เครียดนอนไม่หลับ ปัญหาสุขภาพที่เป็นได้ทุกคน

Health / Sleep

เครียดนอนไม่หลับ ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

เครียดนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นวัยทำงาน นักเรียน หรือผู้สูงอายุ ความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ ซึ่งบางคนอาจจะนอนไม่หลับกระสับกระส่าย หรือง่วงแต่นอน
ไม่หลับ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ร่างกายและจิตใจไม่สามารถพักผ่อนอย่างเต็มที่ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ
ในระยะยาวได้
 
ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับอาการเครียดจนนอนไม่หลับ และหาสาเหตุของอาการเครียดนอนไม่หลับวิธีแก้ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งแชร์ทริกจัดการกับความเครียดก่อนเข้านอน เพื่อให้ไม่เกิดการนอนไม่หลับเครียด และเพื่อให้คุณสามารถนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ

อาการของคนที่เครียดนอนไม่หลับนั้น สามารถเกิดได้ทั้งการนอนหลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง ง่วงแต่นอนไม่หลับ หรือตื่นเช้าก่อนเวลาและไม่สามารถกลับไปนอนต่อได้ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านร่างกายหรือปัญหาทางด้านจิตใจ อาการที่พบได้บ่อยเมื่อมีปัญหาเครียดจนนอนไม่หลับ นั่นก็คือ

  • ความเหนื่อยล้า
  • อาการง่วงระหว่างวัน
  • เกิดอารมณ์หงุดหงิดหรือโมโหง่าย
  • ไม่สามารถโฟกัสกับการทำงานได้
  • เกิดอาการซึมเศร้า
  • อาจเกิดอุบัติเหตุจากการนอนไม่เพียงพอ

ความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อการนอนหลับในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การทำให้สมองตื่นตัว การทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว การนอนไม่หลับกระสับกระส่าย การทำให้การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง หรือการทำให้ฝันร้าย 
เพราะเมื่อเรามีความเครียดสะสมอยู่ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีนที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง และทำให้ร่างกายตื่นตัว นอกจากนี้ ความเครียดยังสามารถทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียดและทำให้การหายใจตื้นขึ้น ซึ่งส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผ่อนคลายและเข้าสู่ภาวะหลับลึกได้ จึงทำให้เกิดปัญหาเครียดนอนไม่หลับ ซึ่งการนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ความเครียดสะสมมากขึ้น เป็นวงจรที่ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม

เชื่อว่าคนโดยส่วนมากอาจจะยังไม่รู้ว่าความเครียดที่ส่งผลต่อการนอนหลับจนทำให้เกิดอาการเครียดนอนไม่หลับนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ความเครียดเฉียบพลันและความเครียดเรื้อรัง ซึ่งแต่ละประเภทส่งผลต่อการนอนหลับที่แตกต่างกัน

ความเครียดแบบเฉียบพลัน (Acute Stress)

Acute Stress หรือความเครียดเฉียบพลัน เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจในระยะสั้น เช่น การทำงานที่มีความกดดันสูง การสอบ หรือเหตุการณ์ที่ทำให้ตกใจ ความเครียดเฉียบพลันสามารถทำให้ร่างกายและจิตใจตื่นตัวอย่างทันที ส่งผลให้การนอนหลับยากขึ้น แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป ความเครียดเฉียบพลันมักจะลดลงและทำให้การนอนหลับจะกลับมาเป็นปกติ

ความเครียดแบบเรื้อรัง (Chronic Stress)

Chronic Stress หรือความเครียดเรื้อรัง เกิดจากปัญหาที่ยืดเยื้อและไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะสั้น เช่น ปัญหาทางการเงิน ปัญหาครอบครัว หรือปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ความเครียดเรื้อรังสามารถสะสมและทำให้การนอนหลับไม่ดีในระยะยาว ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง ความเครียดเรื้อรังยังสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

ระยะของอาการเครียดนอนไม่หลับ

สำหรับใครที่คิดว่าตัวเองกำลังประสบปัญหากับอาการเครียดนอนไม่หลับอยู่นั้น มาลองเช็กตัวเองกันดีกว่าว่าอาการที่คุณเป็นอยู่คืออาการเครียดนอนไม่หลับในระยะใด เพื่อที่คุณจะได้รับมือและหาทางแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

Short-Term Insomnia

อาการเครียดนอนไม่หลับในระยะสั้น ๆ หรือ Short-Term Insomnia เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียดแบบเฉียบพลัน อย่างเช่น ปัญหาเกี่ยวข้องกับการทำงาน ความสูญเสีย ความกดดัน หรือแม้แต่สภาพแวดล้อมในห้องนอนของคุณที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ส่งผลให้เกิดอาการเครียดนอนไม่หลับระยะสั้นได้ ซึ่งการนอนไม่หลับระยะสั้นนี้มักจะเกิดติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน

Chronic Insomnia

Chronic Insomnia หรือภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง มักมีอาการเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน อาการเครียดนอนไม่หลับเรื้อรังเกิดจากความเครียดสะสมที่ยืดเยื้อและไม่ได้รับการแก้ไข
ส่งผลให้เกิดการนอนหลับไม่ดีเป็นระยะเวลานาน
 
ไม่ใช่ทุกคนที่ประสบปัญหาเครียดนอนไม่หลับเรื้อรังที่เกิดจากความเครียดสะสม แต่ผู้ที่มีความวิตกกังวลเป็นทุนเดิมอยู่แล้วมักจะมีโอกาสสูงที่จะเผชิญกับอาการนี้ การเปลี่ยนแปลงตารางการนอนหรือการเปลี่ยนแปลงในชีวิตก็สามารถเป็นสาเหตุได้เช่นกัน เมื่อเริ่มมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ผู้ที่วิตกกังวลมักจะรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการนอนและเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มระดับความเครียดในแต่ละวันและทำให้อาการนอนไม่หลับรุนแรงขึ้น

การนอนที่ดีมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เนื่องจากสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่เพราะได้รับการ
พักผ่อนที่เพียงพอ ใครที่กำลังรู้สึกว่าตนเองกำลังเผชิญกับปัญหาเครียดนอนไม่หลับลองนำทริกเหล่านี้ไปปรับใช้
เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนของคุณให้ดีขึ้น

คลายเครียดก่อนเข้านอน

เมื่อรู้แล้วว่าปัญหาของการนอนหลับในทุก ๆ วันเกิดขึ้นจากความเครียดซึ่งอาจจะเกิดได้จากทั้งความเครียดเฉียบพลันหรือความเครียดเรื้อรัง ให้ลองคลายความเครียดตามวิธีเหล่านี้เพื่อให้สามารถนอนหลับได้ง่ายมากขึ้น

  • การฝึกสมาธิและการทำโยคะ สามารถช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย การทำสมาธิก่อนนอนสามารถช่วยให้จิตใจปลอดโปร่งและลดความเครียดที่สะสมในระหว่างวัน
  • การหายใจลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย เทคนิคการหายใจที่ลึกและช้า ๆ สามารถช่วยให้ระบบประสาทสงบลงและเตรียมพร้อมสำหรับการนอนหลับ
  • การฟังเพลงเบา ๆ หรืออ่านหนังสือที่ช่วยให้ผ่อนคลาย การฟังเพลงเบา ๆ มีจังหวะช้าและเรียบง่ายสามารถช่วยให้จิตใจผ่อนคลายและหลับได้ง่ายขึ้น การอ่านหนังสือที่ไม่ต้องใช้ความคิดมากก่อนนอนก็สามารถช่วยให้หลับง่ายขึ้นเช่นกัน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของการนอน

ถ้าการคลายความเครียดก่อนนอนยังไม่สามารถทำให้คุณสามารถนอนหลับได้ ให้คุณลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศของการนอนหลับที่ดี

  • สร้างกิจวัตรการนอนที่สม่ำเสมอ โดยเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน การมีกิจวัตรการนอน
    ที่แน่นอนสามารถช่วยให้ร่างกายคุ้นเคยและเตรียมพร้อมสำหรับการนอนหลับ
  • ปรับห้องนอนให้มืด เงียบสงบ และมีอุณหภูมิที่เหมาะสม การตัดแสงและเสียงรบกวนที่เข้ามาในห้องนอนนั้น ช่วยให้ร่างกายไม่ถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้าได้ง่ายสำหรับคนที่นอนหลับยาก รวมไปถึงอุณหภูมิที่เหมาะสม
    จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและหลับได้ดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีก่อนนอน เช่น โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีก่อนนอนสามารถกระตุ้นสมองและทำให้การนอนหลับยากขึ้น โดยการหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนนอนเพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการนอนหลับมากที่สุด

อาการเครียดนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งผลกระทบของการนอนไม่หลับ เครียดส่งผลเสียสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างมากไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือระยะยาว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของอาการเครียดนอนไม่หลับ วิธีแก้ไขที่เหมาะสม และการจัดการความเครียดก่อนนอน สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับและลดผลกระทบจากความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากคุณพบว่าอาการเครียดจนนอน
ไม่หลับมีความรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ให้คุณรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษา
ที่เหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง