โรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ยังไง และป้องกันยังไง
ความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองเป็นสิ่งที่หลายคนละเลย เพราะคิดว่าการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในไทย ทั้งยังเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตและการเกิดความพิการ การทำความเข้าใจวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองว่าโรคหลอดเลือดสมองป้องกันอย่างไร? จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก บทความนี้จะพาคุณไปไขคำตอบเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม ตั้งแต่สาเหตุเส้นเลือดในสมองแตก ตลอดถึงวิธีป้องกันเพื่อให้คุณรู้จักโรคนี้มากยิ่งขึ้นและสามารถมีสุขภาพที่ดีได้ในระยะยาว
รู้ทันโรคและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองเพื่อสุขภาพที่ดีระยะยาว
ก่อนที่จะไปดูว่าโรคหลอดเลือดสมองป้องกันอย่างไร? เพื่อที่จะได้ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างถูกต้อง เราจะพาคุณไปทำความรู้จักโรคหลอดเลือดสมองกับภาวะสมองเสื่อมก่อน โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือภาวะสมองเสื่อมจากหลอดเลือด (Vascular Dementia) เกิดจากการที่สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้เซลล์สมองตายและสมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หากเกิดในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับความจำหรือการรับรู้ ก็อาจทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ ซึ่งผู้ป่วยมักต้องการความช่วยเหลือจากครอบครัวหรือผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรใส่ใจ โดยปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้
โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเฉียบพลัน
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ต้องป้องกันโรคหลอดเลือดสมองให้ดีคือ การเกิดผนังหลอดเลือดในสมองตีบ เนื่องจากมีก้อนไขมันพอกจนเลือดไม่สามารถไหลผ่านได้ ทำให้สมองขาดเลือดและหยุดทำงาน เป็นภาวะที่เกิดแบบช้า ๆ สังเกตความผิดปกติได้ยาก ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือการเกิดหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันจากการมีลิ่มเลือดไหลไปปิดกั้นทางเดินเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง ซึ่งอาการนี้มักจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน และควรได้รับการรักษาอย่างทันทีเพราะอาจเกิดอันตรายได้
โรคหลอดเลือดสมองแตก
หลอดเลือดสมองแตกเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุหลักที่พบได้บ่อย ซึ่งมักเกิดจากผนังหลอดเลือดที่มีความยืดหยุ่นน้อยหรือเปราะบาง เมื่อความดันเลือดสูงขึ้น ก็อาจทำให้หลอดเลือดแตก ส่งผลให้สมองได้รับความเสียหาย นอกจากนี้โรคหลอดเลือดสมองแตกยังสามารถเกิดจากการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงของศีรษะจนทำให้เลือดออกในสมองได้เช่นกัน ซึ่งกรณีนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพื่อเอาเลือดออกก่อนที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย การทำความเข้าใจวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจึงเป็นสิ่งสำคัญในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนี้
ลักษณะอาการที่ควรรู้เพื่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ทันเวลา
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบร้ายแรงได้ถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นคุณควรรู้จักวิธีสังเกตลักษณะอาการโรคเส้นเลือดในสมองตีบและเส้นเลือดสมองแตก เพื่อให้สามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของตัวเองหรือคนใกล้ชิดได้ โดยความรุนแรงของอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สมองถูกทำลาย ดังนี้
- ผู้ป่วยอาจมีอาการพูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง หรือไม่สามารถเข้าใจคำพูดของคนอื่นได้ และอาจรู้สึกสับสน มึนงงในการทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงหรือชาบริเวณใบหน้า แขน หรือขาอย่างเฉียบพลัน โดยมักเกิดที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ซึ่งมักเกิดร่วมกับอาการพูดไม่ได้ พูดไม่ชัด หรือปากเบี้ยว
- ผู้ป่วยมีอาการเวียนหัวหรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมักเกิดร่วมกันอาการเดินเซ ทรงตัวผิดปกติ รวมถึงอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ผู้ป่วยมักเกิดอาการตามืดมัวอย่างเฉียบพลัน มองเห็นภาพซ้อน
- ผู้ป่วยมักมีปัญหาด้านการมองเห็นที่บริเวณตาข้างใดข้างหนึ่งหรือตาทั้งสองข้าง
สังเกตอาการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยแนวทางปฏิบัติของ BEFAST
เมื่อทราบถึงอาการที่อาจบ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดสมองแล้ว หากพบผู้ป่วยที่แสดงอาการเหล่านั้น ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที แม้อาการอาจเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ หรือไม่ต่อเนื่องก็ตาม และหากคุณยังไม่มั่นใจว่าอาการที่แสดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นของตัวเองหรือคนรอบข้างเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือไม่ มาดูวิธีตรวจเช็กอาการง่าย ๆ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยแนวทางการปฏิบัติของ “BEFAST” ที่จะช่วยให้คุณมั่นใจได้มากขึ้นกัน
- B – Balance (การทรงตัว): สังเกตดูว่าผู้ป่วยมีลักษณะท่าทางการเดินเป็นไปตามปกติไหม มีการสูญเสียการทรงตัว เดินเซ หรือรู้สึกเวียนศีรษะอย่างกะทันหันหรือไม่
- E – Eyes (การมองเห็น): ให้ผู้ป่วยลองมองไปรอบ ๆ และสังเกตดูว่าเกิดปัญหาด้านการมองเห็น เช่น ตามัว มองไม่เห็น มีภาพซ้อนเฉียบพลันที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างหรือไม่
- F – Face (ใบหน้า): ให้ผู้ป่วยลองยิ้มและสังเกตว่ามีอาการมุมปากยกขึ้นไม่เท่ากัน มุมปากตก หรือใบหน้าเบี้ยวหรือไม่
- A – Arms (แขน): ให้ผู้ป่วยยกแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะและสังเกตว่าแขนข้างใดข้างหนึ่งมีอาการอ่อนแรง ตก ยกไม่ขึ้น หรือมีอาการชาขึ้นมาอย่างเฉียบพลันต่างจากอีกข้างหนึ่งชัดเจนไหม
- S – Speech (การพูด): ทดลองพูดและถามคำถามง่าย ๆ ให้ป่วยฟัง เพื่อเช็กว่าผู้ป่วยเข้าใจสิ่งที่พูด หรือมีอาการพูดติดขัด พูดไม่ชัด หรือไม่สามารถพูดได้หรือไม่
- T – Time (เวลา): ปัจจัยสำคัญสำหรับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองคือ “เวลา” หากพบอาการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ควรรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อลดความรุนแรงของอาการลง
จากโรคหลอดเลือดสมองสู่สมองเสื่อม ความสัมพันธ์ที่คุณไม่เคยรู้
หลายคนมักนึกถึงอัลไซเมอร์เมื่อพูดถึงภาวะสมองเสื่อม แต่ทราบไหมว่า ภาวะสมองเสื่อมสามารถเกิดจากโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นกัน จากการศึกษาพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดในสมองแตก ตีบ หรืออุดตัน อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมตามมา โดยอาการอาจเริ่มแสดงหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่ 3 เดือนถึง 9 ปี ซึ่งเกิดจากความเสียหายของสมองที่ไม่ได้รับการรักษาและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อความเสียหายนั้นเกิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้และความจำ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคสมองเสื่อมและภาวะทุพพลภาพได้
ภัยเงียบอันตราย ปัจจัยเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า หากผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ได้รับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะของโรคออกเป็น ความเสี่ยงจากลักษณะทั่วไปและความเสี่ยงจากลักษณะของโรคหลอดเลือดสมองที่พบ ดังนั้นเพื่อให้คุณมีความเข้าใจในวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมากยิ่งขึ้น มาดูข้อมูลที่เรานำมาฝากไปพร้อม ๆ กันเลย
ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงจากลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีความเสี่ยงสมองเสื่อมตามมา ได้แก่ เพศ ซึ่งเพศชายจะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แต่เพศหญิงจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี นอกจากนี้โรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ โดยเริ่มจากอาการหลงลืมที่เกิดขึ้นก่อน แล้วตามมาด้วยการลดลงของความสามารถในการดูแลตัวเอง
ลักษณะของโรคหลอดเลือดสมองที่พบ
ปัจจัยเสี่ยงจากลักษณะของโรคหลอดเลือดสมองที่พบซึ่งหากไม่ได้รับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้องอย่างทันการอาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ เช่น การเกิดอาการชัก มีความรุนแรงของโรคสูง ตำแหน่งของโรคเกิดที่สมองด้านซ้ายซึ่งเกี่ยวกับความจำและการรับรู้ หรือเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้วในหลายตำแหน่ง
รู้จักอาการของภาวะสมองเสื่อมจากการไม่ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่สมองของผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการทำงานอย่างช้า ๆ ส่งผลต่อการจดจำ การคิด การตัดสินใจ ตลอดถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำของผู้ป่วย และหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะนี้คือ การไม่ใส่ใจป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การไม่รู้ว่าโรคหลอดเลือดสมองป้องกันอย่างไร? ซึ่งนำไปสู่การรักษาที่ยากและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว ดังนี้
- อารมณ์แปรปรวนและกระสับกระส่าย: ผู้ป่วยอาจมีสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่คงที่ หงุดหงิด หรือฉุนเฉียวโดยไม่ทราบสาเหตุ
- การเคลื่อนไหวช้าลงและกล้ามเนื้ออ่อนแรง: ผู้ป่วยจะมีการเคลื่อนไหวช้าลง เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ส่งผลให้การทำกิจวัตรประจำวันหรือการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเป็นไปได้ยาก
