รู้ทันอาการของโรคเบาหวานด้วยการสังเกตแต่ละระยะ

Health / Others

อาการของโรคเบาหวานระยะต่าง ๆ  อาการโรคร้ายที่คุณไม่ควรมองข้าม

อาการของโรคเบาหวานเป็นสัญญาณเตือนที่ควรให้ความสำคัญ โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทยและมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่รวมถึงผู้ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการคนเป็นเบาหวาน เนื่องจากอาการของคนเป็นเบาหวานในระยะแรกหรือช่วงเริ่มต้นอาจมีการแสดงอาการที่ไม่รุนแรง ทำให้หลายคนมองข้ามอาการของคนเป็นโรคเบาหวานดังกล่าวไป ดังนั้นบทความนี้จะพาไปสังเกตอาการของโรคเบาหวาน สัญญาณเตือนความเสี่ยง ชนิดของเบาหวาน ตลอดถึงปัจจัยเสี่ยงและอาหารที่คนเป็นเบาหวานควรเลี่ยง เพื่อให้คุณสามารถเช็กอาการและรักษาเบาหวานได้ทันกันก่อนที่จะลุกลามจนมีอาการเริ่มแรกของอัลไซเมอร์

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติจากการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ส่งผลให้มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน เช่น โรคตา โรคไต โรคหัวใจ หรือกระทั่งปัญหาทางระบบประสาท โดยในระยะแรกอาการคนเป็นเบาหวานอาจมีการแสดงอาการที่ไม่รุนแรง แต่หากไม่เข้ารับการรักษาและไม่ได้รับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะทำให้อาการต่าง ๆ มีความเด่นชัดขึ้น

ดังนั้นการหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงการสังเกตและตรวจเช็กอาการของโรคเบาหวานอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะจะช่วยให้คุณสามารถเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่โรคจะเกิดการลุกลามไปสู่ระยะอันตรายที่รักษาได้ยาก มาสังเกตอาการของคนเป็นเบาหวานระยะแรกเริ่มที่เรานำมาฝากไปพร้อม ๆ กันเลย

  • ปัสสาวะบ่อย: ระดับน้ำตาลในเลือดถูกกรองและขับออกทางปัสสาวะ ยิ่งผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงยิ่งทำให้ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะการตื่นมาปัสสาวะ
    ช่วงกลางคืน
  • กระหายน้ำมาก: เมื่อมีการปัสสาวะบ่อย ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการกระหายน้ำและต้องการดื่มน้ำบ่อย ๆ 
  • หิวบ่อย: ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ขาดพลังงาน เป็นผลทำให้รู้สึกหิวบ่อยหรือมีการกินจุขึ้น
  • ตาพล่ามัว: ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลนส์ตา ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการตาพล่ามั่วโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย: เมื่อร่างกายขาดพลังงานจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง ย่อมส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
  • น้ำหนักลด: ภาวะขาดอินซูลิน ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดเป็นพลังงานได้ จึงทำให้ต้องเอาไขมันและโปรตีนที่สะสมไว้มาใช้แทน ส่งผลให้น้ำหนักลด
    โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • แผลหายยาก: ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมีผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่เต็มที่ หากผู้ป่วยเกิดแผลเพียงเล็กน้อย ร่างกายอาจใช้เวลานานการฟื้นฟูซึ่งเป็นสาเหตุ
    ให้แผลหายยาก

อาการของโรคเบาหวานเป็นโรคร้ายเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยที่มีอาการของคนเป็นโรคเบาหวานอย่างมาก ทั้งยังเป็นสาเหตุหลักของภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรงในระยะยาวหากไม่ได้เข้ารับการรักษาและการดูแลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างถูกต้อง แต่คุณทราบหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วโรคเบาหวานนั้นมีหลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดก็มีสาเหตุและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างต่างกันไป ดังนั้นในส่วนนี้จึงนำเอาประเภทของเบาหวาน 4 ชนิดมาฝาก เพื่อให้คุณสามารถทำความเข้าใจถึงความแตกต่างและสามารถสังเกตอาการได้เร็วขึ้น ตลอดถึงสามารถรักษาได้อย่างตรงจุด

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ Type 1 Diabetes เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ทำให้มีการทำลายหรือโจมตีเซลล์เบต้าของตับอ่อนซึ่งเป็นเซลล์ที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตอินซูลิน (Insulin) ส่งผลให้ไม่สามารถสามารถผลิตอินซูลินได้ ซึ่งอินซูลินมีหน้าที่สำคัญในการทำให้น้ำตาล
ในเลือดเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงกลายเป็นเรื่องยาก ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้น 

โดยผู้มีอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ส่วนมากจะพบได้ในเด็กหรือผู้ที่มีอายุน้อยเพราะเป็นช่วงวัยที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกำลังพัฒนา รวมไปถึงได้รับกระตุ้นจากสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงติดเชื้อสูง หรืออาจรวมไปถึงปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีอาการของคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยอินซูลิน (Insulin) เป็นประจำทุกวัน ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของยาฉีดตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญควบคู่ไปกับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
และการควบคุมอาหาร

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ Type 2 Diabetes เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดและมีอัตราพบอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศไทย
และทั่วโลก เป็นโรคที่เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ส่งผลให้เซลล์ภายในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ อินซูลินทำหน้าที่ได้น้อยลง ระดับน้ำตาลในเลือดจึงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้มีอาการคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะพบมากในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ 

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการของคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในบางกรณีแพทย์อาจสั่งยาลดระดับน้ำตาลในเลือดหรือการใช้ยาฉีดเพื่อกระตุ้นการตอบสนองต่ออินซูลิน นอกจากนี้ผู้ป่วยต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคิด การควบคุมอาหาร รวมถึงการควบคุมน้ำหนัก

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus: GDM) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคเบาหวานที่สามารถพบได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกระยะ
แต่โดยส่วนใหญ่มักได้รับการวินิจฉัยในช่วงสัปดาห์ที่ 24 – 28 เป็นภาวะที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลิน(Insulin)
ได้อย่างเพียงพอ และแม้จะเป็นโรคเบาหวานที่เกิดในช่วงหนึ่งของการตั้งครรภ์ แต่หากไม่ได้รับการดูแลและเข้ารับการรักษา อาจส่งผลกระทบทั้งต่อคุณแม่
และทารกภายในครรภ์

โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ

โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เป็นโรคเบาหวานที่มีความแตกต่างจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากมีสาเหตุของอาการจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางชนิด ยาบางประเภท การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน พันธุกรรม ตลอดถึงการใช้ชีวิต
ที่ไม่เหมาะสม

ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานสามารถพบได้มากในปัจจุบัน เนื่องจากวิถีการใช้ชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนส่วนใหญ่นิยมและชื่นชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง ทั้งยังขาดการออกกำลังกาย ซึ่งพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความเสี่ยงเกิดอาการของคนเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้โรคเบาหวานสามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ ดังนั้นกลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจึงมีความเสี่ยงตรวจพบอาการคนเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดอาการของคนเป็นโรคเบาหวานประกอบด้วยหลายปัจจัย ทั้งการไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต อาหารการกิน หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นผลให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถผลิตอินซูลิน (Insulin) ได้อย่างเพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน
หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นได้หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน การทราบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญทำให้สามารถรับมือและรักษาโรคเบาหวานได้
ทันท่วงที ดังนั้นมาดูปัจจัยที่มีทำให้มีความเสี่ยงกลายเป็นผู้มีอาการคนเป็นเบาหวานพร้อม ๆ กันเลย

  • พันธุกรรม: พันธุกรรมจากครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานสูงกว่าคนทั่วไป
  • ผู้เป็นโรคอ้วน: หากเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเกิดอาการดื้ออินซูลิน
  • ไม่ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายมีผลต่อดีต่อสุขภาพและทำให้ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ได้ การขาดการออกกำลังกายจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
  • เชื้อชาติ: บางเชื้อชาติมีความเสี่ยงสูงเป็นโรคเบาหวานกว่าชาติอื่น ๆ 
  • อายุ: เมื่ออายุเพิ่มขึ้น กระบวนการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงการทำงานของเซลล์ตับอ่อนย่อมมีการเสื่อมถอย ทำให้มีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้น
  • การมีไขมันในเลือดสูง: ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคเบาหวาน
  • การมีความดันโลหิตสูง: ความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเป็นโรคเบาหวานได้

ผู้ป่วยที่มีอาการของคนเป็นเบาหวานซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงจากภาวะดื้อหรือขาดอินซูลิน (Insulin) จำเป็นต้องมีการควบคุมระดับน้ำตาลเลือดอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นจนเกิดอันตรายแก่ร่างกาย ซึ่งหนึ่งในวิธีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมที่ผู้ป่วยที่มีอาการคนเป็นเบาหวานสามารถทำได้ด้วยตัวเองคือการเลือกและเลี่ยงการรับประทานอาหารบางประเภท เพราะอาหารประเภทมีผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลยากขึ้นและอาจทำเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ โดยอาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีดังนี้

  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ อาหารเหล่านี้ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยเบาหวานจึงควร
    หลีกเลี่ยง
  • อาหารที่มีไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ของทอด ขนมเบเกอรี่ และอาหารจานด่วน ไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวมีผลให้ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
  • ข้าวขาวและแป้งขัดขาว ดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index – GI) จากข้าวขาวและแป้งขัดขาวมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนควบคุมได้ยาก
  • อาหารที่มีโซเดียมสูง โซเดียมส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่ม ซึ่งเป็นผลให้เกิดภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด การควบคุมเบาหวานจึงทำได้ยากขึ้น
  • อาหารที่มีไขมันสัตว์และคอเลสเตอรอลสูง คอเลสเตอรอลในเลือดเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคเบาหวาน
  • อาหารแปรรูปและอาหารที่มีการเติมสารกันบูด ภายในอาหารแปรรูปประกอบด้วยโซเดียมที่สูง ทั้งยังอาจมีการเติมสารกันบูดซึ่งเป็นผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ภาวะดื้ออินซูลิน หรือ Insulin Resistance ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานไม่เพียงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ยังรวมไปถึงทำให้การทำงานของสมองและเซลล์สมองมีการทำงานลดลง นอกจากนี้ระดับน้ำตาลในเลือกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องยังส่งผลทำให้หลอดเลือดในสมองแข็งตัวและตีบลง สมองจึงรับออกซิเจนไม่พอ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้โรคเบาหวานจึงมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงอาการแรกเริ่มอัลไซเมอร์
การดูแลสุขภาพและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของคนเป็นโรคเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญ

เห็นได้ว่าอาการของโรคเบาหวานมีสาเหตุจากภาวะของร่างกายที่ขาดหรือดื้อต่ออินซูลินจนไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาการคนเป็นเบาหวานนั้นสามารถพบได้ด้วยกันหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพราะ
ซึ่งโรคเบาหวานเหล่านี้ก็มีปัจจัยและลักษณะที่ส่งผลให้เกิดอาการของคนเป็นเบาหวานแตกต่างกันไป เชื่อว่าข้อมูลที่นำฝากวันนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการของคนเป็นโรคเบาหวานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานมากขึ้น ตลอดถึงสามารถรู้วิธีการรับมือกับอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง