อาการท้องผูก สาเหตุหนึ่งของโรคร้ายที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

Health

อาการท้องผูก สาเหตุเกิดจากอะไร?… รู้หรือไม่? ว่าหากมีอาการของท้องผูกเรื้อรังจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายได้หลายโรค ซึ่งโรคมะเร็งลำไส้ก็จะมีในเรื่องของสาเหตุอาการท้องผูกมาเกี่ยวข้องด้วย

หลาย ๆ คนอาจรู้สึกไม่สบายท้อง ไม่สบายตัวจากอาการท้องผูกเป็นประจำและอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม อาการของท้องผูกไม่ใช่เรื่องปกติที่ควรมองข้ามหรือละเลย เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ แม้ว่าอาการท้องผูกจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งลำไส้โดยตรง แต่อาจนำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้

อาการท้องผูกเป็นลักษณะของการขับถ่ายที่นาน ๆ ครั้งจะถ่ายครั้งหนึ่ง ถ่ายอุจจาระลำบาก ท้องอืด และรู้สึกว่าขับถ่ายได้ไม่เต็มที่ รวมถึงอาจมีอุจจาระตกค้างที่ทำให้อุจจาระได้ไม่สุด ซึ่งความถี่ของการขับถ่ายอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่หากขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็อาจถือว่าท้องผูกได้

สำหรับอาการท้องผูก สาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น การรับประทานอาหารที่กากใยน้อย, การดื่มน้ำไม่เพียงพอ, การใช้ชีวิตแบบนั่งนิ่ง ๆ ไม่ค่อยลุกไปไหน, ไม่ค่อยออกกำลังกาย, การใช้ยาบางชนิด และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เป็นต้น  

แม้ว่าอาการท้องผูกจะไม่ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้โดยตรง แต่อาการท้องผูกแบบเรื้อรังก็สามารถนำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งลำไส้ได้ เนื่องจากการมีอาการท้องผูกเป็นเวลานานอาจเพิ่มการสัมผัสของลำไส้ใหญ่ต่อสารที่อาจเป็นอันตรายหรือสารพิษที่พบในอุจจาระ 

นอกจากนี้ หากอาการท้องผูกนำไปสู่การก่อตัวของอุจจาระแข็งและเพิ่มการเบ่งระหว่างการเคลื่อนไหวของลำไส้ มันอาจนำไปสู่การเกิดแผลรอยแยกที่ขอบทวารหนัก หรือริดสีดวงทวารได้ ซึ่งนั่นจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ในระยะยาว

อาการท้องผูก สาเหตุเกิดจากอะไร?

อาการท้องผูก สาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การใช้ชีวิตไปจนถึงการใช้ยาบางชนิดที่ทำให้ท้องผูก ซึ่งการทำความเข้าใจสาเหตุของอาการท้องผูกจะช่วยให้เราหาสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น แล้วสาเหตุอาการท้องผูกเกิดจากอะไรบ้าง?…

1. อาการท้องผูก สาเหตุเกิดขึ้นจากการบริโภคไฟเบอร์ไม่เพียงพอ

การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำ หรืออาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อย เป็นสาเหตุสำคัญของอาการท้องผูก เนื่องจากไฟเบอร์จะเข้าไปช่วยเพิ่มน้ำหนักและขนาดของอุจจาระ ทำให้ง่ายต่อการผ่านระบบย่อยอาหาร แต่หากรับประทานผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช และพืชตระกูลถั่วไม่เพียงพอก็จะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวลำบาก

2. อาการท้องผูก สาเหตุเกิดขึ้นจากการขาดน้ำ

การดื่มน้ำไม่เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ อาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำและทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ยากลำบากมากขึ้น เมื่อร่างกายขาดน้ำ ร่างกายจะดูดน้ำจากลำไส้ใหญ่ ทำให้อุจจาระแห้ง แข็ง และถ่ายได้ลำบาก

