อาการหลอดเลือดสมองตีบ: ภัยเงียบที่คอยคร่าชีวิต

Brain / Health

อาการหลอดเลือดสมองตีบภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

อาการหลอดเลือดสมองตีบเป็นภัยเงียบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง การรู้จักสาเหตุและอาการของเส้นเลือดในสมองตีบ รวมถึงแนวทางการป้องกันและการรักษาอาการโรคเส้นเลือดในสมองตีบที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องสุขภาพสมองและร่างกาย
 
บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจว่าสาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบเกิดจากอะไร ใครบ้างที่มีความเสี่ยง และโรคหลอดเลือดสมองตีบ อาการสามารถนำไปสู่โรคอื่น ๆ ได้หรือไม่ พร้อมทั้งแนวทางการรักษาและป้องกันอาการหลอดเลือดสมองตีบเพื่อปกป้องชีวิตของคุณและคนที่คุณรัก

อาการหลอดเลือดสมองตีบหรือสาเหตุโรคหลอดเลือดสมองตีบเกิดจากการที่หลอดเลือดในสมองถูกอุดตัน
หรือแคบลง ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมของไขมันและคราบหินปูนในหลอดเลือด เมื่อหลอดเลือดแคบลงการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองจะลดลงตามไปด้วย ทำให้สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ
 
ซึ่งส่งผลให้สมองขาดออกซิเจนและถ้ายิ่งสมองขาดออกซิเจนเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้เนื้อเยื่อสมองอาจเริ่มถูกทำลาย จนทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด ซึ่งเป็นอาการที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วนเพราะถ้าหากปล่อยให้เกิดอาการหลอดเลือดสมองตีบดำเนินไปโดยไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่การเสียชีวิตหรือพิการได้

อาการหลอดเลือดสมองตีบเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
ไม่เพียงพอ ซึ่งผู้ที่มีอาการของเส้นเลือดในสมองตีบจะสามารถแสดงออกมาได้หลากหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณใดของสมองที่ได้รับผลกระทบ โดยสัญญาณของหลอดเลือดสมองตีบ อาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและฉับพลัน
  • อ่อนแรงหรือชาบริเวณใบหน้า แขน หรือขา
  • พูดไม่ชัดหรือมีปัญหาในการพูด
  • สูญเสียการทรงตัวหรือเดินไม่มั่นคง
  • สายตาพร่ามัว
  • ใบหน้าบิดเบี้ยว

หากใครพบว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเริ่มมีสัญญาณเตือนของอาการหลอดเลือดสมองตีบเหล่านี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการที่รุนแรงจนส่งผลต่อชีวิต

อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ตอนต้นว่าอาการหลอดเลือดสมองตีบสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ก็จะมีกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงของอาการหลอดเลือดสมองตีบมากกว่าคนอื่น โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของเส้นเลือดในสมองตีบมีดังนี้

ผู้สูงอายุ

ความเสี่ยงของการเกิดอาการหลอดเลือดสมองตีบจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป เนื่องจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้หลอดเลือดมีโอกาสที่จะอุดตันหรือแคบลง
ได้มากขึ้น นอกจากนี้เมื่ออายุมากขึ้น ระบบการไหลเวียนโลหิตอาจทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้การนำพาออกซิเจนและสารอาหารไปยังสมองลดลง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองขาดเลือด

ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเคยมีอาการหลอดเลือดสมอง

หากคุณมีคนในครอบครัว เช่น พ่อแม่หรือพี่น้อง ที่เคยมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ ความเสี่ยงในการเกิดอาการหลอดเลือดสมองตีบก็จะสูงขึ้น เนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อความแข็งแรงและการทำงานของหลอดเลือด การมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง และไม่ควรมองข้าม อีกทั้งยังควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจหาอาการหลอดเลือดสมองตีบตั้งแต่เนิ่น ๆ

ผู้ที่มีโรคประจำตัว

โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือโรคหัวใจ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการของเส้นเลือดในสมองตีบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หลอดเลือดเสียหายและแคบลง เช่นเดียวกับโรคเบาหวานที่ทำให้หลอดเลือดเปราะบางและสูญเสียความยืดหยุ่น ส่วนโรคไขมันในเลือดสูงจะทำให้ไขมันสะสมในหลอดเลือดจนเกิดการอุดตัน ดังนั้นหากใครมีโรคประจำตัวเหล่านี้จึงควรหมั่นสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

การสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดตีบลง เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดหดตัวและทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือด การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอย่างต่อเนื่องก็เช่นกัน จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการหลอดเลือดสมองตีบ

ผู้ที่มีวิถีชีวิตไม่เหมาะสม

การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีไขมันสูง โซเดียมสูง และน้ำตาลสูง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการหลอดเลือดสมองตีบ รวมไปถึงผู้ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เนื่องจากน้ำหนักที่มากเกินไปจะเพิ่มความดันโลหิตและทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้หลอดเลือดเสียหายได้ง่าย

อาการหลอดเลือดสมองตีบสามารถนำไปสู่อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ รวมถึงภาวะปลายประสาทเสื่อมหรืออักเสบ แต่ในบางกรณีอาการเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากอาการปลายประสาทอักเสบโดยตรง แต่เป็นผลกระทบที่เกิดจากความเสียหายของสมองที่ส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่ขาและแขน ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงหรือเกร็ง ซึ่งอาจถูกเข้าใจผิดได้ว่าเป็นอาการของปลายประสาทอักเสบได้

สามารถสรุปได้ว่า อาการหลอดเลือดสมองตีบไม่ได้ส่งผลให้เกิดอาการปลายประสาทอักเสบโดยตรง แต่สามารถเกิดอาการที่คล้ายคลึงกันได้ ซึ่งหากมีอาการที่รุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาที่เหมาะสม

การรักษาอาการหลอดเลือดสมองตีบจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการรักษาจะพิจารณาตามความรุนแรงของอาการและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย การรักษาอาการหลอดเลือดสมองตีบสามารถแบ่งออกเป็นสองแนวทางหลัก คือ การรักษาด้วยยาและการผ่าตัด ซึ่งแต่ละแนวทางมีจุดประสงค์ในการป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดและฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองที่แตกต่างกัน

  • การใช้ยา : เป็นวิธีที่พบมากที่สุดในการรักษาอาการหลอดเลือดสมองตีบ โดยยาที่มักใช้จะเป็นยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน เป็นต้น และการฉีดยาสลายลิ่มเลือดผ่านทางหลอดเลือดดำ
  • การผ่าตัด : ในบางกรณีที่อาการหลอดเลือดสมองตีบรุนแรง หรือการใช้ยาไม่สามารถควบคุมอาการได้เพียงพอ การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกที่จำเป็นเพื่อช่วยแก้ไขการตีบของหลอดเลือดและฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองให้กลับมาเป็นปกติ โดยวิธีการผ่าตัดที่นิยมใช้ คือ
    • การผ่าตัดเปิดกะโหลก เพื่อลดความดันในสมอง
    • การผ่าตัดเพื่อเปิดหลอดเลือดแดงที่บริเวณคอ 
    • การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน และขดลวด

สำหรับใครที่ไม่อยากมีอาการหลอดเลือดสมองตีบ สามารถทำได้ง่าย ๆ ได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้ดีขึ้น ซึ่งไม่ว่าใครก็สามารถทำได้เพื่อการป้องกันไม่ให้มีอาการที่รุนแรงจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

  • รับประทานผัก และผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และถั่วชนิดต่าง ๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โซเดียมสูง และน้ำตาลสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  • ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ

อาการหลอดเลือดสมองตีบเป็นภัยเงียบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง โดยแต่ละบุคคลอาจจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ อาการที่แตกต่างกัน และอาจนำไปสู่อาการ อย่างเช่น อาการปลายประสาทอักเสบ หรืออาการอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การรู้จักสาเหตุและอาการของเส้นเลือดในสมองตีบ รวมถึงการป้องกันอาการโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จะสามารถทำให้คุณสามารถระมัดระวังและหมั่นสังเกตอาการของตนเองได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่อาการจะรุนแรงและนำไปสู่การเสียชีวิตหรือพิการได้

บทความที่เกี่ยวข้อง