รู้ทันโรคร้าย สยบด้วยการรักษาปลายประสาทอักเสบ

Health / Others

ปลายประสาทอักเสบ เมื่อความรู้สึกกลายเป็นความทรมานที่ต้องรักษา

การรักษาปลายประสาทอักเสบเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากภาวะนี้เกิดจากเส้นประสาทได้รับความเสียหายและสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในหลายด้าน เช่น การเดิน การจับสิ่งของ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน แม้ว่าจะเป็นภาวะที่ดูน่ากังวล แต่ในปัจจุบันมีวิธีรักษาปลายเส้นประสาทอักเสบมากมายที่ไม่เพียงแค่บรรเทาอาการปวด แต่ยังช่วยฟื้นฟูเส้นประสาทให้กลับมาทำงานได้ในระยะยาว หากรู้สาเหตุและวิธีแก้ปลายประสาทอักเสบที่ถูกต้อง ดังนั้นบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักสาเหตุของโรคปลายประสาทอักเสบ พร้อมแนะนำว่าเส้นประสาทอักเสบรักษาได้ยังไงบ้าง? เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

โรคปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) เกิดจากความเสียหายของเส้นประสาทส่วนปลายที่ทำหน้าที่รับส่งคำสั่งจากสมองและไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ภาวะนี้มักพบในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มเสี่ยงบางประเภท หากไม่ได้รับการรักษาปลายประสาทอักเสบอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดอาการปวด ชา หรืออ่อนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาปลายประสาทอักเสบในปัจจุบันสามารถช่วยบรรเทาและฟื้นฟูอาการได้ดี หากสามารถระบุสาเหตุของโรคได้อย่างถูกต้องและเลือกวิธีแก้ปลายประสาทอักเสบที่เหมาะสม ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ของโรคปลายประสาทอักเสบมีดังนี้

  • โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคปลายประสาทอักเสบได้มากกว่า 50% เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่ไม่ได้รับการควบคุมทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย
  • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคโจเกรน โรคลูปัส โรคข้อรูมาตอยด์ และโรคกิลแลง-บาร์เร ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเส้นประสาท
  • การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย การติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคไลม์ โรคงูสวัด ไวรัสตับอักเสบบีและซี โรคเรื้อน และโรคคอตีบ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาท
  • ภาวะทางพันธุกรรม เช่น โรค Charcot-Marie-Tooth ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาจทำให้เส้นประสาทส่วนปลายได้รับความเสียหาย
  • มะเร็งและเนื้องอก การกระจายของมะเร็งและเนื้องอกไปยังเส้นประสาทหรือการกดทับเส้นประสาทสามารถทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบได้
  • ความผิดปกติของไขกระดูก เช่น โรคมะเร็งกระดูก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือโรคที่เกิดจากการสะสมโปรตีนในเลือดผิดปกติ สามารถส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทได้
  • การสัมผัสกับสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท สารพิษจากยาเคมีบำบัด รวมถึงสารเคมีอันตรายอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อเส้นประสาทอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบ
  • ภาวะบาดเจ็บจากการกดทับเส้นประสาท เช่น อุบัติเหตุ หรือการหกล้ม การบาดเจ็บนี้อาจส่งผลให้เส้นประสาทส่วนปลายถูกทำลายและนำไปสู่ปลายประสาทอักเสบ
  • ภาวะขาดวิตามิน เช่น วิตามิน B1 B6 B12 วิตามินอี และไนอาซิน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานของเส้นประสาท หากขาดวิตามินเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการปลายประสาทอักเสบ

โรคปลายประสาทอักเสบเป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่สำคัญและอาจนำไปสู่ความเสียหายถาวร ดังนั้นการรู้จักสัญญาณเตือนของโรคนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจ เพื่อให้คุณสามารถเข้ารับการรักษาปลายประสาทอักเสบได้อย่างทันท่วงที ในส่วนนี้เราจะพาทุกคนไปดูสัญญาณเตือนอาการของโรคปลายประสาทอักเสบและช่วยให้คุณสามารถสังเกตตัวเอง คนรอบข้าง ตลอดถึงสามารถรู้วิธีรักษาปลายเส้นประสาทอักเสบได้ก่อนสายเกินไป

