เจาะลึกชนิดของมะเร็งตัวร้ายที่มาพร้อมความเสี่ยงไม่ควรมองข้าม
ทุก ๆ ปี มะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจำนวนมากทั่วโลก ทำให้มะเร็งกลายเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่คุกคามชีวิตของมนุษย์ ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของโรคมะเร็งตั้งแต่สาเหตุ ชนิดของเซลล์มะเร็ง มะเร็งมีกี่สายพันธุ์ ตลอดถึงวิธีการป้องกันชนิดของมะเร็งต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอีกต่อไป เพราะความรู้เหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถสังเกตตัวเองและคนรอบข้าง ส่งผลให้การตรวจหาโรคทำได้เร็วขึ้น นำไปสู่โอกาสในการสำเร็จทางด้านการรักษา ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงยืนยาว มาทำความเข้าใจชนิดของมะเร็งอย่างสาเหตุมะเร็งตับ มะเร็งทางเดินอาหาร รวมถึงมะเร็งชนิดอื่น ๆ ในบทความนี้ไปพร้อมกันเลย
ไขข้อสงสัย กลุ่มชนิดของมะเร็งมีอะไรบ้าง ภัยร้ายที่พรากชีวิตคน
โรคมะเร็งคือกลุ่มของโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย เซลล์เหล่านี้จะมีการกลายพันธุ์ในระดับ DNA หรือมีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตอย่างผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดก้อนมะเร็งที่ไปกดทับและทำลายการทำงานของเซลล์ปกติในอวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ผ่านทางระบบเลือดและน้ำเหลือง ก่อให้เกิดเป็นชนิดของมะเร็งต่าง ๆ ที่พบได้ในหลายอวัยวะ
การจำแนกชนิดของมะเร็งสามารถทำได้จากหลายปัจจัย เช่น ชนิดของเซลล์มะเร็ง จุดกำเนิดของมะเร็ง การเจริญเติบโต ระยะของโรค และการตอบสนองต่อการรักษาชนิดของโรคมะเร็ง โดยชื่อชนิดของมะเร็งจะถูกตั้งตามจุดกำเนิดของเซลล์มะเร็ง แม้ว่ามะเร็งนั้นจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้วก็ตาม
1. มะเร็งเยื่อบุ (Carcinoma)
ชนิดของมะเร็งประเภทเยื่อบุ (Carcinoma) เกิดขึ้นจากเซลล์ที่ประกอบเป็นผิวหนังหรือเยื่อบุที่ห่อหุ้มอวัยวะต่าง ๆ ชนิดของมะเร็งนี้ถือเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมักเกิดในอวัยวะที่มีผิวหรือเยื่อบุที่สัมผัสกับภายนอก เช่น มะเร็งต่อม (Adenocarcinoma) หรือ มะเร็งผิวหนังชนิดฐาน (Basal Cell Carcinoma)
2. มะเร็งซาร์โคมา (Sarcoma)
มะเร็งซาร์โคมาเป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในเนื้อเยื่อเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น กระดูกกล้ามเนื้อ และเส้นเลือด เซลล์มะเร็งในประเภทนี้จะพัฒนาในเนื้อเยื่อที่มีการสร้างรูปทรงแข็งหรือยืดหยุ่น โดยตัวอย่างที่พบได้บ่อยคือ มะเร็งกระดูก (Osteosarcoma)
3. มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติในไขกระดูก ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์เลือด โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ เซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและไปจำกัดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้
4. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
ชนิดของมะเร็งประเภทต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ซึ่งทำงานผิดปกติและเริ่มก่อตัวในท่อน้ำเหลือง
หรือต่อมน้ำเหลือง
5. เนื้องอกชนิดอื่น ๆ
นอกจากชนิดของมะเร็งที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีชนิดของโรคมะเร็งในประเภทอื่น ๆ ที่เกิดจากเนื้องอกของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายอีกด้วย เช่น เนื้องอกในสมอง
และไขสันหลัง เนื้องอกเซลล์สืบพันธุ์ หรือเนื้องอกเน็ต (Neuroendocrine Tumors)
จากเซลล์ปกติในร่างกายกลายเป็นชนิดของมะเร็งที่อันตรายได้ยังไง
การเกิดของชนิดของมะเร็งต่าง ๆ ส่วนใหญ่เริ่มต้นมาจากการที่เซลล์ในร่างกายเกิดกลายพันธ์ุในระดับ DNA ทำให้เซลล์เริ่มมีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ ซึ่งปกติแล้วเซลล์ในร่างกายมนุษย์จะมีระบบควบคุมการแบ่งตัวและการเติบโตอยู่ แต่เมื่อเกิดความผิดปกติในยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเหล่านี้ เซลล์ก็จะเริ่มการแบ่งตัวอย่างไม่หยุดยั้ง สุดท้ายก็จะเกิดเป็นก้อนของมะเร็งที่ขยายตัวและแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอาการต่าง ๆ ตามมาเนื่องจากอวัยวะในร่างกายมีชนิดของมะเร็งนั้น ๆ อยู่
ส่องปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดชนิดของมะเร็งตัวร้ายคุกคามชีวิต
มะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน บางคนอาจมีความเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่ขณะที่บางคนอาจมีความเสี่ยง
จากระบบพันธุกรรม การทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงชนิดของโรคมะเร็งจะช่วยให้คุณสามารถตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งอย่างมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งระบบทางเดินอาหาร หรือมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้ ฉะนั้นในส่วนนี้เราจะชวนไปทำความรู้จักปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดมะเร็ง
ทั้งภายในและภายนอก จะมีอะไรบ้าง ไปดูพร้อม ๆ กันเลย
ปัจจัยภายนอก
ปัจจัยเสี่ยงภายนอกหมายถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมต่าง ๆ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ต้องเผชิญในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจส่งผลให้ชนิดของเซลล์มะเร็งเกิดการกลายพันธ์ุจนกลายเป็นโรคมะเร็ง โดยคุณสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงภายนอกได้ด้วยการหลีกเลี่ยง ระมัดระวังตัวเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- การติดเชื้อบางชนิด: การติดเชื้ออย่างไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B), ไวรัสเอชพีวี (HPV), และพยาธิใบไม้ในตับ ล้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในอวัยวะที่เกี่ยวข้องได้
- สารก่อมะเร็ง: สารจากการปิ้งย่างอาหาร หรือสารอะฟลาท็อกซินจากเชื้อราในถั่วลิสง มีผล
กระทบต่อดีเอ็นเอและเพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง - การสูบบุหรี่และควันบุหรี่มือสอง: เป็นสาเหตุหลัก ๆ ชนิดของโรคมะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร และอวัยวะอื่น ๆ เนื่องจากสารพิษในควันบุหรี่มีผลทำลายเซลล์
- การสัมผัสกับรังสี: รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากแสงแดดและรังสีเอกซเรย์สามารถทำให้เซลล์กลายพันธุ์จนเกิดเป็นมะเร็งได้
- การดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่
- มลพิษทางอากาศ: สารพิษใน PM2.5 หรือมลพิษทางอากาศสามารถทำให้เกิดความเสียหายกับเซลล์ในร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งได้
- การขาดการออกกำลังกาย: การขาดการออกกำลังกายสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม
ปัจจัยภายใน
ปัจจัยเสี่ยงภายในเป็นปัจจัยเสี่ยงการเกิดชนิดของโรคมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องกับลักษณะทางชีววิทยาของร่างกาย เช่น พันธุกรรม การทำงานของระบบภูมิคุ้มการ และการเจริญเติบโตตามอายุ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้ดีและเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
- พันธุกรรม: หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งของสมาชิกในครอบครัว
- อายุ: ความเสี่ยงมะเร็งจะสูงขึ้นตามอายุ เพราะเซลล์ในร่างกายเสื่อมสภาพตามเวลา
- ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง: ผู้ที่มีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่เป็น HIV หรือผู้ที่ได้รับการรักษาที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งสูง
- การขาดสารอาหาร: การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินเอหรือวิตามินซี อาจทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติและเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งได้
- การรับฮอร์โมนในระดับสูง: การใช้ ยาคุมกำเนิด หรือ ฮอร์โมนทดแทน ในระดับสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
6 ชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยมากที่สุดในประเทศไทยที่คุณควรรู้!
มะเร็งเป็นโรคที่ผู้ป่วยหลาย ๆ คนไม่สามารถสังเกตอาการได้ในระยะแรก เนื่องจากบางชนิดของมะเร็งอาจไม่มีอาการที่ชัดเจน หรือเกิดอยู่ในอวัยวะที่ตรวจพบ
ได้ยาก จนเมื่อชนิดของเซลล์มะเร็งเกิดการลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ อาการจึงเริ่มแสดงชัดเจนขึ้น การตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสในการรักษาให้โรคให้หายขาดหรือทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ซึ่งในประเทศไทยมีชนิดของโรคมะเร็งหลายชนิดที่พบบ่อยเช่น
ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจและป้องกันมะเร็งมากยิ่งขึ้น มาดู 6 อันดับชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยมากที่สุดในประเทศไทยตั้งแต่อาการคนเป็นมะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งชนิดอื่น ๆ จากข้อมูลที่เรานำมาฝากไปพร้อมกันเลย
มะเร็งตับ
มะเร็งตับถือเป็นหนึ่งในชนิดของโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะในผู้ชายที่มีโอกาสเป็นสูงกว่าผู้หญิงถึงสองเท่า มะเร็งตับสามารถแบ่งออกเป็นสองชนิดหลัก ได้แก่ มะเร็งจากเซลล์ตับ (Hepatocellular carcinoma) และ มะเร็งจากท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma) ซึ่งมีสาเหตุหลักจากปัจจัยเสี่ยง
ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) และไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) รวมถึงการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับที่มักเกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่สุกดี
อาการ
- เบื่ออาหารและน้ำหนักลด
- ท้องอืดหรือรู้สึกแน่นท้อง
- เจ็บหรือปวดที่ชายโครงขวา
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ท้องโตและขาบวม
- อาจคลำพบก้อนที่ตับได้
มะเร็งปอด
ชนิดของโรคมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยและมีอัตราการเสียชีวิตสูงคือ มะเร็งปอด โดยส่วนใหญ่สาเหตุมักเกิดจากการสูบบุหรี่ แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้ เช่น การสัมผัสมลพิษทางอากาศ การสูดดมควันบุหรี่มือสอง (Second-Hand Smoke) และการสัมผัสสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้การตรวจพบมะเร็งปอดยังมักเกิดขึ้นในระยะที่เซลล์มะเร็งลุกลามไปแล้ว ส่งผลให้การรักษามีความยากขึ้น
อาการ
- ไอเรื้อรัง หรือไอแห้ง
- ปวดหน้าอก หรือเจ็บหน้าอก
- หายใจเหนื่อยหอบ
- น้ำหนักลด รู้สึกเบื่ออาหาร
- ไข้ต่ำ ๆ หรืออ่อนเพลีย
- ไอมีเสมหะหรือเลือดปน
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมเป็นลูกหมากเป็นชนิดของมะเร็งที่พบได้มากในผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อน โดยอาการมักจะแสดงไม่ชัดเจนในระยะแรก ทั้งยังมีการเจริญเติบโตที่ช้า ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจึงควรเริ่มตรวจสุขภาพประจำปีตั้งแต่เนิ่น ๆ
อาการ
- ปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
- ปัสสาวะมีเลือดปน
- ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือมีอาการเจ็บเวลาปัสสาวะ
- ปวดหลังหรือกระดูก
- อ่อนเพลีย รู้สึกเบื่ออาหารและน้ำหนักลด
มะเร็งปากมดลูก
หนึ่งในชนิดของมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงไทยคือ มะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงอายุประมาณ 35-50 ปี ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยมะเร็งชนิดนี้จะมีการพัฒนาที่ช้า ทำให้ในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีการแสดงอาการที่ชัดเจน
อาการ
- เลือดออกผิดปกติขณะมีเพศสัมพันธ์
- ประจำเดือนมาผิดปกติ
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
- เลือดปนจากช่องคลอด
- ปวดท้องหรืออุ้งเชิงกราน
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมเป็นอีกมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงไทย โดยเฉพาะผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ผู้ที่ไม่มีบุตร นอกจากนี้ยังอาจ
มาจากการรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตั้งแต่แรกเริ่มจะช่วยลดความเสี่ยงได้
