Realizing hhceco for People
บริษัท Eisai ได้ดำเนินธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยแนวคิด hhc ตั้งแต่ปี 1990 โดยมีความประสงค์ที่จะปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัว (Patient & family) ผ่านกิจกรรมทางธุรกิจด้านยารักษาโรคของบริษัทฯ ตลอดมา แต่ด้วยการกำหนดเป้าหมายใหม่ของบริษัทฯ ที่มองว่า ‘ผู้คนในสังคม (The people)’ เป็นหนึ่งกลุ่มบุคคลที่มีความกังวลด้านสุขภาพ (Anxiety over the health) ที่บริษัทฯ ต้องการส่งเสริม ให้ความช่วยเหลือ และพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น จึงเกิดแนวคิดผสมผสานและวิวัฒน์ปรัญาทางธุรกิจของบริษัทฯ จากแนวคิด hhc เป็น hhceco (hhc + ระบบนิเวศ) เพื่อสนับสนุนให้ผู้คนในสังคม ผู้ป่วยและครอบครัว ‘สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่โดยปราศจากความกังวลกับปัญหาสุขภาพ’
จากปรัชญาใหม่นี้ เราจึงมีความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบโซลูชั่นด้านต่างๆ ที่นอกเหนือจากการหยิบยื่นแค่ยารักษาโรคให้แก่คนในสังคม แต่จะเป็นการสนับสนุนสิ่งต่างๆ ให้ครอบคลุมความต้องการด้านสุขภาพ ตั้งแต่การสร้างการตระหนักรู้ของตนเองด้านสุขภาวะ การส่งเสริม การป้องกันโรค การวินิจฉัยและการรักษาด้วยนวัตกรรมการใหม่ๆ รวมถึงการดูแลหลังการวินิจฉัยและรักษา ผ่านทางเครื่องมือดิจิทัล (Digital tools) และแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital platform) ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ทั้งหมดนี้เป็นการมุ่งเน้นเพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิต (QOL) ของผู้คนในสังคมในทุกๆ ด้านของชีวิต
อย่างไรก็ตามเรามีความเชื่อว่า การสร้างโซลูชั่นต่างๆ ที่ยังไม่เคยมี ภายใต้กรอบปรัญาและโมเดลธุรกิจใหม่อย่างระบบนิเวศ hhceco ให้เป็นระบบนิเวศสุขภาพ (Health Ecosystem) ของผู้คนที่สมบูรณ์แบบนั้น จะไม่สามารถสำเร็จได้โดยเพียงกิจกรรมหรือนวัตกรรมของบริษัท Eisai เพียงลำพังเท่านั้น แต่จะต้องอาศัยความร่วมและความสามารถเฉพาะด้านของพันธมิตร การร่วมมือกันของภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อร่วมกันส่งมอบคุณค่าที่ดี มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนเหล่านั้นได้ตรงจุด เพื่อไปให้ถึงจุดมุ่งหมายที่เราตั้งไว้คือ ‘ให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่โดยปราศจากความกังวลกับปัญหาสุขภาพ’
รู้จัก Dementia Ecosystem หรือ hhceco ด้านภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย
ระบบนิเวศจากการใช้ใจ เพื่อเข้าใจปัญหาของผู้คน
ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วย ผู้ดูแล และครอบครัวมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเป็นอย่างมาก จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความต้องการสร้างระบบนิเวศด้านภาวะสมองเสื่อม (Dementia Ecosystem) สำหรับประเทศไทยขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือ รองรับและส่งเสริม สุขภาวะที่ดีต่อกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องระบบนิเวศนี้ทั้งหมด ตามปรัชญาใหม่ hhceco ของบริษัทฯ
จากการดำเนินงานในประเทศไทยมาอย่างยาวนานของบริษัทฯ พนักงานของเราได้รับรู้และมองเห็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยและครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่เพื่อการเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบนิเวศด้านภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด เราจึงนำ SECI Model มาผสมผสานกับแนวคิด Human Centric Design และใช้เป็นเครื่องมือในการพูดคุยทำความเข้าใจพวกเขาเหล่านั้นให้มากขึ้น เมื่อเข้าใจความต้องการถึงปัญหาที่แท้จริง รวมทั้ง pain point ในเชิงลึกแล้ว การเลือกหยิบโจทย์ปัญหาและการตั้งเป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่ตามมาสำหรับการสร้าง Dementia Ecosystem สำหรับประเทศไทย
จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการพูดคุยเราพบว่า pain point ที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในทุกระดับ คือ พวกเขาไม่สามารถหา one stop service ทั้งในโลก online และ offline เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ของพวกเขาเหล่านั้นได้
โซลูชั่นที่เป็นไปได้ โดยการรวบรวมสิ่งดีๆ ไว้ในที่เดียวเพื่อทุกคนจากปัญหา Touch point ข้างต้นทำให้ทีม Ecosystem และ Eisai staff จากแผนกต่างๆ ร่วมกันระดมความคิดและมองเห็นโอกาสที่จะสร้างโซลูชั่นใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน จากบทสรุปของทีมเราจึงเลือกที่จะสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มกลางที่จะเป็นจุดรวบรวมบริการที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้คนในระบบนิเวศด้านภาวะสมองเสื่อม หรือ plug-in service ต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ที่ให้การช่วยเหลือ สนับสนุน และแก้ปัญหาให้กับทุกคนได้
ครั้งแรกในไทยกับแอปพลิเคชัน ‘360 AD Wellness’ โซลูชั่นเพื่อผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
จากไอเดียดังกล่าวก่อให้เกิดโปรเจ็กต์ ‘360 AD Wellness digital platform’ ในรูปแบบแอปพลิเคชันที่มุ่งหมายให้เป็นศูนย์รวมบริการและอำนวยความสะดวกแก่การดูแลผู้ป่วย รวมถึงการดูแลตัวเองของผู้ดูแล แอปพลิเคชันนี้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลด้าน Care ทั้งการค้นหาสถานที่รักษา ศูนย์บริการผู้ป่วย โรงพยาบาล คลินิกเฉพาะทาง รวมถึงบริการด้าน Wellness ต่างๆ ได้โดยง่าย อีกทั้งผู้ใช้งานยังสามารถจองบริการและซื้อบริการการดูแลผู้ป่วยและตนเองได้ภายในแพลตฟอร์มนี้ มากไปกว่านั้นยังมีบริการพิเศษที่เรียกว่า ABC Wellness Tracker ที่จะมาช่วยผู้ดูแลในการติดตามอาการของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านการดูแลตัวเอง พฤติกรรม และยังสามารถช่วยเก็บบันทึกข้อมูลภาระและความความเครียดของตัวผู้ดูแลเองได้ ภายในแอปยังได้รวบรวมข่าวสารกิจกรรม (Event) การอบรม ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์และผู้ดูแลมาอัปเดตอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
เติมเต็มความต้องการด้วยบริการอื่นๆ จากความร่วมมือกันกับพันธมิตรของเรา
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการด้านสุขภาพบนแอปพลิเคชัน 360 AD Wellness ที่เป็น Ecosystem hub แก่ผู้ป่วย ผู้ดูแล และครอบครัวอย่างครบวงจร การร่วมมือกันกับพันธมิตรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ Ecosystem สำหรับภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น การร่วมมือกันหยิบยื่นโซลูชั่นเฉพาะทางที่ออกแบบมาให้ผู้คนในระบบนิเวศของภาวะสมองเสื่อมโดยเฉพาะจะเป็นนวัตกรรมการดูแลและช่วยลดความกังวลด้านสุขภาพในชีวิตประจำวันได้ ตัวอย่างของโซลูชั่นจากพันธมิตรที่ได้ทำการ plug-in service ลงในแอปพลิเคชัน 360 AD Wellness เช่น CogMateTM ผลิตภัณฑ์สำหรับตรวจวัดระดับสุขภาพสมองเบื้องต้นด้วยตนเองแบบดิจิทัลจากบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาวิจัยการตรวจวัดสมอง บริการผลิตภัณฑ์ประกันส่วนบุคคลรูปแบบใหม่ๆ ที่ขยายความคุ้มครองโรคอัลไซเมอร์ในทุกระยะจากบริษัทประกันชั้นนำในไทย บริการโซลูชั่นทางการเงินเพื่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์จากสถาบันทางการเงิน และในอนาคต เราจะพัฒนาความร่วมมือกับระบบบริการการแพทย์ทางไกล เพื่อเปิดให้บริการ online Memory clinic อีกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยสมองเสื่อม ผู้ดูแล ครอบครัว และผู้คนในประเทศไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
–
อ้างอิง: Eisai Value creation report 2022