มะเร็งทางเดินอาหาร อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
มะเร็งทางเดินอาหาร อาการที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมักจะมาจากสาเหตุหลากหลายที่ทำให้เกิดขึ้น มะเร็งทางเดินอาหาร อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระบบย่อยอาหาร หรือมะเร็งทางเดินอาหารสาเหตุอาจจะมาจากพฤติกรรมการรับประทานที่ไม่เหมาะสม พันธุกรรม รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ดังนั้นทุกคนจึงควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ท้องอืด น้ำหนักลด หรือปวดท้องต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและหาแนวทางการรักษามะเร็งอย่างทันท่วงที เพราะการที่เรารู้ว่าตนเองเป็นมะเร็งระบบทางเดินอาหารได้รวดเร็วเท่าใดก็เท่ากับว่าเราจะสามารถยับยั้งการเป็นมะเร็งที่รุนแรงมากขึ้นได้เร็วเท่านั้น
สาเหตุของมะเร็งทางเดินอาหาร อาการอะไรบ้างที่ควรสังเกต
มะเร็งทางเดินอาหารสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารปิ้งย่าง อาหารที่มีดินประสิว หรือสารเคมีอื่น ๆ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การติดเชื้อในกระเพาะอาหาร และภาวะอ้วนก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน โดยสาเหตุของมะเร็งทางเดินอาหาร อาการที่มักจะนำมาสู่โรคนี้สามารถสรุปได้ ดังนี้
- มีประวัติป่วยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร จากการได้รับเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori)
- เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
- เป็นโรคกรดไหลย้อน
- มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
- มีประวัติครอบครัวเคยเป็นมะเร็งทางเดินอาหาร
- สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ชื่นชอบการรับประทานอาหารแปรรูป หมักดอง รมควัน หรือรสจัดเป็นประจำ
- ไม่รับประทานผักและผลไม้
หากคุณมีอาการผิดปกติเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งทางเดินอาหาร
ถ้าคุณรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งทางเดินอาหาร อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจจะกำลังเผชิญอยู่กับโรคนี้ โดยเฉพาะมะเร็งทางเดินอาหารมักจะไม่ค่อยแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจนมากนักและอาจมีอาการคล้ายโรคอื่น ๆ อย่างโรคกระเพาะอาหาร หรือลำไส้อักเสบ ไม่ว่าจะเป็น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด คลื่นไส้ ไม่อยากรับประทานอาหาร หรือมีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ดังนั้นคุณจึงต้องหมั่นคอยสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอเพื่อเช็กว่าคุณกำลังจะเป็นมะเร็งระบบทางเดินอาหารหรือไม่
ถ้าสงสัยว่าเป็นมะเร็งทางเดินอาหาร อาการเหล่านี้อย่าละเลย
เมื่อได้ของเช็กตนเองแล้วว่ามีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งทางเดินอาหาร หากพบว่าตนเองมีอาการรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อย่าละเลยและปล่อยให้สัญญาณเตือนมะเร็งทางเดินอาหาร อาการเหล่านี้เกิดขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ คุณควรรีบพบแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษามะเร็งอย่างเหมาะสม และนี่คือ 7 สัญญาณเตือนมะเร็งทางเดินอาหาร อาการที่ควรรีบพบแพทย์
- กลืนอาหารลำบาก กลืนแล้วเจ็บ
- เบื่ออาหาร อิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้น้อยลง
- แน่นท้องเรื้อรัง อาเจียนเป็นอาหารเก่า หรือเป็นเลือด
- ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต คลำพบก้อนในท้อง
- ปวดท้องกลางคืนจนไม่สามารถนอนหลับได้
- ถ่ายอุจจาระสีดำแดงหรืออุจจาระปนเลือด
- น้ำหนักลดลงไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลีย มีภาวะโลหิตจาง
แนวทางการรักษามะเร็งทางเดินอาหารสามารถทำอย่างไรได้บ้าง
แนวทางการรักษามะเร็งทางเดินอาหารมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับขนาด ตำแหน่งของก้อนเนื้อร้าย และการแพร่กระจายของมะเร็ง โดยอาจจะต้องใช้การทำงานร่วมกันของแพทย์ในหลาย ๆ สาขา เพื่อกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด การรักษามะเร็งทางเดินอาหาร อาการในแต่ละระยะแตกต่างกันออกไป ดังนี้
ระยะเริ่มแรก
มะเร็งทางเดินอาหาร อาการในระยะแรกมักยังไม่ปรากฏอย่างชัดเจนมากนัก แต่จะตรวจพบได้จากการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร เมื่อมาตรวจสุขภาพ ซึ่งการรักษามะเร็งทางเดินอาหาร อาการระยะแรกสามารถทำได้โดยการตัดเนื้อร้ายออกได้โดยการส่องกล้อง เนื่องจากโอกาสแพร่กระจายยังน้อย
ระยะลุกลาม
มะเร็งทางเดินอาหาร อาการของระยะนี้จะเริ่มลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะใกล้เคียง มักทำให้เกิดอาการอืดท้อง อาหารไม่ย่อย และอาจมีเลือดออก การรักษามะเร็งระบบทางเดินอาหารระยะลุกลามจะเป็นการรักษาด้วยการผ่าตัดกระเพาะอาหาร พร้อมการตัดต่อมน้ำเหลืองโดยรอบ ร่วมกับการใช้เคมีบำบัดเพื่อลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำ
ระยะแพร่กระจาย
มะเร็งทางเดินอาหารระยะนี้เซลล์มะเร็งจะกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ ปอด หรือช่องท้อง ในระยะแพร่กระจายผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหาร อาการมักจะไม่ค่อยดีเท่าใดนัก เนื่องจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง การรักษาจะเป็นการใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อควบคุมการแพร่กระจายและบรรเทาอาการ อาจใช้ร่วมกับการรักษาแบบ Targeted Therapy และภูมิคุ้มกันบำบัด
อยากห่างไกลมะเร็งทางเดินอาหารต้องดูแลสุขภาพอย่างไร
การป้องกันมะเร็งทางเดินอาหารสามารถเริ่มต้นได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค อย่างการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยงในการก่อมะเร็ง เช่น อาหารปิ้งย่างที่มีสารเผาไหม้ อาหารหมักดองที่มีโซเดียมสูง และอาหารเค็มจัด อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งระบบทางเดินอาหาร
นอกจากนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำ การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และการเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งทางเดินอาหารอาการรุนแรงและยังช่วยให้สามารถตรวจพบได้ในระยะเริ่มต้นอีกด้วย
มะเร็งทางเดินอาหารอาการที่เป็นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยมะเร็งทางเดินอาหารสาเหตุมาได้จากทั้งพฤติกรรมการรับประทาน การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร น้ำหนักตัว และอายุที่มากขึ้น ซึ่งมะเร็งทางเดินอาหารมักจะมีสัญญาณเตือนที่ควรสังเกตและไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย แสบท้อง การตรวจพบเร็วและรับการรักษามะเร็งระบบทางเดินอาหารที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหายขาด การป้องกันโดยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องก็เป็นวิธีสำคัญในการลดความเสี่ยงจากมะเร็งทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี