CARE

บทความเพื่อการดูแลตัวเองและคนรอบข้าง​

แหล่งรวมเคล็ดลับดีๆที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อให้การดำเนินชีวิตประจำวันของคุณสะดวกและง่ายดายกว่าเดิม รวมถึงเรื่องราวที่ช่วยคุณสามารถแบ่งปันสิ่งดีๆให้แก่คนรอบข้างและสังคม เพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่กว่าเดิม
Care / Social Care

ทำบุญอย่างไรไม่ให้กลายเป็นบาป

175
Care / Self Care

6 แอปพลิเคชันที่ผู้สูงวัยควรมีติดมือถือ

670
Care / Social Care

4 แบรนด์สินค้าสายกรีนที่จัดว่าเก๋ เท่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

239
Care / Self Care

ถอดแรงบันดาลใจจาก ‘YOLO’ หนังจีนสุดปังที่โด่งดังไปทั่วโลก

360
Care / Social Care

5 สิ่งที่มือใหม่หัดกรีนควรพกติดตัวไว้

694
Care / Self Care

5 โรคภัยที่ต้องระวังเมื่อเกิดน้ำท่วม

829
Care / Social Care

‘มารยาทบนโลกออนไลน์’ ที่ชาวเน็ตควรรู้และควรทำ

1,660
Care / Social Care

Bye Bye Plastic Bags สองสาวน้อยปลุกพลังเปลี่ยนโลก ลดขยะพลาสติก

436
[xxxajax_load_more post_type="post" posts_per_page="8" category="care" offset="8" transition="none"]

ดูแลตัวเองและสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ ได้ที่นี่

hhc Thailand

…แหล่งรวมเรื่องราว เคล็ดลับ และไอเดียที่น่าสนใจในทุกรูปแบบ…

การเริ่มต้นดูแลตัวเองและคนรอบข้างเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่เราจะได้พัฒนาตัวเองไปสู่ความสุขที่แท้จริงในชีวิต โดยเริ่มต้นจากการดูแลตัวของเราเอง ด้วยการมองหาเคล็ดลับเพื่อการดำเนินชีวิต ไอเดียเพื่อการพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ และไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจเพื่อการใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้น จากนั้นจึงส่งมอบความห่วงใยด้วยการดูแลคนในครอบครัว แล้วจึงแบ่งปันความสุขไปสู่ผู้คนในสังคมผ่านเรื่องราวดี ๆ ที่ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของเรานั่นเอง โดยวิธีดูแลตัวเองและคนรอบข้างเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีความสุขนั้น ได้แก่

การดูแลตัวเอง

การเริ่มต้นดูแลตัวเองให้มีความสุขอย่างยั่งยืน คือการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานทั้งทางกาย ใจ และสติปัญญา ควบคู่ไปกับการพัฒนาวิถีการดำเนินชีวิต รวมถึงให้ความสำคัญกับการรักษาความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างอยู่เสมอ ซึ่งเราได้รวบรวมวิธีการดูแลตัวเองในรูปแบบต่าง ๆ มาให้ทุกคน ดังนี้

การดูแลสุขภาพกาย 

การดูแลสุขภาพกายเป็นพื้นฐานสำคัญในการเริ่มต้นดูแลตัวเองเพื่อให้เรามีร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีภูมิคุ้มกันที่ดีที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ในชีวิต นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการดูแลรูปร่างและผิวพรรณของตนเอง รวมถึงการระมัดระวังและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางด้านร่างกาย 
วิธีการดูแลสุขภาพกายเริ่มต้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงให้เกิดอันตราย และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ดังนี้

1. การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพกายที่ดี

หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าร่างกายของเราจำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย แต่ก่อนที่เราจะไปเริ่มต้นดูแลตัวเองด้วยการเลือกรับประทานอาหารประเภทต่าง ๆ เราจะต้องรู้ถึงหลักปฏิบัติในการรับประทานอาหารที่ดีเสียก่อน ว่าการรับประทานอาหารแบบไหนที่ดีและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ข้อปฏิบัติที่ควรรู้ในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพกายที่ดี

