สมองฝ่อ อาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

Brain / Health

รู้จักกับภาวะสมองฝ่อ อาการทางสมองที่ทุกคนควรให้ความใส่ใจ

ภาวะสมองฝ่อ อาการผิดปกติทางสมองนี้เป็นอาการที่มักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่หลาย ๆ คนอาจยังไม่ได้รู้จักกับอาการสมองฝ่อสักเท่าไรนัก ไม่รู้ว่าจะสังเกตอาการคนรอบข้างอย่างไรว่าเข้าข่ายโรคสมองฝ่ออาการต่าง ๆ นี้หรือไม่?

ดังนั้นภายในบทความนี้จึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอาการสมองฝ่อในผู้สูงอายุ ดูว่าภาวะสมองฝ่ออาการเป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไร แล้วอัลไซเมอร์อาการต่าง ๆ ที่เรารู้จักกันนี้มีความเกี่ยวข้องกับอาการสมองฝ่อหรือไม่ เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น และสามารถเตรียมการป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะสมองฝ่อได้อย่างทันท่วงที

ร่วมไขข้อสงสัย ภาวะสมองฝ่ออาการต่าง ๆ นี้คืออะไรกันนะ?

ภาวะสมองฝ่อ หรือ Cerebral Atrophy คือภาวะที่เนื้อเยื่อสมองเกิดการสูญเสียเซลล์สมอง เส้นใยประสาท หรือการเชื่อมต่อระหว่างกันของเซลล์สมอง ซึ่งอาการสมองฝ่ออาจทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ความทรงจำ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รวมถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายถดถอยลง

โดยมากแล้วภาวะสมองฝ่ออาการเหล่านี้มักจะพบในกลุ่มของผู้สูงวัย เนื่องจากเป็นอาการเสื่อมที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยเป็นปกติ ทว่าในผู้สูงอายุบางรายอาจไม่พบอาการสมองฝ่อได้ ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน มีการใช้งานหรือบริหารสมองตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น

ภาวะสมองฝ่ออาการต่าง ๆ นี้สามารถเกิดจากอะไรได้บ้าง?

สาเหตุของการเกิดภาวะสมองฝ่ออาการต่าง ๆ นี้มีด้วยกันหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น เกิดจากอุบัติเหตุ เกิดจากโรคประจำตัว เช่น โรคอัลไซเมอร์อาการต่าง ๆ เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นต้น ซึ่งสามารถอธิบายแต่ละสาเหตุได้ดังนี้

เกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น

อาการสมองฝ่อในผู้สูงอายุนั้นเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามช่วงวัยที่เพิ่มมากขึ้น โดยสมองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ เมื่ออายุมากเซลล์สมองอาจยิ่งเกิดความสูญเสียมากขึ้น จึงทำให้ภาวะสมองฝ่อเป็นอาการที่สามารถพบได้มากในกลุ่มของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาการสมองฝ่อมักจะพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่จริง ๆ แล้วอาการดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัย

เกิดจากอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บทางศีรษะที่ส่งผลกระทบต่อสมอง อาจทำให้เกิดการสูญเสียเซลล์สมองอันนำไปสู่ภาวะสมองฝ่อได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะสมองฝ่อเช่นกัน

เกิดจากโรคประจำตัว

โรคประจำตัวเองก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อมอาการต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์ที่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งของอาการสมองฝ่อในผู้สูงอายุ เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์นั้นเกิดจากการที่เซลล์สมองล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะสมองฝ่อได้ เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการสมองฝ่อขึ้นได้เช่นกัน

เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต

ผู้ที่มีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่ละเลยต่อสุขภาพของตนเองนั้นมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการสมองฝ่อสูงกว่าผู้ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองฝ่อมากกว่าผู้ที่หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่

ภาวะสมองฝ่ออาการเป็นอย่างไร? ไปดูพร้อม ๆ กันได้เลย

การมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองฝ่ออาการต่าง ๆ จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการของคนที่เรารักและค้นพบกับอาการสมองฝ่อในผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที ซึ่งโดยมากแล้ว โรคสมองฝ่ออาการที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนมีดังนี้

  • ความทรงจำถดถอยลง
  • ใช้เวลานานขึ้นในการคิดวิเคราะห์
  • อาจมีอาการเกร็งกล้ามเนื้อแขนและขา เคลื่อนไหวร่างกายลำบากขึ้น
  • มีปัญหาในด้านของการสื่อสาร

อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่มีอาการสมองฝ่อบางรายอาจไม่ปรากฏอาการที่แสดงให้เห็นถึงภาวะสมองฝ่อก็เป็นได้ เนื่องจากอาจเกิดการสูญเสียเซลล์สมอง แต่ว่าประสิทธิภาพในการทำงานของสมองไม่ได้ลดลง ทำให้ไม่ปรากฏอาการใด ๆ ออกมาให้เห็นได้ชัด ซึ่งบอกเลยว่าไม่มีอะไรที่ต้องเป็นกังวลไป เพราะนั่นเป็นเพียงแค่ความเสื่อมตามช่วงวัยที่ไม่เป็นอันตรายและไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากนัก

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการสมองฝ่อ?

หลังจากที่ได้รู้จักสาเหตุของภาวะสมองฝ่อกันมาแล้ว จะเห็นได้ว่าภาวะสมองฝ่ออาการต่าง ๆ นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ซึ่งกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองฝ่อนั้นมีด้วยกันหลากหลายกลุ่ม เช่น

  • ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปี
  • ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว
  • ผู้ที่มีประวัติโรคทางระบบประสาทในครอบครัว

กิจกรรมชะลออาการสมองฝ่อ

จะสามารถชะลอการเกิดภาวะสมองฝ่อได้อย่างไรบ้าง?

หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับภาวะสมองฝ่อกันไปพอสมควรแล้ว หลายคนอาจเกิดความสงสัยขึ้นมาว่าแล้วเราจะสามารถชะลอการเกิดภาวะสมองฝ่อได้อย่างไรบ้าง? ซึ่งตามจริงแล้วการป้องกันหรือชะลอการเกิดอาการสมองฝ่อในผู้สูงอายุนั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธี เช่น

ทำกิจกรรมบริหารสมอง

หนึ่งในวิธีที่เป็นที่นิยมและได้ผลมากที่สุดก็คือการทำกิจกรรมบริหารสมองนั่นเอง ซึ่งการทำกิจกรรมที่มีส่วนในการใช้ความคิดและพัฒนาสมอง ทำให้สมองได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ช่วยให้เซลล์สมองมีการพัฒนาและเกิดการเชื่อมต่อกันมากขึ้น ชะลอการเกิดสมองฝ่ออาการต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งรูปแบบของการทำกิจกรรมบริหารสมองได้ดังนี้

กิจกรรมฝึกความคิด

การทำกิจกรรมที่บริหารสมองโดยการฝึกความคิดนั้น เป็นการออกกำลังกายสมองด้วยการใช้ความคิด วิเคราะห์ คำนวณสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • ทายปัญหาเชาว์
  • คิดเลข
  • เล่นเกมฝึกสมอง เช่น หมากรุก

กิจกรรมฝึกความทรงจำ

การบริหารสมองโดยกิจกรรมฝึกความทรงจำนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ในทุกวัน เพียงแค่นึกทบทวนเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านมา เรียกความทรงจำของตนเอง เช่น

  • นึกทบทวนเรื่องราวแล้วเขียนไดอารีในทุก ๆ วัน
  • ร้องเพลงโดยไม่ดูเนื้อเพลง
  • สวดมนต์โดยไม่ดูหนังสือสวดมนต์

กิจกรรมฝึกความคิดสร้างสรรค์

อีกหนึ่งการบริหารสมองที่มีประสิทธิภาพก็คือการทำกิจกรรมฝึกความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง โดยอาจฝึกฝนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วยการ

  • วาดภาพระบายสี
  • เล่นดนตรี
  • ทำงานฝีมือ
  • ทำอาหารเมนูใหม่ ๆ

กิจกรรมฝึกการใช้ภาษา

การบริหารสมองด้วยกิจกรรมฝึกการใช้ภาษาเองก็เป็นการออกกำลังกายสมองเพื่อชะลออาการสมองฝ่อที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน โดยสามารถบริหารสมองด้วยการฝึกใช้ภาษาได้ดังนี้

  • เรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ
  • สนทนากับคนอื่นเป็นประจำ

ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

การดูแลสุขภาพร่างกายตนเองให้แข็งแรงนั้นเป็นพื้นฐานของการรักษาสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดสมองฝ่ออาการต่าง ๆ ก่อนวัยอันควรได้อีกด้วย ซึ่งสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ง่าย ๆ เพียงแค่

  • รับประทานอาหารที่มีโภชนาการให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บโดยเฉพาะบริเวณศีรษะ

งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่ออาการต่าง ๆ ก็คือการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยงดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั่นเอง

ตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ

หากพบอาการที่เข้าข่ายหรือสงสัยว่าจะเป็นอาการสมองฝ่อในผู้สูงอายุหรือเปล่า? ควรที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพ นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำยังทำให้สามารถตรวจพบความเสี่ยงของอาการสมองฝ่อในผู้สูงอายุและสามารถทำการป้องกันหรือชะลออาการดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที

จะเห็นได้ว่าภาวะสมองฝ่ออาการต่าง ๆ นี้เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียเซลล์สมอง เส้นใยประสาท หรือการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง ซึ่งอาการสมองฝ่อนี้ทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโรคสมองฝ่ออาการอาจแสดงออกมาให้เห็น เช่น ความทรงจำถดถอย ใช้เวลานานในการคิดวิเคราะห์ เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก มีปัญหาในด้านการสื่อสาร

อย่างไรก็ตาม อาการสมองฝ่อในผู้สูงอายุยังสามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดได้ด้วยการทำกิจกรรมบริหารสมอง ดูแลสุขภาพร่างกาย งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ บอกเลยว่าเพียงเท่านี้ก็สามารถชะลอการเกิดสมองฝ่ออาการต่าง ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นเร็วกว่าวัยอันควรได้อย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง