โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ชายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ แต่ละคนจะมีอาการของต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุที่มีความรุนแรงแตกต่างกันไป ซึ่งการรักษาต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุสามารถรักษาให้หายขาด โดยมีวิธีการรักษามากกว่า 1 วิธี เราจึงต้องมีการวางแผนพัฒนาสุขภาพเพราะแต่วิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย รวมถึงสุขภาพองค์รวมของตัวผู้ป่วยเอง
โดยโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุนี้ ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้ชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป และจะพบได้มากถึง 80% ในผู้ชายสูงวัยอายุ 70 ปีขึ้นไป ซึ่งโรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและบั่นทอนคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งการเข้ารับการรักษาอาการอย่างรวดเร็วโดยไม่ปล่อยระยะเวลาให้ล่วงเลยไป จะทำให้อาการไม่รุนแรงและช่วยให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
ในวันนี้เราจึงขอพาทุกคนไปรู้จักกับโรคต่อมลูกหมากโตให้มากยิ่งขึ้นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และหากต้องการวางแผนพัฒนาสุขภาพแล้วจะรักษาด้วยวิธีไหนถึงจะเหมาะสมที่สุด เพื่อให้คุณผู้ชายทั้งหลายสามารถรับมือกับอาการของ โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุได้อยู่หมัด
โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุคืออะไร? และเกิดจากสาเหตุอะไร?
โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุ หรือ BPH (Benign Prostatic Hyperplasia) คือภาวะที่ต่อมลูกหมากโตมากเกินไปหรือมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ด้วยขนาดที่มีการเพิ่มขึ้นทำให้ต่อมลูกหมากไปบีบท่อปัสสาวะเล็กลง ทำให้มีปัญหาในการปัสสาวะและปัสสาวะได้ลำบาก
สำหรับสาเหตุที่แท้จริงของโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุนั้น ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดในปัจจุบัน แต่เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มขึ้นของไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) ฮอร์โมนที่ได้จากเทสโทสเตอโรน ซึ่งฮอร์โมนนี้สามารถกระตุ้นการเติบโตและแบ่งเซลล์ของเซลล์ต่อมลูกหมากได้ ด้วยการเติบโตที่มากเกินไปนี้นำไปสู่การขยายตัวของต่อมลูกหมาก ส่งผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่าต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุนั่นเอง นอกจากเรื่องของฮอร์โมนที่ไม่มีความสมดุลแล้ว อายุก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน ที่สำคัญโรคต่อมลูกหมากโตไม่ใช่โรคมะเร็งและจะไม่มีวันกลายเป็นมะเร็งไปได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็นทั้ง 2 โรคนี้ร่วมกันได้
โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุมีอาการอะไรบ้าง?
อาการต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไป แต่อาการจะมีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ซึ่งอาการต่าง ๆ จะนำไปสู่การนอนหลับไม่สนิทและการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ สำหรับผู้สูงอายุคนไหนที่กำลังสงสัยว่าตนเองเป็นโรคต่อมลูกหมากโตหรือไม่นั้น สามารถสังเกตอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้ ดังนี้
- ปัสสาวะค้าง
- ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะขัด
- ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะสะดุด
- ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
- กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที
- ต้องเบ่งปัสสาวะ
ปัสสาวะค้าง
อาการปัสสาวะค้างในโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุเป็นอาการที่ยังรู้สึกว่าปัสสาวะไม่สุด รู้สึกว่ามีปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ แม้ว่าจะปัสสาวะเสร็จแล้วก็ตาม ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและต้องเข้าห้องน้ำบ่อยมากขึ้น
ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะขัด
อาการต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุอาการนี้จะเกี่ยวข้องกับขนาดของต่อมลูกหมากที่ขยายตัวจนไปบีบท่อปัสสาวะเล็กลง เกิดขึ้นจากการอุดกั้นของต่อมลูกหมากโตในท่อปัสสาวะ ที่ขัดขวางการไหลเวียนของการปัสสาวะตามปกติ
ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะสะดุด
อาการที่เกี่ยวข้องกับความแรงของปัสสาวะที่ไม่สม่ำเสมอ อาจสังเกตเห็นได้ว่าปัสสาวะไหลน้อยลง หรือพุ่งออกมาเป็นพัก ๆ ทำให้ใช้เวลานานขึ้นในการปัสสาวะแต่ละครั้ง อาการนี้จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้า ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่ได้สังเกตและไม่ได้ใส่ใจมากนักจนทำให้เป็นโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุในที่สุด
ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
หนึ่งในอาการของโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุที่เห็นได้ชัดที่สุด คือความถี่ในการปัสสาวะที่บ่อยกว่าปกติในช่วงกลางคืน ซึ่งในขณะที่นอนหลับจะมีการลุกขึ้นมาปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน โดยผู้ป่วยจะรู้สึกอยากปัสสาวะตลอดเวลา
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที
อาการนี้เป็นผลมาจากต่อมลูกหมากที่ขยายใหญ่จนไปขัดขวางระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ไม่สามารถควบคุมปัสสาวะได้ เมื่อปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที ไม่สามารถที่จะอั้นไว้ได้ ในบางคนอาจมีปัญหาปัสสาวะเล็ดราดร่วมด้วยได้
ต้องเบ่งปัสสาวะ
โดยปกติแล้วการปัสสาวะจะไม่ใช้แรงดันจากช่องท้อง ซึ่งผู้ที่เข้าข่ายว่าเป็นโรคต่อมลูกหมากโตอาจทำให้ต้องออกแรงหรือเบ่งเพิ่มขึ้นขณะปัสสาวะเนื่องจากการอุดตันที่เกิดจากต่อมลูกหมากโต
โดยอาการของโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุเหล่านี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มอาการ คืออาการระคายเคืองทางเดินปัสสาวะและอาการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะแบ่งอาการในแต่ละกลุ่มได้ ดังนี้
อาการระคายเคืองทางเดินปัสสาวะ | อาการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ |
อาการปัสสาวะบ่อยอาการปัสสาวะไม่สุดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อาการที่ต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน | อาการปัสสาวะค้างอาการปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะขัดอาการปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะสะดุดอาการที่ต้องเบ่งปัสสาวะ |
สำหรับอาการที่พบในโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุเหล่านี้ ในบางคนอาจมีอาการที่รุนแรง แต่ในบางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ดังนั้นการเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อเข้ารับการรักษาต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุจึงควรทำตั้งแต่เนิ่น ๆ และเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม
โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง?
โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่ส่งผลต่อต่อมลูกหมากในผู้ชาย ซึ่งนำไปสู่อาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ขนาดของต่อมลูกหมาก และสุขภาพโดยรวมของผู้ที่มีอาการป่วย แต่หากแพทย์ประเมินอาการแล้วมีอาการของโรคต่อมลูกหมากโตเพียงเล็กน้อย ก็อาจจะแนะนำการแนวทางรักษาโดยการแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประจำวันแทน เช่น การลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาแฟและแอลกอฮอล์สูง รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากเกินไปในช่วงก่อนเข้านอน ซึ่งนอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ยังสามารถรักษาได้ด้วย 2 วิธี ดังต่อไปนี้…
วิธีการรักษาโดยการใช้ยา
การรักษาต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุจะเป็นการรักษาโดยการใช้กลุ่มยา อย่างยาคลายกล้ามเนื้อเรียบบริเวณต่อมลูกหมากเพื่อลดการบีบตัวของต่อมลูกหมาก (Alpha adrenergic blocker)และยาช่วยลดขนาดต่อมลูกหมาก (5-alpha reductase inhibitor) เพื่อลดการผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า Dihydrotestosterone (DHT) ที่มีส่วนทำให้ต่อมลูกหมากโต
วิธีการรักษาโดยการผ่าตัด
นอกจากโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุจะรักษาอาการด้วยการใช้ยาต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด วิธีการรักษานี้จะใช้ในกรณีที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา โดยแพทย์อาจจะมีการแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคต่อมลูกหมากรุนแรง หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ผลทำการผ่าตัดเพื่อลดขนาดต่อมลูกหมาก นอกจากนี้หากปัสสาวะไม่ออกหลายครั้ง ปัสสาวะเป็นเลือดซ้ำซาก หรือเกิดภาวะไตวายซึ่งส่งผลมาจากโรคต่อมลูกหมากโต แพทย์ก็จะมีการแนะนำให้ผ่าตัดเช่นกัน
การเลือกวิธีรักษาของโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุในแต่ละกรณีจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ระดับความรุนแรงของโรค และความเหมาะสมต่อสภาวะร่างกายของผู้ป่วย ดังนั้นจึงควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุมีวิธีการวินิจฉัยอย่างไร?
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากมีหลายขั้นตอนและอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอาการที่กำลังประเมิน ณ ตอนนั้น โดยวิธีการวินิจฉัยสำหรับโรคต่อมลูกหมากโตทั่วไปจะมีรายละเอียดในแต่ละส่วน ดังนี้…
- เริ่มต้นด้วยการซักประวัติโดยละเอียด รวมถึงอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ระยะเวลาและความรุนแรง รวมถึงประวัติครอบครัว
- ตรวจร่างกาย โดยรวมไปถึงการตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination) เพื่อตรวจและประเมินความผิดปกติ โดยแพทย์จะสอดนิ้วที่สวมถุงมือเข้าไปในทวารหนักและตรวจคลำต่อมลูกหมาก เพื่อสัมผัสขนาด รูปร่าง และพื้นผิวของต่อมลูกหมาก การตรวจนี้ช่วยประเมินความผิดปกติ เช่น การขยายตัว การกดแล้วเจ็บ หรือก้อนเนื้อภายในได้
- ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ อาจทำโดยการเก็บปัสสาวะไปตรวจเพื่อระบุแบคทีเรียหรือเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ
- การตรวจคัดกรองหามะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) จะมีการเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดที่แขนมาวิเคราะห์หาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก
- การส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ เพื่อประเมินขนาดของต่อมลูกหมากที่ขยายตัวจนมาบีบท่อปัสสาวะ
เปรียบเทียบโรคจากต่อมลูกหมาก: โรคต่อมลูกหมากโต VS โรคต่อมลูกหมากอักเสบ
โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุ (Benign Prostatic Hyperplasia) และโรคต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) เป็น 2 โรคที่แตกต่างกันแต่มีความเกี่ยวข้องกับต่อมลูกหมากในผู้ชายเหมือนกัน โดยจะมีอาการของโรคและวิธีการรักษาที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งด้านล่างนี้เป็นตารางเปรียบเทียบเพื่อให้ทุกคนรู้ถึงรายละเอียดที่แตกต่างกันเพิ่มเติม
โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุ | โรคต่อมลูกหมากอักเสบ | |
เกี่ยวกับ | การขยายตัวของต่อมลูกหมากจนไปบีบท่อปัสสาวะให้เล็กลง | การอักเสบหรือการติดเชื้อของต่อมลูกหมาก |
สาเหตุ | การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อายุ และขนาดของต่อมลูกหมากที่ใหญ่ขึ้น | ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย จนทำให้เกิดการอักเสบ |
อาการ | ปัสสาวะค้างปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะขัดปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะสะดุดปัสสาวะบ่อยในกลางคืนกลั้นปัสสาวะต้องเบ่งปัสสาวะ | ปวด หรือรู้สึกไม่สบายบริเวณเชิงกรานปวด หรือแสบขณะปัสสาวะปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำบาก มีไข้ หนาวสั่น เจ็บขณะหลั่งในบางคนอาจมีเลือดปนในปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ |
การรักษา | การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคการรักษาต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุในกรณีที่ไม่รุนแรง จะใช้ยายาคลายกล้ามเนื้อเรียบของต่อมลูกหมากและยาช่วยลดขนาดต่อมลูกหมากในการณีที่รุนแรงรักษาโดยการผ่าตัด | การรักษาขึ้นอยู่กับประเภทและสาเหตุต่อมลูกหมากอักเสบจากแบคทีเรียรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะสำหรับต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังหรือที่ไม่ได้เกิดจากแบคทีเรียอาจมีการใช้ยาต้านการอักเสบ, ยาคลายกล้ามเนื้อ, การนวดต่อมลูกหมาก หรือการแช่ก้นในน้ำอุ่น เป็นต้น |
แนวทางป้องกัน | การตรวจสุขภาพเป็นประจำและการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนและรับประกันการจัดการที่เหมาะสม | การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย, การรักษาสุขอนามัยที่ดี และการเข้ารับกาารรักษาทันทีเมื่อมีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ |
การเปรียบเทียบในตารางข้างต้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุ (Benign Prostatic Hyperplasia) และโรคต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) ซึ่งทั้ง 2 โรคจะมีสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเข้ารับวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องและแผนการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม หากใครพบอาการที่สงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพของต่อมลูกหมาก เราขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อรับการประเมินและคำแนะนำที่เหมาะสมในการรักษา
———————————–
เรียกได้ว่าก็จบกันไปแล้วกับเรื่องราวเกี่ยวน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุ สำหรับผู้สูงอายุคนไหนที่สงสัยว่าตนเองเป็นโรคต่อมลูกหมากโตหรือไม่ บอกเลยว่าบทความนี้มาพร้อมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับโรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุ อาการของต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุและการรักษาต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุ ซึ่งเราหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้ทุกคนสามารถรับมือกับโรคนี้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่เข้าข่ายในการเป็นโรคนี้อย่ากังวลไปเลย เพราะสามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด