ตรวจมะเร็งตับ สามารถตรวจได้อย่างไรบ้าง

Cancer / Health

ไขข้อข้องใจการตรวจมะเร็งตับ โรคร้ายที่เข้ามากล้ำกรายชีวิตคุณ

การตรวจมะเร็งตับเป็นวิธีการคัดกรองโรคที่ช่วยตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ตับในระยะเริ่มต้น ก่อนที่เซลล์จะแบ่งตัวมากเกินไปจนเกิดเป็นก้อนเนื้อร้ายภายในตับ หากไม่ทำการตรวจมะเร็งตับและรักษา อาจเพิ่มความเสี่ยงในการลุกลามจนทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ เนื่องจากตับเป็นอวัยวะสำคัญที่มีบทบาทหลายด้าน หากตับทำงานผิดปกติ ระบบต่างๆ ของร่างกายก็อาจเสียหายตามไปด้วย ในบทความนี้เราจะพาไปดูว่า ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเข้ารับการตรวจหามะเร็งตับ มะเร็งตับเกิดจากสาเหตุใด ไปจนถึงมะเร็งตับตรวจยังไง? เพื่อหาแนวทางป้องกันมะเร็งตับและโรคร้ายที่เกี่ยวข้องกับตับ

ผู้มีความเสี่ยงสูงที่ต้องได้รับการตรวจมะเร็งตับอย่างเป็นประจำ

ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่ทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ทั้งช่วยนำสารอาหารที่ย่อยแล้วมาเปลี่ยนให้เป็นสารอาหารที่เหมาะกับการใช้ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย สำรองอาหารเมื่อร่างกายต้องการ ช่วยขจัดของเสียและสารพิษในร่างกาย ด้วยเหตุนี้ตับจึงเป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องใส่ใจในการตรวจมะเร็งตับอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นอาจไม่สังเกตเห็นในครั้งแรก จนกว่าเซลล์อันตรายจะแพร่กระจายสู่ระยะอันตราย ทำให้ผู้ป่วยหลายคนชะล่าใจและไม่เข้ารับการตรวจหามะเร็งตับอย่างทันท่วงที เพื่อให้ทุกคนเท่าทันโรคร้ายลองมาดูกลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการตรวจหามะเร็งตับที่นำมาฝาก

  • ผู้ที่มีอาการพิษสุราเรื้อรัง หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดโรคตับแข็ง หรือไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคมะเร็งตับ
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน น้ำหนักตัวเยอะ อาจส่งผลให้เกิดการสะสมไขมันภายในตับได้
  • ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และติดการสูบบุหรี่
  • ผู้ที่ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำ เช่น Aflatoxin, Alcohol, Vinyl chloride และสารนิโคตินในบุหรี่

เปิดคู่มือตรวจสุขภาพ การตรวจมะเร็งตับสามารถตรวจแบบไหน
ได้บ้าง

การตรวจมะเร็งตับเป็นการประเมินความเสี่ยงที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้ตัวและเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา เพื่อป้องกันผลร้ายแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต แล้วมะเร็งตับตรวจยังไง? สามารถตรวจแบบไหนได้บ้าง? เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ การตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงสามารถทำได้หลายแบบ
ด้วยกัน โดยอาจมีการแบ่งการตรวจเป็นกรณีต่าง ๆ ตามระดับความเสี่ยงเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้แม่นยำขึ้น ดังนี้

อย่างที่ทราบกันว่าตับเป็นอวัยวะขนาดใหญ่และมีการฟื้นฟูตัวเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากเกิดอาการผิดปกติขึ้นในระยะแรกเริ่ม ร่างกายจะไม่มีการแสดงออกมา การตรวจคัดกรองเบื้องต้นจึงเป็นขั้นตอนการตรวจหามะเร็งตับที่มักใช้การอัลตราซาวด์ช่องท้องของผู้ป่วย รวมถึงใช้การวินิจฉัยจากการตรวจเลือด เพื่อหาค่าระดับ Alpha fetoprotein ที่พบได้สูงในผู้ป่วยมะเร็งตับ

เป็นการตรวจมะเร็งตับที่มีความละเอียดขึ้น สามารถบอกถึงขนาดรูปร่างของเนื้อร้าย ตลอดถึงการแพร่กระจายไปยังอวัยวะสำคัญใกล้เคียง และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า CT Scan หรือใช้การตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แต่ก็ยังมีการทำอัลตราซาวด์ควบคู่กับการตรวจเลือดไปด้วย หากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุได้ชัดเจนว่าเป็นเนื้อร้ายของมะเร็งตับ แพทย์อาจให้ทำการวินิจฉัยส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่ามะเร็งตับไม่ได้รุกล้ำไปยังอวัยวะสำคัญ

เมื่อทำการตรวจมะเร็งตับแล้วพบว่าเป็นมะเร็งตับ แพทย์จะทำการตัดเพื่อจัดเก็บชิ้นเนื้อไปทำการวินิจฉัยเพิ่มเติมทางพยาธิวิทยา เพื่อระบุความร้ายแรงของโรค และถึงแม้ว่าจะเรียกว่าการตัดเก็บชิ้นเนื้อ แต่ไม่ใช่การผ่าตัดขนาดใหญ่ แพทย์จะใช้เครื่องมืออัลตราซาวด์หรือ CT Scan ช่วยระบุเส้นทาง และใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น เข็มช่วยในการเก็บชิ้นเนื้อ เป็นวิธีการที่เห็นผลชัด ปลอดภัยและมีความแม่นยำที่สุด

ตรวจมะเร็งตับด้วยอัลตราซาวด์ ด่านแรกการตรวจที่แม่นยำ ปลอดภัย

เป็นขั้นตอนการตรวจมะเร็งตับเบื้องต้น โดยใช้คลื่นที่มีความถี่สูงช่วยให้เห็นภาพของตับ เพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคมะเร็งตับ เช่น ผู้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซีในร่างกาย ผู้ที่มีพันธุกรรมคนในครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งตับ หรือผู้ที่เป็นโรคตับแข็งจากการติดแอลกอฮอล์มากเกินไป ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเหล่านี้มีเปอร์เซ็นต์การเกิดก้อนเนื้อร้ายสูง แม้เนื้อร้ายจะมีขนาดเล็กหรืออยู่ในระยะเริ่มต้นก็ตาม วิธีการตรวจหามะเร็งตับด้วยอัลตราซาวด์จะช่วยระบุก้อนเนื้อได้เบื้องต้น แต่อาจต้องการความแม่นยำจากการวินิจฉัยอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย

การตรวจ CT Scan และ MRI หามะเร็งตับ

ตรวจมะเร็งตับด้วยการ CT Scan ความละเอียดภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

เครื่อง CT Scan หรือที่เรียกเต็ม ๆ ว่า เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำงานโดยฉายรังสี X-Ray บนร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในการตรวจมะเร็งตับมากที่สุดเครื่องมือหนึ่ง ด้วยมีความละเอียดชัดเจนกว่าการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ เพราะสามารถระบุก้อนเนื้อร้าย จำนวน ตลอดถึงขนาดของก้อนเนื้อร้ายได้ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้แม่นยำยิ่งขึ้น แต่ผู้ป่วยที่เข้ารับการวินิจฉัยด้วย CT Scan จำเป็นต้องงดอาหารมาก่อนเป็นเวลา 4 ชั่วโมง

ตรวจมะเร็งตับด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) พบโรคร้ายที่แม่นยำ

การตรวจมะเร็งตับด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือที่หลายคนคุ้นหูว่าการทำ MRI เป็นการวินิจฉัยมะเร็งตับที่มีทั้งความไวและความแม่นยำในการตรวจ แต่มักใช้ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถเข้ารับการวินัยด้วยการเอกซเรย์หรือรับรังสีได้ รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการแต่พบความผิดปกติจากการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำ MRI เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีการงดอาหารก่อนเข้ารับการวินิจฉัย

ใครบ้างควรตรวจมะเร็งตับอย่างสม่ำเสมอ? เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย

ผู้ป่วยมะเร็งตับระยะแรกหลายรายไม่มีการแสดงอาการใด ๆ การหมั่นตรวจมะเร็งตับอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะไม่อาจรู้ได้ว่าอาการคนเป็นมะเร็งตับเป็นอย่างไร? และส่งผลร้ายแรกต่อร่างกายมากแค่ไหน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา การตรวจมะเร็งตับจะช่วยยับยั้งอาการและลดความทรมานจากโรคร้ายได้ ยิ่งในยุคที่การแพทย์มีการพัฒนาอย่างก้าวหน้า โอกาสในการหายขาดจากโรคยิ่งมีสูงขึ้น โดยผู้ป่วยที่ควรมีการตรวจหามะเร็งตับอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดี มีดังนี้

ตับแข็ง เป็นภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณตับ ทำให้ตับเกิดการทำลายตัวเอง เกิดบาดแผลที่ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ รวมถึงมีพังผืดขึ้นบริเวณตับ เกิดเป็นก้อนเข็งที่สร้างมาแทนเนื้อตับที่ถูกทำลาย ส่งผลให้การทำงานของตับลดลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็งมีความเสี่ยงถูกพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับที่ร้ายแรงกว่า

ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกายมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งตับสูง เนื่องจากเชื้อไวรัสจะเข้าไปทำให้ผู้ป่วยมีอาการอักเสบเรื้อรังและเกิดการทำลายเซลล์ตับ นำไปสู่การเกิดตับแข็งและมะเร็งตับ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจึงควรศึกษาว่ามะเร็งตับตรวจยังไง และหมั่นตรวจมะเร็งตับอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอันตรายจากโรคแทรกซ้อนและปัจจัยต่าง ๆ

อย่างที่ทราบกันว่าผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับสูง เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับภูมิต้านทานในร่างกายของผู้ติดเชื้อ ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดการอักเสบที่ตับและท้ายที่สุดตับก็ถูกทำลาย การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นเวลานานเป็นการเพิ่มระดับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับยิ่งขึ้น หากมีการการตรวจมะเร็งตับเป็นประจำจะช่วยลดและป้องกันความเสียหายรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้

ไวรัสตับอักเสบซีเป็นอีกไวรัสที่เป็นสาเหตุนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็งตับได้หากไม่มีการตรวจหามะเร็งตับอย่างถูกต้องและทันการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ มีแค่ส่วนน้อยที่พบอาการตาเหลือง ตัวเหลือง หรืออาการอื่น ๆ ทำให้ผู้ป่วยเกิดการชะล่าใจ ไม่ได้เข้ารับการรักษา เมื่อปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังจนเกิดพังผืดขึ้นที่บริเวณตับ ซึ่งเป็นที่มาของสภาวะตับแข็ง สุดท้ายนำไปสู่การพัฒนาเป็นมะเร็งตับ

ค่า AFP หรือ Alpha Fetoprotein ถือเป็นค่าโปรตีนที่พบได้สูงในผู้ป่วยมะเร็งตับ โดยทำการตรวจมะเร็งตับผ่านเลือดของผู้ป่วย การตรวจมะเร็งตับด้วยเลือดควรทำเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อที่จะได้ติดตามผล และแม้ AFP จะเป็นสารที่บ่งชี้มะเร็งตับ แต่การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นการคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น อาจไม่มีความแม่นยำเท่าวิธีอื่น จึงควรตรวจค่า AFP ร่วมกับการวินิจฉัยอื่นตามที่แพทย์แนะนำด้วย เช่น การตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ การตรวจด้วย MRI

การตรวจมะเร็งตับเป็นการวินิจฉัยเบื้องต้นที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือและรักษาโรคร้ายได้ทันเวลาก่อนที่จะเกิดอาการร้ายแรงขึ้นกับร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการตรวจหามะเร็งตับสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจากโรคที่เป็นอยู่ก่อนแล้วอย่างการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ภาวะตับแข็ง หรือกระทั่งพันธุกรรมที่สืบทอดมาในครอบครัว ในบทความนี้จะช่วยให้ทราบว่ามะเร็งตับตรวจยังไงได้บ้าง โดยมีวิธีรักษาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจและการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งตับให้สามารถป้องกันและรู้วิธีรับมือกับโรคร้ายได้

บทความที่เกี่ยวข้อง