“ขี้ลืม สัญญาณบอกโรคอัลไซเมอร์” รู้ก่อน รับมือก่อนกับเทคนิคบริหารสมองเพิ่มความจำ

Health

ขี้ลืม..อาจเป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ที่หลาย ๆ คนมักเข้าใจว่าเป็นโรคขี้ลืม แต่บางครั้งการที่เราเป็นคนขี้ลืมก็อาจจะไม่ได้แย่เสมอไป เพราะการหลง ๆ ลืม ๆ อาจเป็นกลไกการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งของสมองที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น เพราะสมองเลือกที่จะลืมข้อมูลที่ไม่สำคัญ แล้วเลือกจดจำสิ่งที่จำเป็นและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น เพื่อให้เราสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป

ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่พบได้มากถึง 60-80% ของโรคสมองเสื่อม และพบได้มากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ดังนั้นการดูแลตัวเองและคนรอบข้างจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมได้ ในบทความนี้เราจึงขอพาทุกคนไปรู้พร้อม ๆ กันว่าอาการขี้ลืมที่เรากำลังเป็นอยู่นั้นเป็นสัญญาณของโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ และเราจะสามารถลดความเสี่ยงของโรคนี้ได้อย่างไร

ทำความรู้จักกับโรคอัลไซเมอร์ โรคทางสมองที่ไม่ใช่แค่การเป็นคนขี้ลืม

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคทางสมองที่เกิดความเสื่อมถอยของโครงสร้างหรือเนื้อเยื่อของสมอง รวมไปถึงการที่เซลล์ในสมองตายหรือหยุดทำงานทำให้สมองส่วนที่เหลือไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีอาการขี้ลืมอยู่บ่อย ๆ ซึ่งหากปล่อยไว้จนมีอาการรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะผู้ป่วยโรคนี้จะมีภาวะที่สมองไม่สามารถเข้าถึงความทรงจำได้ จนอาจถึงขั้นสูญเสียความทรงจำไปอย่างถาวรนั่นเอง

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

มีปัจจัยมากมายที่ทำให้เรามีอาการของโรคอัลไซเมอร์ โรคขี้ลืม หรือโรคสมองเสื่อม ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ก็มาจาก 3 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่

  1. พันธุกรรม : อัลไซเมอร์เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากพ่อหรือแม่ของเรามียีนของโรคอัลไซเมอร์ที่ชื่อว่า APOE gene หรือมีประวัติเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะทำให้เรามีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนอื่น ๆ ถึง 50%
  2. อายุ : โอกาสในการเป็นโรคอัลไซเมอร์จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเรามีอายุ 65 ปี
  3. เพศ : เพศหญิงคือเพศที่มีโอกาสในการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าเพศชายถึง 3 ต่อ 2 คน

ขี้ลืมแบบไหน ‘เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์’

การที่เราเป็นคนขี้ลืมในบางครั้งก็ไม่ใช่อาการเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่เป็นการหลงลืมธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ แล้วอาการแบบไหนที่เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ ไปดูกัน

  • ลืมแล้วลืมเลย มักจะจำไม่ได้ว่ามีเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น 
  • ลืมทักษะการใช้เครื่องมือในชีวิตประจำวัน
  • ลืมชื่อคนในครอบครัว ลืมคนรู้จัก เพื่อน และคนสนิท
  • สูญเสียความสามารถในการตัดสินใจ การวางแผนหรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
  • มีปัญหาในด้านการใช้ภาษา ทั้งพูด และเขียน
  • สับสนในเรื่องของเวลา สถานที่ ฤดูกาล และทิศทาง
  • ประมวลผลและทำความเข้าใจภาพ สี และกะระยะทางต่าง ๆ ได้ลำบาก
  • แยกตัวออกจากสังคมหรือกิจกรรมที่ชื่นชอบ
  • อารมณ์และบุคลิกภาพมีการเปลี่ยนแปลง มีความสับสนและวิตกกังวลอยู่บ่อย ๆ  

หากมีอาการเหล่านี้ทุกคนควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอาการ และรับมือกับภาวะของโรคอัลไซเมอร์ โรคขี้ลืม หรือโรคสมองเสื่อม ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

ผลกระทบของโรคอัลไซเมอร์กับการดำเนินชีวิตประจำวัน

ด้านการเคลื่อนไหวการเคลื่อนไหวและการรับรู้แย่ลง ทั้งสมดุลของร่างกาย การเดิน การมองเห็น และการได้ยิน
ด้านภาษาไม่สามารถสื่อสารได้อย่างปกติ มักนึกคำที่ต้องการจะพูดไม่ได้
ด้านสมาธิ และการให้ความสนใจยมักมีความสนใจหรือจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้น้อยลง
ด้านการตีความมักเกิดความสับสนและตีความหมายของสิ่งรอบข้างแบบผิด ๆ 
ด้านการตัดสินใจความสามารถในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาลดน้อยลง
ด้านความเข้าใจในนามธรรมสับสนวัน เวลา อดีต ปัจจุบัน และไม่เข้าใจคำพูดเปรียบเปรย

อาการ 3 ระยะของผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ภาวะของโรคอัลไซเมอร์ โรคขี้ลืม หรือโรคสมองเสื่อมจะมีอาการขี้ลืมที่แสดงออกมาให้เห็นถึง 3 ระยะด้วยกัน ดังนี้

ระยะแรก ก่อนเข้าสู่ภาวะของโรคอัลไซเมอร์

ก่อนเข้าสู่ภาวะของโรคอัลไซเมอร์ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีอาการขี้ลืม มักจะพูดหรือถามอะไรในเรื่องเดิม ๆ อารมณ์และบุคลิกภาพมีการเปลี่ยนแปลง หงุดหงิดและเครียดง่าย รวมถึงอาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย แต่ผู้ป่วยในระยะนี้จะยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันและสื่อสารได้อย่างปกติ

ระยะกลาง เมื่อเข้าสู่ภาวะของโรคอัลไซเมอร์

ในระยะกลางนี้ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะเป็นคนขี้ลืมมากขึ้น มีความจำที่แย่ลง แสดงอาการต่าง ๆ อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด มักเดินออกจากบ้านหรือที่พักอย่างไร้จุดหมาย กลายเป็นคนหงุดหงิด หวาดระแวง ส่งผลให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันตามมา

ระยะท้าย เมื่อมีอาการของโรคอัลไซเมอร์ที่รุนแรง

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะนี้ไม่ใช่แค่มีอาการขี้ลืมเพียงเท่านั้น แต่จะมีอาการที่รุนแรงถึงขั้นไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง รับประทานอาหารได้น้อยลง ทำให้อาจนำไปสู่การติดเชื้อจากภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ส่งผลให้ผู้ป่วยระยะนี้มักเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

ความแตกต่างของการหลงลืมธรรมดากับการเป็นอัลไซเมอร์

ความแตกต่างของการหลงลืมธรรมดากับการเป็นอัลไซเมอร์
การหลงลืมธรรมดาการเป็นอัลไซเมอร์
ภาวะการหลงลืมธรรมดาจะเกิดขึ้นจากภาวะถดถอยของสมองตามวัย ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเรามีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ทำให้มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้
คิดได้ช้าลง ตัดสินใจได้แย่ลง เริ่มมีการขี้ลืม แต่ในท้ายที่สุดจะยังสามารถนึกออกสามารถช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้
เป็นภาวะการหลงลืมที่ผู้ป่วยมักจะไม่สามารถนึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นได้ ลืมแล้วลืมไปเลย ทำให้โรคขี้ลืมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการ ดังนี้ 
ลืมแล้วลืมเลย มักจะจำไม่ได้ว่ามีเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น ลืมทักษะการใช้เครื่องมือในชีวิตประจำวันลืมชื่อคนในครอบครัวสูญเสียการตัดสินใจมีปัญหาในด้านการใช้ภาษา 

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรค ‘อัลไซเมอร์’ 

หากเราไม่อยากป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ รวมไปถึงไม่อยากให้คนในครอบครัวหรือคนรอบข้างป่วยเป็นโรครุนแรงนี้ เราสามารถดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้ง่าย ๆ ด้วย 5 วิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกัน ‘อัลไซเมอร์’ ดังนี้

อย่าปล่อยให้น้ำหนักเกินเกณฑ์

น้ำหนักตัวที่มากเกินเกณฑ์มาตรฐานก็มีส่วนที่ทำให้เราป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ เราจึงควรดูแลตัวเองและคนรอยข้างไม่ให้มีน้ำหนักที่ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป ทั้งในเรื่องของการรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อน และการออกกำลังการอย่างเหมาะสม

