สัญญาณเตือนอาการมะเร็งตับระยะสุดท้าย

Cancer / Health

อาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายเป็นอย่างไร มีสัญญาณเตือนอะไรที่ควรรู้

มะเร็งตับเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย และอาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในชายไทย และอันดับ 5 ในเพศหญิง โดยมะเร็งตับสาเหตุเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ มะเร็งตับที่เกิดขึ้นจากตับโดยตรง และเกิดจากเซลล์มะเร็งที่ลุกลามมายังตับ โดยทั้ง 2 สาเหตุทำให้เกิดอาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต

บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับมะเร็งตับ และเมื่อเป็นในระยะที่มากขึ้นมะเร็งตับระยะสุดท้ายอาการก่อนเสียชีวิตเป็นอย่างไร พร้อมทั้งวิธีรักษามะเร็งตับระยะสุดท้าย และการเตรียมตัวรับมือกับอาการเหล่านั้น

มะเร็งตับในระยะแรกมักจะยังไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น แต่มักจะพบเมื่อไปตรวจร่างกายอย่างการอัลตราซาวด์หรือตรวจเลือดและพบความผิดปกติของโปรตีนบางชนิด โดยอาการของมะเร็งตับที่สามารถสังเกตได้ก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นอาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายสามารถลองเช็กลิสต์จากอาการเหล่านี้เพื่อประเมินตนเองเบื้องต้นได้

  • ปวดท้องบริเวณด้านขวาจนร้าวไปถึงไหล่ขวา
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • ท้องบวมขึ้นหรือท้องมาน
  • ขาบวม
  • เบื่ออาหาร ไม่อยากอาหาร
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม
  • ตาและตัวเหลือง

หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะเกิดความสงสัยว่าแล้วใครกันที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นอาการมะเร็งตับระยะสุดท้าย อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่าอาการของมะเร็งตับจะยังไม่แสดงออกมาจนกว่าจะเป็นในระยะหลัง ถ้าอย่างนั้นเรามาดูกันว่าความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งตับมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้เตรียมตัวป้องกันได้อย่างทันท่วงที

  • ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีหรือผู้ที่เป็นพาหะ
  • ผู้ที่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน ถ้ายิ่งดื่มปริมาณมากเท่าใดโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับก็จะมากขึ้นเท่านั้น
  • ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นไขมันพอกตับ
  • ผู้ที่ได้รับเชื้อราที่มีสารอะฟลาทอกซิน ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในอาหารแห้ง ธัญพืช ถั่วชนิดต่าง ๆ 
  • ผู้ที่มีประวัติญาติหรือคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ

แน่นอนว่าการพบมะเร็งในระยะแรกย่อมทำการรักษาได้ทันท่วงทีกว่าผู้ที่ตรวจพบเจออาการมะเร็งตับระยะสุดท้าย ซึ่งมักจะมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลควรรับทราบอาการเบื้องต้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เป็นมะเร็งตับระยะสุดท้ายและวิธีการรักษาทางการแพทย์ เพื่อที่จะได้สังเกตอาการและดูแลกันได้อย่างถูกต้อง

อาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต

เมื่อรับรู้ว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย การมีความรู้เกี่ยวกับอาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต จะทำให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลได้เตรียมความพร้อมและรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

การรับรู้และสติสัมปชัญญะลดลง

ผู้ที่ป่วยด้วยอาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายมักจะมีอาการสับสน การรับรู้และสติสัมปชัญญะถดถอยลง โดยประสาทสัมผัสด้านการฟังและการสัมผัสของผู้ป่วยส่วนมากจะยังรับรู้อยู่ แต่ไม่สามารถตอบสนองได้ ซึ่งครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดควรให้กำลังใจและแสดงความห่วงใยต่อผู้ป่วยมากขึ้น

การรับประทานอาหารลดลง

เนื่องจากมะเร็งตับมีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร จึงทำให้อาการมะเร็งตับระยะสุดท้าย จะมีทั้งความอยากอาหารลดน้อยลง รวมทั้งกลืนหรือรับอาหารได้น้อยลงตามไปด้วย บางรายอาจจะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วยเช่นกัน จึงเป็นสาเหตุให้อาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิตผู้ป่วยมักจะมีน้ำหนักลดลงเป็นอย่างมาก