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยมีความหลากหลายในแต่ละมื้อ 
  2. ทานผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูงเป็นประจำ
  3. เลือกทานปลา ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง และเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันเป็นหลัก
  4. เลือกทานอาหารที่สะอาดและปราศจากการปนเปื้อน 
  5. อย่าละเลยการรับประทานอาหารมื้อเช้า
  6. เลือกทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันดอกทานตะวัน
  7. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว 
  8. หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง
  9. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และอาหารมัน
  10. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์หรือไขมันอิ่มตัว
  11. หลีกเลี่ยงการทานขนมจุกจิกระหว่างวัน 
  12. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

นอกจากนี้เรายังสามารถทำอาหารรับประทานเอง เพื่อเลือกสรรวัตถุดิบที่มีประโยชน์ให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในแต่ละมื้อ รวมถึงเพื่อให้เราสามารถควบคุมปริมาณของเครื่องปรุงและเลือกใช้น้ำมันได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

2. การออกกำลังเพื่อสุขภาพกายที่ดี

วิธีดูแลตัวเองให้มีสุขภาพกายที่ดี ที่สำคัญไม่แพ้การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการนั้น คือการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ระบบการไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี ป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายและการควบคุมน้ำหนัก รวมถึงช่วยผ่อนคลายความเครียดได้อีกด้วย โดยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายอย่างถูกวิธี มีดังนี้

วอร์มอัพหรือเตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกายเสมอ

เพื่อให้ร่างกายไม่เกิดอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ควรทำการวอร์มอัพหรืออบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะหากการออกกำลังกายในครั้งนั้นเป็นการออกกำลังกายที่มีการใช้กล้ามเนื้อจากการเคลื่อนไหวเร็ว ๆ การวอร์มอัพจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในกล้ามเนื้อรวมถึงข้อต่อต่าง ๆ ให้พร้อมต่อการออกกำลังกายนั่นเอง

การวอร์มอัพก่อนออกกำลังกายเพื่อดูแลตัวเองและลดความเสี่ยงของการเกิดอาการบาดเจ็บของร่างกายนั้นจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5-10 นาทีก่อนเริ่มออกกำลังกาย โดยมีวิธีที่หลากหลายและแตกต่างกันไปตามรูปแบบของการออกกำลังกายและชนิดของกีฬา 

ตัวอย่างการวอร์มอัพของกีฬาแต่ละชนิด

กีฬา / การออกกำลังกาย

ตัวอย่างการวอร์มอัพ

แบตมินตัน

เน้นการยืดลำตัว วอร์มข้อมือ วงสวิงแขน และหัวไหล่ 

ว่ายน้ำ

เน้นการยืดกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง

บาสเกตบอล

เน้นการยืดลำตัว กล้ามเนื้อไหล่ กล้ามเนื้อแขน กล้ามขาทุกส่วน และวิ่งเพื่ออบอุ่นร่างกาย

ฟุตบอล

เน้นการยืดกล้ามเนื้อขาทุกส่วน และวิ่งเพื่ออบอุ่นร่างกาย

ออกกำลังกายในช่วงเวลาที่เหมาะสม

การดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายนั้นจะต้องไม่หักโหมจนเกินไป และเลือกช่วงเวลาในการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม โดยมีหลักเกณฑ์ทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้

  1. ควรออกกำลังกายเมื่อร่างกายมีความพร้อม โดยห่างจากมื้ออาหารเบา ๆ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง และควรห่างจากมื้ออาหารที่หนักประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง
  2. ระยะเวลาในการออกกำลังกายควรอยู่ที่ประมาณ 15 – 30 นาที ต่อวัน และหากต้องการเผาผลาญไขมันควรออกกำลังกายเป็นเวลา 30 นาทีขึ้นไปต่อรอบ
  3. ควรแบ่งเวลาพักในระหว่างการออกกำลังกายเป็นช่วง ๆ ประมาณ 3 – 5 นาที 
เลือกประเภทของการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย

ในช่วงวัยต่าง ๆ ล้วนมีพัฒนาการและประสิทธิภาพการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี จึงควรเลือกประเภทของการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเรา เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะในแต่ละด้าน รวมถึงไม่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม  โดยตัวอย่างของงการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับช่วงวัยนั้น มีดังนี้

การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยเด็ก

เน้นการออกกำลังกายที่มีความสนุกสนาน มีการเคลื่อนไหวร่างกาย และได้ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วน เช่น

  • ฟุตบอล
  • บาสเกตบอล
  • แบตมินตัน
  • ว่ายน้ำ
  • เทนนิส
การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยรุ่น

เน้นการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและสร้างกล้ามเนื้อให้กับร่างกาย เช่น 

  • กีฬาทุกรูปแบบ เช่น ฟุตบอล แบตมินตัน บาสเกตบอล 
  • ฟิตเนสที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยกลางคน

เน้นการออกกำลังกายที่ไม่หนักเกินไป รวมถึงช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย เพื่อให้สามารถดูแลตัวเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น

  • ปั่นจักรยาน
  • วิ่งจ๊อกกิ้ง
  • โยคะ 
  • พีลาทิศ
  • Body weight เบา ๆ
การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยสูงอายุ

เน้นวิธีดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ ไม่หักโหม เป็นท่าทางการเคลื่อนไหวง่าย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บ เช่น

  • เดินออกกำลังกาย
  • เต้นรำ รำไทเก็ก
  • ยืด เหยียดกล้ามเนื้อ
  • ทำท่ากายบริหารง่าย ๆ 
สวมใส่เสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการออกกำลังกาย

การเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมในการออกกำลังกาย ช่วยให้เราออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย มีความสบาย และสามารถออกกำลังกายได้ยาวนานมากขึ้น เช่น

  • การวิ่ง : ควรเลือกชุดออกกำลังกายที่ระบายความร้อนได้ดี แห้งไว ไม่อมเหงื่อ
  • การเล่นฟิตเนสที่มีแรงกระแทกสูง เช่น ต่อยมวย : ควรเลือกเป็นชุดที่มีความกระชับ ช่วยพยุงกล้ามเนื้อ มีความบางเบา ระบายอากาศได้ดี
  • การเล่นเวทเทรนนิ่งเบา ๆ :  ควรเลือกเป็นชุดที่มีความกระชับปานกลาง และสามารถเลือกสวมใส่ชุดทั่วไปในชีวิตประจำวันได้เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวน้อย
  • การเล่นโยคะ พิลาทีส : ควรเลือกชุดออกกำลังกายที่มีความยืดหยุ่นสูง มีความกระชับ และพอดีตัว เพื่อให้สามารถยืดเหยียดกล้ามเนื้อและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่

และหากเป็นกีฬาหรือการออกกำลังกายที่อาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย ควรดูแลตัวเองด้วยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตามคำแนะนำทุกครั้ง เช่น การเล่นสเก็ตบอร์ด การปีนผา การโดดร่ม เป็นต้น

คูลดาวน์หลังออกกำลังกายเสมอ

หลังจากออกกำลังกายเราควรดูแลตัวเองด้วยการคูลดาวน์ช้า ๆ อย่าหยุดออกกำลังกายในทันทีเนื่องจากอาจส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน จนเกิดอาการหน้ามืด เป็นลมได้ วิธีการคูลดาวน์คือการค่อย ๆ ลดระดับความหนักของการออกกำลังกายลงประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้ชีพจรค่อย ๆ กลับมาอยู่ในระดับที่ปกตินั่นเอง

นอกจากนี้หากเรามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างออกกำลังกาย เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็วจนหายใจไม่ทัน เหนื่อยจนไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้ มีอาการหน้ามืดและเป็นลม ควรค่อย ๆ ทำการหยุดพักเพื่อลดอาการและหากมีอาการรุนแรงให้เข้าพบแพทย์ทันที

3. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

วิธีดูแลตัวเองให้มีสุขภาพกายที่ดี ครอบคลุมถึงการระมัดระวังและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางด้านร่างกาย  อันได้แก่ 

  •  การขับรถโดยประมาท 
  •  การทะเลาะวิวาท
  •  การจับสิ่งของร้อนโดยไม่ระมัดระวัง
  •  การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  •  การใช้สิ่งของมีคมโดยไม่ระมัดระวัง เป็นต้น

การดูแลสุขภาพจิตใจและอารมณ์ 

การดูแลสุขภาพจิตใจและอารมณ์เป็นการดูแลตัวเองที่สำคัญ เพื่อการมีสุขภาพกายและใจที่สมดุล โดยการฝึกฝนจิตใจให้รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง เพื่อรับมือและจัดการกับสภาวะอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ให้อารมณ์มาควบคุมความคิดและการกระทำของเรา หรือที่เรียกว่าการมีวุฒิภาวะทางอารมณ์นั่นเอง

วิธีการดูแลสุขภาพจิตใจและอารมณ์ 
  • ทำกิจกรรมเพื่อความผ่อนคลาย เช่น วาดภาพ ปลูกต้นไม้ 
  • ยอมรับ และไม่ปิดกั้นความรู้สึกของตนเอง  
  • ดูแลตัวเองด้วยการฝึกสมาธิอยู่เสมอ
  • หาผู้รับฟังที่ดี ในการรับฟังและให้คำปรึกษา
  • ลดการเล่นโซเชียลมีเดีย
  • ไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
ผลลัพธ์ของการดูแลสุขภาพจิตใจและอารมณ์
  • ทำให้เรามีจิตใจที่แจ่มใจ มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่บวก 
  • ทำให้เราสามารถรับมือกับความเครียดและความวิตกกังวลได้
  • ทำให้เราสามารถปรับตัวเพื่อผ่านพ้นปัญหาต่าง ๆ ได้
  • ทำให้เราเป็นที่รักของคนรอบข้างและคนในสังคม

การดูแลสติปัญญา 

การดูแลตัวเองด้านสติปัญญา คือการไม่หยุดที่จะเรียนรู้ หมั่นพัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอยู่เสมอ เพื่อทำให้เรามีความรู้รอบด้านและมีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย พร้อมแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 

โดยตัวอย่างของวิธีดูแลตัวเองด้านสติปัญญามีดังนี้

เลือกเรียนคอร์สออนไลน์ที่สนใจ

ในปัจจุบันมีคอร์สเรียนมากมายให้ทุกคนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะคอร์สเรียนออนไลน์ที่เราสามารถเรียนรู้ได้ในทุกที่และทุกเวลา เป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับตนเอง อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในการดำเนินชีวิตได้อีกด้วย

ค้นหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

เราสามารถดูแลตัวเองด้านสติปัญญาได้ด้วยการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ ที่น่าเชื่อถือในโลกออนไลน์ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และพัฒนาสมองของเรา เนื่องจากในปัจจุบันทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายขึ้นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากมาย การค้นหาและเลือกรับข้อมูลที่น่าเชื่อถือจะช่วยเพิ่มพูนความรู้รอบตัวให้กับเราได้นั่นเอง

อ่านหนังสือที่ตนเองชื่นชอบ

การอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาสมองได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากเราจะได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากเนื้อหาภายในหนังสือเล่มนั้นแล้ว เรายังได้เรียนรู้แนวคิด ประสบการณ์ และมุมมองใหม่ ๆ ในการดำเนินชีวิตจากผู้เขียน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการพัฒนาสมองที่มีประสิทธิภาพและยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจดี ๆ ให้กับเราได้เป็นอย่างดี

เล่นเกมเพื่อพัฒนาสมอง

มีผลวิจัยออกมาว่าการเล่นเกมมีส่วนช่วยในการพัฒนากระบวนการทำงานของสมอง เพิ่มการรับรู้ เพิ่มปฏิกิริยาตอบสนองให้มีความรวดเร็ว และช่วยให้เรามีความสามารถในการตัดสินใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยฟื้นฟูอาการความจำเสื่อมที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้อีกด้วย ซึ่งเกมที่มักถูกนำมาใช้ในการดูแลตัวเองด้านสติปัญญาเพื่อพัฒนาสมอง ได้แก่ เกมแนว Puzzle ,  Sudoku , Tetris เป็นต้น

ค้นหาไอเดียใหม่ ๆ รอบตัว

การค้นหาไอเดียใหม่ ๆ รอบตัวเป็นหนึ่งในวิธีดูแลตัวเองที่จะช่วยพัฒนาสมองซีกขวาซึ่งช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการให้เราได้เป็นอย่างดี โดยไอเดียใหม่ ๆ นั้นเกิดขึ้นได้ทุกที่รอบตัวเรา เราสามารถค้นหาไอเดียผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ , สังเกตสิ่งรอบตัวให้มากขึ้น , สร้างคำถามและหาคำตอบจากสิ่งรอบตัว , ออกเดินทางไปยังสถานที่ใหม่ ๆ หรือพบปะผู้คนต่างเพศ ต่างวัย ต่างแนวคิด เพื่อค้นหาไอเดียอยู่เสมอ

การดูแลความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง 

การดูแลตัวเองในด้านของการรักษาความสัมพันธ์นั้น เป็นหนึ่งในวิธีดูแลตัวเองเพื่อสร้างเสริมการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันและมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง การรักษาสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นจึงเป็นสิ่งที่เราพึงกระทำเพื่อความสุขที่แท้จริงในการดำเนินชีวิต 

นอกจากนี้การที่เรามีความสัมพันธ์ทางบวกกับคนรอบข้างยังส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดียิ่งขึ้น จากการได้รับความรัก ได้รับความช่วยเหลือ และมีคนคอยซัพพอร์ตให้กำลังใจเมื่อเราพบกับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ซึ่งแนวทางการดูแลความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างมีวิธีมากมาย เช่น

  • ดูแลและใส่ใจคนรอบข้างให้มากยิ่งขึ้น
  • หมั่นช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม
  • นัดพบปะเพื่อนหรือคนสนิทเมื่อมีโอกาส
  • มอบความจริงใจให้ผู้คนรอบข้างอยู่เสมอ
  • ให้เวลากับคนใกล้ชิดหรือคนสนิท โดยการหากิจกรรมทำร่วมกัน
  • เคารพในความคิดของผู้อื่น
  • เป็นผู้ฟังที่ดีเมื่อผู้อื่นพบกับปัญหา
  • หาแนวทางการรับมือและปรับความเข้าใจเมื่อไม่ลงรอยกัน
  • ใช้โซเชียลมิเดียพูดคุย เพิ่มความสัมพันธ์
  • คิดก่อนพูดกับผู้อื่นอยู่เสมอ

การดูแลพัฒนาวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง 

เพื่อให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เราควรดูแลตัวเองและพัฒนาวิถีการดำเนินชีวิตของตนเองอยู่เสมอ เนื่องจากในโลกนี้ยังมีเรื่องราว เคล็ดลับ และสิ่งต่าง ๆ อีกมากมายให้เราได้ค้นพบและนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งการพัฒนาวิถีการดำเนินชีวิตของตนเองสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

  • จดบันทึกรายรับ-รายจ่ายและดูแลบัญชีของตนเองอยู่เสมอ
  • จัดบ้านและจัดห้อง ให้มีระเบียบ สวยงาม น่าอยู่อาศัย
  • ลองทำอะไรใหม่ ๆ เช่น การทำอาหารที่มีประโยชน์เพื่อรับประทานเอง 
  • รู้จักเลือกใช้วิธีการและแนวคิดที่หลากหลายในการแก้ไขปัญหาหมั่นหาเคล็ดลับและไอเดียใหม่ ๆ ในการทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต
  • มองหาไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์เพื่อการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

การดูแลผู้คนรอบข้าง 

เราสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่มากขึ้นได้ ด้วยการใส่ใจและดูแลผู้คนรอบข้างให้มากยิ่งขึ้น โดยเริ่มต้นจากการดูแลตัวเอง ใส่ใจคนในครอบครัว และส่งต่อความสุขถึงคนในสังคม ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ 

ดูแลและใส่ใจคนในครอบครัว

เมื่อเราสามารถดูแลตัวเองให้มีความสมดุลในทุก ๆ ด้านแล้ว เพื่อความสุขใจชีวิตเราควรให้ความสำคัญกับการดูแลและใส่ใจคนในครอบครัวของตนเอง เพราะเมื่อครอบครัวมีความรัก มีความอบอุ่น รวมถึงมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จะส่งเสริมให้ทุกคนในครอบครัวมีสุขภาพจิตที่แข็งแรงและมีทัศนคติในการดำเนินชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งเคล็ดลับในการดูแลและใส่ใจคนในครอบครัวที่เรานำมาแบ่งปันในวันนี้ ได้แก่

หมั่นแสดงความรักและความห่วงใยต่อกัน

เราควรเริ่มต้นดูแลและใส่ใจคนในครอบครัวโดยการแสดงออกถึงความรักและความห่วงใยที่มีต่อกันด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