ดูแลสุขภาพหูอยู่เสมอ

สุขภาพหูที่ไม่ดีก็ส่งผลให้เราเป็นคนขี้ลืมและเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกัน เพราะการที่เราได้ยินเสียงที่ไม่ชัดเจนจะทำให้การรับรู้ของเราแย่ลง ส่งผลให้สมองในส่วนที่ใช้ในการแปลความหมายก็จะค่อย ๆ เสื่อมถอยลงจากการถูกปิดกั้น กระทบไปจนถึงการพัฒนาของสมองในส่วนอื่น ๆ ทำให้เราอาจเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้นั่นเอง

อย่าปล่อยให้มีภาวะความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่นำมาซึ่งโรคอื่น ๆ อีกมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือโรคอัลไซเมอร์ เราจึงควรดูแลตัวเองและคนรอบข้างให้มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ งดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม หรืออาหารรสจัด เป็นต้น

หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน ต้นเหตุของโรคร้าย

นอกจากภาวะความดันโลหิตสูงแล้ว โรคเบาหวานก็เป็นต้นเหตุของโรคร้ายและโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกัน การควบคุมระดับน้ำตาลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โรคขี้ลืม หรือโรคสมองเสื่อมได้

ออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงของสมอง

การที่เราขี้ลืมอยู่บ่อย ๆ อาจเป็นเพราะสมองของเราไม่สดชื่น การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และทำให้เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงสมองได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สมองปลอดโปร่ง แจ่มใส และสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

ทานอาหารที่มีประโยชน์ เอาชนะความขี้ลืม

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยชะลอความเสื่อมและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยเฉพาะการทานผักและผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงสมุนไพรที่ช่วยบำรุงสมองและระบบไหลเวียนเลือด เช่น โสม แปะก๊วย เป็นต้น 

รวมวิธีบริหารสมองฉบับคนขี้ลืม เพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์

นอกจากวิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์แล้ว เรายังสามารถบริหารสมองให้ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์ โรคขี้ลืม หรือโรคสมองเสื่อมได้ ด้วย 3 เทคนิค ดังนี้

1. เล่นเกมเพื่อพัฒนาสมองและความจำ

การเล่นเกมบริหารสมองคือตัวช่วยที่ดีของคนที่ขี้ลืมอยู่บ่อย ๆ อีกทั้งยังช่วยชะลอและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ เพราะการเล่นเกมจะช่วยให้สมองในส่วนต่าง ๆ สามารถทำงานอย่างประสานกันได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างเกมบริหารสมอง

  • เกมจับคู่
  • เกมจับผิดภาพ
  • เกมบวกเลข
  • เกม Sudoku
  • เกมเขาวงกต
  • เกม Tetris
  • เกมเรียงเพชร
  • เกม Crossword  
  • เกม Hangman เป็นต้น

2. การพบปะและพูดคุยกับผู้อื่น

การออกไปพบเจอผู้คนใหม่ ๆ หรือไปพูดคุยกับคนอื่น ๆ รอบข้างจะทำให้สมองของเราได้ทำงาน ฝึกให้สมองได้คิดและประมวลผลสิ่งต่าง ๆ เพื่อสื่อสารกับผู้คนอื่น ๆ ในสังคม เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยบริหารสมองเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

3. หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และทำกิจกรรมส่งเสริมสมาธิอยู่เสมอ

การได้เรียนรู้ ทำสิ่งใหม่ ๆ และทำกิจกรรมส่งเสริมสมาธิอยู่เสมอจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและลดอาการขี้ลืมได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตได้อีกด้วย

ตัวอย่างของการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาสมอง

  • การเรียนทำอาหาร 
  • การฝึกทำขนม 
  • การฝึกถักนิตติ้ง 
  • การเรียนภาษาใหม่ ๆ 
  • การออกเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ใหม่ ๆ เป็นต้น

———————————-
ถ้าคุณหรือคนรอบข้างเป็นคนขี้ลืมหรือมีอาการขี้ลืมอยู่บ่อย ๆ คำแนะนำดี ๆ จาก hhc Thailand เหล่านี้จะทำให้ทุกคนห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์ โรคขี้ลืม หรือโรคสมองเสื่อมได้อย่างแน่นอน!

บทความที่เกี่ยวข้อง