- การคิดช้าลงและความจำเสื่อม: ผู้ป่วยมักมีอาการลืมเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้น หรือรู้สับสนเรื่องราว
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ - ทักษะในการวางแผนและการจัดการชีวิตลดลง: การทำกิจกรรมในแต่ละวันของผู้ป่วยจะทำได้ช้าลงหรือเกิดความผิดพลาดได้
- มีปัญหาด้านการใช้ภาษา: ผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องเรียกชื่อสิ่งของ ชื่อบุคคล หรือมีการพูดผิด ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนแปลง: ผู้ป่วยอาจเกิดความสับสนและรู้สึกวิตกกังวลมากกว่าปกติ หรืออาจมีภาวะซึมเศร้า
- ถามคำถามซ้ำ ๆ : ผู้ป่วยมักมีอาการถามคำถามเดิมซ้ำ ๆ เพราะลืมคำตอบที่เคยได้รับไปแล้ว
- ไม่สามารถจำสถานที่ภายในบ้านได้: ผู้ป่วยมักมีปัญหาเรื่องการจดจำสถานที่ต่าง ๆ ที่คุ้นเคยภายในบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ หรือห้องครัว
- ไม่สามารถจำวันหรือเวลาได้: ผู้ป่วยอาจไม่สามารถระบุวันและเวลาในปัจจุบันได้
การดูแลรักษาภาวะสมองเสื่อมเริ่มจากการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง สิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างแรกคือ การเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้องและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสมองได้ในอนาคต ซึ่งการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและการรักษาภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ
การรักษาภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองในระยะแรก ๆ ควรมุ่งเน้นที่การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ เพราะการเกิดโรคซ้ำอาจทำให้สมองเสียหายมากขึ้นและทำให้ภาวะสมองเสื่อมรุนแรงขึ้น การรักษาสามารถทำได้โดยการควบคุมโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน นอกจากนี้การรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด และยาต้านเกล็ดเลือดจะช่วยลดการอุดตันในหลอดเลือดสมองและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองซ้ำได้
การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการสมองเสื่อม
อีกหนึ่งวิธีที่สามารถบรรเทาอาการภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองคือการใช้ยากลุ่ม Cholinesterase Inhibitors ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย
อัลไซเมอร์ เพื่อช่วยเพิ่มสารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับการจดจำและการนึกคิด นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการประสาทหลอน หรือหลงผิด อาจมีการใช้ยาทางจิตประสาทเพื่อช่วยควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมให้ดีขึ้น
การสนับสนุนจากครอบครัวและผู้ดูแล
สิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองคือการได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและผู้ดูแล เพราะการมีคนคอยช่วยเหลือและเข้าใจวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างถูกต้อง จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจมากขึ้น นอกจากนี้การดูแลที่เหมาะสมยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและส่งเสริมการฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยได้ดี
การฝึกสมองและฟื้นฟูการทำงาน
การฝึกสมองและฟื้นฟูการทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การฝึกอ่านเขียน การฝึกคิดเลข การฝึกความจำ การเล่นเกมเชาวน์ปัญญา หรือการทำกิจกรรม
เกี่ยวกับการพูดและการสื่อสาร สิ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นสมองของผู้ป่วยและชะลอภาวะสมองเสื่อมได้
การติดตามผลการรักษา
การติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอเป็นอีกหนึ่งการรักษาและป้องกันภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญ โดยแพทย์จะทำการประเมินอาการอย่างละเอียดผ่านการตรวจร่างกาย หรือการทำ MRI และ CT Scan เพื่อตรวจสอบความเสียหายของสมองและปรับวิธีการรักษา วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองตามความรุนแรงของอาการ
การรู้เท่าทันการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ตั้งแต่การรู้จักโรค การรู้วิธีเช็กอาการ รู้จักปัจจัยเสี่ยง ตลอดถึงรู้ว่า
โรคหลอดเลือดสมองป้องกันอย่างไร? เป็นกุญแจสำคัญในการลดความเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนอย่างภาวะสมองเสื่อมได้เป็นอย่างดี เพราะหากผู้ป่วยไม่ทราบวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและเข้ารับการรักษาไม่ทันอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตหรือเกิดความพิการที่จะกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
ดังนั้นเพื่อลดการเกิดโรคซ้ำ ชะลออาการสมองเสื่อม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว การรู้จักป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจึงเป็นก้าวแรกสำคัญที่ควรใส่ใจ