อาการของมะเร็งตับ สัญญาณเตือนของโรคที่คนไทยเป็นมากที่สุด

Health

อาการของมะเร็งตับมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยทั่วไปแล้วอาการคนเป็นมะเร็งตับจะไม่มีอาการให้เห็นชัดมากนักในระยะแรก แต่อาการมะเร็งตับ อาการของโรคจะแสดงให้เห็นมากขึ้นในระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจาย หรืออยู่ในระยะที่ความรุนแรงส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับแล้ว  

มะเร็งตับ (Liver Cancer) คือโรคที่เกิดจากการที่เซลล์ตับแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์มากกว่าปกติจนเกิดเป็นเนื้องอกในตับและอาจมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ โดยมะเร็งตับเป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ชายไทย ส่วนใหญ่จะพบอาการของมะเร็งตับในผู้ชายที่มีอายุ 30 ถึง 70 ปี และจะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่า  เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่มีมากกว่าผู้หญิง  ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากความเสียหายของตับ เป็นต้น 

มะเร็งตับแบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือมะเร็งชนิดปฐมภูมิ อย่างมะเร็งเซลล์ตับ (Hepatocellular Carcinoma – HCC) ที่มักเกิดกับคนที่มีภาวะตับแฝงอยู่ เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรัง ตับแข็ง หรือโรคตับที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ และอีกชนิดหนึ่งคือมะเร็งชนิดทุติยภูมิ อย่างมะเร็งท่อน้ำดีที่เป็นมะเร็งกระจายมาจากตำแหน่งอื่น ๆ ของร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะมาจากอวัยวะภายในช่องท้อง 

ความแตกต่างระหว่างมะเร็งเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งเซลล์ตับมะเร็งท่อน้ำดี


เกิดจาก
การกลายพันธุ์และการที่เซลล์ตับแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์มากกว่าปกติการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ อย่าง บริเวณท่อน้ำดีนอกตับ รวมถึงบริเวณขั้วตับถึงส่วนปลายล่างของท่อน้ำดีใหญ่

อัตราการเกิดโรค
เป็นมะเร็งตับชนิดที่พบบ่อยที่สุด คิดเป็นประมาณ 75-85% ของผู้ป่วยทั้งหมดเป็นมะเร็งตับชนิดที่พบได้น้อย คิดเป็นประมาณ 10-20% ของผู้ป่วย


ปัจจัยเสี่ยง
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรัง, โรคตับแข็ง (แผลเป็นจากตับ), โรคตับที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ และโรคไขมันพอกตับท่อน้ำดีอักเสบปฐมภูมิ, ความผิดปกติของท่อน้ำดี, การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และการสัมผัสสารเคมีหรือสารพิษบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยง

ตำแหน่งที่เกิด
ภายในตับ ส่งผลต่อเซลล์ตับโดยตรงท่อน้ำดีภายในตับ (Intrahepatic) หรือนอกตับ (Extrahepatic)

การแพร่กระจาย
มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของตับ เช่น ปอดและกระดูกมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงและอวัยวะอย่างปอดได้

การรักษา
การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ, การฉายรังสี, เคมีบำบัด,  การรักษาด้วยยามุ่งเป้า และภูมิคุ้มกันบำบัดการผ่าตัด, การฉายรังสี, เคมีบำบัด, การรักษาด้วยยามุ่งเป้า และอาจมีการปลูกถ่ายตับ

รักษาแล้วโรคหายขาดหรือไม่?
รักษาให้หายขาดได้ หากพบเร็วและมีขนาดก้อนเนื้อไม่เกิน 3 เซนติเมตร รักษาให้หายขาดได้ หากพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

หลังจากที่ได้รู้ถึงความแตกต่างของมะเร็งตับทั้ง 2 ชนิด อย่าง มะเร็งชนิดปฐมภูมิ “มะเร็งเซลล์ตับ” และ มะเร็งชนิดทุติยภูมิ “มะเร็งท่อน้ำดี” กันไปแล้ว ในที่นี้เราจะขอพาไปรู้จักกับมะเร็งตับชนิด Hepatocellular Carcinoma – HCC ให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นมะเร็งตับที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีอัตราการเกิดสูงสุด

โดยมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ “มะเร็งเซลล์ตับ” ระยะแรกพบได้บ่อยและมักเกี่ยวข้องกับโรคตับเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็งหรือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ซึ่งอาการคนเป็นมะเร็งตับอาจรวมถึงอาการปวดท้อง น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ดีซ่าน และสีปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม เป็นต้น ดังนั้นการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายขาดจากอาการของมะเร็งตับได้ เนื่องจากโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้แล้วในปัจจุบัน

อาการของมะเร็งตับมีอะไรบ้าง? เช็กให้ชัวร์ รู้ให้ทัน!

อย่างที่รู้กันว่าอาการของมะเร็งตับในระยะแรกนั้นจะยังไม่มีอาการที่เห็นได้ชัด แต่เมื่อเนื้องอกในตับใหญ่ขึ้นก็จะมีสัญญาณเตือนในอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายตามมา ซึ่งอาการของมะเร็งตับที่เกิดขึ้นสามารถช่วยในการตรวจหาและวินิจฉัยภาวะร้ายแรงนี้ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เมื่อรู้ถึงสัญญาณเตือนต่าง ๆ แล้ว การเข้าพบแพทย์อย่างทันท่วงที จะช่วยให้เพิ่มโอกาสในการรักษาโรคให้หายได้ วันนี้เราจึงขอพาไปรู้จักกับโรคมะเร็งตับและอาการคนเป็นมะเร็งตับเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรคนี้ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น? ไปดูกันได้เลย 

น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ 

เนื่องจากเนื้องอกจะส่งผลต่อการเผาผลาญของร่างกาย

 ท้องบวมกว่าปกติ มีอาการปวดท้องโดยเฉพาะชายโครงด้านขวา

เนื่องจากเนื้องอกที่ใหญ่ขึ้นในช่องท้องทำให้เกิดความดันในช่องท้องที่มากขึ้น

ดีซ่าน (ตาเหลือง ตัวเหลือง สีปัสสาวะเหลือง)

เนื่องจากการทำงานที่บกพร่องของตับในการประมวลผลบิลิรูบิน ไม่สามารถกำจัดสารบิลิรูบิน (Bilirubin) ได้ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดการตกค้างและกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ 

อ่อนเพลีย แขน ขาไม่มีแรง เหมือนมีไข้ตลอดเวลา

เนื่องจากเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในร่างกายจะเข้าไปก่อกวนการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกายและการทำงานภายในร่างกายโดยรวม

คลื่นไส้บ่อย จุกเสียด แน่นท้อง

เนื่องจากระบบการทำงานของตับเริ่มล้มเหลว ร่างกายจึงไม่สามารถขจัดสารพิษได้ดีเท่าที่ควร อีกทั้งเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณตับยังได้ผลิตฮอร์โมนที่ทำให้แคลเซียมในเลือดสูงที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการคลื่นไส้รุนแรงขึ้นอีกด้วย

ตับโต

เนื่องจากความผิดปกติของตับที่มีขนาดโตกว่าปกติ เป็นอาการที่เกิดจากหลาย ๆ สาเหตุ แต่ก็เป็นหนึ่งในอาการของมะเร็งตับด้วยเช่นกัน

อิ่มเร็ว เบื่ออาหาร

เนื่องจากประสิทธิภาพในการทำงานของตับลดลง และอาจเป็นเพราะเนื้องอกที่ส่งผลต่อกระเพาะอาหารหรือบีบอัดอวัยวะย่อยอาหาร

เรียกได้ว่าอาการทั้งหมดด้านบนนี้เป็นสัญญาณเตือนของอาการของมะเร็งตับ ซึ่งอาการมะเร็งตับ อาการของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องสังเกตอาการเหล่านี้อย่างระมัดระวัง และเมื่อสงสัยว่าตนเองเข้าข่ายว่าจะเป็นโรคมะเร็งตับควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการประเมินอย่างละเอียดทันที เพราะหากอาการเหล่านี้ยังคงมีอยู่หรือทำให้เกิดความกังวล การตรวจหาอาการของมะเร็งตับตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาและให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้อย่างมาก

มะเร็งตับมีกี่ระยะ แต่ละระยะมีความแตกต่างกันอย่างไร

เนื่องจากมะเร็งเซลล์ตับ (HCC) เป็นมะเร็งตับชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด จึงมักจำแนกระยะต่าง ๆ เพื่อกำหนดขอบเขตและความรุนแรงของโรค ระบบที่ใช้ในการแบ่งระยะที่แพร่หลายในปัจจุบันก็คือ Barcelona-Clinic Liver Cancer (BCLC) โดยจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของโรคจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งระยะของมะเร็งตับจาก BCLC แบ่งได้ดังนี้ 

  • ระยะที่ 0 

เนื้องอกมีขนาดน้อยกว่า 2 ซม. ยังไม่มีการแพร่กระจายของมะเร็งหรือความผิดปกติของตับ

  • ระยะ A

เนื้องอกมีเพียงก้อนเดียว หรือมีก้อนเนื้อไม่เกิน 3 ก้อน แต่ละก้อนมีขนาดน้อยกว่า 3 ซม. 

  • ระยะ B

เนื้องอกหลายก้อนที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 ซม. หรือมีเนื้องอกก้อนเดียวที่โตกว่าระยะ A

  • ระยะ C

เนื้องอกมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง มีการลุกลามเข้าหลอดเลือดดำในท้อง รวมถึงลามไปสู่อวัยวะอื่น ๆ 

  • ระยะ D

เนื้องอกมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น หรือแพร่กระจายไปยังอวัยวะห่างไกล ตับทำงานแย่ลงมาก ๆ 

ใครเสี่ยงเป็นมะเร็งตับบ้าง? 

สำหรับบุคคลที่เสี่ยงเป็นมะเร็งตับ หรือเป็นผู้ที่มีอาการของมะเร็งตับแล้วนั้น จริง ๆ โรคนี้เกิดขึ้นจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน โดยแต่ละปัจจัยที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้นั้น เราได้รวบรวมมาให้แล้วด้านล่างนี้… 

1. ผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) หรือไวรัสตับอักเสบซี (HCV) เรื้อรัง จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับได้สูง โดยการติดเชื้อเหล่านี้สามารถนำไปสู่การอักเสบของตับในระยะยาว โรคตับแข็ง และการพัฒนากลายเป็นอาการของมะเร็งตับได้ในที่สุด

2. ผู้เป็นโรคตับแข็ง 

โรคตับแข็งเกิดจากการที่ตับได้รับความเสียหายและเกิดแผลเป็นอย่างถาวร ซึ่งส่วนที่เสียหายของตับถูกแทนที่โดยเนื้อเยื่อพังผืด ทำให้เนื้อเยื่อตับกลายเป็นก้อนและแข็ง โดยสาเหตุทั่วไปของโรคตับแข็ง ได้แก่ โรคพิษสุราเรื้อรัง ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง โรคไขมันพอกตับ และโรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเอง

3. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป 

การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปและเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคตับแข็งและยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับอีกด้วย

4. ผู้ที่เป็นโรคไขมันพอกตับ (NAFLD)

ภาวะไขมันพอกตับ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าไขมันเกาะตับนั้น เกิดจากการสะสมไขมันในตับมากเกินปกติ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการที่เด่นชัด แต่มักตรวจพบจากค่าการทำงานของตับที่สูงขึ้นจากการตรวจสุขภาพ ซึ่งภาวะนี้สามารถนำไปสู่โรคตับแข็ง รวมถึงอาการของมะเร็งตับได้  

5. ผู้ที่เป็นโรคอ้วนและเบาหวาน

โดยเฉพาะโรคอ้วนและเบาหวานชนิดที่ 2 ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีน้ำหนักตัวมาก ส่งผลให้ระบบการเผาผลาญถูกรบกวนไม่สามารถทำงานได้ปกติ มีความเกี่ยวข้องกับไขมันที่สะสมบริเวณตับ

6. การสัมผัสกับอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) มากเกินไป

อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดที่สามารถปนเปื้อนในอาหารได้ง่าย  โดยเฉพาะในถั่ว ธัญพืช และพืชตระกูลถั่ว ซึ่งการสัมผัสสาอะฟลาท็อกซินมาก ๆ จะเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้

7. ผู้ที่มีญาติเป็นมะเร็งตับ  

การมีญาติสนิท เช่น พ่อแม่หรือพี่น้องที่เป็นมะเร็งตับจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ด้วย อีกทั้งภาวะทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น กรรมพันธุ์ฮีโมโครมาโตซิสและการขาดสารแอนติทริปซิน alpha-1 จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอาการของมะเร็งตับได้

8. ผู้ที่สูบบุหรี่จัด

การสูบบุหรี่เยอะ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ถือเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งตับด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคคลที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี

9. เพศและอายุ

โดยทั่วไปผู้ชายมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งตับมากกว่าผู้หญิง นอกจากนี้ ความเสี่ยงของมะเร็งตับจะเพิ่มขึ้นตามอายุอีกด้วย ส่วนใหญ่จะพบอาการของมะเร็งตับในผู้ชายที่มีอายุ 30 ถึง 70 ปี 

สำหรับบุคคลเสี่ยงจากทั้ง 9 ข้อนี้ บอกเลยไม่ต้องกังวลมากเกินไป เพราะบางครั้งปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยหนึ่งอย่างในข้อเหล่านี้ไม่ได้การันตี 100% ว่าจะสามารถพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งตับได้ แต่ในขณะเดียวกับสำหรับผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็สามารถเป็นโรคมะเร็งตับได้เช่นกัน ดังนั้นหากมีอาการที่น่ากังวลใจควรเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอในทันที ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และการจัดการสภาวะแวดล้อมอย่างเหมาะสม เพียงเท่านี้ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งตับได้ไปอีกเปราะหนึ่ง

รักษาโรคมะเร็งตับด้วยวิธีไหนได้บ้าง?

การรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับและอาการของมะเร็งตับในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้มีวิธีการรักษาหลากหลายวิธีที่หลากหลาย อาการของผู้ที่เป็นมะเร็งตับอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่มักจะมีอาการปวดท้อง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เหนื่อยล้า ดีซ่าน (ผิวหนัง ตาเหลือง และปัสสาวะเหลือง) เบื่ออาหาร และท้องบวม โดยวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกที่เป็นก้อนมะเร็งในตับ ระยะของโรค และสุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น

การผ่าตัดตับ 

การผ่าตัดเพื่อจัดการเนื้องอกส่วนหนึ่งที่ตับ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีเนื้องอกขนาดเล็กและตับยังทำงานได้ดี

 การปลูกถ่ายตับ 

การผ่าตัดในกรณีที่เป็นโรคตับรุนแรง หรือเป็นมะเร็งตับในช่วงระยะเริ่มต้น โดยผู้ที่ป่วยที่ปลูกถ่ายตับจะได้รับตับที่แข็งแรงจากผู้บริจาค

✔ การฉายรังสีระยะไกล (External beam radiation therapy : EBRT)

รังสีพลังงานสูงจะฉายตรงไปที่เนื้องอกเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง

✔ การฉายรังสีร่วมพิกัดบริเวณลำตัว (Stereotactic Body Radiation Therapy : SBRT)

รังสีที่แม่นยำสูงจะฉายไปที่เนื้องอก ถือเป็นวิธีช่วยลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อตับสำหรับคนที่เป็นมะเร็งตับหรือมีอาการของมะเร็งตับ แต่ยังมีตับที่มีสุขภาพดี

✔ การฉีดสารกัมมันตภาพรังสี Radioembolization หรือ SIRT

เม็ดกัมมันตภาพรังสีขนาดเล็กถูกฉีดเข้าทางหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงตับโดยตรงเพื่อจัดการเนื้องอกในตับ

✔ การใช้คลื่นวิทยุทำลายเนื้องอกที่ตับ (Radiofrequency Ablation : RFA) การใช้ความร้อนเพื่อทำลายเนื้องอกโดยการสอดหมุดหยั่งแผลที่มีลักษณะคล้ายเข็มเข้าไปในตับ ใช้รักษาอาการคนเป็นมะเร็งตับที่เกิดจากตับหรือที่ลุกลามมาจากอวัยวะอื่น แล้วไม่สามารถผ่าตัดได้  

✔ การรักษามะเร็งตับด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Microwave Ablation)

การจี้ทำลายก้อนเนื้องอกมะเร็งในตับด้วยคลื่นไมโครเวฟ เป็นวิธีที่ใช้สำหรับคนที่มีอาการของมะเร็งตับที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้

✔ การรักษามะเร็งตับด้วยการจี้ด้วยความเย็นจัด (Cryoablation)

 การจี้ก้อนเนื้องอกมะเร็งด้วยความเย็นจัด เพื่อทำลายเซลล์ในก้อนเนื้องอกมะเร็งโดยตรง

✔ เคมีบำบัดผ่านทางการอุดหลอดเลือด (Transarterial Chemoembolization : TACE)

การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับยาฉีดเข้าเส้นเลือดที่เลี้ยงเนื้องอก จากนั้นจะทำการอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งด้วยสารอุดหลอดเลือดและส่งเคมีบำบัดโดยตรงไปยังเซลล์มะเร็ง

✔ ยามุ่งเป้า (Targeted therapy) 

ยาที่มุ่งเป้าใช้เพื่อจัดการกับเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เพื่อยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง 

✔ ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) 

ยาภูมิคุ้มกันบำบัดบางชนิดจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้รู้จักและโจมตีเซลล์มะเร็งได้อย่างดี

✔ เคมีบำบัด (Chemotherapy)

การใช้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย อาจใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของมะเร็งตับระยะที่ลุกลามแล้ว สามารถใช้ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ ได้เช่นกัน

เรียกได้ว่าวิธีของการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง รวมถึงอาการของมะเร็งตับในแต่ละระยะ สำหรับใครที่กำลังกังวลว่าอาการคนเป็นมะเร็งตับเป็นอย่างไร เราขอบอกเลยว่าการเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำความเข้าใจถึงประโยชน์ ความเสี่ยง อาการมะเร็งตับ อาการจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการรักษามะเร็งตับแต่ละแบบถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ เนื่องจากการพัฒนาแผนการรักษานั้นเป็นสิ่งที่ต้องผ่านการวินิจฉัยและทำควบคู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง และสำหรับครั้งหน้าเราจะมีบทความดี ๆ อะไรอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันได้เลยที่เว็บไซต์ของเรา

บทความที่เกี่ยวข้อง