ทางเลือกใหม่…กับการ ‘เช็กสุขภาพสมองได้ด้วยตัวคุณเอง’

Health

ในปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนใหญ่หันกลับมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกายกันมากขึ้น สังเกตได้จากการออกแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปีของโรงพยาบาลต่างๆ มูลค่าการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มียอดจำหน่ายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสถานที่ออกกำลังกายที่ขยายสาขากันมากขึ้น ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสนใจของผู้คนที่ใส่ใจสุขภาพกายของตนเองที่มากขึ้น อย่างไรก็ดีหลายคนๆ ก็มีคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของสมองว่าเราจะดูแลและตรวจสุขภาพสมองกันได้อย่างไร และมีวิธีการดูแลแบบไหนถึงจะดี 

ทำความรู้จัก ‘สุขภาพสมอง’ 

หลายคนอาจจะยังนึกภาพของการมี ‘สุขภาพสมองที่ดี’ เป็นเพียงการไม่มีโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วสุขภาพสมองที่ดีนั้นยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ รวมถึงการดำเนินชีวิตอีกด้วย ดังนั้นคำว่า ‘สุขภาพสมอง’ จึงหมายถึง สภาวะของการทำงานของสมองในด้านการรับรู้ ประสาทสัมผัส สังคม อารมณ์ พฤติกรรม และการเคลื่อนไหว ช่วยให้บุคคลตระหนักถึงศักยภาพสูงสุดของตนเองตลอดช่วงชีวิต จากคำจำกัดความนี้ การมีสุขภาพสมองที่ดีจึงมีความสำคัญกับมนุษย์อย่างมาก เพราะหากเรามีสุขภาพสมองที่ดี ก็จะส่งผลให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน ช่วยในการตัดสินใจ มีสุขภาพทางใจที่ดี ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่าย รักษาความจำให้คงอยู่ ควบคุมอารมณ์ และมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีนั่นเอง

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อกระทบต่อการมีสุขภาพสมองที่ดี

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสมองที่ดี มักเป็นปัจจัยด้านลบที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ เช่นนี้แล้วเราไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง

  • อายุ: เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้นเราจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะที่เกี่ยวข้องกับสมองบางอย่างที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น ก็ต้องเลือกการดำเนินชีวิตหรือไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในทางที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอนไม่ดึก และควบคุมความเครียดในงานได้ สิ่งเหล่านี้ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้
  • ประวัติครอบครัวและพันธุกรรม: การมีประวัติครอบครัวหรือพันธุกรรมบางอย่างที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพสมองที่ลดลงได้
  • ไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิต: การเลือกวิถีชีวิตบางอย่างก็อาจส่งผลต่อสุขภาพสมองด้านลบได้ เช่น
    – การรับประทานอาหาร การบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว อาหารแปรรูปและน้ำตาลสูงในปริมาณที่มากเกินไป การทานผักผลไม้ ผัก และสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่ไม่เพียงพอ 
    – การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว รวมถึงขาดการออกกำลังกาย
    – การใช้สารเสพติด อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพสมองและเพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติของระบบประสาท
    – การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
    – ความเครียดเรื้อรัง การได้รับความเครียดเป็นระยะเวลานานๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพสมองและการทำงานของสมองได้
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะซ้ำๆ หรือรุนแรง เช่น การถูกกระทบกระแทก
  • โรคประจำตัวต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เป็นต้น
  • การสัมผัสกับสารพิษในสิ่งแวดล้อมบางชนิด เช่น โลหะหนัก (เช่น ตะกั่ว ปรอท) และมลพิษทางอากาศ
  • ภาวะต่างๆ ทางสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลต่อสุขภาพสมอง หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ภาวะเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของสมองเมื่อเวลาผ่านไป

จะเห็นได้ว่ามีหลายปัจจัยที่เราไม่สามารถแก้ไขหรือควบคุมได้ แต่ก็มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสมองที่เราสามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้เช่นกัน ดังนั้นหากเราควบคุมการใช้ชีวิตประจำวันของเราในทางที่ดีต่อสุขภาพก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้

