รู้สึกง่วงแต่นอนไม่หลับ ส่งผลเสียได้มากกว่าที่คิด

Health

ถ้าหากว่ามีอาหารง่วงแต่นอนไม่หลับในตอนดึกนั้น สามารถสันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคนอนไม่หลับ ซึ่งอาการง่วงแต่นอนไม่หลับนั้นมีได้หลากหลายสาเหตุและหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายใน การที่มีอาการง่วงนอนแต่นอนไม่หลับเป็นอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะบางคน จะรู้สึกง่วงมากแต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน ซึ่งปัญหานอนไม่หลับนั้น ถือเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานในหลาย ๆ คน แต่บางคนนั้นอาจจะยังไม่รู้จักกับโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia เป็นอาการที่หลาย ๆ คนมักพบเจอ จะรู้สึกว่าง่วงแต่นอนไม่หลับ ซึ่งอาการนี้จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก อาจจะทำให้เกิดอาการง่วงระหว่างวัน อ่อนเพลีย หงุดหงิด ขาดสมาธิ ทำงานหรือเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้มีปัญหาความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างได้ ซึ่งอาการนอนไม่หลับสามารถเป็นอาการชั่วคราวหรือยาวนานได้ และมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับอาจเป็นในด้านจิตวิทยา, ด้านกายภาพ, หรือด้านสภาพแวดล้อม เป็นต้น

การที่รู้สึกว่าง่วงแต่นอนไม่หลับ มักจะเกิดขึ้นจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ถาโถมเข้ามาไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายใน ซึ่งสาเหตุหรือปัจจัยต่าง ๆ ของอาการง่วงแต่นอนไม่หลับสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

ปัจจัยด้านจิตใจเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ที่มักรู้สึกง่วงแต่นอนไม่หลับหรือเกิดอาการหลับได้ยาก เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและสามารถกระทบถึงจิตใจของผู้คนได้โดยง่าย สามารถยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้

  • ภาวะความเครียด 
    เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้คนส่วนใหญ่ได้มากที่สุด เนื่องด้วยภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากมีเรื่องที่หนักใจหรือมีเรื่องให้ต้องใช้ความคิดเยอะ ก็เป็นสาเหตุหลักในการเกิดภาวะความเครียดได้ ซึ่งอาจจะเกิดจาก ความเครียดในสถานการณ์ส่วนตัว, ความเครียดที่เกิดจากการทำงาน หรือปัญหาภายในครอบครัว ล้วนแล้วแต่สามารถทำให้ผู้คนเกิดปัญหาง่วงแต่นอนไม่หลับได้ทั้งนั้น
  • ภาวะซึมเศร้า 
    เป็นภาวะที่รุนแรงมากกว่าภาวะความเครียด เกิดจากการสะสมความเครียดเอาไว้เยอะแต่กลับไม่ได้ระบายออกไป จนส่งผลให้เกิดภาวะนี้ขึ้นได้ คนที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะมีปัญหาง่วงแต่นอนไม่หลับ เนื่องจากความเครียดและความเป็นกังวลในเรื่องต่าง ๆ จนทำให้ไม่สามารถนอนหลับลงได้
  • ภาวะวิตกกังวล 
    เป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อความเครียด ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงมากกว่าภาวะความเครียดเช่นเดียวกัน ซึ่งหากเกิดภาวะนี้เพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ ปัญหาง่วงแต่นอนไม่หลับก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ปัจจัยในด้านนี้ เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับร่างกายของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยตามร่างกาย หรือเป็นโรคภัยต่าง ๆ แม้กระทั่งการใช้ยาบางชนิด หรือการแพ้อาหารบางประเภท ก็ถือเป็นปัจจัยในด้านร่างกายที่ส่งผลให้เกิดอาการง่วงแต่นอนไม่หลับ ได้ ซึ่งปัจจัยด้านร่างกายอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • การมีโรคประจำตัว 
    เช่น โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคปวดเรื้อรัง หรือโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับอยู่ โรคเหล่านี้จะมารบกวนการนอนหลับ ทำให้เกิดอาการง่วงแต่นอนไม่หลับได้
  • การติดยาหรือสารเสพติด 
    การที่ใช้สารเสพติดในช่วงแรกอาจทำให้เกิดอาการง่วงและสามารถหลับได้ในช่วงแรก ๆ แต่จะส่งผลในระยะยาวนั่นก็คือ คุณภาพในการนอนหลับจะไม่สามารถหลับลึกได้เท่าเดิม ตื่นง่าย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้สารที่มีฤทธิ์เสพติดเหล่านี้เป็นประจำ อาจทำให้มีอาการนอนไม่หลับได้มากขึ้นกว่าเดิมเมื่อหยุดใช้สารนั้น ๆ สรุปได้ว่าการใช้ยาหรือสารเสพติดต่าง ๆ เป็นสาเหตุของความง่วงแต่นอนไม่หลับและอาจนำไปสู่โรคนอนไม่หลับตามมาได้
  • การแพ้อาหารหรือแพ้ยาบางชนิด 
    เมื่อเกิดอาการแพ้ สิ่งที่ตามมาในช่วงแรกอาจจะมีผื่นคันเกิดขึ้น ไอ จาม หรือแน่นหน้าอก อาการเหล่านี้อาจจะไปรบกวนการนอนหลับในตอนกลางคืนได้ จึงทำให้รู้สึกง่วงแต่นอนไม่หลับมากขึ้นและอาจนำไปสู่โรคนอนไม่หลับได้
  • การใช้ยาบางชนิด 
    ยกตัวอย่างเช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยารักษาโรควิตกกังวล ซึ่งยาเหล่านี้มีฤทธิ์ที่ทำให้นอนไม่หลับจึงอาจส่งผลให้เกิดอาการง่วงแต่นอนไม่หลับได้