อาการ
- คลำพบก้อนในเต้านม
- หัวนมหดหรือมีรอยบุ๋ม
- น้ำเหลืองหรือเลือดไหลออกจากหัวนม
- ปวดเต้านม
- เต้านมมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมันสูงและขาดไฟเบอร์ นอกจากนี้ผู้ที่มีประวัติครอบครัว
เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมีโรคลำไส้เรื้อรัง เช่น โพลิป ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน ซึ่งการตรวจคัดกรองเป็นประจำสามารถช่วยตรวจพบโรคในระยะแรกและเพิ่มโอกาสในการรักษาได้มากขึ้น
อาการ
- ท้องเสีย อุจจาระมีเลือดปน
- ท้องอืด ปวดท้อง
- อาการท้องเฟ้อ และคลำพบก้อนในท้อง
- น้ำหนักลด รู้สึกอ่อนเพลียและเกิดภาวะโลหิตจาง
- อุจจาระมีมูกปน
เช็กลิสต์วิธีป้องกันชนิดของมะเร็งต่าง ๆ ที่เริ่มได้ด้วยตัวเอง
ความรุนแรงและความซับซ้อนของโรคมะเร็งทำให้มะเร็งกลายเป็นโรคที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลก เนื่องด้วยสาเหตุการเกิดของโรคมะเร็งนั้นมีทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ การป้องกันมะเร็งจึงไม่เพียงขึ้นอยู่กับการตรวจสุขภาพประจำปีเพียงเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดคำถามว่ามะเร็งรักษาหายไหม? มาดูวิธีการป้องกันตัวเองจากชนิดของโรคมะเร็งต่าง ๆ กันเลย
- ไม่สูบบุหรี่: หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการสัมผัสกับควันบุหรี่ (Second-Hand Smoke) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปอด
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์: เนื่องจากแอลกอฮอล์สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งปากและคอได้สูง
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: เลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ มีไฟเบอร์ รวมถึงลดการรับประทานเนื้อแดงและอาหารที่มีไขมันสูง
- ออกกำลังกาย: ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดิน วิ่ง หรือฝึกโยคะ เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
- ควบคุมน้ำหนัก: ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีและมลพิษ: หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารพิษจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การสูดดมฝุ่นหรือควันจากโรงงานอุตสาหกรรม
- ตรวจสุขภาพและคัดกรองมะเร็งเป็นประจำ: ควรตรวจคัดกรองมะเร็งตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ตรวจมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งปอด
- รับวัคซีนป้องกันโรคมะเร็ง: เช่น เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก
- ปกป้องผิวจากแสงแดด: หลีกเลี่ยงการตากแสงแดดโดยตรงในช่วงเวลาที่แดดจัด และใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง เพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนังจากรังสี UV
- หลีกเลี่ยงอาหารและการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ: หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารกันบูด หรืออาหารที่มีสารพิษ เช่น อาหารรมควันและอาหารที่ใส่สารปรุงรสที่อาจก่อมะเร็ง
- รักษาภูมิคุ้มกันให้ดี: รักษาร่างกายให้แข็งแรงด้วยการนอนหลับเพียงพอ ลดความเครียด และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วน
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ: เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือการมีเพศสัมพันธ์หลายคน ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV
เมื่ออ่านมาถึงตรงแล้ว ทุกคนคงได้ทราบแล้วว่าชนิดของมะเร็งและชนิดของเซลล์มะเร็งมีอะไรบ้าง มะเร็งมีกี่สายพันธุ์ และต้องป้องกันอย่างไร เห็นได้ว่าชนิดของโรคมะเร็งมีหลายชนิด ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่นพันธุกรรม รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายที่พรากชีวิตผู้คนไปจำนวนมากนี้ การหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และลดพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาและทำให้คุณมีสุขภาพที่ดียืนยาวยิ่งขึ้น