อาการหลงลืมในผู้สูงอายุเป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ในผู้สูงอายุที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น และในบางรายอาจมีอาการของ ‘ภาวะสมองเสื่อม’ ตามมา ซึ่งถือได้ว่าอาการหลงลืมในผู้สูงอายุนั้นเป็นอาการที่พบได้มากถึงร้อยละ 90 จากผู้สูงอายุทั่วโลก วันนี้เราจึงจะมาแนะนำทั้งผู้สูงอายุ และผู้ที่มีคนในครอบครัวมีแนวโน้มว่าจะมีอาการสมองเสื่อมถึงสาเหตุของอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ การรักษาและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมหรือมีอาการอัลไซเมอร์ให้เหมาะสม และวิธีป้องกันอาการหลงลืม เพื่อรับมือกับภาวะสมองเสื่อมให้อยู่หมัด!
สาเหตุของอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ
อาการหลงๆ ลืมๆ ในผู้สูงอายุนั้นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุต่างๆ เหล่านั้นก็ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ โดยสาเหตุหลักๆ ของอาการหลงลืมนั่นก็คือ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นและเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุ เซลล์สมองก็จะเริ่มตายลง ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิมได้ นั่นจึงทำให้ผู้สูงอายุจะเริ่มมีความจำที่ถดถอย และมีอาการหลงๆ ลืมๆ เกิดขึ้น
นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่มีอาการหลงๆ ลืมๆ จนนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมนั้นมักจะเกิดขึ้นจากโรคอัลไซเมอร์ หรือการที่เซลล์สมองเสื่อมหรือตายลงในจำนวนมาก ทำให้ผู้ป่วยจะมีอาการทางด้านความจำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียความทรงจำ หลงๆ ลืมๆ ถามซ้ำๆ จำเหตุการณ์ไม่ได้, การสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรม ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้, การสูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีอารมณ์หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป, การมีปัญหาในการเข้าสังคม และอาจร้ายแรงถึงระดับที่ผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในท้ายที่สุด
และไม่ใช่แค่โรคอัลไซเมอร์ที่เป็นสาเหตุของอาการหลงลืมในผู้สูงอายุอย่างภาวะสมองเสื่อม ยังมีการวินิจฉัยและยืนยันว่าโรคหลอดเลือดสมองที่มีความผิดปกติก็ส่งผลต่อความทรงจำของผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแข็งตัว หนา หรือหลอดเลือดสมองตีบนั่นเอง
ความอันตรายของภาวะสมองเสื่อมยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะนอกจากภาวะสมองเสื่อมจะเป็นภาวะที่เกิดกับผู้สูงอายุและถือเป็นอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ รักษาให้หายขาดไม่ได้ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันแล้ว ยังสามารถเกิดกับผู้ที่มีอายุน้อยได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสาเหตุที่ผู้มีอายุน้อยจะมีอาการสมองเสื่อมก่อนวัยนั้น อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
- ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมฟรอนโตเทมพอรัล (Frontotemporal Dementia)
- ป่วยเป็นโรคการติดเชื้อของสมอง
- การได้รับสารพิษต่างๆ
- ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
สรุปความแตกต่างของภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อย 2 สาเหตุหลัก
ภาวะสมองเสื่อมจาก ‘โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)’ | ภาวะสมองเสื่อมจาก ‘โรคหลอดเลือดสมอง (Vascular Dementia)’ |
พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับ 1 ของภาวะสมองเสื่อม | เป็นสาเหตุอันดับ 2 ของอาการสมองเสื่อม |
เกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์สมอง หรือเซลล์สมองตาย | เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้สมองส่วนนั้นผิดปกติ |
ผู้สูงอายุปกติ VS ผู้สูงอายุสมองเสื่อมที่มีอาการหลงลืมแบบ ‘อัลไซเมอร์’
เมื่อโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) ถือเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยที่สุดในภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุและผู้ที่มีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ การรักษาและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมอย่างเหมาะสม ในระยะเวลาที่รวดเร็วมากที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราจึงขอแนะนำให้ทุกคนสำรวจตัวเองและคนรอบข้างให้ดีว่ามีอาการที่แสดงถึงภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ที่มีคนในครอบครัวมีแนวโน้มว่าจะมีอาการสมองเสื่อมสามารถเตรียมความพร้อมและสามารถรับมือกับโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างทันท่วงที
ผู้สูงอายุปกติ | ผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมแบบ ‘อัลไซเมอร์’ |
สามารถดำเนินชีวิตและทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ | ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ต้องให้ผู้อื่นช่วยเหลือ |
มักบ่นว่าตนเองขี้ลืม มีความจำไม่ได้ แต่ก็ยังนึกออก และบอกได้ว่าลืมอะไร | เมื่อลืมแล้วจะลืมเลย ไม่สามารถนึกออกและบอกได้ว่าตนเองลืมอะไร |
มักจะมีความกังวลเกี่ยวกับความทรงจำและอาการหลงลืมในผู้สูงอายุของตนเองอยู่บ่อยๆ | มักจะไม่บ่นถึงความทรงจำของตนเอง และคนรอบข้างจะมีความกังวลเกี่ยวกับความจำของผู้สูงอายุมากกว่าตัวผู้สูงอายุเอง |
จดจำเรื่องราวและเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ได้ | สูญเสียความจำระยะสั้น มีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุจนลืมแม้เหตุการณ์เพิ่งผ่านไปไม่นาน |
เวลาพูดคุยกับผู้อื่น บางครั้งอาจจะนึกคำที่จะพูดไม่ได้ | สูญเสียความสามารถในการพูดคุยกับผู้อื่น นึกคำพูดไม่ออกมากขึ้น |
เมื่อไปยังสถานที่ที่คุ้นเคยอาจใช้เวลานึกเส้นทาง แต่จะนึกออก และไม่หลงทาง | เมื่อไปยังสถานที่ที่คุ้นเคยกลับหลงทางและจำเส้นทางไม่ได้ |
สามารถใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ และสิ่งของในชีวิตประจำวันทั่วไปได้ | ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ และสิ่งของในชีวิตประจำวันทั่วไปได้ |
สามารถเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ และสิ่งของในชีวิตประจำวันใหม่ๆ ได้ | ไม่สามารถเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ และสิ่งของในชีวิตประจำวันใหม่ๆ ได้ |
สามารถเข้าสังคม มีปฏิสัมพันธ์ หรือพูดคุยกับผู้อื่นได้ตามปกติ | มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่สนใจในการเข้าสังคม สูญเสียความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น |
เช็กอาการด่วน! เพื่อรับมือกับอาการอัลไซเมอร์ได้อย่างทันท่วงที
ถึงแม้อาการหลงๆ ลืมๆ ที่เกิดขึ้นบางครั้งอาจเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นจากสมองที่ทำงานได้ช้าลงและเสื่อมประสิทธิภาพลง แต่อาการหลงลืมในผู้สูงอายุบางอาการก็แสดงถึงจุดเริ่มต้นของการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ ซึ่งผู้สูงอายุที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ มักจะมีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุต่างๆ ดังนี้
- ลืมในสิ่งที่เคยถาม ถามคำถามเดิมๆ ซ้ำๆ
- ลืมของที่เคยวาง ไม่สามารถนึกย้อนกลับไปได้ว่าวางไว้ที่ไหน
- มักมีความสับสนและนำของไปวางในที่ที่ไม่ควรวาง
- ลืมเหตุการณ์สำคัญ ลืมวันสำคัญ ลืมแม้เหตุการณ์ต่างๆ เพิ่งผ่านไปไม่นาน
- ไม่สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
- ไม่สามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้
- สูญเสียความสามารถในการตัดสินใจ
- ลืมชื่อคนใกล้ตัว คนรอบข้าง ครอบครัว คนรัก เพื่อน และคนสนิท
- ไม่สามารถตัดสินใจเลือกใช้คำที่เหมาะสมในการพูดและการเขียนได้
- มีความบกพร่องทางด้านการใช้ภาษา ลืมบทสนทนาที่กำลังพูดอยู่
- สับสนเรื่องวันที่และเวลา รวมถึงฤดูกาล ทิศทาง และสถานที่
- ลืมเส้นทางของสถานที่ที่ตัวเองอยู่ หรือสถานที่ที่เคยไปอยู่บ่อย ๆ
- สูญเสียความสามารถในการกะระยะทางหรือระยะห่างของสิ่งของต่างๆ
- ไม่ทำในสิ่งที่เคยทำ ออกห่างจากกิจกรรมที่เคยชอบ หรือแยกตัวออกจากสังคมเดิมๆ ที่เคยอยู่
- บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป อารมณ์ที่ไม่คงที่ มักจะสับสนและวิตกกังวลอยู่เสมอ
อาการหลงลืมในผู้สูงอายุรักษาได้อย่างไร?
หลายๆ คนก็คงจะเคยได้ยินกันอยู่แล้วว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นอาการหลงลืมในผู้สูงอายุรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถดูแลให้อาการคงที่และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ ซึ่งการรักษาให้อาการคงที่และบรรเทาอาการให้อยู่ในระดับที่ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้นั้น จะเป็นการใช้ยาเพื่อยับยั้งสารอะเซตีลโคลีนเอสเทอเรส (Acetylcholinesterase) ให้ยาเข้าไปขัดขวางการทำลายสารความจำในสมอง นั่นก็เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และทำให้คนในครอบครัวหรือคนรอบข้างสามารถดูแลผู้ป่วยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ผู้สูงอายุทุกท่านยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจะต้องให้ความสำคัญ ใส่ใจ และดูแลสุขภาพของตัวเองให้มากยิ่งขึ้น นั่นก็เพื่อป้องกันและรับมือกับอาการหลงลืม อาการอัลไซเมอร์ และภาวะสมองเสื่อมที่อาจทำให้ทุกคนต้องสูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และลืมแม้กระทั่งคนรักและคนในครอบครัวนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ การรักษา และการรับมือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ แล้วเราจะสามารถป้องกันและรับมือกับอาการหลงๆ ลืมๆ อันเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมได้อย่างไร ตามเราไปดูวิธีการป้องกันและรับมือกับอาการหลงๆ ลืมๆ ในผู้สูงอายุกันได้เลย!
ป้องกันและรับมือ! ก่อนมีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอจำนวน 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว สับสน และมีอาการหลงลืมตามมา
- ออกกำลังกาย 5 วันต่อสัปดาห์ อย่างน้อยวันละ 30 นาที
- ทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณที่พอเหมาะ
- เน้นผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
- ทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาทูน่า ปลาเทราต์ วอลนัต และเมล็ดแฟล็กซ์
- ทำกิจกรรมกระตุ้นความคิดและฝึกสมองอยู่เสมอ เช่น การเล่นเกมที่เกี่ยวข้องกับความจำ หรือตัวเลข
- ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ฝึกปล่อยวาง เพื่อหลีกเลี่ยงความเครียด
- ลองทำอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ เช่น ฝึกเล่นดนตรี ลองทำอาหารใหม่ๆ หรือเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ
- งดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- เข้ารับการตรวจสุขภาพอยู่เสมอ
ด้วยคำแนะนำของเราก็คงจะทำให้การป้องกันอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ การรักษา และการรับมือนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป ใครที่ไม่อยากมีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือมีภาวะสมองเสื่อมสามารถนำคำแนะนำของเราไปปรับใช้กับตัวเองและผู้สูงอายุรอบข้างกันได้เลย!
รวมคำแนะนำถึง ‘การดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืม’
นอกจากสาเหตุของอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ การรักษา และการรับมือกับโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุแล้ว หากคุณคือคนที่มีคนในครอบครัวเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการหลงๆ ลืมๆ เป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรือเป็นผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม เราขอแนะนำวิธีการดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการต่างๆ เหล่านั้นให้ทุกท่านได้รู้และสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทุกท่านสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ เหล่านี้
- หากผู้สูงวัยในครอบครัวเริ่มมีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุให้พาไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ และตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด
- จัดการกับสภาพแวดล้อมภายในสถานที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตได้ง่าย และปลอดภัย โดยจะต้องไม่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการลื่นล้ม จัดเก็บของมีคมเข้าที่อย่างมีระเบียบ จัดการให้บ้านมีแสงสว่างที่เพียงพอ
- ให้ผู้สูงอายุสวมใส่ป้ายเล็กๆ หรือสร้อยคอที่มีรายละเอียดของที่อยู่และเบอร์ติดต่อของผู้ดูแล
- ไม่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งการวางสิ่งของ ฝึกให้ผู้สูงอายุคุ้นเคยกับตำแหน่งต่างๆ ที่ใช้ในการวางของ
- จัดการเสียงภายในสถานที่อยู่อาศัยให้ไม่ดังและไม่เบาเกินไป
- พูดคุยและสื่อสารกับผู้สูงอายุอยู่เสมอ อาจสื่อสารอธิบายสั้นๆ ถึงสิ่งที่กำลังทำเป็นขั้นตอน
- หากผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยสมองเสื่อมที่ติดเตียง จะต้องมีการดูแล ทำกายภาพบำบัด และขยับร่างกายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันภาวะข้อติดหรือแผลกดทับ
- อย่าลืมให้ความสำคัญเรื่องสุขอนามัยของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ และผู้ป่วยสมองเสื่อมที่ติดเตียง
- สื่อสารให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่เสมอ โดยค่อยๆ พูดคุย และอธิบายสิ่งต่างๆ ช้าๆ ให้ผู้สูงอายุเข้าใจได้ง่าย
- ดูแลผู้ที่มีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุด้วยความเข้าใจ ไม่บังคับให้ผู้สูงอายุนึก ไม่ต่อว่าหรือใช้น้ำเสียงที่ไม่ดี
- หลีกเลี่ยงการบ่นถึงความเหนื่อยล้าในการดูแลผู้สูงอายุต่อหน้า และไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้สูงอายุให้ได้ยิน
อย่างไรก็ตามผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุจะต้องอย่าลืมที่จะคำนึงถึงสุขภาพของตัวเองเป็นสำคัญ เพราะถึงแม้ว่าอาการหลงลืมในผู้สูงอายุรักษาไม่ได้ทำให้ต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม แต่ถ้าผู้ดูแลไม่ดูแลตัวเองประสิทธิภาพในการดูแลผู้สูงอายุก็จะลดน้อยลงและส่งผลกระทบต่อการดูแลในระยะยาวได้
ดังนั้นเราจึงขอแนะนำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุทุกท่านพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ รวมถึงควรหากิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความผ่อนคลายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเหนื่อยล้าและรับมือไม่ให้เกิดความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมนั่นเอง
กิจกรรมแนะนำ ที่ผู้ดูแลสามารถทำร่วมกับผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืม
เพื่อให้ผู้ดูแลได้ผ่อนคลายความเครียด และเป็นการฝึกสมอง กระตุ้นความจำให้กับผู้สูงอายุไปในตัว เราขอแนะนำกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้ดูแลสามารถทำร่วมกับผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมได้ และที่สำคัญคือกิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ส่งผลดีต่อการทำงานของสมอง และช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
ซึ่งกิจกรรมที่ผู้ดูแลสามารถทำร่วมกับผู้ที่มีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุที่เราจะมาแนะนำนั้น ได้แก่
- การเล่นเกมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นบอร์ดเกม หรือเกมฝึกความจำต่าง ๆ
- ทำกิจกรรมทบทวนความจำ เช่น นำรูปภาพเก่าๆ หรือรูปสถานที่ที่ผู้สูงอายุคุ้นเคยให้ผู้สูงอายุดู จากนั้นจึงถามชื่อสถานที่ เฉลย และให้รางวัล
- ทำกิจกรรมทางศิลปะร่วมกัน เช่น การวาดรูป ระบายสี และการตกแต่งกระถางต้นไม้
- ทำอาหารหรือทำขนมร่วมกัน อาจจะเป็นการลองทำเมนูใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำ หรือทำเมนูง่ายๆ ที่ไม่ยากเกินไป
- ร้องเพลง เต้นรำ หรือเต้นประกอบเพลง
- ช่วยกันทำสวน จัดสวน ปลูกต้นไม้ หรือปลูกดอกไม้
- ออกไปท่องเที่ยวยังสถานที่ใหม่ๆ หรือเดินทางไปสถานที่เดิมๆ เพื่อรำลึกความหลัง
- พาผู้สูงอายุไปช้อปปิ้ง ซื้อของ โดยให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกซื้อสิ่งของต่างๆ
- พาผู้สูงอายุไปเข้าวัด ทำบุญ เพื่อจิตใจที่ผ่อนคลายและเพื่อทบทวนความจำถึงขั้นตอนของการทำบุญหรือบทสวดต่างๆ ที่ผู้สูงอายุคุ้นเคย
- ออกกำลังกายด้วยกัน โดยแนะนำเป็นการออกกำลังกายเบาๆ อย่างการเดิน การแกว่งแขน เป็นต้น
———————————–
จบกันไปแล้วกับเรื่องราวที่การดูแลสุขภาพที่น่าสนใจและคำแนะนำเกี่ยวกับอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ สาเหตุของอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ การรักษา และการดูแลผู้ป่วยที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถรับมือกับภาวะสมองเสื่อมได้อย่างเหมาะสม เราหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้ทุกคนได้รู้ถึงความอันตรายของภาวะสมองเสื่อม และรู้แล้วว่าถึงแม้อาการหลงลืมในผู้สูงอายุรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ก็ยังมีวิธีที่จะช่วยรับมือและบรรเทาอาการหลงๆ ลืมๆ ที่เกิดขึ้นให้บรรเทาลงได้อย่างง่ายดาย หากคุณกำลังมีความเสี่ยง เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หรือมีคนใกล้ตัวที่เข้าข่ายว่าจะมีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุอย่าลืมนำคำแนะนำดีๆ ของเราไปปรับใช้กับตัวเองกันนะ!