สาเหตุและวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือ สิ่งที่ควรรู้ก่อนเป็นหนัก
อาการชาปลายนิ้วเป็นอาการที่หลายคนเคยประสบ ซึ่งบางคนอาจจะเป็นเพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ แล้วหายไป หรือบางคนอาจจะเกิดขึ้นนานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาการชาปลายนิ้วอาจเกิดจากหลากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ปลายประสาทอักเสบไปจนถึงเส้นประสาทถูกกดทับ ซึ่งใครที่มีอาการต้องหมั่นสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับสาเหตุและวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือ และวิธีแก้ชาปลายนิ้วมือเบื้องต้น รวมถึงวิธีแก้ปลายนิ้วชา รวมถึงวิธีการป้องกันไม่ให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้น เพื่อให้คุณสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที เพราะอาการชาปลายนิ้วมือรักษาได้ ถ้ารู้เร็วและรู้วิธีการป้องกัน
ทำความรู้จักสาเหตุ ก่อนรู้วิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือ
การที่คนเรามีเริ่มมีอาการชาปลายนิ้วไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม แต่อาการชาปลายนิ้วมืออาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคต่าง ๆ อยู่ก็เป็นได้ โดยส่วนมากแล้วอาการชาปลายนิ้วมือเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่ใช้มือในการทำงานซ้ำ ๆ หรืออยู่ในท่าเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน ถ้าหากไม่รีบหาสาเหตุและวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจจะเกิดอาการที่รุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุของอาการชาปลายนิ้วสามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุ ดังต่อไปนี้
ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy)
ผู้ที่มีอาการชาปลายนิ้วมือสาเหตุอาจจะเกิดได้จากโรคปลายประสาทอักเสบซึ่งเกิดจากความเสียหายของระบบประสาทส่วนปลาย ส่งผลให้เกิดอาการชาและเสียวแปลบบริเวณมือและเท้า โดยโรคปลายประสาทอักเสบมักจะเกิดกับผู้ที่มีโรคและพฤติกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบาหวาน การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือผู้ที่ต้องนั่งทำงานท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นต้น
เส้นประสาทถูกกดทับ (Compressive Neuropathy)
อาการชาปลายนิ้วมือสามารถเกิดได้จากการกดทับเส้นประสาทหลักของมือในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งทำให้บริเวณที่เส้นประสาทไปเลี้ยงนั้นเกิดอาการชาและปวด ซึ่งมักพบอาการชาที่ด้านใดด้านหนึ่งของมือ
โดยเส้นประสาทหลักของมือมีอยู่ 3 เส้น คือ เส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) เส้นประสาทอัลนาร์ (Ulnar Nerve) และเส้นประสาทเรเดียล (Radial Nerve) ซึ่งอาการชาปลายนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดมักเกิดจากการกดทับเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือ ซึ่งเรียกว่าโรค Carpal Tunnel Syndrome โรคนี้ทำให้เกิดอาการชา ปวด และรู้สึกเสียวซ่านที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง สาเหตุหลักเกิดจากการใช้มือที่มากเกินไป
โรคอื่น ๆ
นอกจากอาการที่ต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น อาการชาปลายนิ้วก็ยังสามารถเกิดได้จากโรคอื่น ๆ ที่เราเป็นอยู่โดยในบางครั้งอาจจะไม่รู้ตัวหรืออาจจะนึกไม่ถึงว่า
โรคเหล่านี้ก็ส่งผลให้เกิดอาการชาปลายนิ้วได้ โดยโรคที่ส่งผลให้เกิดการชาปลายนิ้วได้ เช่น
- โรคเอ็นข้อมืออักเสบ: เกิดจากการอักเสบของปลอดหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นบริเวณข้อมือฝั่งนิ้วโป้ง ทำให้เกิดการกดทับของเส้นเอ็นภายใน มักเกิดกับผู้ที่ใช้ข้อมือทำงานบ่อย ๆ และอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง
- โรคออฟฟิศซินโดรม: เราจะทราบกันดีว่าอาการของโรคนี้จะทำให้ผู้ที่เป็นเกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แต่ในบางคนอาจมีอาการชาปลายนิ้วร่วมด้วย
- โรคเบาหวาน: โรคนี้อาจทำให้เกิดการเสียหายกับเส้นประสาทบริเวณมือและเท้าได้ จนนำไปสู่อาการชาปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า
สัญญาณที่ควรรีบหาวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมืออย่างเร่งด่วน
แม้ว่าอาการชาปลายนิ้วจะเป็นสิ่งหลาย ๆ คนพบเจอ และในบางครั้งอาการอาจจะดูเหมือนไม่รุนแรง แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพราะอาการนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่อาจจะตามมาได้ หากคุณมีอาการชาปลายมือในลักษณะดังต่อไปนี้ให้ไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมืออย่างถูกต้องและลดความรุนแรงของอาการ
- ชาปลายเท้าและปลายมือเข้าหาลำตัว: มักจะเกิดจากการขาดสารอาหารที่สำคัญอย่างวิตามิน B1, B6 และ B12 ซึ่งส่งผลให้ระบบประสาทส่วนปลายทำงานผิดปกติ
- ชาตั้งแต่แขนไปจนถึงนิ้วมือ: อาจเกิดจากกระดูกต้นคอเสื่อม ซึ่งมีผลต่อการกดทับเส้นประสาทที่วิ่งจากคอลงไปที่แขนและมือ
- ชาเลยข้อมือขึ้นมาจนถึงข้อศอก: อาจเป็นสัญญาณเตือนของเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณกระดูกไหปลาร้า ซึ่งสามารถเกิดจากการบาดเจ็บหรือการใช้งานแขนในท่าที่ไม่ถูกต้อง
- ชาที่นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วโป้ง: อาการชาลักษณะนี้อาจเกี่ยวข้องกับกระดูกคอทับเส้นประสาท ซึ่งทำให้เส้นประสาทที่วิ่งจากคอไปยังนิ้วมือถูกกดทับ ทำให้เกิดอาการชาและปวด
- ชาบริเวณปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า: อาจจะมาจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งส่งผลให้เส้นประสาทส่วนปลายที่ควบคุมการทำงานของมือและเท้าเสียหาย ภาวะนี้มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ชาตามมือและนิ้วมือพร้อมปวดแสบปวดร้อนบริเวณกระดูกและข้อ: อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเกาต์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริกในข้อต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบ
หากคุณพบว่าอาการชาปลายนิ้วของตนเองตรงตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังที่กล่าวนี้ จากนั้นให้คุณลองสังเกตตนเองเพิ่มเติมว่าอาการที่คุณเป็นอยู่นั้น มีอาการหนักขึ้น เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน ไม่หายไป และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประวัน ให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือที่ถูกต้องและเหมาะสมก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา จนในบางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
วิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือที่นิยมใช้ในทางการแพทย์
อย่างที่ได้กล่าวไปตั้งแต่ต้นว่าอาการชาปลายนิ้วสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือก็สามารถทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกัน โดยแพทย์จะประเมินจากสาเหตุและความรุนแรงของอาการและเลือกวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ดังนี้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น
หากผู้ป่วยคนไหนยังมีอาการไม่รุนแรงมาก แพทย์อาจจะแนะนำวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือด้วยการให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อลดอาการชาปลายนิ้วมือ เช่น
- การพักจากกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกชาปลายนิ้ว
- การบริหารร่างกาย โดยเฉพาะนิ้วมือ เช่น การยืดและกางนิ้วให้ตึง การสะบัดแขน และการหมุนไหล่
การใช้ยารักษาอาการชาปลายนิ้ว
ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจะแนะนำวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือโดยการใช้ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้ควรจะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรในการใช้ยาเพื่อความปลอดภัย
การใส่เฝือกพยุงมือ
อีกวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือที่เรามักจะพบเห็นกันได้บ่อย นั่นก็คือการใส่เฝือกพยุงมือหรือผ้ารัดบริเวณข้อมือและข้อศอก ซึ่งจะเป็นการทำให้ข้อมือไม่ต้องเคลื่อนไหวหรืออยู่นิ่งที่สุดในขณะที่นอนหลับ โดยการใส่เฝือกพยุงมือจะช่วยให้กระดูกบริเวณนั้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ลดอาการปวดและอาการชาปลายนิ้วมือ
การบริหารกล้ามเนื้อ
การทำกายภาพบำบัดหรือการออกกำลังกายข้อมือก็เป็นวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและลดอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นได้ โดยการนวดเบา ๆ บริเวณเส้นประสาทข้อมือและกล้ามเนื้อ หรือการผ่อนคลายข้อมือด้วยการดึงมือไปด้านบนและลงด้านล่าง ทำค้างไว้ประมาณ 15-20 วินาที
อย่างไรก็ตามการยืดเหยียดในบริเวณที่มาอาการชาปลายนิ้ว ไม่ควรทำอย่างหักโหม ควรทำตามกำลังของแต่ละคน และควรปรึกษากับทีมแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างถูกต้องและไม่บาดเจ็บเพิ่มเติม
การรักษาด้วยไฟฟ้า
วิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือด้วยไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation: PMS) เป็นการกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความแรงสูง ที่ทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปถึงกระดูกหรือกล้ามเนื้อชั้นลึก เทคนิคนี้ช่วยส่งคลื่นไปกระตุ้นเนื้อเยื่อและการไหลเวียนของเลือดในตำแหน่งที่มีอาการชาปลายนิ้วมือทำให้อาการชาปลายนิ้วมือลดลง
การผ่าตัดแก้อาการชาปลายนิ้วมือ
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากและทำการรักษาด้วยวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจจะพิจารณาแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเพื่อแก้อาการชาปลายนิ้ว ซึ่งวิธีนี้มักจะใช้ในกรณีที่เส้นประสาทกดทับหรือเส้นประสาทได้รับความเสียหาย
การป้องกันและวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือที่ทำได้ด้วยตนเอง
สำหรับใครที่ยังมีอาการชาปลายนิ้วที่ไม่รุนแรงและไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก สามารถลองใช้วิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือเหล่านี้เพื่อช่วยบรรเทาและป้องกันอาการที่อาจจะรุงแรงขึ้นได้ในอนาคต
- ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วน
- รับประทานวิตามิน B1, B6 และ B12 เพราะมีคุณสมบัติช่วยบำรุงเส้นประสาท
- ไม่ควรทำกิจกรรมใดซ้ำ ๆ หรืออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน
- หากต้องนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน ควรปรับท่านั่งให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อลดอาการชาปลายนิ้ว
- ใช้อุปกรณ์เสริมช่วยในการทำงาน เช่น หมอนรองข้อมือเมื่อต้องใช้คีย์บอร์ด หรือที่นวดมือ เพื่อลดอาการบาดเจ็บของข้อมือ
- ยืดเหยียด และออกกำลังกายข้อมือ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็น
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มาก
รู้ไหม? การรับประทานอาหารที่ดีก็เป็นวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือ
อาการชาปลายนิ้วมือสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทหรือเส้นประสาท อย่างเช่น โรคปลายประสาทอักเสบ รู้หรือไม่ว่าวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ด้วยตนเองนั่นก็คือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารที่ช่วยในการบำรุงระบบประสาท มาดูกันว่าอาหารเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
ฟักทอง
ฟักทองเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อระบบประสาท ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน B1, B2, B3, B5, B6 รวมไปถึงธาตุเหล็กและซิงค์ (สังกะสี) นอกจากนี้ น้ำมันจากเมล็ดฟักทองยังสามารถช่วยบำรุงให้การทำงานของระบบประสาทมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นหนึ่งในวิธีแก้ชาปลายนิ้วมือด้วยการรับประทานอาหารที่ดี
ตับหมูและไก่
ตับถือเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญมากมาย รวมถึงวิตามิน B12 ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาท และยังมีงานวิจัยพบว่าการกินตับเป็นประจำสามารถช่วยให้การทำงานของระบบประสาททำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ข้าวไม่ขัดสี
การบริโภคข้าวไม่ขัดสีเป็นประจำสามารถช่วยบำรุงปลายประสาทได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นอีกวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือด้วยอาหาร เนื่องจากข้าวไม่ขัดสีอุดมไปด้วยวิตามินจำนวนมาก ไฟเบอร์สูง และมีน้ำตาลน้อยกว่าข้าวขาว คนที่เป็นโรคปลายประสาทอักเสบและมีโรคเบาหวานร่วมด้วย ควรบริโภคข้าวไม่ขัดสีแทนข้าวขาวเพราะจะช่วยบรรเทาให้อาการที่เป็นอยู่ไม่รุนแรงเพิ่มขึ้นได้
ถั่วแดง ถั่วดำ
ถั่วแดงและถั่วดำมีกรดโฟลิกสูง ซึ่งกรดโฟลิกคือวิตามิน B9 ที่สามารถพบได้ในธรรมชาติ มีบทบาทสำคัญในการบำรุงระบบประสาท โดยการช่วยป้องกันและลดความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับระบบประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้กรดโฟลิกยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจได้อีกด้วย
มันฝรั่ง
มันฝรั่งอุดมไปด้วยวิตามิน B1 ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างสารสื่อประสาท และยังช่วยป้องกันอาการเส้นประสาทเสียหาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคปลายประสาทอักเสบ ดังนั้นการรับประทานมันฝรั่งอย่างเพียงพอจะช่วยลดความเสี่ยงและอาการจากโรคปลายประสาทอักเสบได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการชาปลายนิ้วมือ
แนะนำวิตามิน B12 ที่ช่วยรักษาปลายประสาทอักเสบ
วิตามิน B โดยเฉพาะวิตามิน B12 เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการรักษาปลายประสาทอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการชาปลายนิ้วมือ รู้หรือไม่? ว่าในปัจจุบันเรามียาสำหรับรักษาโรคปลายประสาทอักเสบโดยเฉพาะอย่าง Mecobalamine ที่มีวิตามิน B12 ถึง 500 ไมโครกรัมต่อเม็ด ซึ่งแตกต่างกับยาทั่วไปในท้องตลาดที่เป็นวิตามิน B รวม ซึ่งอาจจะใช้เวลาในการรักษาอาการปลายนิ้วมือได้ช้า
‘Mecobalamine’ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการชา จากปลายประสาทอักเสบ เนื่องจากการขาดวิตามิน B12 และไม่อยากใช้วิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือด้วยการรับประทานอาหารที่มีวิตามิน B รวม เพราะอาจจะได้วิตามินไม่เพียงพอและไม่สามารถกำหนดชนิดของวิตามินได้อย่างตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง
อาการชาปลายนิ้วมือเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยมีสาเหตุมาจากปลายประสาทอักเสบเนื่องจากขาดวิตามิน B เส้นประสาทถูกกดทับจากการทำงานหรือใช้มือในท่าเดิม ๆ หรืออาจจะมาจากโรคต่าง ๆ ที่เป็นอยู่อย่างเบาหวาน หรือออฟฟิศซินโดรม
โดยวิธีรักษาอาการชาปลายนิ้วมือสามารถทำได้ด้วยตนเองหากมีอาการไม่รุนแรงมากนัก แต่ถ้าใครที่มีอาการรุนแรง เป็นติดต่อกันระยะเวลานาน จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันก็อาจจะต้องใช้วิธีแก้ชาปลายนิ้วมือด้วยเทคนิคทางการแพทย์ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาความรุนแรงของอาการชาปลายนิ้วมือ รักษาได้ตั้งแต่การบริหารกล้ามเนื้อไปจนถึงการผ่าตัด นอกจากนี้ การป้องกันและวิธีแก้ปลายนิ้วชาสามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมไปถึงการรับประทานวิตามิน B12 ที่ช่วยรักษาโรคปลายประสาทอักเสบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาการชาปลายนิ้วได้อีกด้วย