  • ยิ้มแย้มแจ่มใสเมื่อเจอหน้ากัน
  • กอดแสดงความรักเมื่อมีโอกาส
  • พูดคุยและให้กำลังใจกัน
  • แสดงความเป็นห่วงอย่างจริงใจอยู่เสมอ
  • กล่าวคำชมและคำยินดีให้แก่กัน
  • มอบของขวัญแทนความรู้สึก
  • แบ่งปันเคล็ดลับในการดูแลตัวเองให้แก่กัน
ใช้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกัน

ความเข้าใจเป็นปัจจัยสำคัญในการอยู่ร่วมกันกับทุกคนในครอบครัวอย่างมีความสุข เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของทุกคนในครอบครัว โดยเราสามารถดูแลตัวเองเพื่ออยู่ร่วมกับคนในครอบครัวด้วยการปรับความคิดต่าง ๆ ดังนี้

  • พูดคุยกันด้วยเหตุผล ยอมรับเหตุผลซึ่งกันและกัน
  • เปิดใจรับฟังกันให้มากยิ่งขึ้น
  • มองให้เห็นถึงข้อดีของความแตกต่างทางความคิด 
  • วิเคราะห์ความคิดที่แตกต่างและยอมรับในข้อสรุปร่วมกัน
  • ลดการใช้อารมณ์ในการพูดคุยและตัดสินใจในการดำเนินชีวิต
  • รู้จักและเข้าใจในจุดแข็ง-จุดอ่อนของคนในครอบครัว
  • ยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคล
ใช้เวลาร่วมกันในช่วงวันหยุดหรือเมื่อมีโอกาส

เพื่อเป็นการดูแลคนในครอบครัวให้มีความสุข อย่าละเลยที่จะให้ความสำคัญและแบ่งเวลาให้กับครอบครัวอยู่เสมอ ด้วยการเลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้คนในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข เพื่อเปิดโอกาสให้คนในครอบครัวได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด มอบความรักและแสดงความห่วงใยที่มีต่อกันในช่วงเวลาแห่งความสุขนี้

ตัวอย่างกิจกรรมสำหรับใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว
  • รับประทานอาหาร
  • เล่นกีฬา
  • ทำอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ดูภาพยนตร์

ดูแลและใส่ใจคนในสังคม

เมื่อเราสามารถดูแลตัวเองรวมถึงดูแลคนในครอบครัวให้มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว เราควรส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับผู้คนในสังคม เพื่อสร้างเสริมสังคมที่มีความสุขให้เกิดขึ้น และเป็นสังคมที่ปราศจากความขัดแย้ง ซึ่งเราสามารถดูแลและใส่ใจคนในสังคมได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • เคารพและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม 
  • ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เคารพสิทธิ และเสรีภาพทางความคิดที่แตกต่าง
  • มีมารยาททางสังคม 
  • รู้จักการประนีประนอม พูดคุยกันด้วยเหตุผล และความเข้าใจ
  • มีน้ำใจไมตรีต่อผู้อื่นในสังคม 
  • แบ่งปันแนวคิด ไอเดีย และเรื่องราวดี ๆ ให้กับผู้อื่นในสังคม
  • สังเกตความผิดปกติของคนรอบข้างและพร้อมช่วยเหลืออย่างจริงใจ

เพียงเท่านี้เราก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้นดูแลสังคมให้น่าอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น

การที่เรามีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี มีความสุขกับการดำเนินชีวิตในสังคม และมีทัศนคติที่ดีในทุก ๆ วัน เรียกได้ว่าเป็น “ของขวัญที่ดีที่สุด” ของชีวิตของเรา
หากเรามีร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีความพิการและสามารถใช้งานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว บวกกับมีจิตใจที่เป็นสุข มีสุขภาพจิตที่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้นั้น จะทำให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างเต็มที่และมีคุณภาพ ทั้งนี้เรายังสามารถช่วยเหลือและสร้างสรรค์สังคมได้ ด้วยการแบ่งปันแนวคิด และความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้กับผู้อื่นในสังคมได้อีกด้วย

“สุขภาพดี คุณภาพชีวิตดี สังคมน่าอยู่”

