ผลกระทบของโรคลมชัก (Epilepsy) ในประเทศไทย
- การแสดงอาการของโรคอย่างกะทันหันทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ล้ม หรืออุบติเหตุทางรถยนต์ (43.5 – 57% ได้รับการบาดเจ็บ)
- มีการเสียชีวิตจาก SUDEP (Sudden Unexpected Death in Epilepsy) หรืออาการของโรคลมชัก
- เกิดโรคที่ปรากฏร่วมกัน เช่น โรคเบาหวาน, โรคหลอดเลือดสมอง, หรือภาวะบาดเจ็บในสมอง
- ทักษะการรับรู้และการเข้าใจ รวมถึงทักษะการเข้าสังคม
- อาการทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคจิตเภท
- เงื่อนไขทางสภาพจิตใจในสังคม เช่น การแต่งงาน หรือการว่าจ้าง
- เงื่อนไขทางกฎหมาย เช่น การขับรถ , การทำงาน หรือการร่วมกิจกรรมต่างๆ
- เงื่อนไขทางการเงิน: ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์, ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากทางการแพทย์
วัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย
- วัตถุประสงค์
- เพิ่มความตระหนักรู้ในเรื่องของโรคลมชักในสังคมไทย
- เน้นย้ำถึงผลกระทบของโรคลมชักโดยเฉพาะเงื่อนไขทางจิตสังคมให้สังคมไทยได้รับรู้
- ระดมทุนสำหรับการบูรณาการงานวิจัยโรคเพื่อดำเนินการกิจกรรมสาธารณะต่อไป
- กลุ่มเป้าหมาย
- สาธารณะ / ผู้คนในสังคม
- ผู้ปกครอง / ครอบครัว
- บุคลากรทางการแพทย์
แนวคิดหลัก: ให้การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
“You’re not allowed but you’re not alone”
ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคลมชักจะไม่ได้มีโอกาสในการทำสิ่งต่างๆ มากมาย เช่น เล่นกีฬา, เที่ยว, และอื่นๆ แต่ถ้าหากผู้คนในสังคมเข้าใจในอาการแล้วล่ะก็ พวกเขาจะไม่มีทางปล่อยให้ผู้ป่วยเผชิญหน้าสิ่งเหล่านั้นด้วยตัวคนเดียว
ชื่อโครงการ: From Hat to Heart (มากกว่าการใส่หมวกคือการใส่ใจ)
- Hat
- เป็นการแสดงถึงผู้ป่วยที่เกิดความผิดปกติขึ้นในสมอง เสมือนว่ากำลังใส่หมวกใบหนึ่งอยู่ตลอดเวลา
- ผู้ป่วยโรคลมชักหลายคนเผลอทำร้ายตัวเอง และบางคนต้องสวม head guard เพื่อป้องกันตัวเอง
- Heart
- เป็นตัวแทนของผู้คนในสังคม
- เข้าใจในอาการและตัวผู้ป่วยโดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับสภาพจิตใจในสังคม