โรคต่อมลูกหมากเป็นสิ่งที่คุณผู้ชายต้องคอยระวัง การป้องกันต่อมลูกหมากโตอย่างรอบคอบในผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไป สามารถทำได้โดยการตรวจต่อมลูกหมากด้วยตัวเองง่าย ๆ ด้วยวิธีตรวจต่อมลูกหมากโตที่สามารถทำได้แม้อยู่ที่บ้าน ซึ่งในบทความนี้จะพาไปดูรายละเอียดของการตรวจต่อมลูกหมากกันว่าผู้ที่ต้องการตรวจต่อมลูกหมากโตจะต้องทำอย่างไรบ้าง
หลาย ๆ คนอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าโรคต่อมลูกหมากโตนั้นเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยครั้งตอนที่ผู้ชายเริ่มมีอายุมากขึ้น เรียกได้ว่ายิ่งอายุเยอะก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคต่อมลูกหมากโตมากขึ้น ทำให้การเฝ้าระวังอาการต่อมลูกหมากโตนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยดูแลสุขภาพของผู้ชายได้เป็นอย่างดี เพราะถ้ารู้เท่าทันอาการต่อมลูกหมากโตและหมั่นตรวจต่อมลูกหมากอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถป้องกันไม่ให้โรคต่อมลูกหมากมีอาการลุกลามมากขึ้นได้นั่นเอง
7 ทริกตรวจต่อมลูกหมาก ช่วยสังเกตอาการต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโตอาการต่าง ๆ นั้นเป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถใช้วิธีตรวจต่อมลูกหมากโตเพื่อสังเกตอาการต่อมลูกหมากโตได้ง่าย ๆ แม้ว่าจะอยู่ที่บ้านก็ตาม ซึ่ง 7 ทริกที่ตรวจต่อมลูกหมากจะมีอะไรบ้าง? ไปดูกันได้เลย
ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย
ทริกแรกที่ใช้ตรวจต่อมลูกหมากได้ก็คือหมั่นสังเกตว่ามักจะปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยหรือไม่ เพราะโรคต่อมลูกหมากโตจะมีอาการปัสสาวะบ่อยจากการที่ต่อมลูกหมากที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบด้วยท่อปัสสาวะส่วนต้นนั่นเอง ซึ่งการปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืนจะเรียกว่าภาวะอาการที่ต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia)
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ทริกที่สองที่ใช้สำหรับสังเกตโรคต่อมลูกหมากก็คือการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือต้องเบ่งปัสสาวะ โดยภาวะนี้นั้นเป็นอาการที่เกิดจากการสูญเสียปัสสาวะโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้นั่นเอง ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นจากหูรูดของกระเพาะปัสสาวะและเนื้ออุ้งเชิงกรานที่ไม่สามารถควบคุมการไหลของปัสสาวะได้
ปวดปัสสาวะรุนแรง
ทริกที่สามที่ใช้ในการตรวจต่อมลูกหมากก็คือการสังเกตว่ามีอาการปวดปัสสาวะรุนแรงหรือไม่ เพราะถ้ามีอาการปวดล่ะก็ อาจจะมาจากการขยายตัวของต่อมลูกหมากที่ทำให้เกิดการบีบตัวและระคายเคืองท่อปัสสาวะ ส่งผลให้มีภาวะปัสสาวะลำบากและมีความรู้สึกปวดหรือแสบร้อนระหว่างปัสสาวะ
ปัสสาวะขัด
วิธีตรวจต่อมลูกหมากโตทริกที่สี่ก็คือหมั่นสังเกตว่ามีอาการปัสสาวะขัดหรือไม่ โดยปัสสาวะขัดนั้นเป็นอาการปัสสาวะที่เจ็บปวดและเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคต่อมลูกหมากโตจากผลกระทบของระบบทางเดินปัสสาวะนั่นเอง
ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน
การปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลันนั้นก็เป็นหนึ่งในทริกตรวจต่อมลูกหมาก เพราะถ้าเป็นต่อมลูกหมากโตแล้วก็จะทำให้มีอาการปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลันจากการอุดกั้นของท่อปัสสาวะ หรือแม้แต่ภาวะต่อมลูกหมากอักเสบก็สามารถทำให้มีอาการปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลันได้เช่นกัน
ปัสสาวะไม่สุด
ทริกต่อมาที่ใช้ในการตรวจต่อมลูกหมากก็คือการสังเกตว่ามีอาการปัสสาวะไม่สุดหรือไม่ เพราะเมื่อต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้นและเริ่มกดท่อปัสสาวะก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาอย่างการปัสสาวะไม่สุดแบบที่ไม่สามารถควบคุมได้ และต้องเบ่งปัสสาวะออกมาในท้ายที่สุด
ปัสสาวะสะดุด
ทริกสุดท้ายในการตรวจต่อมลูกหมากโตก็คืออาการปัสสาวะสะดุดเป็นช่วง ๆ โดยอาการนี้จะทำให้รู้สึกว่าไม่สามารถปัสสาวะได้คล่องตัวเหมือนเมื่อก่อนนั่นเอง
วิธีวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโตโดยแพทย์
เมื่อใช้ทริกตรวจต่อมลูกหมากและวิธีการป้องกันต่อมลูกหมากโตแล้ว แต่ต้องการตรวจสอบให้แน่ชัดก็สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอาการต่อมลูกหมากอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อเข้ารับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและแม่นยำ
วิธีการตรวจต่อมลูกหมากโตโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
วิธีตรวจต่อมลูกหมากโตโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมีขั้นตอนที่ละเอียดเพื่อวินิจฉัยอาการอย่างแม่นยำ ดังนี้
- ซักประวัติ เพื่อเช็กอาการที่เกิดขึ้น
- ตรวจเลือด
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจวัดความแรงของสายปัสสาวะ
- อัลตราซาวด์ขนาดต่อมลูกหมาก
- ตรวจต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก
- วางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมและครอบคลุม
วิธีการรักษาต่อมลูกหมากโตทางแพทย์
เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจต่อมลูกหมากเรียบร้อยก็จะต้องทำการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งโดยปกติแล้วจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
1. รักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยาจะสามารถช่วยคลายอาการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อต่อมลูกหมากได้เป็นอย่างดี โดยยาที่ใช้จะเป็นยาต้านระบบประสาท Alpha Blocker ที่สามารถยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย และจะส่งผลกับขนาดของต่อมลูกหมาก
2. ผ่าตัดขูดต่อมลูกหมากด้วยการส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยการผ่าตัดนั้นจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่
- รักษาทางศัลยกรรมผ่านกล้องส่องกระเพาะปัสสาวะ TURP หรือ Transurethral Resection of the Prostate
- ผ่าตัดขูดต่อมลูกหมากโตผ่านกล้องส่องทางท่อปัสสาวะ TURPV หรือ Transurethral Vaporized – Resection of the Prostate
3. ผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ Green Light PVP : Photo – Selective Vaporization of Prostate
การรักษาด้วยวิธีการนี้จะใช้นวัตกรรมการผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยการสอดท่อที่มีกล้องเข้าไปทางท่อปัสสาวะ และเลเซอร์ไปตรงตำแหน่งที่มีภาวะอุดกั้นในต่อมลูกหมาก
4. รักษาด้วยแสงเลเซอร์ทูเลียมหรือ Thulium Laser Vaporesection of the Prostate
การรักษาวิธีนี้จะได้ผลลัพธ์ที่ดีไม่แพ้กับการรักษาแบบ PVP แต่วิธีการนี้จะสามารถตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากที่อุดกั้นทางเดินปัสสาวะเป็นชิ้น และเก็บไว้ใช้ในการตรวจวินิจฉัยต่อไปได้
หากละเลยสัญญาณเตือนต่อมลูกหมากโตจะเป็นอย่างไร?
หากไม่ได้ใช้ทริกตรวจต่อมลูกหมากเป็นประจำหรือละเลยอาการที่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่อมลูกหมากโตก็อาจจะทำให้ร่างกายและสุขภาพได้รับผลกระทบหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- ไตเสียหาย
- ไตเสื่อม
- ไตวาย
- มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ไม่สามารถปัสสาวะได้
แชร์วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการเป็นโรคต่อมลูกหมากโต
นอกจากการใช้ทริกตรวจต่อมลูกหมากโตแล้วก็ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถนำไปใช้เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการเป็นโรคต่อมลูกหมากโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในหัวข้อนี้ได้รวบรวมมาให้แล้วว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันได้เลย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
- ลดการกินเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป
- งดสูบบุหรี่
- งดดื่มแอลกอฮอล์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ลดความเครียด
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
จะเห็นได้ว่าทริกสำหรับตรวจต่อมลูกหมากนั้นล้วนแล้วแต่เป็นวิธีตรวจต่อมลูกหมากโตที่สามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยสามารถนำทริกการตรวจต่อมลูกหมากไปผสมผสานกับการดูแลตัวเองอย่างดี เพื่อทำให้การตรวจต่อมลูกหมากโตมีประสิทธิภาพและสามารถหลีกเลี่ยงการเป็นโรคต่อมลูกหมากโตได้อย่างแท้จริง