ไขข้อสงสัย การรักษามะเร็งหายหรือไม่?

Cancer / Health

ร่วมหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่าการรักษามะเร็งหายจริงหรือไม่

อย่างที่หลาย ๆ คนทราบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน อย่างเช่น มะเร็งปอดที่มีหาเหตุมาจากการรับควันพิษในปริมาณมากเป็นเวลานาน หรือ มะเร็งตับสาเหตุอาจจะมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวเป็นมะเร็ง สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำต่อไปคือการรักษามะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีความกังวลว่ามะเร็งรักษาหายไหม หรือแนวทางการรักษามะเร็งเป็นอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่าโรคมะเร็งรักษาหายไหม ได้ในบทความนี้

โรคมะเร็ง โดยส่วนใหญ่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมการแบ่งตัวได้อย่างถูกต้อง เมื่อเซลล์เหล่านี้เจริญเติบโตอย่างไม่ปกติ จะก่อให้เกิดเนื้อร้ายที่มีความเสี่ยงในการแพร่ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงการกระจายผ่านทางระบบท่อน้ำเหลืองและการแพร่ของเซลล์เนื้อร้ายไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ไกลออกไปด้วย ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งจะมีอาการที่แสดงออกมาแตกต่างกันไปตามประเภทของมะเร็ง เช่น ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดอาจมีอาการไอหรือปอดอักเสบ ผู้ที่มีอาการคนเป็นมะเร็งตับ อาจจะปวดท้อง หรือมีขนาดท้องที่โตมากกว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งในแต่ประเภทของโรคมะเร็งก็จะมีการรักษามะเร็งที่แตกต่างกัน

ประเภทของโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย

โรคมะเร็งที่สามารถพบได้บ่อยในคนไทย มีอยู่อย่างหลากหลายโดยแบ่งตามอวัยวะหรือเซลล์ที่เกิดมะเร็งได้ ดังนี้

  • มะเร็งตับ
  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งช่องปาก
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • มะเร็งหลอดอาหาร
  • มะเร็งรังไข่
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งสมอง

ระยะของมะเร็ง

โดยทั่วไปโรคมะเร็งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ระยะ เพื่อที่จะให้แพทย์ได้วางแผนการรักษามะเร็งได้อย่างถูกต้อง

  • ระยะที่ 1 มะเร็งยังมีขนาดเล็ก ไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น
  • ระยะที่ 2 มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มภายในอวัยวะ
  • ระยะที่ 3 มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง และอวัยวะที่ใกล้เคียงกับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง
  • ระยะที่ 4 มะเร็งมีขนาดใหญ่มาก จนลุกลามทำให้อวัยวะข้างเคียงทะลุ และเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งหรือป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามไปมาก จึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองอย่างสม่ำเสมอ และถ้าหากไม่มั่นใจว่าอาการเหล่านั้นจะนำไปสู่การเป็นมะเร็งหรือไม่ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย เพื่อลดความเสี่ยงและวางแผนการรักษามะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้ว แพทย์จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบว่าเป็นมะเร็งในระยะใดแล้ว จากนั้นจึงจะวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการรักษามะเร็ง เนื่องจากการรักษามะเร็ง ในแต่ละระยะมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน 

ผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรก เป้าหมายในการรักษาจะเป็นการรักษาเพื่อให้มะเร็งหายขาดโดยการผ่าตัดก่อนที่มะเร็งจะลุกลามไปยังส่วนอื่น แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นแล้วหรือเรียกว่าระยะลุกลาม เป้าหมายของการรักษามะเร็งจะเป็นไปเพื่อยับยั้ง ควบคุม หรือลดจำนวนของมะเร็ง เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพที่ดีขึ้น

การรู้เป้าหมายของการรักษามะเร็งแต่ละระยะนั้น นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยได้เตรียมใจในการรักษาแล้ว ผู้ดูแลก็ยังสามารถที่จะเตรียมตัวสำหรับการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะที่มีอาการแตกต่างกันได้ เช่น การดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับหรือมะเร็งชนิดอื่น ๆ ก็จะต้องคอยระวังเรื่องการรับประทานอาหาร รวมทั้งคอยสังเกตอาการข้างเคียงต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมานได้

อย่างไรก็ดี มะเร็งหลาย ๆ ชนิดยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ แม้อยู่ในระยะแพร่กระจายแล้ว ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้องและตรวจเพิ่มเติมอย่างเหมาะสมมีความสำคัญอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นหากผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาเป็นอย่างดีก็จะยิ่งทำให้การรักษาเป็นไปตามเป้าหมายได้มากขึ้น ดังนั้น การรักษามะเร็งของแต่ละบุคคลจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งและสภาพร่างกายของผู้ป่วย

ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาและก้าวหน้ามากขึ้นในปัจจุบัน จึงทำให้แนวทางการรักษามะเร็งมีหลากหลายแนวทางเพื่อเป็นตัวเลือกในการรักษามากยิ่งขึ้น

การใช้ยาเคมีบำบัดหรือคีโม (Chemotherapy)

การรักษามะเร็งด้วยคีโมเป็นตัวยาที่มีคุณสมบัติในการกำจัดเซลล์มะเร็งโดยการยับยั้งการแบ่งตัวและทำลายเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าไปกำจัดเซลล์มะเร็งที่อาจกระจายไปตามทางเดินท่อน้ำเหลือง หรือแพร่กระจายผ่านทางกระแสเลือดได้ โดยยาจะออกฤทธิ์หลากหลายรูปแบบ เช่น การยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง หรือการกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายในที่สุด

การให้ยาเคมีบำบัดมีทั้งเป็นชนิดแบบรับประทาน ซึ่งมีข้อดีที่ช่วยลดความเจ็บป่วยและลดความถี่ในการไปโรงพยาบาล และชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด โดยการหยดร่วมกับสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อให้ยาสามารถถึงเป้าหมายตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การผ่าตัด (Surgery)

การรักษามะเร็งด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งที่ยังไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นหรือยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เทคนิคการผ่าตัดในปัจจุบันได้รับการพัฒนาอย่างก้าวหน้า ทำให้สามารถนำก้อนมะเร็งออกโดยไม่ทำให้อวัยวะเสียหายได้ นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงในการสูญเสียอวัยวะในกรณีที่จำเป็นต้องผ่าตัด

การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiotherapy)

การฉายแสงเป็นวิธีการรักษามะเร็งโดยการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อทำลายก้อนเซลล์มะเร็งในส่วนที่เป็นโรค ในขณะที่การฉายแสงมีการกระทำต่อเซลล์มะเร็ง ซึ่งในแต่ละครั้งที่ฉายแสงนั้น เซลล์มะเร็งจะสะสมความผิดปกติของยีนมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากรังสีได้และเซลล์นั้นก็จะตายลงในที่สุด 

การฉายรังสีมีสองแบบ คือ การฉายแสงระยะไกลจากภายนอก ซึ่งเป็นการใช้รังสีจากภายนอกไปยังอวัยวะที่เป็นมะเร็ง และ การฉายรังสีรักษาระยะใกล้ เป็นการฝังแร่กัมมันตรังสีเข้าไปในก้อนมะเร็งโดยตรงที่ก้อนมะเร็ง แล้วแร่จะปล่อยกัมมันตรังสีไปทำลายเซลล์มะเร็งที่อวัยวะเป้าหมาย

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

การใช้ภูมิคุ้มกันร่างกายในการรักษามะเร็งเป็นการใช้กำลังของระบบภูมิคุ้มกันของเราเองเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็งโดยตรง วิธีนี้มุ่งเน้นการยับยั้งกระบวนการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของเซลล์มะเร็งและกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยที่รับรองการใช้ภูมิคุ้มกันร่างกายในการบำบัดมะเร็งในหลายประเภท เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Hematopoietic Stem Cell Transplantation)

เป็นวิธีการที่นำเอาเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ไขกระดูก เลือด หรือสายสะดือและรก มาใช้ในการรักษามะเร็งบางประเภท การรักษามะเร็งด้วยวิธีนี้มุ่งเน้นที่การแทนที่เซลล์ไม่แข็งแรงหรือเซลล์ที่ผิดปกติในไขกระดูกด้วยเซลล์ต้นกำเนิดที่แข็งแรงและปกติ

การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted Therapy)

การรักษามะเร็งด้วยยามุ่งเป้า เป็นวิธีการใช้ยาที่มีการออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ ซึ่งยับยั้งเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง วิธีนี้มักจะควบคุมมะเร็งได้ยาวนานกว่าการใช้ยาเคมีบำบัดหรือคีโม (Chemotherapy) และมีผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติน้อยกว่า โดยยามุ่งเป้าสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักได้แก่

  1. Small-molecule Drugs: เป็นยาที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเป็นพิเศษ สามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์มะเร็งและทำลายเซลล์มะเร็งภายในได้
  2. Monoclonal Antibodies: เป็นโปรตีนสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นเพื่อจับกับเซลล์มะเร็งและทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายหรือไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้

แน่นอนว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคนจะต้องเกิดคำถามว่าเมื่อทำการรักษามะเร็งด้วยวิธีต่าง ๆ ที่ได้บอกไปข้างต้นแล้วนั้น มีโอกาสที่จะหายขาดจากการเป็นมะเร็งหรือไม่
ความหวังของทั้งแพทย์และผู้ป่วยคือการที่มะเร็งหายไปและไม่กลับมาเป็นอีก ซึ่งคำว่าการหายไปของมะเร็ง หมายถึง การไม่พบมะเร็งในการตรวจร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเอกซเรย์หรือการตรวจเลือด ซึ่งการหายอาจหมายถึงการหายไปอย่างชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ แต่คำว่า “หายขาด” หมายความว่าไม่มีมะเร็งกลับมาอีก การเรียกว่า “หายขาด” จึงต้องพิจารณาจากการตรวจระยะยาวหลังจากการรักษา

โดยบางวิธีการรักษามะเร็งอาจทำให้มะเร็งหายไปชั่วคราว แต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่ามะเร็งจะไม่กลับมาอีก ในทางกลับกัน การรักษาบางวิธีอาจจะไม่สามารถช่วยให้มะเร็งหายไปอย่างสมบูรณ์ได้ แต่มันอาจช่วยให้โรคไม่กลับมาอีกหรือควบคุมได้ดีขึ้นในระยะเวลาที่ยาวนาน แต่ถ้าหากเป็นมะเร็งในอวัยวะสำคัญอย่างสมอง ตับ หรือปอด ก็อาจจะเป็นเพียงการยืดเวลาให้ผู้ป่วยมีเวลาการใช้ชีวิตที่ยาวนานขึ้นเท่านั้น เพราะการเป็นมะเร็งที่อวัยวะสำคัญเหล่านี้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูง 

สำหรับใครที่ไม่อยากเป็นมะเร็ง หรืออยากลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารอย่างมะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร ที่ต้องระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหาร มาดูกันว่ามีพฤติกรรมใดที่ควรทำหรือพฤติกรรมใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้ห่างไกลจากการเป็นโรคมะเร็ง

  • งดการสูบบุหรี่และอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • ลดการรับประทานอาหารประเภทปิ้ง ย่าง และหมักดอง
  • หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัดเป็นเวลานาน และควรทาครีมกันแดด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด
  • ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี

หวังว่าบทความนี้จะช่วยตอบทุกข้อสงสัยให้กับทุกคนเกี่ยวกับการรักษามะเร็ง ว่ามะเร็งรักษาหายไหมตั้งแต่การทำความรู้จักกับโรคมะเร็งว่าเกิดขึ้นจากอะไร มีระยะใดบ้าง แนวทางการรักษามะเร็งในปัจจุบันมีอะไรบ้าง ทำให้โรคมะเร็งรักษาหายไหม ตอบโจทย์กับการรักษามะเร็งประเภทใด รวมถึงพฤติกรรมแบบใดที่ควรทำหรือควรหลีกเลี่ยงเพื่อให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งมากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง