ปลายประสาทอักเสบ วิธีรักษานั้นมีหลากหลายวิธีมาก ๆ ตั้งแต่วิธีการบรรเทาอาการโดยใช้ยาแก้ปลายประสาทอักเสบไปจนถึงวิธีจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นจากปลายประสาทอักเสบด้วยวิธีรักษาปลายประสาทอักเสบเฉพาะทางจากการประเมินของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการรักษาปลายประสาทอักเสบวิธีรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมจะช่วยบรรเทาอาการชา อาการเสียว และอาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับปลายประสาทอักเสบได้ ที่สำคัญการรักษาปลายประสาทอักเสบ หรืออาการเส้นประสาทอักเสบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะเพิ่มโอกาสในการจัดการกับโรคปลายประสาทอักเสบและป้องกันการลุกลามไปสู่ระยะที่รุนแรงยิ่งขึ้นได้
โดยอาการของปลายประสาทอักเสบอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ เช่นเส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory Nerves), เส้นประสาทที่ทำหน้าที่ในการสั่งงานกล้ามเนื้อ (Motor Nerves) หรือเส้นประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nerves) เป็นต้น ซึ่งอาการที่เกี่ยวข้องกับปลายประสาทอักเสบ หรือเส้นประสาทอักเสบนั้น มีดังนี้
- รู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่มแทง เสียว หรือชาที่มือหรือเท้าเป็นอาการที่พบบ่อยในระยะเริ่มแรก
- ปวดแสบร้อนหรือปวดเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นพัก ๆ
- ความไวต่อการสัมผัสที่เพิ่มขึ้น
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะที่เท้าหรือมือ
- ความยากลำบากในการทรงตัวที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการหกล้ม
- การสูญเสียการรับรู้อากัปกิริยา
- ในกรณีที่ส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ อาการอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ เหงื่อออก และการย่อยอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น ความดันเลือดต่ำขณะยืน (เวียนหัวเมื่อยืน) ควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ยาก และปัญหาระบบทางเดินอาหาร
- ความผิดปกติของเท้า เช่น Charcot foot หรือ เท้าผิดรูป จากการที่กระดูกเท้าอ่อนแอลง
ในแง่ของวิธีป้องกันโรคปลายประสาทอักเสบนั้น จริง ๆ แล้ว จะเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันและการดูแลสุขภาพโดยรวม เช่น การรับประทานอาหารที่ครบ 5 หมู่ ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น การออกกำลังกายเป็นประจำ และการหลีกเลี่ยงสารพิษต่าง ๆ รวมถึงการจัดการภาวะสุขภาพที่ซ่อนอยู่ เช่น โรคเบาหวาน ที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของโรคปลายประสาทอักเสบและการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงและส่งเสริมสุขภาพของเส้นประสาทได้เป็นอย่างดี
การวินิจฉัยก่อนทำการรักษาปลายประสาทอักเสบทำได้โดยวิธีใดบ้าง?
ก่อนที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการรักษาปลายประสาทอักเสบด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง แน่นอนว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีการวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้นก่อน ซึ่งมักต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและระบุความรุนแรงของอาการได้อย่างแม่นยำ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้วิธีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้
- การประเมินผู้ป่วยเบื้องต้น
- สอบถามประวัติของผู้ป่วยอย่างละเอียดเกี่ยวกับอาการ ช่วงที่เริ่มมีอาการ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
- ตรวจร่างกายเพื่อการประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทำงาน และการรับรู้ทางประสาทสัมผัส
- การตรวจการนำกระแสประสาท (Nerve Conduction Study : NCS)
- ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาทและวัดการตอบสนองจากเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อ เพื่อระบุหาความเสียหายของเส้นประสาทก่อนทำการรักษาปลายประสาทอักเสบวิธีรักษาที่เหมาะสม
- การตรวจวินิจฉัยไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (Electromyographic Study :EMG)
- ใช้เข็มขนาดเล็กปักลงที่กล้ามเนื้อและตรวจดูสัญญาณไฟฟ้าภายในกล้ามเนื้อ เพื่อประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักใช้ประเมินร่วมกับ การตรวจการนำกระแสประสาท (NCS) เพื่อการประเมินที่ครอบคลุม
- การตรวจเลือด
- การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) เพื่อตรวจภาวะต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง การติดเชื้อ และข้อบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นต้น
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อคัดกรองและติดตามโรคเบาหวานที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบ
- การตรวจระดับวิตามินในเลือด เพื่อประเมินสุขภาพของเส้นประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน
- การตรวจด้วยเทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) และเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อระบุปัญหาทางโครงสร้างของร่างกาย เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือเนื้องอกที่อาจกดทับเส้นประสาท เป็นต้น
- การตัดชิ้นเนื้อผิวหนัง
- การตัดชิ้นเนื้อผิวหนัง (Skin Biopsy) เพื่อการวินิจฉัยโรคเส้นประสาทขนาดเล็ก (Small Fiber Neuropathy) ซึ่งเป็นส่วนย่อยของโรคปลายประสาทอักเสบส่วนปลาย
- การเจาะหลัง (ไขสันหลัง)
- การเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar Puncture) เพื่อประเมินน้ำไขสันหลังและดูสัญญาณของการอักเสบ รวมถึงการติดเชื้ออื่น ๆ
- การตรวจรหัสทางพันธุกรรม
- การตรวจยีน (Gene Test) แนะนำในกรณีที่สงสัยว่าตนเองมีโรคระบบประสาททางพันธุกรรม หรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท
- การทดสอบเฉพาะทาง
- การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Testing) เพื่อประเมินการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
- การส่งตรวจเส้นประสาท (Nerve Biopsy) เพื่อหาสาเหตุเฉพาะของอาการชาจากปลายประสาทอักเสบ เป็นการตรวจที่พบได้น้อยครั้งแต่อาจมีการพิจารณาตรวจได้ในบางกรณี
เมื่อระบุสาเหตุปลายประสาทอักเสบและลักษณะของโรคปลายประสาทอักเสบด้วยวิธีข้างต้นแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถปรับแผนการรักษาเพื่อระบุปัจจัยพื้นฐานเฉพาะที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อมีอาการที่บ่งบอกถึงโรคปลายประสาทอักเสบจำเป็นจะต้องได้รับการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างทันท่วงทีเพื่อหาวิธีจัดการกับโรคปลายประสาทอักเสบวิธีรักษาที่เหมาะสม
ปลายประสาทอักเสบ วิธีรักษามีกี่วิธี อะไรบ้าง?
การรักษาโรคปลายประสาทอักเสบวิธีรักษานั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่งจะมีความเฉพาะเจาะจงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของเส้นประสาทส่วนปลาย โดยวิธีรักษาปลายประสาทอักเสบวิธีรักษาที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญใช้กันทั่วไปในการบรรเทาอาการและจัดการกับโรคปลายประสาทอักเสบก็จะมีดังนี้
- การใช้ยาแก้ปลายประสาทอักเสบ
- ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ ที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen), ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยาที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสั่งโดยเฉพาะ เช่น กาบาเพนติน (Gabapentin) หรือพรีกาบาลิน (Pregabalin)
- ยาต้านอาการซึมเศร้าบางชนิด เช่น ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก อาทิ อะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) เป็นต้น
- ยาบรรเทาอาการแก้ปลายประสาทอักเสบเฉพาะที่ เช่น ครีม หรือแผ่นแปะที่มียา โดยจะเป็นยาที่มีส่วนผสมของแคปไซซิน (Capsaicin) หรือยาลิโดเคน (Lidocaine)
- การทำกายภาพบำบัด
- กายภาพบำบัดและการออกกำลังกายเพื่อการฟื้นฟู สามารถช่วยปรับปรุงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และยังช่วยในเรื่องของการประสานงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้ออีกด้วย
- การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต
- การจัดการกับโรคเบาหวานที่เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของปลายประสาทอักเสบ โดยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย และการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
- การใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพและหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป
- การกระตุ้นเส้นประสาท
- การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาทผ่านทางผิวหนัง (TENS) เพื่อบรรเทาอาการปวดโดยการส่งกระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำไปยังเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ
- การบำบัดเสริมและการใช้วิธีการรักษาทางเลือก
- การฝังเข็ม การนวดบำบัด และการดูแลบำรุงรักษาแบบไคโรแพรกติก เพื่อบรรเทาอาการของปลายประสาทอักเสบ
- การผ่าตัด
- ในกรณีที่เส้นประสาทส่วนปลายเกิดจากการกดทับของเส้นประสาท (เช่น โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ Carpal Tunnel Syndrome) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจมีการพิจารณาให้ทำการผ่าตัด
การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับอาการเส้นประสาทอักเสบของผู้ป่วยแต่ละราย สาเหตุเฉพาะของเส้นประสาทส่วนปลายที่เกิดการอักเสบ และลักษณะและความรุนแรงของอาการ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมีการประเมินอาการของปลายประสาทอักเสบอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาแผนการรักษาเฉพาะบุคคลให้ผู้ป่วยแต่ละคนได้ผลลัพธ์จากการรักษาปลายประสาทอักเสบวิธีรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด
วิธีป้องกันปลายประสาทอักเสบทำได้อย่างไร?
