีวิตประจำวัน ดังนี้
ฝึกให้ทำกิจวัตรประจำวัน
แม้ว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีอาการหลงลืมทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันไปบ้างแล้ว แต่ก็ควรฝึกให้ทำกิจวัตรต่าง ๆ ด้วยตัวเอง โดยมีคนดูแล ให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนอยู่ข้าง ๆ เช่น ฝึกแปรงฟัน ฝึกขับถ่าย ฝึกกินข้าว เป็นต้น
ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
การให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ กับคนในครอบครัวเป็นอีกอย่างหนึ่งที่เหมาะสมกับการฝึกทักษะในชีวิตประจำวัน เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยได้ใช้เวลาไปกับครอบครัวแล้ว ก็ยังสามารถทำให้ผ่อนคลาย รวมถึงได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ไปด้วยในเวลาเดียวกัน
ฟื้นฟูกายภาพ
การฟื้นฟูกายภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้กระตุ้นระบบประสาทจากการนวด บีบ หรือเคลื่อนไหวร่างกายตามความเหมาะสม ซึ่งการฟื้นฟูทางกายภาพจะทำให้ผู้ป่วยยังคงมีร่างกายที่แข็งแรงและสามารถทำกิจกรรมได้สะดวกเหมือนเดิม
ดูแลสุขภาพจิต
นอกจากจะต้องดูแลอาการอัลไซเมอร์แล้วเราก็ต้องใส่ใจดูแลด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยด้วย เพราะถ้าเราละเลยด้านนี้ไปก็อาจจะทำให้อาการอัลไซเมอร์แย่ลง ดังนั้นจึงควรเบี่ยงเบนความสนใจให้ผู้ป่วยจดจ่ออยู่กับสิ่งที่จะไม่ส่งผลต่ออาการของโรคอัลไซเมอร์
กินอาหารบำรุง
การกินอาหารบำรุงจะช่วยให้อาการของอัลไซเมอร์ดีขึ้น รวมถึงทำให้อาการนอนไม่หลับหรืออารมณ์แปรปรวนที่เป็นอาการร่วมของโรคบรรเทาลง ซึ่งอาหารบำรุงสำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีดังนี้
- ปลาทะเลน้ำลึก
- ไข่ไก่
- แปะก๊วย
- ผลไม้ที่มีวิตามินซี
- ธัญพืชตระกูลถั่ว
จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วอัลไซเมอร์อาการนั้นแตกต่างไปจากการหลงลืมตามวัย เพราะอาการอัลไซเมอร์จะมีผลต่อการทำงานของสมองและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำอย่างชัดเจน ดังนั้นคนที่เข้าข่ายการเป็นโรคอัลไซเมอร์อาการต่าง ๆ จึงควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์ก่อนที่จะได้รับผลกระทบจากโรคนี้หรือสูญเสียความจำ รวมถึงทักษะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตไปโดยปริยาย