HEALTH
เริ่มต้นดูแลสุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
ไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง ถึงอาการไม่มี แต่เสี่ยง มะเร็งตับ
อันตรายที่ไม่คาดคิดจาก ยาสามัญติดบ้าน
หัวเราะจนฉี่เล็ด เรื่องปรกติ ที่ไม่ปกติจริงเหรอ
หัวเราะจนฉี่เล็ด เรื่องปรกติ ที่ไม่ปกติจริงเหรอ
พาไปรู้จักกลุ่มอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กับ น.ท.นพ.ศุภวิช เหลืองภัทรวงศ์ แพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
ลืมเล็กลืมน้อย MCI เรื่องเล็กที่ไม่เล็ก
ลืมเล็กลืมน้อย MCI เรื่องเล็กที่ไม่เล็ก
รู้หรือไม่ว่า...ภาวะความรู้คิดบกพร่องบกพร่องเล็กน้อย หรือ MCI เป็นภาวะความเสื่อมถอยของสมองที่สามารถพัฒนาไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้
นอนไม่หลับบ่อยๆแก้ไขอย่างไรดี
นอนไม่หลับบ่อยๆแก้ไขอย่างไรดี
การนอนหลับ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เราจะพาไปคลายสงสัย ⁉️ เรื่องความผิดปกติของการนอนหลับ โดยเฉพาะโรคนอนไม่หลับ ไปกับ รศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน หัวหน้าศูนย์นิทราเวช รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
มะเร็งเต้านมในผู้ชาย เกิดขึ้นได้ผู้ชายต้องรู้ !
มะเร็งเต้านมในผู้ชาย เกิดขึ้นได้ผู้ชายต้องรู้ !
ชวนมาทำความเข้าใจกับโรคมะเร็งเต้านมกันมากขึ้นกับ ผศ.นพ.ไนยรัฐ ประวงค์สุข อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา รพ.พระมงกุฎเกล้า
เริ่มต้นดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง ได้ที่นี่
hhc Thailand
…คลังความรู้และสาระสุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เคย…
วันนี้คุณดูแลสุขภาพของตัวเองแล้วหรือยัง?
เรื่องสุขภาพคือเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้าม เนื่องจากในวิถีการดำเนินชีวิตของเราอาจส่งผลให้ร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งในบางครั้งอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว แต่ในบางครั้งก็อาจส่งผลเสียมากมายจนกลายเป็นโรคร้ายที่ต้องรีบเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที ดังนั้นเราจึงควรเริ่มดูแลสุขภาพของตัวเองเพื่อรับมือกับอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
เคยสงสัยหรือไม่ เรากำลังป่วยเป็นโรคอะไรอยู่หรือเปล่า?
Health บทความสาระสุขภาพ
“ที่จะทำให้ทุกคนได้เริ่มต้นดูแลตัวเอง ก่อนที่จะสายเกินไป”
อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมักจะมีสัญญาณเตือนเสมอ เราสามารถสังเกตอาการหรือสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวเองเพื่อรับมือกับโรคร้ายต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ด้วยการติดตามบทความ Health จาก hhc Thailand ที่จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการเบื้องต้นของโรคร้าย สาเหตุหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค วิธีการรับมือ รวมไปถึงแนวทางการเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยให้เรามั่นใจในวิธีการดูแลสุขภาพของตัวเองมากยิ่งขึ้น
ทำไมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง ‘ยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งดี’
เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายก็ย่อมเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา ระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพ ระบบภูมิคุ้มกันก็ลดต่ำลง การทำงานของฮอร์โมนและการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งภายในและภายนอกจะเริ่มช้าลง ส่งผลให้ผู้ที่เคยมีร่างกายที่แข็งแรงก็อาจมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โรคที่เกิดขึ้นมักจะมีความรุนแรงมากกว่าการเกิดขึ้นในผู้ที่อายุยังน้อย
ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับวิธีดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี หมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างมีวินัย เพื่อช่วยลดความเสื่อมโทรมของสภาพร่างกายและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ในระยะยาว
– สุขภาพที่ดี เป็นพื้นฐานของการมีคุณภาพขีวิตที่ดี –
แล้วจะดีกว่าไหม? ถ้าคุณและคนรอบข้างได้เริ่มต้นดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“hhc Thailand สนับสนุนให้ทุกคนเริ่มต้นดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี
เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในทุกช่วงวัย”
ข้อดีของการเริ่มต้นดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกต้อง
เมื่อเราเริ่มดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองอย่างถูกวิธี ในบทความ Health ได้รวบรวมความรู้เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ทั้งเคล็ดลับที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคร้ายใกล้ตัวและวิธีการรับมือ รวมถึงข่าวสารและเทรนด์สุขภาพน่ารู้ จาก hhc Thailand ส่งผลให้เราได้รับประโยชน์มากมาย ดังนี้
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายในระยะยาว
ช่วยรักษาระดับภูมิคุ้มกันเมื่อมีอายุมากขึ้น
ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ
สามารถรู้ทันและรับมือกับโรคร้ายได้อย่างทันท่วงที
สามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็วหากมีอาการเจ็บป่วย
ส่งเสริมความมีวินัยในการดูแลตัวเอง
เลี่ยงผลเสียที่เกิดจากการดูแลสุขภาพแบบผิด ๆ
ช่วยเพิ่มความเปล่งปลั่งของผิวพรรณ ทำให้หน้าตาดูอ่อนเยาว์
จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการดูแลรักษาสุขภาพนั้นมีอยู่มากมาย ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีต่อร่างกายของตัวเองในระยะยาวอย่างแน่นอน! มาเริ่มดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นไปกับเรา Community สำหรับคนรักสุขภาพที่ดีที่สุดจาก hhc Thailand
รอบรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ กับ hhc Thailand
เนื่องจากเราเป็นชุมชนที่รวบรวมเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้ และวิธีการดูแลสุขภาพไว้มากมาย โดยมุ่งหวังให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข จากพื้นฐานทางด้านร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทั้งทางกายและทางใจ
วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆเกี่ยวกับวิธีดูแลสุขภาพเบื้องต้นมาแบ่งปันให้คุณได้นำไปปรับใช้กับตนเองและคนรอบข้าง แต่ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาในส่วนนั้น เราไปดูกันก่อนว่าปัญหาทางด้านสุขภาพยอดฮิตที่มักพบเจอได้บ่อยครั้ง มีอะไรบ้าง
ท๊อปฮิตปัญหาสุขภาพยอดฮิตในประเทศไทย
จากวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้เรามักจะหลงลืมการดูแลสุขภาพของตัวเอง ส่งผลให้ร่างกายขาดภูมิคุ้มกันและเกราะป้องกันโรคร้าย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพมากมายตามมา ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพยอดฮิตในประเทศไทย ได้แก่
- ปัญหาเรื่องโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
- ปัญหาเรื่องโรคเบาหวาน
- ปัญหาเรื่องโรคความดันโลหิตสูง
- ปัญหาเรื่องโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ
- ปัญหาเรื่องโรคสมองเสื่อม
- ปัญหาเรื่องโรคทางเดินอาหาร
- ปัญหาเรื่องโรคกระดูกและข้อ
- ปัญหาเรื่องโรคทางเดินปัสสาวะ
- ปัญหาการนอนไม่หลับเพราะความเครียด
- ปัญหาภาวะซึมเศร้า
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของปัญหาสุขภาพยอดฮิตในประเทศไทยที่อาจเข้ามาทำอันตรายต่อร่างกายของเราเพียงเท่านั้น ยังมีโรคต่าง ๆ อีกมากมายที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลกระทบมากมายต่อการดำเนินชีวิตของเรา ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ดังนั้น เราจึงควรดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่ยังมีโอกาส เพื่อเสริมสร้างภุมิคุ้มกันและรู้ทันโรคร้ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง
เริ่มต้นดูแลรักษาสุขภาพด้วย ‘วิธีดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน’
การดูแลสุขภาพของตัวเองให้มีความแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ในระยะยาวนั้น เราควรให้ความสำคัญตั้งแต่พื้นฐานของการดำเนินชีวิตที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองเบื้องต้นนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับเคล็ดลับการดูแลสุขภาพ 3 ด้าน ได้แก่
การรับประทานอาหารที่ดี
การออกกำลังกายที่เหมาะสม
การดูแลสภาวะทางอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ
ซึ่งทั้ง 3 ด้านของวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นจะมีรายละเอียดและข้อปฏิบัติอย่างไรบ้าง ทาง hhc Thailand ได้รวบรวมไว้ให้ทุกคนแล้ว
1. การรับประทานอาหารที่ดี
รู้หรือไม่? พฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อหรือโรค NCDs อย่างโรคความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น ระบบการกรองของเสียหรือระบบการกำจัดของเสียภายในร่างกายก็จะเริ่มมีประสิทธิภาพที่ลดลง หากทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก็จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายกับร่างกายของเรา
ดังนั้น เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาว เราควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรค ตามหลักการในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ดังนี้
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ
- เน้นการทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์สูง
- เลี่ยงการทานอาหารหวาน มัน เค็ม
- เลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันทรานส์
- เลี่ยงการทานของทอดและอาหารปิ้งย่าง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละประมาณ 6-8 แก้ว
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารเสี่ยงโรคต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อต่าง ๆ ได้อีกด้วย
2. การออกกำลังกายที่เหมาะสม
เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปฏิบัติตามหลักการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีแล้ว วิธีดูแลสุขภาพในข้อต่อมานั่นคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม พอดีกับวัย เพื่อส่งเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในระยะยาว
โดยเราต้องออกกำลังกายอย่างมีวินัย เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันและประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อสร้างเกราะป้องกันโรคร้ายและช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เราควรดื่มน้ำสะอาดทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายให้เพียงพอกับปริมาณของน้ำที่เสียไปในระหว่างการออกกำลังกาย เพื่อรักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกายของเรานั่นเอง
ประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ทำให้หัวใจ กล้ามเนื้อ และปอด ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
ทำให้การไหลเวียนของโลหิตในร่างกายดีขึ้น
ช่วยให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
ทำให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุข ลดความเครียด เพิ่มความผ่อนคลาย
ช่วยในการพักผ่อน ทำให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น
ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส ใีสุขภาพผิวที่ดี
การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย
เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่เกิดประโยชน์สูงสุด เราควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเรา ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
ช่วงวัย | การออกกำลังกายที่เหมาะสม |
วัยเด็ก | ในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ การออกกำลังกายจึงควรเน้นที่ความสนุกสนานและความปลอดภัย โดยเลือกกีฬาที่ได้ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วน ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว และช่วยฝึกสมาธิได้เป็นอย่างดี กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม ฟุตบอล |
วัยรุ่น | ในช่วงวัยรุ่น คือช่วงที่เหมาะสมกับการสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย เนื่องจากอยู่ในช่วงที่มีอัตราของการเผาผลาญที่ดี และชื่นชอบการออกกำลังกายที่มีความท้าทายหรือการแข่งขัน กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม กีฬาทุกรูปแบบ เช่น ฟุตบอล แบตมินตัน บาสเกตบอล เป็นต้น |
วัยทำงานหรือวัยกลางคน | ในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่เหมาะสมกับวิธีดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มมีความเหนื่อยล้า ทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบการเผาผลาญเริ่มมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดน้อยลง กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม ปั่นจักรยาน |
วัยสูงอายุ | เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุเราควรดูแลสุขภาพโดยการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่หักโหม ควรเลือกออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยท่าทางการเคลื่อนไหวที่ง่าย ๆ เพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อ ร่างกาย และจิตใจ กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม เดินออกกำลังกาย |
3. การดูแลสภาวะทางอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ
นอกจากการรับประทานอาหารและการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การใส่ใจดูแลจิตใจให้มีอารมณ์ที่แจ่มใสก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยเราเริ่มต้นดูแลสุขภาพทางใจได้ง่าย ๆ ด้วยการคิดบวก มองโลกในแง่ดี มองหามุมมองใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ เรายังสามารถปฏิบัติตามเคล็ดลับการดูแลสภาวะทางอารมณ์ ดังนี้
พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมตามช่วงวัย
การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่สามารถเริ่มได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง โดยการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ให้เรามีจิตใจที่แจ่มใส และมีความสุขมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างความจำ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้อีกด้วย
และนอกจากการเสริมสร้างสภาวะทางอารมณ์และการทำงานของสมอง การพักผ่อนให้เพียงพอยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย รวมถึงช่วยให้เราผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส มีความอ่อนวัยอยู่เสมอ
ข้อเสียของการนอนหลับไม่เพียงพอ
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดน้อยลง
- รู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงซึมตลอดทั้งวัน
- ฮอร์โมนสืบพันธ์ุหลั่งออกมาน้อยลง
- กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารจำพวกไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
- เป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคทางระบบย่อยอาหาร เป็นต้น
ตารางการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละช่วงวัยเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี
ตารางการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละช่วงวัย | |
ช่วงอายุ | ระยะเวลาที่ควรนอนหลับ |
อายุ 0 – 3 เดือน | 14 – 17 ชั่วโมง |
อายุ 4 – 11 เดือน | 12 – 15 ชั่วโมง |
อายุ 1 – 2 ปี | 11 – 14 ชั่วโมง |
อายุ 3 – 5 ปี | 10 – 13 ชั่วโมง |
อายุ 6 – 13 ปี | 9 – 11 ชั่วโมง |
อายุ 14 – 17 ปี | 8 – 10 ชั่วโมง |
อายุ 18 – 25 ปี | 7 – 9 ชั่วโมง |
อายุ 26 – 64 ปี | 7 – 9 ชั่วโมง |
อายุ 65 ปี เป็นต้นไป | 7 – 8 ชั่วโมง |
ฝึกสติและสมาธิ
การฝึกสมาธิ เป็นหนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพที่ช่วยให้เรารู้เท่าทันอารมณ์และสามารถรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ของตัวเองได้ดี ส่งผลให้ผู้ที่ฝึกสมาธิเป็นคนที่มีใจเป็นสุข มีความใจเย็น มองโลกในแง่ดี มีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่าย มีจิตใจที่แจ่มใส คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล รวมถึงตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ
ด้วยเหตุนี้การฝึกสติและสมาธิจึงเป็นวิธีบำบัดความเครียดรวมถึงวิธีการดูแลสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
ประโยชน์ของการฝึกสติและสมาธิ
นอกจากการฝึกสมาธิจะช่วยให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ของเราและสามารถรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ได้ดีแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนี้
- ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
- ส่งเสริมบุคลิกภาพ ท่าทางการคิด การพูด และการแสดงออก
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง
- ช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ
ใช้เวลาสร้างความสุขกับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัว
เคล็ดลับการดูแลสุขภาพทางอารมณ์ที่จะช่วยให้ทั้งตัวคุณเองและคนรอบข้างมีสภาวะทางอารณ์ที่ดีขึ้น นั่นก็คือการใช้เวลาเพื่อสร้างความสุขกับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัวโดยการมอบความห่วงใยให้แก่กันและกัน หาเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสุข รอบยิ้ม และเสียงหัวเราะให้กับตัวเราเอง คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวให้มากยิ่งขึ้น
หากิจกรรมที่เพลิดเพลิน สนุกสนาน เพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
รอยยิ้มและเสียงหัวเราะคือสิ่งที่บ่งบอกถึงความสุข ความเพลิดเพลิน และสภาวะทางอารมณ์ที่ดี เราจึงควรมองหากิจกรรมที่มีความสนุกสนานเพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ให้สมองได้หลั่งสารแห่งความสุขเพื่อส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้น
โดยตัวอย่างของกิจกรรมที่มีความเพลิดเพลินเพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ รวมถึงเป็นวิธีดูแลสุขภาพที่ช่วยส่งเสริมช่วงเวลาแห่งความสุขนั้น ได้แก่
- การเล่นกีฬา ออกกำลังกาย
- การวาดรูป ระบายสี สร้างผลงานศิลปะ
- การรับชมภาพยนตร์ ซีรีย์ หรือรายการโทรทัศน์
- การฟังเพลง
- การทำอาหารหรือทำขนม
- การปลูกต้นไม้ ทำสวน
ค้นหาแรงบันดาลใจที่ดี
การดูแลสุขภาพเพื่อส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ที่ดีที่หลายคนมักมองข้ามไป นั่นคือการค้นหาแรงบันดาลใจดี ๆ ที่จะช่วยผลักดันและเป็นแรงกระตุ้นให้เรามีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น รวมถึงยังเป็นวิธีที่ช่วยจุดประกายไอเดียและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเราได้อีกด้วย
โดยการค้นหาแรงบันดาลใจที่ดีจะช่วยให้เราได้เห็นถึงมุมมองในการดำเนินชีวิตที่หลากหลายและนิยามของความสุขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ทำให้เราได้เรียนรู้ เข้าใจในเหตุผลของการดำเนินชีวิต รวมถึงเป็นแนวทางที่ทำให้เราได้ค้นพบความสุขที่แท้จริงในรูปแบบของตัวเราเอง
ตัวอย่างวิธีการค้นหาแรงบันดาลใจที่ดี
- มองหาแรงบันดาลใจจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จ
- เดินทางไปยังสถานที่ใหม่ ๆ สิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ และสังคมใหม่ ๆ
- รับฟังเรื่องราวของผู้คนรอบข้าง
- มองหาไอเดียและแรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือ ดูหนัง และฟังเพลง
โรคที่ไม่แสดงอาการ รับมือได้ด้วยการตรวจสุขภาพพื้นฐาน
ถึงแม้ว่าอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมักจะแสดงอาการที่เป็นสัญญาณเตือนให้เราได้รู้เท่าทันอยู่เสมอ แต่ในบางครั้งโรคร้ายอาจมาในรูปแบบของภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการ เมื่อรู้ตัวอีกทีก็เข้าสู่ระดับขั้นเป็นโรคที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เราจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองร่วมกับการเข้ารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพื่อทำการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้น
ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพคือเราจะสามารถตรวจพบโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการ เพื่อเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสม เป็นการรับมือกับโรคร้ายไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการรุนแรง รวมถึงเป็นการติดตามเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพ ทำให้เราได้รู้ถึงความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ของการเป็นโรคร้าย เพื่อเริ่มต้นการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกวิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงหาแนวทางป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป
โดยการตรวจสุขภาพนั้นควรเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป (ยกเว้นในกรณีที่มีความสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงในการเกิดโรค ก็สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ทันที) ซึ่งในแต่ละช่วงวัยจะมีการให้ความสำคัญกับรายการในการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกันไปตามความเสี่ยงและอัตราของการเกิดโรคในช่วงวัยนั้น ๆ
และในส่วนนี้ hhc Thailand ขอยกตัวอย่างการตรวจสุขภาพของวัยผู้สูงอายุ ว่ามีโรคใดบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างเจาะลึก ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ผู้สูงอายุกับความถี่ของการตรวจสุขภาพแบบเจาะลึก
วัยสูงอายุคือวัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ เนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความเสื่อมถอย และอ่อนแอลง ทำให้หากไม่มีวิธีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดโรคร้ายขึ้นในช่วงวัยนี้ได้ง่าย
โรคที่มักพบบ่อยในวัยสูงอายุนี้ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคไต โรคความดันโลหิตสูง และโรคอัลไซเมอร์ ในช่วงวัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งช่วงวัยที่ควรหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและเป็นการรับมือกับโรคร้ายต่าง ๆ ให้หายได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นนั่นเอง
โดยผู้สูงอายุสามารถตรวจสุขภาพในด้านต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น
ตรวจสุขภาพตา
การตรวจสุขภาพตาเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรคทางตาที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเพื่อการดูแลสุขภาพตาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโรคทางตาที่มักพบบ่อยในวัยนี้ ได้แก่ โรคต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม และภาวะสายตายาว
คำแนะนำในการตรวจสุขภาพตา
อายุ 60 – 64 ปีควรตรวจตาทุก ๆ 2 – 4 ปี
อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาทุก ๆ 1 – 2 ปี
ตรวจสุขภาพหู
วัยสูงอายุมักจะมาพร้อมกับอาการความผิดปกติทางการได้ยิน ในการตรวจนี้จึงเป็นการตรวจสมรรถภาพทางการได้ยิน เพื่อคัดกรองผู้สูงอายุว่ามีปัญหาทางด้านทางการได้ยินหรือไม่ ทั้งอาการหูหนวก หูตึง หรือภาวะประสาทหูเสื่อม
ตรวจสุขภาพจิต
การตรวจสุขภาพจิตเป็นการตรวจสภาวะทางอารมณ์และสภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุ โดยครอบคลุมทั้งการประเมินอาการทางจิตเวชต่าง ๆ รวมไปจนถึงอาการที่พบได้บ่อยอย่างภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั่นเอง
ตรวจผิวหนัง
เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุมีอาการทางผิวหนัง จึงควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนัง ภาวะผิวหนังแห้ง และเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งหากผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเบาหวานจะต้องมีการตรวจในส่วนนี้เป็นพิเศษ
ตรวจสุขภาพช่องปาก เหงือก และฟัน
การตรวจสุขภาพทางช่องปาก เป็นการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพฟันและเหงือก เช่น อาการฟันผุ เหงือกอักเสบ และปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุอย่างปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร เพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที
ตรวจเต้านม (สำหรับผู้หญิง)
การตรวจสุขภาพของเต้านมเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นการตรวจหาก้อนเนื้อเพื่อนำไปตรวจวินิจฉัยหาความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เลือกใช้วิธีดูแลสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที หากมีความผิดปกติหรือมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น
คำแนะนำในการตรวจเต้านม
อายุ 60 – 69 ปีควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี
อายุ 70 ปีขึ้นไป ตรวจได้ตามความเหมาะสม
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (สำหรับผู้หญิง)
การตรวจสุขภาพเพื่อจะคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (สำหรับผู้หญิง) เป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรตรวจเพื่อคัดกรองอยู่เสมอแม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิง
คำแนะนำในการตรวจมะเร็งปากมดลูก
อายุ 60 – 64 ปีควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี
อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจได้ตามความเหมาะสม
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว รวมถึงเกล็ดเลือด เพื่อวิเคราะห์สุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเรื่องของโรคโลหิตจาง การติดเชื้อในกระแสเลือด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
คำแนะนำในการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
อายุ 70 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจทุกปี
ตรวจระดับไขมันในเลือด
การตรวจระดับไขมันในเลือด เป็นการตรวจเพื่อวัดระดับไขมันในเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติหรือไม่ เพื่อทำการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และมีการวางแผนวิธีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม หากมีค่าระดับไขมันในเส้นเลือดมากกว่าปกติ
คำแนะนำในการตรวจระดับไขมันในเลือด
ผู้สูงอายุควรตรวจทุก ๆ 5 ปี
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการตรวจสุขภาพในวัยสูงอายุเพียงเท่านั้น ในการเข้ารับการตรวจจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของแผนการตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและแพ็คเกจต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป เราสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพรอบด้านที่ดีแม้เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุนั่นเอง
เริ่มต้นดูแลรักษาสุขภาพด้วย ‘วิธีดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน’
การดูแลสุขภาพของตัวเองให้มีความแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ในระยะยาวนั้น เราควรให้ความสำคัญตั้งแต่พื้นฐานของการดำเนินชีวิตที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองเบื้องต้นนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับเคล็ดลับการดูแลสุขภาพ 3 ด้าน ได้แก่
การรับประทานอาหารที่ดี
การออกกำลังกายที่เหมาะสม
การดูแลสภาวะทางอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ
ซึ่งทั้ง 3 ด้านของวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นจะมีรายละเอียดและข้อปฏิบัติอย่างไรบ้าง ทาง hhc Thailand ได้รวบรวมไว้ให้ทุกคนแล้ว
1. การรับประทานอาหารที่ดี
รู้หรือไม่? พฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อหรือโรค NCDs อย่างโรคความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น ระบบการกรองของเสียหรือระบบการกำจัดของเสียภายในร่างกายก็จะเริ่มมีประสิทธิภาพที่ลดลง หากทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก็จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายกับร่างกายของเรา
ดังนั้น เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาว เราควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรค ตามหลักการในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ดังนี้
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ
- เน้นการทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์สูง
- เลี่ยงการทานอาหารหวาน มัน เค็ม
- เลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันทรานส์
- เลี่ยงการทานของทอดและอาหารปิ้งย่าง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละประมาณ 6-8 แก้ว
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารเสี่ยงโรคต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อต่าง ๆ ได้อีกด้วย
2. การออกกำลังกายที่เหมาะสม
เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปฏิบัติตามหลักการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีแล้ว วิธีดูแลสุขภาพในข้อต่อมานั่นคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม พอดีกับวัย เพื่อส่งเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในระยะยาว
โดยเราต้องออกกำลังกายอย่างมีวินัย เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันและประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อสร้างเกราะป้องกันโรคร้ายและช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เราควรดื่มน้ำสะอาดทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายให้เพียงพอกับปริมาณของน้ำที่เสียไปในระหว่างการออกกำลังกาย เพื่อรักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกายของเรานั่นเอง
ประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ทำให้หัวใจ กล้ามเนื้อ และปอด ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
ทำให้การไหลเวียนของโลหิตในร่างกายดีขึ้น
ช่วยให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
ทำให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุข ลดความเครียด เพิ่มความผ่อนคลาย
ช่วยในการพักผ่อน ทำให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น
ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส ใีสุขภาพผิวที่ดี
การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย
เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่เกิดประโยชน์สูงสุด เราควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเรา ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
ช่วงวัย | การออกกำลังกายที่เหมาะสม |
วัยเด็ก | ในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ การออกกำลังกายจึงควรเน้นที่ความสนุกสนานและความปลอดภัย โดยเลือกกีฬาที่ได้ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วน ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว และช่วยฝึกสมาธิได้เป็นอย่างดี กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม ฟุตบอล |
วัยรุ่น | ในช่วงวัยรุ่น คือช่วงที่เหมาะสมกับการสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย เนื่องจากอยู่ในช่วงที่มีอัตราของการเผาผลาญที่ดี และชื่นชอบการออกกำลังกายที่มีความท้าทายหรือการแข่งขัน กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม กีฬาทุกรูปแบบ เช่น ฟุตบอล แบตมินตัน บาสเกตบอล เป็นต้น |
วัยทำงานหรือวัยกลางคน | ในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่เหมาะสมกับวิธีดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มมีความเหนื่อยล้า ทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบการเผาผลาญเริ่มมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดน้อยลง กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม ปั่นจักรยาน |
วัยสูงอายุ | เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุเราควรดูแลสุขภาพโดยการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่หักโหม ควรเลือกออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยท่าทางการเคลื่อนไหวที่ง่าย ๆ เพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อ ร่างกาย และจิตใจ กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม เดินออกกำลังกาย |
3. การดูแลสภาวะทางอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ
นอกจากการรับประทานอาหารและการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การใส่ใจดูแลจิตใจให้มีอารมณ์ที่แจ่มใสก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยเราเริ่มต้นดูแลสุขภาพทางใจได้ง่าย ๆ ด้วยการคิดบวก มองโลกในแง่ดี มองหามุมมองใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ เรายังสามารถปฏิบัติตามเคล็ดลับการดูแลสภาวะทางอารมณ์ ดังนี้
พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมตามช่วงวัย
การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่สามารถเริ่มได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง โดยการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ให้เรามีจิตใจที่แจ่มใส และมีความสุขมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างความจำ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้อีกด้วย
และนอกจากการเสริมสร้างสภาวะทางอารมณ์และการทำงานของสมอง การพักผ่อนให้เพียงพอยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย รวมถึงช่วยให้เราผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส มีความอ่อนวัยอยู่เสมอ
ข้อเสียของการนอนหลับไม่เพียงพอ
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดน้อยลง
- รู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงซึมตลอดทั้งวัน
- ฮอร์โมนสืบพันธ์ุหลั่งออกมาน้อยลง
- กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารจำพวกไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
- เป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคทางระบบย่อยอาหาร เป็นต้น
ตารางการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละช่วงวัยเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี
ตารางการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละช่วงวัย | |
ช่วงอายุ | ระยะเวลาที่ควรนอนหลับ |
อายุ 0 – 3 เดือน | 14 – 17 ชั่วโมง |
อายุ 4 – 11 เดือน | 12 – 15 ชั่วโมง |
อายุ 1 – 2 ปี | 11 – 14 ชั่วโมง |
อายุ 3 – 5 ปี | 10 – 13 ชั่วโมง |
อายุ 6 – 13 ปี | 9 – 11 ชั่วโมง |
อายุ 14 – 17 ปี | 8 – 10 ชั่วโมง |
อายุ 18 – 25 ปี | 7 – 9 ชั่วโมง |
อายุ 26 – 64 ปี | 7 – 9 ชั่วโมง |
อายุ 65 ปี เป็นต้นไป | 7 – 8 ชั่วโมง |
ฝึกสติและสมาธิ
การฝึกสมาธิ เป็นหนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพที่ช่วยให้เรารู้เท่าทันอารมณ์และสามารถรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ของตัวเองได้ดี ส่งผลให้ผู้ที่ฝึกสมาธิเป็นคนที่มีใจเป็นสุข มีความใจเย็น มองโลกในแง่ดี มีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่าย มีจิตใจที่แจ่มใส คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล รวมถึงตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ ด้วยเหตุนี้การฝึกสติและสมาธิจึงเป็นวิธีบำบัดความเครียดรวมถึงวิธีการดูแลสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
ประโยชน์ของการฝึกสติและสมาธิ
นอกจากการฝึกสมาธิจะช่วยให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ของเราและสามารถรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ได้ดีแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนี้
- ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
- ส่งเสริมบุคลิกภาพ ท่าทางการคิด การพูด และการแสดงออก
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง
- ช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ
ใช้เวลาสร้างความสุขกับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัว
เคล็ดลับการดูแลสุขภาพทางอารมณ์ที่จะช่วยให้ทั้งตัวคุณเองและคนรอบข้างมีสภาวะทางอารณ์ที่ดีขึ้น นั่นก็คือการใช้เวลาเพื่อสร้างความสุขกับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัวโดยการมอบความห่วงใยให้แก่กันและกัน หาเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสุข รอบยิ้ม และเสียงหัวเราะให้กับตัวเราเอง คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวให้มากยิ่งขึ้น
หากิจกรรมที่เพลิดเพลิน สนุกสนาน เพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
รอยยิ้มและเสียงหัวเราะคือสิ่งที่บ่งบอกถึงความสุข ความเพลิดเพลิน และสภาวะทางอารมณ์ที่ดี เราจึงควรมองหากิจกรรมที่มีความสนุกสนานเพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ให้สมองได้หลั่งสารแห่งความสุขเพื่อส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้น
โดยตัวอย่างของกิจกรรมที่มีความเพลิดเพลินเพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ รวมถึงเป็นวิธีดูแลสุขภาพที่ช่วยส่งเสริมช่วงเวลาแห่งความสุขนั้น ได้แก่
- การเล่นกีฬา ออกกำลังกาย
- การวาดรูป ระบายสี สร้างผลงานศิลปะ
- การรับชมภาพยนตร์ ซีรีย์ หรือรายการโทรทัศน์
- การฟังเพลง
- การทำอาหารหรือทำขนม
- การปลูกต้นไม้ ทำสวน
ค้นหาแรงบันดาลใจที่ดี
การดูแลสุขภาพเพื่อส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ที่ดีที่หลายคนมักมองข้ามไป นั่นคือการค้นหาแรงบันดาลใจดี ๆ ที่จะช่วยผลักดันและเป็นแรงกระตุ้นให้เรามีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น รวมถึงยังเป็นวิธีที่ช่วยจุดประกายไอเดียและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเราได้อีกด้วย
โดยการค้นหาแรงบันดาลใจที่ดีจะช่วยให้เราได้เห็นถึงมุมมองในการดำเนินชีวิตที่หลากหลายและนิยามของความสุขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ทำให้เราได้เรียนรู้ เข้าใจในเหตุผลของการดำเนินชีวิต รวมถึงเป็นแนวทางที่ทำให้เราได้ค้นพบความสุขที่แท้จริงในรูปแบบของตัวเราเอง
ตัวอย่างวิธีการค้นหาแรงบันดาลใจที่ดี
- มองหาแรงบันดาลใจจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จ
- เดินทางไปยังสถานที่ใหม่ ๆ สิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ และสังคมใหม่ ๆ
- รับฟังเรื่องราวของผู้คนรอบข้าง
- มองหาไอเดียและแรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือ ดูหนัง และฟังเพลง
โรคที่ไม่แสดงอาการ รับมือได้ด้วยการตรวจสุขภาพพื้นฐาน
ถึงแม้ว่าอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมักจะแสดงอาการที่เป็นสัญญาณเตือนให้เราได้รู้เท่าทันอยู่เสมอ แต่ในบางครั้งโรคร้ายอาจมาในรูปแบบของภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการ เมื่อรู้ตัวอีกทีก็เข้าสู่ระดับขั้นเป็นโรคที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เราจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองร่วมกับการเข้ารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพื่อทำการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้น
ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพคือเราจะสามารถตรวจพบโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการ เพื่อเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสม เป็นการรับมือกับโรคร้ายไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการรุนแรง รวมถึงเป็นการติดตามเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพ ทำให้เราได้รู้ถึงความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ของการเป็นโรคร้าย เพื่อเริ่มต้นการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกวิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงหาแนวทางป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป
โดยการตรวจสุขภาพนั้นควรเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป (ยกเว้นในกรณีที่มีความสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงในการเกิดโรค ก็สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ทันที) ซึ่งในแต่ละช่วงวัยจะมีการให้ความสำคัญกับรายการในการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกันไปตามความเสี่ยงและอัตราของการเกิดโรคในช่วงวัยนั้น ๆ และในส่วนนี้ hhc Thailand ขอยกตัวอย่างการตรวจสุขภาพของวัยผู้สูงอายุ ว่ามีโรคใดบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างเจาะลึก ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ผู้สูงอายุกับความถี่ของการตรวจสุขภาพแบบเจาะลึก
วัยสูงอายุคือวัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ เนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความเสื่อมถอย และอ่อนแอลง ทำให้หากไม่มีวิธีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดโรคร้ายขึ้นในช่วงวัยนี้ได้ง่าย
โรคที่มักพบบ่อยในวัยสูงอายุนี้ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคไต โรคความดันโลหิตสูง และโรคอัลไซเมอร์ ในช่วงวัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งช่วงวัยที่ควรหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและเป็นการรับมือกับโรคร้ายต่าง ๆ ให้หายได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นนั่นเอง โดยผู้สูงอายุสามารถตรวจสุขภาพในด้านต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น
ตรวจสุขภาพตา
การตรวจสุขภาพตาเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรคทางตาที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเพื่อการดูแลสุขภาพตาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโรคทางตาที่มักพบบ่อยในวัยนี้ ได้แก่ โรคต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม และภาวะสายตายาว
คำแนะนำในการตรวจสุขภาพตา
อายุ 60 – 64 ปีควรตรวจตาทุก ๆ 2 – 4 ปี
อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาทุก ๆ 1 – 2 ปี
ตรวจสุขภาพหู
วัยสูงอายุมักจะมาพร้อมกับอาการความผิดปกติทางการได้ยิน ในการตรวจนี้จึงเป็นการตรวจสมรรถภาพทางการได้ยิน เพื่อคัดกรองผู้สูงอายุว่ามีปัญหาทางด้านทางการได้ยินหรือไม่ ทั้งอาการหูหนวก หูตึง หรือภาวะประสาทหูเสื่อม
ตรวจสุขภาพจิต
การตรวจสุขภาพจิตเป็นการตรวจสภาวะทางอารมณ์และสภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุ โดยครอบคลุมทั้งการประเมินอาการทางจิตเวชต่าง ๆ รวมไปจนถึงอาการที่พบได้บ่อยอย่างภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั่นเอง
ตรวจผิวหนัง
เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุมีอาการทางผิวหนัง จึงควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนัง ภาวะผิวหนังแห้ง และเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งหากผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเบาหวานจะต้องมีการตรวจในส่วนนี้เป็นพิเศษ
ตรวจสุขภาพช่องปาก เหงือก และฟัน
การตรวจสุขภาพทางช่องปาก เป็นการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพฟันและเหงือก เช่น อาการฟันผุ เหงือกอักเสบ และปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุอย่างปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร เพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที
ตรวจเต้านม (สำหรับผู้หญิง)
การตรวจสุขภาพของเต้านมเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นการตรวจหาก้อนเนื้อเพื่อนำไปตรวจวินิจฉัยหาความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เลือกใช้วิธีดูแลสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที หากมีความผิดปกติหรือมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น
คำแนะนำในการตรวจเต้านม
อายุ 60 – 69 ปีควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี
อายุ 70 ปีขึ้นไป ตรวจได้ตามความเหมาะสม
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (สำหรับผู้หญิง)
การตรวจสุขภาพเพื่อจะคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (สำหรับผู้หญิง) เป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรตรวจเพื่อคัดกรองอยู่เสมอแม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิง
คำแนะนำในการตรวจมะเร็งปากมดลูก
อายุ 60 – 64 ปีควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี
อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจได้ตามความเหมาะสม
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว รวมถึงเกล็ดเลือด เพื่อวิเคราะห์สุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเรื่องของโรคโลหิตจาง การติดเชื้อในกระแสเลือด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
คำแนะนำในการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
อายุ 70 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจทุกปี
ตรวจระดับไขมันในเลือด
การตรวจระดับไขมันในเลือด เป็นการตรวจเพื่อวัดระดับไขมันในเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติหรือไม่ เพื่อทำการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และมีการวางแผนวิธีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม หากมีค่าระดับไขมันในเส้นเลือดมากกว่าปกติ
คำแนะนำในการตรวจระดับไขมันในเลือด
ผู้สูงอายุควรตรวจทุก ๆ 5 ปี
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการตรวจสุขภาพในวัยสูงอายุเพียงเท่านั้น ในการเข้ารับการตรวจจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของแผนการตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและแพ็คเกจต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป เราสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพรอบด้านที่ดีแม้เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุนั่นเอง
เช็คลิสต์เบื้องต้น คุณกำลังมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคร้ายอยู่หรือเปล่า?
เช็คลิสต์เบื้องต้น คุณกำลังมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคร้ายอยู่หรือเปล่า? | |
ทานอาหารหวาน มัน เค็ม และของทอดมากเกินไป | |
มีพฤติกรรมนอนดึก นอนเช้า หรือนอนน้อย | |
ตนเองหรือคนใกล้ตัวสูบบุหรี่ | |
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่เสมอ | |
ใช้สารเสพติด | |
มีภาวะความเครียดเป็นประจำ | |
ขาดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม |
หากคุณกำลังมีพฤติกรรมเหล่านี้ ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเริ่มดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างถูกวิธี ผ่านการติดตามบทความ Health จาก hhc Thailand ที่รวบรวมทุกสาระสุขภาพและเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคร้าย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ทั้งกับตัวคุณเองและคนรอบข้างในสังคม
สุขภาพแข็งแรง บอกลาโรคร้าย ในทุกช่วงวัย กับ hhc Thailand
เพราะการปราศจากโรคภัย คือพื้นฐานของความสุขในชีวิต’
รวมวิธีดูแลสุขภาพในทุกช่วงวัย ทั้งวิธีดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคร้าย การรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมถึงเคล็ดลับที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้าง ให้คุณได้รู้ถึงวิธีการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและมีความสุขในทุกช่วงเวลาของการดำเนินชีวิต
ดูแลสุขภาพของตัวเองและส่งต่อความห่วงใยให้คนรอบข้าง
‘เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เคย’
ผ่านบทความ Health จาก hhc Thailand
————————————–