ทำความรู้จักภาวะอุจจาระตกค้าง

Health

อุจจาระตกค้างถึงแม้จะไม่ถูกจัดเป็นโรคร้าย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายและอาจทำให้เราเป็นโรคท้องผูกได้ในอนาคต! มาทำความรู้จักกับภาวะอาการอุจจาระตกค้าง เพื่อรับมือกับภาวะอุจจาระตกค้างในลำไส้และบอกลาปัญหาของโรคท้องผูกกันได้ ในบทความนี้

อุจจาระตกค้างอาการต่างๆ นั้นเกิดขึ้นจาก การที่เรามีอุจจาระที่ตกค้างอยู่ในลำไส้อยู่เป็นจำนวนมากและเป็นเวลานาน ซึ่งมักจะแสดงออกมาในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับอาการของโรคท้องผูก เพียงแต่ในบางครั้งเราก็ยังสามารถขับถ่ายได้อย่างปกติ ทั้งๆ ที่ภายในลำไส้ของเรานั้นยังมีอุจจาระที่ตกค้างอยู่ และที่สำคัญคือเมื่อเราก็ยังขับถ่ายได้ดีทำให้หลายๆ คนมักจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังมีอาการของภาวะอุจจาระตกค้าง และคิดว่าอาการแน่นท้องหรืออาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพียงอาการทั่วไปที่ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกาย

แต่เราต้องขอบอกเลยว่าถึงแม้ในช่วงแรกๆ อาการที่เกิดขึ้นจะไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อเรามากนัก แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ ภาวะที่เรามีอุจจาระไปค้างอยู่ในลำไส้ก็อาจนำมาซึ่งโรคร้ายต่างๆ ที่เราอาจจะคาดไม่ถึงได้ และเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจถึงอาการของการมีอุจจาระไปตกค้างอยู่ในลำไส้ ทั้งสาเหตุของอาการ แนวทางการรักษา และวิธีการรับมือ เราได้รวบรวมข้อมูลดีๆ ที่น่าสนใจมาให้ทุกคนแล้ว

อาการของภาวะอุจจาระตกค้าง

หากมีอาการอุจจาระตกค้างแล้วไม่รีบหาแนวทางการแก้ไข อุจจาระที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ก็จะยิ่งสะสมจนกลายเป็นของเสียที่ตกค้างอยู่ในร่างกายอย่างเรื้อรัง ทำให้ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบทั้งต่อการดำเนินชีวิต และสร้างความหงุดหงิด รำคาญใจไม่ใช่น้อย

ซึ่งหากมีภาวะอุจจาระตกค้าง อาการที่เกิดขึ้นนั้นจะมีดังนี้

  • มีภาวะของโรคท้องผูกที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  
  • มีอาการแน่นท้อง ไม่สบายท้อง
  • มีอาการท้องอืด มีลมในช่องท้องมาก
  • มีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียน หรือในบางรายก็จะอาเจียนออกมาเลย
  • มีการปัสสาวะที่บ่อยขึ้น จากการที่ลำไส้ขยายไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ
  • มีอาการปวดหลังในส่วนของแผ่นหลังด้านล่าง
  • มีอาการนอนไม่หลับ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียตามมา
  • ในบางรายอาจมีอาการถ่ายยาก ต้องใช้แรงเบ่งในการขับถ่ายมากขึ้น
  • มีความรู้สึกว่ายังถ่ายไม่หมด
  • ในบางรายอาจมีเลือดปนออกมาเมื่อขับถ่าย 
  • มีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจติดขัด หายใจได้ไม่เต็มปอด
  • เกิดความรู้สึกเบื่ออาหาร หรือทานอาหารได้น้อยลง
  • ผายลมบ่อย เนื่องจากต้องการระบายลมออกจากลำไส้
  • มีอาการขมคอ เรอเปรี้ยว 

และถ้าใครกำลังมีอาการเหล่านี้ เราต้องขอบอกเลยว่าคุณอาจเป็นหนึ่งในผู้ที่มีภาวะอุจจาระตกค้าง และเข้าข่ายว่าจะมีอาการของโรคท้องผูกได้ในอนาคต ดังนั้นเมื่อมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ผู้ที่มีอาการควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป 

สาเหตุของภาวะอุจจาระที่ไปตกค้างอยู่ในลำไส้

เพื่อการแก้ไขปัญหาและรับมือกับภาวะอุจจาระตกค้างในลำไส้ได้อย่างตรงจุด เราจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของภาวะนี้ให้ดีเสียก่อน เพราะเมื่อเรารู้ถึงสาเหตุของอาการแล้ว เราจะสามารถรับมือและป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในการมีภาวะอุจจาระไปตกค้างในลำไส้ได้

ซึ่งการที่อุจจาระไปตกค้างอยู่ในลำไส้นั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุมากมาย โดยหลักๆ แล้วจะเกิดจากพฤติกรรมการขับถ่าย พฤติกรรมการรับประทาน และการดำเนินชีวิตที่ผิดๆ ของตัวเราเอง ซึ่งพฤติกรรมที่ส่งผลให้เรามีอาการอุจจาระตกค้างนั้น ได้แก่

การขับถ่ายอุจจาระด้วยการเบ่งอย่างผิดวิธี 

เคยไหม ที่เรามีอาการขับถ่ายไม่ออก ถ่ายยาก หรืออยู่ในช่วงเวลาที่เราต้องขับถ่ายแล้วแต่เราไม่ยอมขับถ่ายสักที ทำให้เราต้องออกแรงเบ่งเพื่อให้สามารถขับถ่ายได้ หากคุณกำลังทำแบบนี้อยู่คุณอาจจะต้องระมัดระวัง เพราะพฤติกรรมนี้อาจทำให้เรามีภาวะอุจจาระตกค้างได้ เนื่องจากหากเราออกแรงเบ่งเพื่ออุจจาระแล้วมีการเบ่งที่ผิดๆ จะส่งผลให้อุจจาระที่ควรจะขับถ่ายออกมาผ่านทางทวารหนักกลับเข้าไปตกค้างอยู่ในลำไส้แทนหรือช่องท้องแทน ซึ่งการเบ่งอุจจาระแบบผิดๆ เช่น การเบ่งเพื่อขับถ่ายในขณะที่เราหายใจเข้าแล้วแขม่วท้อง เป็นต้น   

การอั้นอุจจาระ 

การอั้นอุจจาระบ่อยๆ ก็ส่งผลให้เรามีอาการอุจจาระกลับเข้าไปตกค้างได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเมื่อเรามีการปวดอุจจาระแล้วอั้นเอาไว้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเพราะความไม่สะดวกจากการติดอยู่ในสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถขับถ่ายได้ หรือมีพฤติกรรมที่ชอบอั้นอุจจาระอยู่แล้ว ร่างกายก็จะเริ่มสั่งการให้เราปวดอุจจาระได้ยากขึ้น ทั้งยังทำให้อุจจาระที่ควรออกมาในช่วงเวลาที่เหมาะสม กลับเข้าไปสะสมและตกค้างอยู่ในลำไส้นั่นเอง

ซึ่งแน่นอนว่าหากมีภาวะอุจจาระตกค้าง อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ล้วนส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราไม่ใช่น้อย ดังนั้นถ้าไม่อยากต้องทำการรักษาภาวะของการมีอุจจาระไปตกค้างในลำไส้ เราขอแนะนำให้ลองค่อยๆ หาแนวทางการแก้ไขปัญหาการอั้นอุจจาระ หรือฝึกถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา เพื่อไม่ให้เกิดการปวดอุจจาระในช่วงที่ไม่สามารถอุจจาระได้นั่นเอง

ทานอาหารไขมันสูง และอาหารที่มีกากใยต่ำ

การที่เรามีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีนอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมของเราแล้ว ยังส่งผลให้เรามีภาวะอุจจาระตกค้างในลำไส้ได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่ส่งผลต่อการขับถ่ายและอาจนำไปสู่ภาวะของการมีอุจจาระไปตกค้างอยู่ในลำไส้นั้น ก็คืออาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ย่อยยาก อาหารที่ไม่มีกากใย หรือมีกากใยในปริมาณที่ต่ำ เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้ระบบขับถ่ายของเราต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น

ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีกากใยต่ำ เช่น

  • เนื้อแดง
  • เบคอน 
  • หมูกรอบ
  • นม 
  • เนย เป็นต้น

ไม่ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายน้อย

สำหรับใครที่ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยเราขอแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลองมองหากิจกรรมเพื่อการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากขึ้น เพราะหากเราไม่มีการออกกำลังกายให้ร่างกายได้ขยับหรือเคลื่อนไหวบ้าง ร่างกายของเราก็จะใช้พลังงานน้อยลง ทำให้ระบบย่อยอาหารของเรามีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดน้อยลง ส่งผลให้เราอาจมีการขับถ่ายที่ยากขึ้น และทำให้เรามีภาวะอุจจาระตกค้างเกิดขึ้นได้ในอนาคต

นอกจากนี้การที่เราได้ขยับร่างกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะไปกระตุ้นลำไส้ให้ลำไส้ได้มีการเคลื่อนไหวไปตามการทำกิจกรรมของเรา ซึ่งแน่นอนเมื่อลำไส้ได้มีการขยับก็จะส่งผลให้เราสามารถขับถ่ายได้ง่ายขึ้น และส่งผลดีต่อระบบขับถ่ายของเรานั่นเอง

ดื่มน้ำไม่เพียงพอ 

น้ำคือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ระบบขับถ่ายของเราทำงานได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นหากเราดื่มน้ำน้อยเกินไปก็อาจส่งผลให้เรามีอาการอุจจาระตกค้างได้ 

ซึ่งเหตุผลที่ทำให้เราควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดภาวะการมีอุจจาระไปตกค้างในช่องท้องนั้นก็เพราะหากเราดื่มน้ำเข้าไปในปริมาณที่น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ ระบบย่อยอาหารก็จะทำงานหนักขึ้น ส่งผลต่อเนื่องถึงระบบขับถ่ายที่ต้องรับของเสียต่อมา ซึ่งเมื่อของเสียเข้ามาอยู่ที่ลำไส้แล้ว สมองได้สั่งการมาว่าตอนนี้ร่างกายต้องการน้ำเพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ให้สามารถทำงานได้ สมองก็จะจัดสรรให้ลำไส้ดูดซึมของเสียต่างๆ เหล่านั้นกลับเข้าไปสู่ร่างกายอีกครั้ง ซึ่งเมื่อมีกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้น ก็จะทำให้ของเสียหรืออุจจาระของเราทั้งแห้ง แข็ง และมีความข้นที่มากกว่าเดิม 

และแน่นอนว่าอุจจาระมีความแห้ง แข็ง และไม่มีน้ำเป็นตัวหล่อลื่นให้สามารถขับถ่ายได้อย่างปกติ เราก็จะต้องออกแรงเบ่งมากขึ้นจากการขับถ่ายที่ยาก และเป็นที่มาของการที่อุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้หรือช่องท้องของเรานั่นเอง

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุจจาระตกค้างในลำไส้

กลุ่มของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้นั้น ได้แก่

  • ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ที่เคลื่อนไหวน้อย  
  • ผู้ป่วยติดเตียง
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบ่อย จนลำไส้เป็นพังผืด มีซอกหลืบให้อุจจาระไปตกค้าง    
  • ผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อยๆ 
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด ที่ส่งผลต่อระบบขับถ่าย เช่น ยาประเภทอะลูมินัม ยาลดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อ ยาลดความดันโลหิต และยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม tricyclic antidepressants เป็นต้น

ซึ่งหากใครที่กำลังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ เราขอแนะนำให้มีการสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายของตัวเอง และหาแนวทางการรับมือกับอาการของการมีอุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้อย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการมีอุจจาระที่ตกค้างอยู่ในลำไส้นั่นเอง

โรคท้องผูก หนึ่งในจุดเริ่มต้นของภาวะการมีอุจจาระไปตกค้างในลำไส้

นอกจากสาเหตุต่างๆ และกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะภาวะอุจจาระตกค้างอาการต่างๆ ที่เราได้แนะนำไปแล้ว เราก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าการที่เราขับถ่ายได้ยากก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ส่งผลให้เรามีอุจจาระไปตกค้างอยู่ในลำไส้ได้ 

นั่นก็เพราะถึงแม้ว่าการเป็นโรคท้องผูกจะมีอาการใกล้เคียงกับอาการอุจจาระตกค้างแต่แท้จริงแล้วสองสิ่งนี้นั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพียงแต่อาจส่งผลต่อเนื่องถึงกันได้ นั่นก็คือหากเรามีอาการท้องผูก ก็อาจส่งผลให้มีอุจจาระตกค้างในร่างกาย และหากเรามีอุจจาระตกค้างในลำไส้ก็จะส่งผลให้อาการของโรคท้องผูกรุนแรงขึ้นได้นั่นเอง

ซึ่งการที่โรคท้องผูกเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของภาวะการมีอุจจาระไปตกค้างในลำไส้นั้น จึงทำให้ภาวะนี้พบได้บ่อยมากยิ่งขึ้น เพราะในปัจจุบันมีผู้คนที่พบกับปัญหาของอาการท้องผูกมากมาย และพบได้มากกว่าร้อยละ 30 ของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้หญิง ซึ่งผู้ที่มีภาวะของโรคท้องผู้ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะอุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้จะมีอาการต่างๆ เหล่านี้

  • อุจจาระยาก ใช้เวลาขับถ่ายนาน
  • ต้องใช้การเบ่ง และมักจะต้องออกแรงมากขึ้นเพื่อให้อุจจาระออกมา
  • รู้สึกอึดอัดแน่นท้องอยู่เสมอแม้ขับถ่ายออกไปแล้ว
  • ขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์
  • มีอาการเจ็บเมื่ออุจจาระ
  • ขับถ่ายได้ครั้งละน้อย ๆ 
  • อุจจาระเป็นเม็ดเล็กๆ แข็งๆ 