‘สุขภาพสมอง’ วัดกันอย่างไร

การวัดสุขภาพสมองเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งมักต้องทำการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านแบบทดสอบจิตวิทยา เพื่อการทดสอบความรู้ความเข้าใจ การวัดสุขภาพสมองหรือประเมินประสิทธิภาพการทำงานของสมองสามารถทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • การประเมินทางการแพทย์ มักเป็นขั้นตอนแรกในการประเมินสุขภาพสมอง มักเป็นการตรวจทานประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย และสั่งการตรวจวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
  • การประเมินความรู้ความเข้าใจ เป็นการประเมินการทำงานของสมองในเชิงลึกที่โดยการวัดประสิทธิภาพด้านต่างๆ ของการรับรู้ รวมถึงความจำ ความสนใจ ทักษะทางภาษา และความสามารถในการแก้ปัญหา โดยปกติจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญโดยใช้การทดสอบมาตรฐาน และ/หรือผ่านการทำแบบทดสอบจิตวิทยา
  • การถ่ายภาพสมอง เช่น การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) และการสแกนเอกซเรย์ปล่อยโพซิตรอน (PET) สามารถให้ภาพโดยละเอียดของโครงสร้างและกิจกรรมของสมอง วิธีการถ่ายภาพเหล่านี้สามารถช่วยตรวจหาความผิดปกติ เช่น เนื้องอก โรคหลอดเลือดสมอง หรือสภาวะความเสื่อม ซึ่งหากผิดปกติก็อาจส่งผลต่อสุขภาพของสมองได้

จะเห็นได้ว่าการประเมินสุขภาพสมองดังที่กล่าวมาข้างต้นจำเป็นต้องปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของสมองของคุณ เช่น คุณมีอาการหลงลืมบ่อยขึ้น ลืมในสิ่งที่ไม่ควรลืม วางของผิดที่บ่อยๆ การคิดการตัดสินใจไม่เหมือนเดิมจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาการประเมินที่เหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาจากข้อกังวลและประวัติทางการแพทย์ของคุณ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์และวิธีการประเมินที่ถูกต้องและเหมาะสมกับคุณ

ทางเลือกใหม่ เช็ก ‘สุขภาพสมอง’ ด้วยตนเอง

ในกรณีที่คุณสงสัยหรืออยากรู้ว่าประสิทธิภาพการทำงานของสมองของคุณเป็นอย่างไร อาการลืมบ่อยๆ อาการเบลอๆ คิดช้าของคุณ ส่งผลต่อการทำงานของสมองหรือไม่มากน้อยแค่ไหน ปัจจุบันนี้คุณสามารถเช็กสุขภาพสมองของคุณได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเองเหมือนกับที่คุณใช้ ATK  ตรวจหากคุณสงสัยว่าติดโควิดหรือไม่ และวิธีนี้เป็นการตรวจที่ง่าย โดยผ่านการตรวจวัดระดับสุขภาพสมองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ชื่อว่า CogMateTM ผ่านทาง www.CogMateThailand.com เครื่องมือนี้เปรียบเสมือนเป็น CTK (CogMate Brain Health Test Kit) ของทุกคนที่จะทำผู้ที่กำลังสงสัยในระดับสุขภาพสมองของตนว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ ที่สำคัญการทดสอบนี้มีราคาที่ไม่แพง ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ 

การตรวจวัดระดับประสิทธิภาพสมอง (สุขภาพสมอง) ของ CogMateTM   นั้นเราจะได้รับการการทดสอบผ่านการทดสอบ 4 ด้าน อันได้แก่ 

การทดสอบโดยใช้ไพ่ในการประเมิน Platform online CogMateTM สามารถทำการทดสอบได้ทั้งบนพีซี แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนก็ได้ ใช้เวลาทดสอบเพียง 15 นาที ซึ่งการทดสอบนี้จะนำเอาผลของคุณไปคำนวณหาค่าตัวชี้วัดระดับสุขภาพสมอง หรือที่เรียกว่า Brain Performance Index (BPI) เพื่อบอกสุขภาพสมองของคุณเทียบกับค่าเฉลี่ยในวัยเดียวกันจากทั่วโลก และหากคุณตรวจสอบเป็นประจำก็สามารถเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพการทำงานของสมองของคุณเองกับผลการทดสอบครั้งที่ผ่านมาได้! แต่…การทดสอบนี้ไม่สามารถป้องกันหรือวินิจฉัยความเจ็บป่วยของคุณได้ แต่คุณสามารถทดสอบเพื่อสร้างความตระหนักด้านสุขภาพสมองของคุณเท่านั้น หากคุณสนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.CogMateThailand.com 

สุขภาพสมองที่ดีจะช่วยทำให้เราสามารถจดจ่อกับทุกกิจกรรมที่เราทำในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ทั้งด้านการทำงาน การใช้ความคิด รวมทั้งการเล่นกีฬาต่างๆ ที่ต้องใช้สมาธิ ดังนั้นแล้วอย่าลืมดูแลสุขภาพสมองด้วยการออกกำลังกายรวมถึงกระตุ้นการทำงานของสมองด้วยการ การอ่านหนัง การไขปริศนา และการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เป็นประจำ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอกันนะคะ

อ้างอิง: www.CogMateThailand.com

บทความที่เกี่ยวข้อง