ปัจจัยรูปแบบนี้เป็นปัจจัยที่อยู่ภายนอกร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ล้วนแล้วแต่มีผลต่อคุณภาพในการนอนเช่นเดียวกัน หากรู้สึกง่วงแต่นอนไม่หลับและร่างกายไม่ได้มีความผิดปกติใด ๆ ก็สามารถสันนิษฐานได้เลยว่า อาการง่วงแต่นอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ ไม่ว่าจะเป็นอากาศ อุณหภูมิห้อง เสียงรบกวน แสงสว่าง โดยปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการนอนหลับมีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนหลับ
    การทำงานในกะเวลาที่แตกต่างหรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนหลับ เช่น การเปลี่ยนแปลงเวลานอน ก็อาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับได้ เนื่องจากร่างกายยังคงไม่คุ้นชินกับการนอนในรูปแบบเวลาใหม่ จึงยังเกิดอาการที่ง่วงแต่นอนไม่หลับ ทางที่ดีจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนเวลาในการนอนมากจนเกินไป
  • การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน
    การเล่นโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนนอน อาจจะทำให้เกิดอาการง่วงนอนแต่นอนไม่หลับได้ เนื่องจาก หน้าจอโทรศัพท์ หรือจอคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันนั้น มีแสงสีฟ้า ซึ่งแสงนั้นจะไปกระตุ้นการผลิตสารเมลาโทนิน ที่เป็นสารควบคุมการหลับและการตื่น ทำให้สมองคิดว่ากลางคืนเป็นกลางวัน จนทำให้เกิดความรู้สึกง่วงแต่นอนไม่หลับและส่งผลให้เกิดโรคนอนไม่หลับได้
  • สภาพแวดล้อมในห้องนอนที่ไม่เหมาะสม 
    หากเราง่วงมากแต่นอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นได้จากการเสียงดังรบกวน อากาศไม่ถ่ายเท อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือการเปิดไฟนอน สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการนอนหลับเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกิดความรู้สึกง่วงแต่นอนไม่หลับและส่งผลให้เกิดโรคนอนไม่หลับได้

นอกจากนี้ โรคนอนไม่หลับ หรืออาการง่วงแต่นอนไม่หลับ ยังสามารถเกิดขึ้นจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การเดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก ที่อาจจะทำให้ปรับเปลี่ยนเวลานอนไม่ทัน หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนกะทันหัน อย่างการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น ซึ่งสามารถศึกษาวิธีแก้นอนไม่หลับได้ โดยมีเทคนิคต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การนอนหลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นได้

การนอนหลับเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ ซึ่งการนอนหลับไม่เพียงพอหรือการนอนไม่หลับเป็นประจำ ส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจได้หลากหลายประการ ดังนี้

ผลเสียของความง่วงแต่นอนไม่หลับในด้านร่างกายมีหลากหลายอย่าง เนื่องจาก ในระหว่างวันร่างกายจะถูกใช้งานหนักมาก ทั้งในด้านความคิดและในด้านกายภาพ หากไม่ได้มีการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในตอนกลางวันได้อย่างเต็มที่ ซึ่งผลเสียทางด้านร่างกายจากการง่วงแต่นอนไม่หลับก็มีดังนี้

  • เกิดการอ่อนเพลียหรือง่วงนอนระหว่างวันอาการง่วงนอนระหว่างวันเนื่องจากการง่วงนอนแต่นอนไม่หลับจะส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย และง่วงนอนได้ในระหว่างวัน 
  • ขาดสมาธิในการทำงานหรือการเรียน การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ขาดสมาธิในการทำงาน หรือการเรียนได้
  • มีปัญหาในด้านความจำและการเรียนรู้ การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะทำให้สมองไม่สามารถจดจำข้อมูลใหม่ ๆ ได้ และอาจทำให้การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นั้นเป็นไปได้ยากขึ้น
  • ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานลดลง การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดโรคหรือไม่สบายได้
  • น้ำหนักขึ้นง่าย การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความหิวเพิ่มมากขึ้น ทำให้รู้สึกอยากอาหารและกินในจำนวนที่มากขึ้น
  • ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ส่งผลให้มีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรืออาการกรดไหลย้อนได้

ผลเสียของความง่วงแต่นอนไม่หลับในด้านจิตใจนั้น ถือเป็นด้านที่ละเอียดอ่อนต่อทั้งตัวเองและคนรอบข้างเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจของเราแล้ว ยังอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ของคนรอบข้างได้อีกด้วย ซึ่งผลเสียในด้านจิตใจก็มีดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะทำให้สมองหลั่งฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน หรือฉุนเฉียวได้ง่ายขึ้น
  • เครียดและความวิตกกังวล การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะทำให้สมองไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลได้ง่ายขึ้น
  • ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การนอนไม่หลับทำให้อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป และอาจจะเผลอมีการระบายอารมณ์ใส่คนรอบข้าง และทำให้เกิดปัญหาในด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้

อาการง่วงนอนแต่นอนไม่หลับ ยังส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็กและเยาวชนได้อีกด้วย เด็กที่นอนไม่หลับอาจมีปัญหาด้านอารมณ์ สมาธิในการเรียนรู้ พฤติกรรม และความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงได้อีกด้วย

หากใครที่กำลังมีปัญหาเรื่องง่วงมากแต่นอนไม่หลับ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนเป็นอย่างแรก โดยสามารถทำตามวิธีแก้นอนไม่หลับ หรือเทคนิคเหล่านี้ได้

  • เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา ร่างกายของคนเราจะมีวงจรการหลับ-ตื่นตามธรรมชาติ โดยผู้ใหญ่ควรเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาเดียวกันในทุกวัน ถึงแม้ว่าจะเป็นวันหยุดก็ตาม
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก่อนนอน เครื่องดื่มเหล่านี้มีสารที่รบกวนการนอนหลับ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ก่อนนอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นประจำจะสามารถช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ก่อนนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  • สร้างสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะกับการนอนหลับ ห้องนอนควรมืด เงียบ เย็นสบาย และปราศจากสิ่งรบกวน เพื่อทำให้บรรยากาศในตอนเข้านอนนั้นผ่อนคลายมากขึ้น
  • ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย การทำสมาธิ การหายใจลึก ๆ จะสามารถช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย ส่งผลให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น
  • อาบน้ำอุ่นก่อนนอน การอาบน้ำอุ่นจะช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ ทำให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น
  • อ่านหนังสือหรือฟังเพลงเบา ๆ ก่อนนอน กิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย จะสามารถช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน การนอนกลางวันที่นานเกินไป อาจทำให้นอนหลับยากในตอนกลางคืนได้

หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับแล้วแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น ยังรู้สึกง่วงแต่นอนไม่หลับเหมือนเดิม ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสมและถูกวิธี

ความรู้สึกที่ง่วงแต่นอนไม่หลับนั้น เกิดได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นภายในจิตใจ ร่างกาย และภายนอก อาการง่วงนอนแต่นอนไม่หลับสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก ซึ่งอาการง่วงแต่นอนไม่หลับสามารถเรื้อรังไปเป็นโรคนอนไม่หลับได้ หลาย ๆ คนที่รู้สึกง่วงมากแต่นอนไม่หลับก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนได้ หรือหาเทคนิคต่าง ๆ เพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง