ชวนมาเช็คอาการโรคเครียด ว่าคุณกำลังเครียดเกินไปหรือเปล่า
การเช็คอาการโรคเครียดเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เราได้รู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญกับภาวะเครียดหรือไม่ เพราะความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ อาการที่บ่งบอกว่าเครียดอาจเริ่มต้นจากการรู้สึกเหนื่อยล้า อารมณ์แปรปรวน ปวดศีรษะ หรือในบางคนอาจจะเครียดจนนอนไม่หลับ ถ้าไม่จัดการให้ดี ความเครียดสามารถพัฒนา
เป็นภาวะเครียดที่รุนแรงขึ้นได้
ในบทความนี้เราจะชวนคุณมาเช็คอาการโรคเครียด และเช็คภาวะเครียดในแต่ละระยะ อาการที่บ่งบอกถึงความเครียด รวมถึงผลกระทบของความเครียดต่อร่างกาย การทำงาน และชีวิตประจำวัน พร้อมวิธีจัดการกับความเครียดเพื่อให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ
เช็คอาการโรคเครียดในแต่ละระยะว่ามีอาการอย่างไรบ้าง
เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าภาวะเครียดนั้นมีหลายระยะ และมีอาการที่บ่งบอกถึงความเครียดในแต่ละระยะแตกต่างกันออกไป บางระยะอาจจะแค่เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไป จนไปถึงระยะที่ทำให้เครียดนอนไม่หลับได้
ซึ่งหากปล่อยไว้นานความเครียดนั้นจะส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้นเรามาเช็คอาการโรคเครียดแต่ละระยะไปพร้อมกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้รับมือกับความเครียดได้อย่างถูกต้อง
ระยะตกใจ (Alarm)
ระยะนี้จะเรียกได้ว่าเป็นระยะของการตอบสนองต่อความเครียดแบบฉับพลัน หลังจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างมา
กระตุ้น และทำให้คุณเกิดการตัดสินว่าจะต่อสู้หรือหนีจากเหตุการณ์ดังกล่าวดี ซึ่งจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งอะดรีนาลีนก็ถูกหลั่งออกมามากขึ้นเช่นกัน โดยอาการที่บ่งบอกว่าเครียดในระยะนี้จะแสดงออกมา เช่น
- รูม่านตาขยาย
- ปากแห้ง
- เหงื่อออกมากกว่าปกติ
- ผิวตัวเย็น เพราะเลือดถูกนำไปเลี้ยงที่อวัยวะส่วนอื่น เช่น สมอง หรือตา มากขึ้น
ระยะปรับสมดุล (Resistance)
ในระยะนี้ร่างกายของของคุณกำลังจะพยายามกลับสู่สภาะวะปกติ โดยมีการปล่อยฮอร์โมนบางตัวออกมาเพื่อลดความเครียด ซึ่งถ้าหากคุณยังมีความกดดันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถออกจากความกดดันนั้นได้ อาการเครียดด็อาจจะเลวร้ายลง ถ้าคุณอยู่ในระยะนี้อยากให้คุณลองหาแหล่งที่มาของความเครียด หรือลองค่อย ๆ คิดถึงวิธีแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมาและใจเย็น ๆ ก็จะสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดลงได้
ระยะฟื้นตัว (Coping)
สำหรับระยะที่ 3 หรือระยะฟื้นตัวนี้นับว่าเป็นระยะสำคัญของอาการที่บ่งบอกว่าเครียด เพราะร่างกายจะเริ่มฟื้นตัวและคืนสมดุล ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อปัญหาหรือสถานการณ์ที่เป็นต้นเหตุของความเครียดสิ้นสุดลง เช่น ปัญหาครอบครัวได้รับการแก้ไข โครงการที่รับผิดชอบมาเป็นระยะเวลานานเสร็จสิ้น เป็นต้น แต่ถ้าหากคุณอยากให้ร่างกายอยู่ในระยะฟื้นตัวแต่ปัญหานั้นยังไม่ได้รับการแก้ไขคุณก็สามารถปรับร่างกายได้ด้วยตนเอง เช่น การออกกำลังกาย
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น
ระยะปรับตัว (Adaptation)
อาการที่บ่งบอกถึงความเครียดในระยะถัดมานี้ก็คือระยะของการปรับตัว เมื่อคุณกำลังเผชิญกับสถานการณ์แห่งความเครียด คุณมีสองทางเลือกคือ เดินออกจากมันหรือปรับตัวเข้าหามัน โดยการปรับตัวอาจเกิดจากความรู้สึกหมดหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ซึ่งนั่นจะทำให้คุณประสบกับภาวะเครียดและส่งผลเสียในระยะยาวได้ เช่น
- รู้สึกมีพลังงานต่ำ ไม่อยากทำอะไร
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
- ความภูมิใจในตนเองต่ำลง