การหายใจ

ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายอาจจะมีการหายใจที่เปลี่ยนไป หายใจได้ลำบากขึ้น เนื่องจากมีเสมหะ ญาติหรือผู้ดูแลจึงอาจจะต้องคอยเปลี่ยนท่านั่งหรือท่านอนให้ผู้ป่วย หรือเพิ่มความชื้นภายในห้อง ถ้าผู้ป่วยยังสามารถกลืนได้ให้ผู้ป่วยดูดน้ำหรืออมน้ำแข็งเพื่อช่วยลดเสมหะ และหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น

วิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการมะเร็งตับระยะสุดท้าย

หากผู้ป่วยอยู่ในระยะที่สามารถผ่าตัดนำเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกมาได้ก็อาจจะใช้วิธีการผ่าตัดหรือการปลูกถ่ายตับ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายแพทย์อาจเลือกใช้วิธีการทำเคมีบำบัดแบบรับประทานหรือฉีดเข้าทางเส้นเลือด ในผู้ป่วยบางรายอาจใช้วิธีรักษามะเร็งตับระยะสุดท้ายด้วยวิธีการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ร่วมด้วย

วิธีรักษามะเร็งตับระยะสุดท้าย ก่อนเสียชีวิต

วิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายนั้นมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยจะแบ่งการดูแลผู้ป่วยอาการมะเร็งระยะสุดท้ายออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

การดูแลตัวเองของผู้ป่วย

เมื่อผู้ป่วยรู้ว่าตนเองมีอาการมะเร็งตับระยะสุดท้าย ผู้ป่วยก็ยังสามารถดูแลตนเองได้เพื่อลดความเครียดและมีสุขอนามัยที่ดี ลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน โดยวิธีการดูแลตนเองของผู้ป่วยสามารถทำได้ ดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่ดี มีสารอาหารครบ 5 หมู่
  • เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดหรือความกังวล
  • ทำสมาธิเพื่อลดความเครียด
  • รักษาสุขอนามัยของตนเองให้ดี และสะอาดอยู่เสมอเพื่อลดความเสี่ยงการติดโรคแทรกซ้อนอื่น

การดูแลสำหรับผู้ดูแล

ผู้ที่ได้รับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว หรือผู้ดูแลที่จ้างมาจากภายนอก ควรทำความเข้าใจผู้ป่วยและให้กำลังใจผู้ป่วยอยู่เสมอ ไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด กังวล หรือรู้สึกโดดเดี่ยว หรืออาจจะหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียดมาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อลดความเครียดของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล สิ่งสำคัญที่สุดต้องไม่ลืมเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย แต่ขออย่าให้กังวลมากจนเกินไป เพราะหากว่าคุณรู้วิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งตับ ก็จะสามารถลดอัตราการเป็นมะเร็งตับของคุณได้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคตับแข็ง ที่จะสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งตับได้ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำ
  • การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี สามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัย
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีจากผู้ที่เป็นพาหะของโรค
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น เข็มฉีดยา กรรไกรตัดเล็บ เป็นต้น
  • ควรตรวจคัดกรองมะเร็งตับและตรวจอัลตร้าซาวด์ตับทุก 3-6 เดือน

หวังว่าบทความข้างต้นจะช่วยทำให้ผู้อ่านทุกคนได้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายมากยิ่งขึ้นและวิธีการรักษามะเร็งตับระยะสุดท้าย พร้อมทั้งเตรียมรับมือกับหากมีคนใกล้ชิดมีอาการมะเร็งตับระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต เพื่อที่จะได้ดูแลรักษาให้สอดคล้องไปกับมะเร็งตับระยะสุดท้ายอาการก่อนเสียชีวิตให้ผู้ป่วยและคนในครอบครัวได้มีเวลาร่วมกันได้มากที่สุด รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งตับจะได้มีความระมัดระวังในการใช้ชีวิตและคอยหมั่นตรวจเช็กร่างกายของตนเองอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ไม่พบว่าเป็นมะเร็งตับในระยะที่สายเกินแก้

บทความที่เกี่ยวข้อง