นั่นจึงทำให้เราจะต้องระมัดระวัง ดูแลตัวเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรับมือกับภาวะอุจจาระตกค้างและอาการท้องผูก ไม่ให้สองสิ่งนี้มาส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพร่างกายของเราในอนาคตได้นั่นเอง

แนวทางการรักษาภาวะอุจจาระตกค้างในลำไส้

หากเรารู้สึกว่าเรามีอาการที่เข้าข่ายว่าจะมีภาวะของการมีอุจจาระไปตกค้างอยู่ในลำไส้ มีอาการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือมีอาการที่ส่งผลให้เราต้องมีความเจ็บปวดต่างๆ เกิดขึ้น เราขอแนะนำว่าให้ผู้ที่พบเจอกับปัญหาเหล่านี้เข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้อาการต่างๆ สะสมจนเกิดเป็นโรคร้ายต่างๆ ตามมาในอนาคต

โดยเมื่อแพทย์ได้รับรู้ถึงอาการของเรา ทำการตรวจ และทำการวินิจฉัยอาการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะทำการเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน หากใครที่มีอาการไม่หนักและเป็นอาการเบื้องต้น แพทย์ก็อาจจะแนะนำให้ทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเพียงเท่านั้น แต่หากใครที่มีอาการที่รุนแรงมากขึ้น หรือมีความจำเป็นจะต้องทำการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แพทย์ก็จะเลือกทำการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้

  • รักษาด้วยการสวนทวารหนัก 
  • รักษาด้วยการเหน็บยา 
  • รักษาด้วยการให้ยาระบาย  
  • รักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อนำอุจจาระออกมาจากลำไส้ 

อุจจาระตกค้าง รับมือได้ ด้วยวิธีเหล่านี้!

สำหรับใครที่มีภาวะอุจจาระตกค้างอาการต่างๆ เราขอแนะนำว่าทุกคนไม่ควรซื้อยาระบายหรือยาอื่นๆ มารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะนั่นอาจเป็นการรักษาที่ไม่ตรงจุด ทั้งยังอาจก่อให้เกิดการดื้อยา จนไม่สามารถขับถ่ายได้แม้จะทานยาระบายเข้าไปแล้วตาม 

ดังนั้นหากใครที่มีอาการที่แสดงถึงภาวะของการมีอุจจาระไปตกค้างอยู่ในลำไส้ แล้วต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเพื่อรับมือกับอาการต่างๆ เหล่านั้นด้วยตัวเอง เราขอแนะนำให้ปฏิบัติตามวิธีการรับมือกับภาวะอาการอุจจาระตกค้างต่างๆ เหล่านี้ 

  • ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาในทุกๆ วัน โดยการนั่งในห้องน้ำในช่วงเวลาเดิมทุกๆ วันให้เป็นนิสัย
  • นั่งขับถ่ายอย่างถูกสุขลักษณะ โดยมีการวางเท้าไว้บนเก้าอี้เล็กๆ ที่สูงประมาณ 20 เซนติเมตร แล้วโค้งตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
  • ฝึกการเบ่งอย่างถูกวิธี ไม่เบ่งอุจจาระแรง กระตุ้นการขับถ่ายโดยการนั่งบนชักโครกและโค้งตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มือกดที่บริเวณท้องทางด้านล่างซ้าย (ไม่ควรเกร็งในขณะที่ขับถ่าย)
  • หากปวดอุจจาระให้ขับถ่ายทันที ไม่ควรอั้นอุจจาระ
  • ไม่พยายามเบ่งอุจจาระถ้ายังไม่มีอาการปวดอุจจาระ 
  • จิบน้ำระหว่างวันอย่างสม่ำเสมอในปริมาณ 8-10 แก้วต่อวัน 
  • ทานอาหารที่มีไฟเบอร์หรือกากใยสูง และเสริมด้วยโปรไบโอติกที่มีน้ำตาลน้อย
  • ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ และมีการเคลื่อนไหวร่างกายในระหว่างวันอยู่เสมอ

และหากใครที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เราขอแนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาอาการอุจจาระตกค้างในลำไส้ที่เหมาะสม เพียงเท่านี้ทุกคนก็สามารถรับมือกับภาวะอุจจาระตกค้าง และบอกลาอาการอุจจาระตกค้างต่างๆ ที่อาจนำไปสู่โรคร้ายในอนาคตกันได้แล้ว!

บทความที่เกี่ยวข้อง