ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงเรื่องควรระวังของคนความดันสูง
ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่รุนแรง
หากไม่ได้รับการจัดการและรักษาอย่างเหมาะสม อย่างเช่นอาการของโรคอัลไซเมอร์ก็เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนเช่นกัน ความดันโลหิตสูงนับว่าเป็นภัยเงียบเนื่องจากไม่มีอาการที่ชัดเจนในช่วงแรก ๆ แต่กลับทำลายระบบต่าง ๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง คนที่มีความดันโลหิตสูงจึงควรตระหนักถึงภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงที่อาจเกิดขึ้นและวิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงเพื่อรักษาสุขภาพของตนเอง
เพราะโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงน่ากลัวกว่าคิด
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงน่ากลัวหรือไม่ และมีอะไรบ้าง
สำหรับคนที่มีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคประจำตัว จะต้องคอยระวังภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง ซึ่งมักจะมาเป็นภัยเงียบค่อย ๆ ทำลายร่างกายของเราเป็นเวลาหลายปีกว่าจะแสดงอาการที่ชัดเจนออกมา ซึ่งภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงสามารถส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายได้หลายส่วน จึงมักต้องคอยตรวจและทำการรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวคุณ
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่ส่งผลต่อสมอง
สมองเป็นอวัยวะหนึ่งที่ต้องการเลือดไปเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการเป็นโรคความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่ส่งผลต่อสมอง ดังนี้
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
เกิดจากสมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงส่งผลให้หลอดเลือดตีบ รั่ว หรือแตกได้ รวมไปถึงการทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงที่จะนำเลือดไปเลี้ยงสมอง ขัดขวางการไหลเวียนเลือดไปสู่สมอง ทั้งหมดนี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นสโตรกทั้งสิ้น - ภาวะสมองเสื่อม
การที่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอจากหลอดเลือดตีบที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงนั้น สามารถนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของอัลไซเมอร์ได้ ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตตนเองและระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่ส่งผลต่อหัวใจ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงสามารถส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ
ได้ ดังนี้
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงสามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและเล็กลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ นำไปสู่อาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนไปถึง
หัวใจวายได้ - ภาวะหัวใจล้มเหลว
การเป็นโรคความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก และเมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงหรือทำงานไม่ดีเท่าที่ควร และเมื่อหัวใจทำงานหนักขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลให้
หัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด - หัวใจห้องซ้ายโตกว่าปกติ
อีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงคือการที่หัวใจห้องล่างซ้ายต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย จึงทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายและภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อีกทั้งเพิ่มความเสี่ยงภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้อีกด้วย
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่ส่งผลต่อไต
ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเหลวส่วนเกินและของเสียออกจากเลือด กระบวนการนี้ต้องอาศัยหลอดเลือดที่แข็งแรง ซึ่งความดันโลหิตสูงสามารถทำลายหลอดเลือดที่นำไปสู่ไตได้
หลอดเลือดที่เสียหายทำให้ไตไม่สามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงนี้ทำให้ระดับของของเหลวและของเสียสะสมอยู่ในร่างกายถึงระดับที่เป็นอันตราย เมื่อไตทำงานได้ไม่ดีเพียงพอจะนำไปสู่ภาวะร้ายแรงที่เรียกว่าภาวะไตวาย อีกทั้งความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะไตวายอีกด้วย
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่ส่งผลต่อตา
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงสามารถทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กซึ่งมีความบอบบางซึ่งลำเลียงเลือดไปยังดวงตา ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการ
- โรคเส้นประสาทตาเสื่อม
เนื่องด้วยภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงทำให้การไหลเวียนของเลือดถูกขัดขวางจนทำลายเส้นประสาทตา อาจทำให้เกิดเลือดออกในตาหรือสูญเสียการมองเห็นได้
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่ส่งผลต่อหลอดเลือดแดง
หลอดเลือดแดงเป็นอวัยวะสำคัญในการช่วยลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งอวัยวะอื่น ๆ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ เมื่อเวลาผ่านไปความดันโลหิตสูงจะเพิ่มแรงดันของเลือดที่ไหลผ่านหลอดเลือดแดง ซึ่งอาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงเกิดความเสียหายได้
- หลอดเลือดแดงตีบ
ความดันโลหิตสูงสามารถทำลายเซลล์ชั้นในของหลอดเลือดแดง เมื่อมีไขมันจากอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ไขมันเหล่านี้อาจสะสมในหลอดเลือดที่เสียหาย เมื่อเวลาผ่านไป ผนังหลอดเลือดจะยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบ ซึ่งจำกัดการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้อีกมาก - เส้นเลือดโป่งพอง