การป้องกันโรคปลายประสาทอักเสบมักเกี่ยวข้องกับการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่ซ่อนอยู่และการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ในทุกกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการปลายประสาทอักเสบที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมหรือสภาวะทางการแพทย์บางอย่าง แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบได้
✔ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย รวมถึงอาหารที่เต็มไปด้วยวิตามินบี อย่าง ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว เมล็ดพืช และผักใบเขียว จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของร่างกายและระบบประสาท
✔ ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน สามารถส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตและสุขภาพโดยรวมได้
✔ จำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้เส้นประสาทเสียหาย
✔ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารพิษจากสิ่งแวดล้อม รวมถึงสารเคมีบางชนิดและโลหะหนัก การสัมผัสกับสารพิษบางชนิด เช่น โลหะหนัก (ตะกั่ว ปรอท) สารเคมีทางอุตสาหกรรม และยาบางชนิด (เช่น ยาเคมีบำบัด ยาปฏิชีวนะบางชนิด) อาจทำให้เกิดโรคปลายประสาทอักเสบ
✔ ป้องกันการบาดเจ็บที่ส่งผลต่อเส้นประสาท
การใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บที่ร้ายแรง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยที่เหมาะสมระหว่างเล่นกีฬา สามารถป้องกันการบาดเจ็บที่อาจนำไปสู่ความเสียหายของเส้นประสาท
✔ การตรวจสุขภาพเป็นประจำ
การตรวจสุขภาพเป็นประจำสามารถช่วยระบุและจัดการสภาวะที่อาจส่งผลต่อเส้นประสาทส่วนปลาย เช่น เบาหวาน โรคไต หรือการขาดวิตามิน
✔ เลือกสวมรองเท้าที่ใส่สบาย
การสวมรองเท้าที่พอดีและสวมใส่สบายสามารถป้องกันการกดทับเส้นประสาทที่อาจก่อให้เกิดอาการปลายประสาทอักเสบได้
✔ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดปัญหาระบบไหลเวียนโลหิตและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปลายระบบประสาทอักเสบ
✔ การจัดการความเครียด
ความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลต่อสภาวะสุขภาพบางอย่างที่อาจนำไปสู่โรคปลายระบบประสาทอักเสบได้ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการฝึกเทคนิคการลดความเครียด เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือการหายใจเข้าลึก ๆ เป็นต้น
ถึงแม้จะมีวิธีลดความเสี่ยงของการเกิดปลายประสาทอักเสบที่หลากหลาย แต่สิ่งสำคัญก็คือวิธีป้องกันปลายประสาทอักเสบเหล่านี้ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะป้องกันโรคปลายประสาทอักเสบ หรือแก้ปลายประสาทอักเสบได้อย่างสมบูรณ์ แต่สามารถช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นและลดความเสี่ยงของภาวะบางอย่างที่อาจนำไปสู่โรคปลายประสาทอักเสบได้
ดังนั้นหากใครมีอาการบ่งชี้ที่เป็นสัญญาณของโรคปลายประสาทอักเสบ ขอแนะนำให้เข้ารับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถหาวิธีรักษาปลายประสาทอักเสบที่เหมาะสมได้ก่อนที่อาการจะลุกลามจนรุนแรง ซึ่งการรักษาโรคปลายประสาทอักเสบวิธีรักษานั้นมีหลากหลายวิธีมาก ๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจมีการแนะนำให้ใช้ยาแก้ปลายประสาทอักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดในช่วงแรกและอาจใช้วิธีรักษาปลายประสาทอักเสบเฉพาะทางร่วมด้วยเพื่อให้ผลลัพธ์ของการรักษาที่ดีที่สุด