- มีความไม่มั่นคงทางอารมณ์
ระยะหมดไฟ (Burnout)
เมื่อคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้ เพราะคุณอาจจะไม่รู้วิธีการรับมือกับความเครียด
หรือปรับตัวเข้ากับความเครียดและอยู่กับมันอย่างยาวนานโดยที่ไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะหมดไฟ หากคุณลองเช็คอาการโรคเครียดตามรายการด้านล่างนี้แล้วพบว่ามีอาการเหล่านี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะหมดไฟที่คุณกำลังประสบอยู่โดยที่ไม่รู้ตัวก็เป็นได้
- มีความเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ
- รู้สึกหมดแรง ไม่อยากทำอะไร
- มีความคิดลบ
- เริ่มแยกตัวออกจากคนอื่น ไม่อยากเข้าสังคม
อาการของโรคเครียดส่งผลต่อร่างกายมากกว่าที่คุณคิดไว้
หลังจากที่เราได้เช็คอาการโรคเครียดในแต่ละระยะกันมาแล้วว่ามีระยะใดบ้าง ต่อมาเรามาดูกันดีกว่าว่าผลกระทบของความเครียดที่ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง โดยในบทความนี้จะขอแบ่งผลกระทบของความเครียดที่มีต่อร่างกายออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
ด้านการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
ภาวะเครียดและอาการที่บ่งบอกถึงความเครียดส่งผลให้เกิดโรคและอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นกับร่างกายไม่ว่าจะเป็น หน้ามืด เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน และแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียดเป็นระยะเวลานาน ระบบฮอร์โมนในร่างกายจะเสียสมดุล ทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลงจนเกิดอาการที่แสดงออกมาทางกายให้ได้เห็น เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง หรืออ่อนเพลีย ซึ่งถ้าหากมีความเครียดที่รุนแรงร่วมกับการมีโรคประจำตัวก็อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษไม่ให้ร่างกายเกิดความเครียดมากเกินไปเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอันตรายต่อชีวิต
ด้านจิตใจและอารมณ์
การเช็คอาการโรคเครียดเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะความเครียดยังส่งผลให้สภาวะจิตใจและอารมณ์ของเราไม่ปกติ
ในบางคนอาจจะเกิดอาการใจลอย ขาดสมาธิ โมโหง่าย เศร้าซึม เสียความเชื่อมั่นและความภูมิใจในตนเอง ยิ่งถ้าหากตกอยู่ในภาวะเครียดเป็นเวลานาน ฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เซลล์ประสาทฝ่อลง โดยเฉพาะในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำและสติปัญญา ทำให้ความจำและสติปัญญาลดลง นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และพฤติกรรม ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลมากขึ้นได้
ด้านพฤติกรรม
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจากความเครียดทำให้พฤติกรรมการแสดงออกของคน ๆ นั้นเปลี่ยนแปลง เช่น
เบื่ออาหาร หรือรู้สึกหิวตลอดเวลา ทำให้บริโภคอาหารมากเกินไป นอนหลับยาก นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เริ่มปลีกตัวจากสังคม เผชิญความเครียดอย่างโดดเดี่ยว และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ ติดสุรา ติดยาเสพติด เล่นการพนัน
การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองจากความเครียดอาจทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ความอดทนลดลง พร้อมที่จะเป็นศัตรูกับผู้อื่นได้ง่าย มีการอาละวาด ขว้างปาสิ่งของ ทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตัวเอง และอาจตัดสินใจ
ชั่ววูบจนฆ่าตัวตาย หรือเกิดอาการหลงผิดในบางรายได้ ดังนั้นจึงต้องหมั่นคอยสังเกตตนเองอยู่เสมอเมื่อมีอาการที่
บ่งบอกว่าเครียดเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่นได้
ความเครียดทำให้เกิดโรคปลายประสาทอักเสบได้จริงหรือไม่?
อย่างที่ทราบกันว่าความเครียดส่งผลเสียต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงระบบประสาทและสมองด้วย แต่สำหรับอาการชาปลายประสาทอาจจะบอกได้ว่าความเครียดไม่ใช่สาเหตุหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อโรคปลายประสาทอักเสบ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเครียดเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทแย่ลงได้
นอกจากนี้ ผู้ที่มีความวิตกกังวลมีแนวโน้มที่จะมีอาการปวดเส้นประสาทมากกว่าผู้ที่ไม่มีความวิตกกังวล
เนื่องจากความไวต่อความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นและการไหลเวียนของเลือดไปยังเส้นประสาทลดลง ดังนั้น ใครที่เริ่มมีอาการของโรคปลายประสาทอักเสบอาจจะลองเช็คอาการโรคเครียดของตนเองดูว่าคุณมีภาวะเครียดหรือไม่ เพราะสิ่งนี้อาจส่งผลต่อโรคของคุณโดยที่ไม่รู้ตัว
มาเช็คอาการโรคเครียดกันว่าส่งผลต่อการใช้ชีวิตและทำงานอย่างไร
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เพศไหน อายุเท่าไหร่ ทำงานอะไร ก็สามารถเผชิญกับความเครียดได้ทั้งนั้น เพราะทุกคน
มีโอกาสที่จะเจอกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เข้ามากระทบกับจิตใจจนเกิดความเครียดได้ ดังนั้นคุณจึงควรเช็คอาการโรคเครียดอยู่เสมอ เมื่อรู้สึกว่าตนเองกำลังพบเจอกับความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต
โดยความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นนอกจากจะส่งผลกับร่างกายของคนเราแล้ว อาการที่บ่งบอกว่าเครียดยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการทำงานของเราได้อีกด้วย มาดูกันว่าความเครียดส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างไร
- พลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง: แม้ว่าความเครียดจะทำให้คุณได้รับการกระตุ้นจากอะดรีนาลีน
ในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นพลังงานของคุณจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้คุณรู้สึกหมดแรงทั้งทางอารมณ์และร่างกาย การขาดพลังงานนี้จะทำให้คุณไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ
การทำงานอย่างมาก
- ขาดสมาธิ: การทำงานและใช้ชีวิตประจำมักจะต้องมีการใช้สมาธิ แต่เมื่อความเครียดเข้ามาครอบงำ
มักจะทำให้สมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง เพราะมัวแต่นึกถึงเรื่องที่ก่อให้เกิดความเครียด
- ความคิดสร้างสรรค์ลดลง: เนื่องจากความคิดจะทำให้คุณมัวแต่คิดถึงเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้คุณ
ไม่สามารถจดจ่อหรือหาไอเดียใหม่ ๆ ได้ดีเท่าเดิม
- บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง: ความเครียดส่งผลกระทบต่ออารมณ์และบุคลิกภาพโดยที่คุณอาจจะไม่รู้ตัว
บางคนอาจจะมีอารมณ์ฉุนเฉียนหรือโมโหง่าย จนส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างและทำให้ความสัมพันธ์
แย่ลงได้
ภาวะเครียดสามารถจัดการได้หากคุณลองทำตามวิธีเหล่านี้
เมื่อคุณได้ลองเช็คอาการโรคเครียดแล้วพบว่ากำลังเผชิญกับอาการนี้อยู่ และไม่อยากให้อาการที่บ่งบอกว่าเครียดนั้นอยู่กับคุณยาวนานจนเป็นโรคเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อชีวิตในทุก ๆ ด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ จนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานและการใช้ชีวิตย่ำแย่ลง วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการจัดการความเครียดที่ไม่ว่าใคร
ก็สามารถทำได้ ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้าง!
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเพิ่มเอ็นดอร์ฟินที่ทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น
- การฝึกสมาธิและไม่จดจ่ออยู่กับความเครียดตลอดเวลา ทำให้คุณอยู่กับปัจจุบันมากขึ้นและไม่คิดถึงสิ่งที่ทำให้เครียด
- การวางแผนเวลาและการจัดการงาน จะช่วยให้คุณลดความเครียดจากงานที่ทำและจัดลำดับความสำคัญ
ของงานได้ดียิ่งขึ้น - จัดพื้นที่การทำงานให้สบายขึ้น บางคนอาจจะใช้ชีวิตที่ทำงานมากกว่าบ้าน การจัดพื้นที่ทำงานให้สบาย
และลงทุนกับอุปกรณ์การทำงานที่ช่วยให้สุขภาพคุณ
ดีขึ้น จะช่วยให้ความเครียดลดลงได้ - พยายามมองในสิ่งที่เป็นบวก เพราะความคิดลบส่งผลให้เราเครียดได้ อาจจะลองมองหาสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างน้อยวันละ 3 สิ่ง เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณมีความสุขขึ้นได้
- ระบายกับคนที่ไว้ใจ การได้พูดคุยและปรึกษากับเพื่อนสนิท ครอบครัว หรือคนที่สบายใจ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดความเครียดได้
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ให้คุณลองปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดเพื่อหาวิธีจัดการกับความเครียดที่ถูกต้อง
เพราะทุกคนมีโอกาสเผชิญกับอาการเครียดด้วยกันทั้งนั้น การที่คุณหมั่นคอยเช็คอาการโรคเครียดนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง โดยอาการที่บ่งบอกว่าเครียดมีตั้งแต่ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน ไปจนถึงนอน
ไม่หลับ เรียกได้ว่าอาการที่บ่งบอกถึงความเครียดส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง การใช้ชีวิตประจำวันลำบากขึ้น และถ้าหากยิ่งปล่อยไว้นานก็จะยิ่งรุนแรงจนอาจส่งผลต่อชีวิตได้ ดังนั้นทุกคนจึงควรเช็คภาวะเครียดเมื่อเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะได้หาวิธีแก้ไขได้อย่างทันเวลา