เมื่อปล่อยให้ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง แรงดันจะทำให้ผนังหลอดเลือดโป่งพองออก ซึ่งการโป่งพองนี้อาจทำให้หลอดเลือดแตกและเกิดเลือดออกภายในจนเป็นอันตรายต่อชีวิต ซึ่งเส้นเลือดโป่งพองสามารถเกิดขึ้นได้กับหลอดเลือดแดงใดก็ได้ แต่ที่พบบ่อยที่สุดในหลอดเลือดแดงที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย เรียกว่า เอออร์ตา (Aorta)
หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
อีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงโดยเฉพาะคุณผู้ชาย คือ ปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ซึ่งพบได้มากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดที่ไม่สะดวกซึ่งเกิดจากความดันโลหิตสูงไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศชายได้นั่นเอง
สำหรับคุณผู้หญิงภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงจะไปลดการไหลเวียนของเลือดไปยังช่องคลอด
ซึ่งนำไปสู่ความต้องการทางเพศที่น้อยลง ช่องคลอดแห้ง จนถึงการมีปัญหาในการถึงจุดสุดยอด
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน ใครก็เป็นได้
ความดันโลหิตสูงมักเป็นภาวะที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและค่อย ๆ ทำลายร่างกายเป็นเวลาหลายปี แต่บางครั้งภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนกลายเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที และไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
- สูญเสียการมองเห็นแบบเฉียบพลัน
- เจ็บหน้าอก
- ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ
- หัวใจวาย
- สูญเสียความทรงจำ
- พฤติกรรมและบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง อารมณ์หงุดหงิด
- โรคหลอดเลือดสมอง
- การสูบฉีดของหัวใจที่ผิดปกติอย่างกะทันหัน
- ภาวะน้ำท่วมปอด
- สูญเสียการทำงานของไตอย่างกะทันหัน
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงอัลไซเมอร์
รู้หรือไม่ ? ว่าการมีภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงนั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงนั้นส่งผลต่อหลอดเลือดแดงที่ต้องคอยลำเลียงเลือดและสารอาหารไปยังสมอง
ทั้งทำให้หลอดเลือดตีบ หลอดเลือดโป่งพอง การทำงานของหัวใจในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ
ดังนั้นผู้ที่รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงการเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง
จึงควรควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม รวมถึงการดูแลสุขภาพโดยทั่วไป ทั้งการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่กันไปด้วย
ปัจจัยเสี่ยงความดันโลหิตสูงที่จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน
มาดูไปพร้อม ๆ กันดีกว่าว่าปัจจัยหรือสาเหตุอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง จนอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง
- อายุ
เมื่ออายุคนเรามากขึ้นความดันโลหิตก็มักจะสูงมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งความดันอาจจะสูงขึ้นถึง 140/90 ซึ่งควรหมั่นตรวจเช็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อระมัดระวังไม่ให้ความดันโลหิตสูงจนเกินไป - จิตใจและอารมณ์
การเผชิญกับความเครียดสามารถทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้ถึง 30 มม.ปรอท อย่างไรก็ตาม
เมื่อมีการพักผ่อน ความดันโลหิตสามารถกลับสู่ระดับปกติได้ อาการเจ็บปวดย่อยอื่นๆ ยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้บ้าง - เพศ
โดยปกติแล้วเพศชายจะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าเพศหญิง - พันธุกรรม
ผู้ที่มีพ่อและแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนอื่น
อีกด้วย - สภาพภูมิศาสตร์
คนที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท - รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูงมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนที่
รับประทานอาหารรสไม่จัด
วิธีป้องกันความดันโลหิตสูงหากไม่อยากเกิดภาวะแทรกซ้อน
สำหรับใครที่ไม่อยากให้ตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงจนเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง วันนี้เรามีวิธีป้องกันโรคความดันโลหิตสูงมาให้กับคุณได้นำไปปฏิบัติ บอกเลยว่าช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้อย่างแน่นอน
- ลดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
เช่น อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป ควรอ่านฉลากเพื่อดูปริมาณโซเดียมที่มีในอาหารนั้น ๆ รวมถึง
ลดการใส่เครื่องปรุงเมื่อทำอาหารเอง - ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
เพื่อลดการเกิดไขมันเกาะตามเส้นเลือด จนอาจทำให้เกิดไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรค
ความดันโลหิตสูงได้ - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดความดันโลหิต สำหรับผู้ที่เริ่มต้นออกกำลังกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้สูงอายุ ควรตรวจสุขภาพ
และปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อลดความเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้น - งดการสูบบุหรี่ และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพราะส่งผลให้หลอดเลือดตีบและเกิดการอักเสบของหลอดเลือดได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถทำลายร่างกายอย่างเงียบ ๆ หากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิต ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงสามารถส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั้งสมองที่นำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ ดวงตา หลอดเลือดแดง ไต รวมไปถึงสามารถทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยประกอบกัน ดังนั้นเราจึงควรดูแลสุขภาพและร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