3. อาการท้องผูก สาเหตุเกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวัน

การขาดการออกกำลังกาย หรือการนั่งนิ่ง ๆ ไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน สามารถชะลอการบีบตัวตามธรรมชาติของลำไส้ (peristalsis) ซึ่งนำไปสู่อาการท้องผูกได้ ซึ่งการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้และทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น

4. อาการท้องผูก สาเหตุเกิดขึ้นจากการใช้ยาบางชนิด 

เนื่องจากยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ โดยเฉพาะยาระงับปวดในกลุ่ม Opioids นอกจากนี้ยังรวมถึงยากลุ่มอื่น ๆ อย่าง ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants), ยาลดกรด (Antacids) แบบที่มีแคลเซียม หรืออะลูมิเนียม, ยาความดันโลหิตบางชนิด และธาตุเหล็กเสริม เป็นต้น

5. อาการท้องผูก สาเหตุเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

ความแปรปรวนของฮอร์โมน เช่น ในช่วงรอบเดือน ระดับฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิงจะแปรปรวนหลังจากการตกไข่ ซึ่งนั่นอาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้และนำไปสู่อาการท้องผูกในบางคน

6. อาการท้องผูก สาเหตุเกิดขึ้นจากโรคที่เป็นอยู่

ด้วยโรคหรืออาการที่เป็นอยู่อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกเรื้อรังได้  เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome: IBS), ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism),  เบาหวาน (Diabetes), ความผิดปกติทางระบบประสาท อย่าง โรคพาร์กินสัน และความผิดปกติภายในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก เป็นต้น

7. อาการท้องผูก สาเหตุเกิดขึ้นจากปัจจัยทางอารมณ์

ความเครียดและความวิตกกังวลอาจส่งผลต่อการทำงานของลำไส้ เนื่องจากการเชื่อมต่อของลำไส้กับสมองมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการย่อยอาหาร ซึ่งความเครียดจะขัดขวางการเคลื่อนไหวของลำไส้ตามปกติ

ไม่ว่าอาการท้องผูก สาเหตุจะเกิดขึ้นจากอะไร หากมีอาการท้องผูกเรื้อรังควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัย เพื่อหาสาเหตุและเลือกการรักษาที่เหมาะสมในการจัดการกับอาการท้องผูกและปรับปรุงสุขภาพทางเดินอาหารอย่างถูกวิธี

อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าเป็นอาการคนท้องผูก?

อาการคนท้องผูกในแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันไป เนื่องจากแต่ละคนอาจรู้สึกไม่สบายในระดับที่ต่างกันและมีการเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหวของลำไส้ต่างกัน ซึ่งอาการท้องผูกหมายถึงภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่สบายในช่องท้องและเกิดอุจจาระตกค้างได้ แม้ว่าบางคนอาจมีอาการไม่รุนแรง แต่ในบางคนอาจมีอาการรุนแรงกว่านั้น ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการท้องผูกสามารถช่วยให้แต่ละคนรับรู้และแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

  • ความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ 
  • ใช้เวลาในการเบ่งอุจจาระนาน
  • เวลาเบ่งอุจจาระแล้วเจ็บ
  • ไม่สบายท้อง แน่นในช่องท้อง 
  • อุจจาระมีการตกค้าง
  • อุจจาระแข็งและแห้ง
  • เลือดออกทางทวารหนัก

ในบางครั้งอาการเหล่านี้ก็ไม่ได้การันตีเสมอไปว่าเป็นอาการของท้องผูก อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อย่าลืมเข้าพบแพทย์เพื่อรับการประเมิน การวินิจฉัย และคำแนะนำที่เหมาะสมในการจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

อาการท้องผูกบ่อยส่งผลอะไรบ้างกับร่างกาย?

สำหรับอาการของท้องผูกบ่อย ๆ อาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เนื่องจากส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดี อาการท้องผูก สาเหตุหลัก ๆ จะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่น้อยลงจนทำให้ขับถ่ายอุจจาระลำบากและอุจจาระตกค้าง ซึ่งเมื่อมันกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ก็จะส่งผลต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกายหลายอย่าง ดังนี้…

1. ริดสีดวงทวาร 

การเบ่งอุจจาระระหว่างการขับถ่าย เนื่องจากอาการท้องผูกสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดริดสีดวงทวารได้ ซึ่งริดสีดวงทวารคือภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณปลายสุดของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก บวม ยื่นออกมา ทำให้รู้สึกไม่สบาย คัน เจ็บ ปวด และบางครั้งอาจมีเลือดออกได้

2. ความดันในทรวงอกเพิ่มขึ้น

การเบ่งอุจจาระระหว่างท้องผูกอาจทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และอาจนำไปสู่สภาวะต่าง ๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง เป็นต้น

3. ความดันลูกตาสูงขึ้น

อาการของท้องผูกที่ทำให้ต้องเบ่งอุจจาระระหว่างการขับถ่าย ยังทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อผู้ที่มีภาวะสายตา อย่าง ต้อหิน เพราะความดันลูกตาที่สูงขึ้นจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของดวงตา

4. ไส้เลื่อน

ความดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้นจากอาการท้องผูก สามารถทำให้เกิดไส้เลื่อนได้ โดยไส้เลื่อนจะเกิดขึ้นก็เมื่ออวัยวะหรือเนื้อเยื่อยื่นออกมานอกช่องท้องผ่านผนังช่องท้องที่บอบบาง ซึ่งจะทำให้เกิดความเจ็บปวด รู้สึกไม่สบาย จนต้องเข้ารับการผ่าตัดในที่สุด

5. กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง

อาการท้องผูกอาจทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานซึ่งทำหน้าที่พยุงกระเพาะปัสสาวะ มดลูก และทวารหนักอ่อนแอลง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่อ่อนแรงสามารถนำไปสู่ภาวะต่าง ๆ เช่น การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งก็คือภาวะที่มีปัสสาวะซึมหรือไหลออกมาโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นั่นเอง

6. ลำไส้อุดตัน 

ในกรณีที่รุนแรงอาการท้องผูกเรื้อรังจนส่งผลให้เกิดอาการของลำไส้อุดตันได้ เช่น อาการปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน และไม่สามารถผายลมได้ เป็นต้น ซึ่งหากท้องผูกจนลำไส้อุดตันต้องรีบไปพบแพทย์ในทันทีเพื่อทำการรักษา

หากใครมีอาการท้องผูกบ่อย เราขอแนะนำว่าควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ในการหาสาเหตุอาการท้องผูกอย่างทันท่วงที เพื่อให้สามารถป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้และปรับปรุงสุขภาพทางเดินอาหารโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีได้อย่างเหมาะสม

การวินิจฉัยอาการท้องผูกทำได้อย่างไรบ้าง?

การวินิจฉัยอาการท้องผูก สาเหตุที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการประเมินประวัติทางการแพทย์ อาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติม ซึ่งการวินิจฉัยมักอิงจากลักษณะของอาการและทำการประเมินเพิ่มเติมเพื่อระบุสาเหตุอาการของท้องผูกที่แท้จริงและกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งการวินิจฉัยจะสามารถทำได้โดยวิธีอะไรบ้างนั้น? ตามไปอ่านเพิ่มเติมกันได้เลย

✔ ซักประวัติทางการแพทย์

แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการซักประวัติทางการแพทย์โดยละเอียด รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับความถี่และระยะเวลาของการขับถ่าย ความสม่ำเสมอของอุจจาระ อาการที่เกี่ยวข้อง (เช่น ปวดท้องหรือท้องอืด) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การใช้ยา และอาการท้องผูกครั้งก่อน ๆ เป็นต้น

ตรวจร่างกาย

อาจทำการตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการกดเจ็บ แน่นท้อง หรือมวลผิดปกติในช่องท้อง และอาจประเมินบริเวณทวารหนักเพื่อหาสัญญาณของริดสีดวงทวาร หรือแผลรอยแยกที่ขอบทวารหนักร่วมด้วย