  • ชาและเหน็บ: ผู้ที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบในระยะแรก ๆ มักจะเกิดความรู้สึกชาและเหน็บบริเวณปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาการนี้อาจลามไปที่ขาและแขนได้เช่นกัน
  • การสูญเสียความรู้สึก:  ผู้ที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบมักเกิดอาการสูญเสียความรู้สึกบริเวณปลายมือ ปลายเท้าที่ลดลงหรือหายไป
  • ปวดแสบปวดร้อน: ผู้ที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบมักมีความรู้สึกคล้ายว่าถูกของมีคมทิ่มแทง หรือมีอาการแสบร้อนที่มือและเท้า
  • ไวต่อการสัมผัส: ผู้ที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบมักไวต่อการสัมผัสมากเกินไป หรือรู้สึกเจ็บปวดจากการสัมผัสเพียงเล็กน้อย
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง: ผู้ที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่เท้าและขา ซึ่งอาจทำให้เคลื่อนไหวได้ยากกว่าปกติ
  • เสียการทรงตัว: ผู้ที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบมักมีปัญหาด้านการทรงตัวและอาจทำให้หกล้มได้ง่าย
  • ความดันโลหิตต่ำ: ผู้ที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบอาจเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำที่นำไปสู่การเวียนหัวหรือหน้ามืด โดยเฉพาะเวลาลุกขึ้นจากท่านั่ง
  • อาการท้องผูกหรือท้องเสีย: ผู้ที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบมักมีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารผิดปกติ และอาจทำให้มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียบ่อยครั้ง
  • เหงื่อออกผิดปกติ: ผู้ที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบอาจมีอาการเหงื่อออกมากเกินไป หรือไม่สามารถขับเหงื่อได้

เมื่อทราบแล้วว่าสัญญาณเตือนของโรคปลายประสาทอักเสบเป็นอย่างไร การเลือกวิธีแก้ปลายประสาทอักเสบหรือวิธีรักษาปลายเส้นประสาทอักเสบที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นฟูและบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการรักษาปลายประสาทอักเสบจะมุ่งเน้นการลดอาการปวดและฟื้นฟูการทำงานของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อป้องกันไม่ได้เกิดความเสียหายอย่างถาวรต่อระบบประสาท ซึ่งวิธีรักษาปลายเส้นประสาทอักเสบในปัจจุบันนั้นก็สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของแพทย์ว่าจะพิจารณาวิธีรักษาปลายประสาทอักเสบยังไงให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดในอนาคต

1. การรักษาด้วยยา

เมื่อแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยแล้ว การรักษาปลายประสาทอักเสบด้วยการใช้ยามักเป็นการรักษาเริ่มแรกที่แพทย์จะสั่งเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ และฟื้นฟูเส้นประสาทให้กลับมาทำงานได้ปกติ ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษามักจะเน้นไปที่ยาลดอาการเจ็บปวด ชา หรือลดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามอาการของผู้ป่วย

  • ยาบรรเทาปวด: แพทย์อาจมีการสั่งยาบรรเทาอาการปวดตามความรุนแรงของอาการที่พบ เช่น ยาลดอาการอักเสบ สำหรับบรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรง 
  • ยารักษาโรคที่มีผลต่อเส้นประสาท: เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการชาและอาการปวดจากการอักเสบของเส้นประสาท เช่น  Gabapentin หรือ Pregabalin 
  • วิตามิน B12 Active: มีบทบาทในการบำรุงและฟื้นฟูเส้นประสาทที่ได้รับความเสียหาย ทั้งยังช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อและส่งเสริมการสร้าง Myelin ทำให้เส้นประสาทส่งสัญญาณได้ดีขึ้น

2. การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (TENS)

การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation หรือ TENS)
เป็นวิธีแก้ปลายประสาทอักเสบหรือบำบัดโรคเส้นประสาทอักเสบโดยการใช้กระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ในการกระตุ้นเส้นประสาทผ่านผิวหนัง เพื่อลดอาการปวด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการรักษามักใช้เวลาอยู่ที่ 30 นาทีต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน

3. การรักษาด้วยการบำบัด

อีกหนึ่งวิธีรักษาปลายเส้นประสาทอักเสบที่สามารถพบได้คือ การรักษาด้วยการฝึกกายภาพบำบัด เช่น การฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย การใช้เครื่องมือช่วยเดิน เนื่องจากผู้ป่วยปลายประสาทอักเสบจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวตัวได้ยาก การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ตลอดถึงใช้เครื่องมือช่วยพยุงอย่าง รถเข็นและไม้เท้าจึงเป็นส่วนสำคัญในการฟื้นฟูเส้นประสาทและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการหกล้มได้

4. การผ่าตัด

ในบางกรณีที่โรคปลายประสาทอักเสบเกิดการกดทับเส้นประสาทจากเนื้องอก หรือตรวจพบความผิดปกติอื่น ๆ แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยผ่าตัดเป็นวิธีรักษาปลายเส้นประสาทอักเสบเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วยลง

5. การรักษาด้วยพลาสมา Plasmapheresis และ IVIg

การรักษาด้วยพลาสมาเฟอเรซิส (Plasmapheresis) และอิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous Immunoglobulin : IVIg) เป็นอีกวิธีรักษาปลายเส้นประสาทอักเสบ
ที่สามารถลดอาการอักเสบและฟื้นฟูเส้นประสาทได้ดี โดยพลาสมาเฟอเรซิสเป็นการรักษาปลายประสาทอักเสบโดยการกรองเลือดเพื่อนำแอนติบอดีและโปรตีนที่เป็นอันตรายออก ส่วนการให้อิมมูโนโกลบูลินเป็นการรักษาปลายประสาทอักเสบโดยการถ่ายโปรตีนที่ช่วยยับยั้งระบบภูมิกันให้แก่ผู้ป่วย

6. การดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน

สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับวิธีแก้ปลายประสาทอักเสบคือการใส่ใจดูแลตัวเองในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมน้ำหนักและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงโรคปลายประสาทอักเสบ นอกจากนี้การหลีกเลี่ยงการโดนสารเคมี การงดดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหา และเพิ่มการไหลเวียนเลือดก็เป็นการรักษาปลายประสาทอักเสบที่มีประสิทธิภาพ

โรคปลายประสาทอักเสบไม่เพียงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด ชา หรืออ่อนแรงเท่านั้น แต่ปัญหาเหล่านี้อาจพัฒนาไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว หากไม่ได้รับการดูแลและการรักษาปลายประสาทอักเสบ ดังนั้นการเฝ้าระวังโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้าม เมื่อพบอาการผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์และหาวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมืออย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปสู่ภาวะที่รักษาได้ยากในภายหลัง

และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถติดตามและเฝ้าระวังอาการโรคปลายประสาทอักเสบที่อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ เราจึงได้รวบรวมภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมาฝาก ดังนี้

  • บาดแผลที่เกิดจากการขาดความรู้สึก: อาการชาและการสูญเสียความรู้สึกจากปลายประสาทอักเสบอาจทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ว่าตัวเองได้รับบาดเจ็บและอาจทำแผลลุกลามจนรุนแรงได้
  • การติดเชื้อจากบาดแผล: การไม่รับรู้ความเจ็บปวดจากบาดแผล ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้ดูแลแผลอย่างเหมาะสม นำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงและลุกลามได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่ติดเชื้อง่าย
  • การหกล้มและเสียการทรงตัว: ปลายประสาทอักเสบอาจทำให้เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวได้รับผลกระทบ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจทำให้บาดเจ็บหรือเกิดอันตรายได้
  • ความเสียหายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด: เส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือดที่ได้รับผลกระทบ อาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือหัวใจเต้นผิดปกติ 
  • ปัญหาการทำงานของระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย: โรคปลายประสาทอาจส่งผลกระทบต่อระบบอัตโนมัติในร่างกาย ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติ

การรักษาปลายประสาทอักเสบเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการฟื้นฟูเส้นประสาทที่ได้รับความเสียหายและบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคนี้ได้ ซึ่งวิธีแก้ปลายประสาทอักเสบหรือวิธีรักษาปลายเส้นประสาทอักเสบในปัจจุบันมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ เช่น การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด การผ่าตัด ตลอดถึงการดูแลสุขภาพด้วยตนเองอย่างการออกกำลังกาย ดังนั้นเมื่ออ่านมาถึงนี้แล้วทุกคนจะเห็นได้ว่าเส้นประสาทอักเสบรักษาให้ดีขึ้นได้ หากให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยก็จะสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง