นอนหลับไม่สนิท อันตรายมากกว่าที่คาดคิด

Health / Sleep

นอนหลับไม่สนิท สัญญาณเตือนของร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม

นอนหลับไม่สนิทอาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วเป็นสัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาการนอนหลับไม่สนิทตื่นบ่อยนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก หลับไม่สนิทเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิต ความเครียด หรือแม้กระทั่งสิ่งแวดล้อมในขณะที่นอน บทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าอาการนอนหลับไม่สนิทอาจเสี่ยงต่อสุขภาพ และวิธีแก้นอนไม่หลับและป้องกันอาการเหล่านี้เพื่อให้คุณมีการนอนหลับที่มีคุณภาพและสุขภาพที่ดีขึ้น

ในความเป็นจริงแล้วคนเราควรนอนหลับกี่ชั่วโมงกันแน่ ?

การนอนหลับเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพ อาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี การที่เรารู้ว่าควรนอนกี่ชั่วโมงต่อวันสามารถช่วยให้เราจัดการเวลานอนของเราได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดปัญหานอนไม่หลับ
หรือนอนหลับไม่สนิทได้ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใหญ่ควรนอนหลับประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ขณะที่เด็กและวัยรุ่นอาจต้องการเวลานอนที่มากกว่านี้ การนอนหลับเพียงพอไม่เพียงแต่ช่วยฟื้นฟูร่างกายและสมอง แต่ยังช่วย
เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย

นอนหลับไม่สนิทตื่นบ่อยอันตรายหรือไม่ ต้องมาพบแพทย์หรือเปล่า

นอนหลับไม่สนิทตื่นบ่อยอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ หากคุณมีอาการนอนหลับไม่สนิทเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) หรือปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาท และอาการนั้นส่งผลให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดทั้งวัน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้นอนไม่หลับที่ถูกต้อง นอกจากนี้ นอนหลับไม่สนิทอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และภาวะความดันโลหิตสูง

สาเหตุที่ทำให้คุณนอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อยกลางดึก อาจเกิดจาก…

การนอนหลับไม่สนิทสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุและปัจจัย ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย และปัจจัยภายนอกที่เราอาจจะไม่รู้ตัว ซึ่งการทำความเข้าใจสาเหตุของอาการนอนหลับไม่สนิทเหล่านี้จะสามารถช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัจจัยที่พบบ่อยในการทำให้เกิดการนอนหลับไม่สนิทความเครียด
ที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการทำงาน การเรียน สุขภาพ หรือชีวิตประจำวันสามารถทำให้สมองทำงานหนักเกินไปและทำให้ยากต่อการผ่อนคลาย ส่งผลให้การนอนหลับไม่สนิทเกิดขึ้นบ่อย ๆ

การที่สมองตื่นตัวเกินไปในเวลากลางคืนอาจทำให้นอนหลับไม่สนิทได้ ซึ่งการที่สมองตื่นตัวอาจเกิดขึ้นจาก
การใช้เทคโนโลยีหรือการดูโทรทัศน์ก่อนนอนก็เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้สมองตื่นตัว การที่มีตารางเวลาการเข้านอนไม่สม่ำเสมอ การรับประทานอาหารก่อนนอน ทั้งหมดล้วนส่งผลให้สมองเกิดการตื่นตัวจนทำให้
นอนหลับไม่สนิทตื่นบ่อยในตอนกลางคืนได้

ปัญหาสุขภาพส่งผลกระทบอย่างมากต่อการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้อรังหรือโรคที่รบกวนระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่ทำให้การหายใจลำบากและนอนหลับ
ไม่สนิท โรคกรดไหลย้อน ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายในท้องและเกิดการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร ซึ่งทำให้ตื่นบ่อยในเวลากลางคืน และนอนหลับไม่เพียงพอ

ยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้นอนหลับไม่สนิท เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาอาการปัสสาวะเล็ด ยากันชัก ยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจ ซึ่งอาจมีสารกระตุ้นอาจทำให้คุณตื่นบ่อยในตอนกลางคืน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการปรับยาให้เหมาะสม และลดอาการนอนหลับไม่สนิท

สภาพแวดล้อมในห้องนอนล้วนส่งผลต่อการนอนหลับทั้งสิ้น โดยที่คุณเองอาจจะไม่รู้ตัว เพราะไม่ว่าจะเป็นแสงที่มีความสว่างมากเกินไป อุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงเกินไป รวมถึงเสียงรบกวนที่แม้จะเล็กน้อยก็ส่งผลต่อการนอนของคุณได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการนอนหลับไม่สนิทให้ลองสำรวจสภาพแวดล้อมในห้องนอนดูว่ามีสิ่งรบกวนเหล่านี้หรือไม่ เพื่อช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ

นอนหลับไม่สนิทส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

การนอนหลับไม่สนิทมีผลกระทบต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเมื่อยล้า สมาธิลดลง ทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง ความจำเสื่อม และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายมากขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน เช่น

  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น และทำงานหนักขึ้น
  • สมองทำงานช้าลง
  • เพิ่มความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม
  • เป็นปัจจัยโรคซึมเศร้า

เพราะการนอนนั้นสำคัญ นอนหลับไม่สนิทรีบรักษาก่อนสายเกินแก้!

เนื่องจากสาเหตุของการนอนหลับไม่สนิทเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เพราะฉะนั้นก่อนที่จะทำการรักษาควรพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาหาสาเหตุที่แท้จริง รวมไปถึงวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง โดยการรักษาส่วนมากสามารถทำได้ 2 วิธี คือการรักษาโดยใช้ยาและไม่ใช้ยา

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

สำหรับการรักษาอาการนอนหลับไม่สนิทโดยไม่ใช้ยานั้น แพทย์จะเน้นไปที่การทำกิจกรรมบำบัดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น

  • การสร้างสุขอนามัยการนอนหลับ เช่น การจัดห้องนอนให้เหมาะสม จัดนาฬิกาชีวิต ออกกำลังกาย เป็นต้น
  • การเรียนรู้เทคนิคผ่อนคลายความเครียด
  • การปรับความคิดและพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการนอน ซึ่งเป็นการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ

การรักษาโดยใช้ยา

หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการเปลี่ยนพฤติกรรม จึงจะทำการรักษาด้วยยาเป็นอันดับต่อไป ซึ่งข้อควรระวังสำหรับการใช้ยาในการทำการรักษาคือไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 4 สัปดาห์ โดยยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการนอนหลับไม่สนิท เช่น

  • Benzodiazepine เป็นกลุ่มยาที่ใช้บ่อย มีทั้งกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้นและยาว ควรระวังเพราะเกิดการ
    เสพติดได้ง่าย
  • Non-Benzodiazepine เป็นยาที่ออกฤทธิ์ไว และหมดฤทธิ์เร็ว แต่อาจมีผลข้างเคียงให้ง่วงซึมได้
  • Orexin Receptor Antagonist เป็นยาตัวใหม่ ส่งผลต่อปัญหาด้านความจำค่อนข้างน้อย แต่มีราคาค่อนข้างสูง
  • Melatonin เหมาะสำหรับผู้ป่วยสูงอายุเนื่องจากมีผลข้างเคียงที่พบได้น้อย

นอนหลับไม่สนิทป้องกันได้ เพียงลองทำตามเทคนิคเหล่านี้

สำหรับใครที่กำลังรู้สึกว่าตนเองมีอาการนอนหลับไม่สนิทหรือตื่นบ่อยในตอนกลางคืน และยังไม่อยากให้อาการรุนแรงขึ้น ให้ลองทำตามเทคนิคเหล่านี้เพื่อช่วยให้คุณหลับสบายขึ้นในตอนกลางคืน แต่ถ้าหากลองทำตามแล้วยังมีอาการนอนหลับไม่สนิทอยู่ให้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

  • ออกกำลังกายประมาณ 30 นาที ในช่วง 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงอาหารหนักและรสจัดก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มกระตุ้นประสาท ก่อนนอน 4-6 ชั่วโมง
  • จัดระเบียบห้องและสภาพแวดล้อมให้ไม่มีสิ่งรบกวน เช่น การทำให้ห้องมืดที่สุดเพื่อทำให้รู้สึกง่วง
  • จัดตารางชีวิต เข้านอนเป็นเวลา โดยพยายามนอนก่อน 5 ทุ่ม และตื่นก่อน 6 โมงเช้า เพื่อให้ร่างกาย
    ได้หลั่งฮอร์โมนตามปกติ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมถึงอยู่ใกล้ควันบุหรี่ เพราะสารนิโคติน จะทำให้หลับยาก

การนอนหลับไม่สนิทเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่สำคัญ
การนอนหลับไม่สนิทเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด ปัญหาสุขภาพจิต โรคเรื้อรัง การใช้ยาบางชนิด
หรือสิ่งแวดล้อมในห้องนอนที่ไม่เหมาะสม ผลกระทบของนอนหลับไม่สนิทตื่นบ่อยในตอนกลางคืนนั้นมีมากมาย รวมถึงความเมื่อยล้า สมาธิลดลง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ซึ่งการรักษาอาการในระยะยาว

บทความที่เกี่ยวข้อง