ตรวจเพิ่มเติม

ในบางกรณีอาจแนะนำให้ทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินอาการท้องผูกและระบุสาเหตุที่ซ่อนอยู่ การตรวจเพิ่มเติมมักจะมีไว้สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกรุนแรงหรือเรื้อรัง ซึ่งตัวอย่างของการตรวจเพิ่มเติมอาจรวมถึง…

  • การตรวจเลือด

เพื่อตรวจสอบความไม่สมดุลของฮอร์โมน ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หรือความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ที่อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก

  •  ส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่

เพื่อแยกแยะความผิดปกติทางโครงสร้าง เนื้องอก หรืออาการอื่นๆ ที่อาจทำให้ท้องผูก

  • การตรวจการทำงานและฝึกกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก เพื่อประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอุจจาระ
  • การเอกซเรย์ หรืออัลตราซาวนด์

เพื่อประเมินโครงสร้างและการทำงานของระบบย่อยอาหารว่ามีความผิดปกติหรือไม่ 

โดยการพิจารณาอาการท้องผูก สาเหตุที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ จากประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย การประเมินอาการ และการตรวจเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้น จะช่วยให้สามารถแก้ไขสาเหตุที่แท้จริง บรรเทาอาการ และปรับปรุงการทำงานของลำไส้ ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้ ซึ่งวิธีการรักษาอาจรวมถึงการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต, การเปลี่ยนแปลงอาหาร, การดื่มน้ำให้เยอะขึ้น, การออกกำลังกาย รวมถึงการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เป็นต้น 

วิธีรักษาอาการท้องผูกมีอะไรบ้าง?

การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการท้องผูก สาเหตุและความรุนแรง ซึ่งในหลาย ๆ คน การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม สามารถรักษาอาการท้องผูกให้หายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในบางคนอาจจะต้องเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุอาการท้องผูกก่อนถึงจะทำการรักษาตามสาเหตุที่เป็นได้ โดยวิธีการรักษาก็จะมีหลายวิธี ได้แก่…

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

โดยการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เน้นพวก ผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด และพืชตระกูลถั่ว ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และสร้างนิสัยการเข้าห้องน้ำเป็นประจำ รวมถึงหลีกเลี่ยงการกลั้นเมื่อปวดอุจจาระ 

  • เลือกผลิตภัณฑ์เสริมใยอาหารที่มีประโยชน์

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางยี่ห้ออาจให้สารอาหารที่เพิ่มปริมาณอุจจาระและกระตุ้นการเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่ให้เร็วได้ ซึ่งช่วยให้อุจจาระนุ่มและขับถ่ายได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะสมร่างกาย

  • จัดการความเครียด

ความเครียดในระดับสูงอาจส่งผลต่อการทำงานของลำไส้ ดังนั้นควรฝึกเทคนิคการจัดการความเครียด เช่น การออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย การทำสมาธิ หรือการทำงานอดิเรก เพื่อช่วยลดความเครียดที่จะส่งผลต่ออาการของท้องผูกโดยตรง

  • ขอคำแนะนำจากแพทย์

หากมาตรการดูแลตนเองไม่ได้ช่วยบรรเทาอาหารท้องผูก หรือหากคุณมีอาการท้องผูกรุนแรงหรือเรื้อรัง สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้สามารถประเมินอาการ ระบุสาเหตุที่แท้จริง และแนะนำตัวเลือกการรักษาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน

และหากอาการของท้องผูกมาพร้อมกับอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เลือดออกทางทวารหนัก น้ำหนักลด หรือพฤติกรรมการขับถ่ายที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคที่ร้ายแรงได้

ดังนั้นไม่ว่าจะท้องผูกรุนแรง หรือไม่รุนแรง แต่หากมีอาการของท้องผูกบ่อย ๆ ก็ไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลยอาการท้องผูก เนื่องจากกรณีเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ การทำความเข้าใจอาการท้องผูก สาเหตุที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ อย่างทันท่วงที จะช่วยให้หาสาเหตุอาการท้องผูกและสามารถแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่อาการจะเป็นไปมากกว่านี้จนอาจทำให้รักษาได้ยาก

บทความที่เกี่ยวข้อง