เมื่อเราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเต็มที่ มีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ จะช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี และส่งเสริมให้สังคมน่าอยู่มากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อทุกคนในสังคมมีสุขภาพแข็งแรง มีจิตใจที่ดีและเข้มแข็ง คนในสังคมก็จะมีทัศนคติที่ดี อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ไม่เบียดเบียนกัน พร้อมส่งเสริมและเป็นกำลังใจให้กันอยู่เสมอ เราขอสนับสนุนให้ทุกคนหันมาดูแลตัวเองและคนรอบข้าง ให้มีสุขภาพดีรอบด้าน มีคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีขึ้น เพื่อให้ทุกคนได้มีความสุขอย่างแท้จริง

ผลลัพธ์จากการมีสุขภาพที่ดี

การมีสุขภาพแข็งแรงนั้น ช่วยส่งเสริมให้เรามีความสุขในการดำเนินชีวิต เมื่อเราดูแลตัวเองทั้งกายและใจ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความรู้เพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างสติปัญญาอยู่เสมอ จะส่งผลให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

มีอายุที่ยืนยาว

การมีสุขภาพที่ดี ช่วยให้มีอายุยืนยาวมากยิ่งขึ้น จากการดูแลตัวเอง รับประทานอาหารที่ดี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายหรืออาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ การจัดการกับสภาวะอารมณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการเข้าสังคม พบปะเพื่อนฝูง ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้เราผ่อนคลาย ลดความเครียด ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายและช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของเราทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยให้เรามีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ เพื่อให้ทุกคนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น เราทุกคนสามารถสร้างสรรค์สังคมน่าอยู่ได้ โดยการแบ่งปันความรู้และความห่วงใยให้คนที่รัก รวมทั้งคนรอบข้าง ให้พวกเขาได้มีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุที่ยืนยาวได้เช่นเดียวกัน ผ่านการรับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากทาง hhc Thailand แล้วนำไปแบ่งปันหรือใช้ดูแลคนรอบข้าง ให้พวกเขามีสุขภาพดีรอบด้านและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขในทุก ๆ วัน

มีบุคลิกภาพที่ดีจากภายในสู่ภายนอก

การที่เรามีสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้เรามีบุคลิกภาพที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ผ่านการแสดงออกด้วยท่าทางที่เป็นมิตร มีความสดใส และมั่นใจในการสื่อสาร พร้อมพูดคุยกับคนรอบข้างด้วยอารมณ์เชิงบวก ในทุกสถานการณ์ ถือเป็นสิ่งดีที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพด้านมนุษยสัมพันธ์ของเรา อีกทั้งเป็นแรงดึงดูดให้ผู้คนอยากเข้ามาทำความรู้จักกับคุณมากขึ้นและอยากทำงานด้วยเพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ตัวเรา อย่างที่ทุกคนทราบบุคลิกภาพที่ดีอาจมาจากการฝึกฝนหรือจากการเข้าคอร์สเรียนได้ แต่การหันมาดูแลตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจที่ดีอยู่เสมอนั้นมีส่วนช่วยเรื่องนี้ไปมากกว่า 70% แล้ว

ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพ

การมีสุขภาพดีทั้งกายและใจนอกจากจะช่วยให้มีอายุยืนยาว และส่งเสริมเรื่องบุคลิกภาพที่ดีแล้ว ยัง
ช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพได้เป็นจำนวนมาก จากการไม่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อย ๆ แน่นอนว่าการเริ่มต้นดูแลตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการสร้างกลไกทางสุขภาพทั้งกายและใจให้แข็งแรง ผ่านวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่ดี การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคและอาการบาดเจ็บ รวมถึงการฝึกทำสมาธิอยู่เสมอ เป็นต้น

ซึ่งวิธีเหล่านี้เรียกได้ว่าไม่มีต้นทุนหรือมีต้นทุนที่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการที่เราไม่ดูแลตัวเอง แล้วต้องมาเสียค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจในภายหลัง เนื่องจากในการรักษาสุขภาพแต่ละครั้งก็มีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปทั้ง ค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงค่านอนโรงพยาบาลหากป่วยเรื้อรัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามเราควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีตามช่วงวัยต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เราได้รู้ทันถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นและสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดโรคร้าย ทำให้เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการเข้า-ออกโรงพยาบาลบ่อย ๆ นั่นเอง

นอกเหนือจากเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพแล้ว หากเราต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย ๆ ยังส่งผลกระทบในเรื่องของเวลา และเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติอีกด้วย ดังนั้น เราควรเริ่มต้นดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ศึกษาและติดตามข่าวสารความรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อดูแลตัวเองและคนรอบข้างให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีอยู่เสมอ

สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

การมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี มีพลังบวก มีทัศคติที่ดีอยู่เสมอ จะช่วยผลักดันให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และมีความสุข โดยไม่ต้องกังวลเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จากการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามช่วงวัย

ในทางกลับกันหากเรามีร่างกายที่อ่อนแอ มีโรคร้ายต่าง ๆ หรือมีสภาพจิตใจที่อยู่ในด้านลบ อาจทำให้เราไม่สามารถดำเนินชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการหรือใฝ่ฝันได้ ตัวอย่างเช่น หากเราเจ็บป่วยทางร่างกาย เป็นโรคร้าย หรือมีอาการบาดเจ็บ อาจทำให้เราสูญเสียโอกาสในการทำงานที่เราใฝ่ฝันอยากทำ เป็นต้น

เป็นที่รักของผู้คนรอบข้างและคนในสังคม

หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัย การมีสุขภาพดีและแข็งแรงจะช่วยให้เราเป็นที่รักของสังคมได้อย่างไร ทาง hhc Thailand ของเรามีคำตอบ

เมื่อเรามีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจนอกจากจะทำให้เรามีอายุที่ยืนยาว มีบุคลิกภาพที่ดี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหากเจ็บป่วย และทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่แล้ว ยังทำให้เราเป็นที่รักของคนรอบข้างและคนในสังคมได้อีกด้วย

… “เพราะทุกสิ่งทุกอย่างของการดำเนินชีวิตล้วนมีความเกี่ยวข้องกัน”..

เมื่อเราสามารถดูแลตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรง มีร่างกายที่สมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการดูแลและฝึกฝนจิตใจให้มีความแจ่มใส มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่บวก มีแนวคิดต่าง ๆ ที่เป็นไปในทางที่ดี รวมถึงการฝึกฝนสติปัญญาและพัฒนาสมองอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุดการแสดงออกของเราก็จะได้รับแรงสนับสนุนจากทัศนคติเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำ การวางตัว การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หรือการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดีเสมอ

แล้วจะดีกว่าไหม? ถ้าเรามีสุขภาพแข็งแรง ทั้งด้านสุขภาพร่างกายที่ดี และสุขภาพทางจิตใจที่ดี มีพลังบวก พร้อมปรับตัวรับมือกับทุกปัญหาในชีวิต

hhc Thailand พร้อมเปิดโอกาสให้คนที่รักสุขภาพและผู้ที่กำลังมองหาไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เคย มาเริ่มต้นดูแลตัวเองด้วยการติดตามบทความความรู้ทั้ง “Human Health และ Care” เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีรอบด้าน ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเต็มที่ ปลอดภัย ห่างไกลโรคร้าย และมีความสุขด้วยแนวคิดและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตนเอง

หลาย ๆ คนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า ‘สุขภาพ’ มาจากคำว่า สุข และ ภาวะ ซึ่งก็คือภาวะที่เรามีความสุข ดังนั้นหากเราต้องการที่จะมีสุขภาพดีก็หมายถึง เราควรมีความสุขในทุก ๆ ด้านในการดำเนินชีวิต ทั้งการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี มีการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมที่ดี รวมถึงการมีสติปัญญาที่ดี พร้อมปรับตัวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิต 

เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทั้ง “กาย ใจ สังคม และปัญญา” ล้วนมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันเพื่อก่อให้เกิดความสุขในชีวิต หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นการดำเนินชีวิตที่อยู่ในภาวะที่เรามีความสุขได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่พวกเราควรดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา

การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีทั้ง 4 มิติ

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผู้คนในสังคมทั้งเพศหญิงและเพศชายจะมีการหันมารักและใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น แต่หลาย ๆ คนมักเข้าใจว่าการมีสุขภาพที่ดีนั้น คือการมีร่างกายที่แข็งแรง น้ำหนักไม่เกินเกณฑ์ เพียงแค่ทานอาหารคลีน ๆ ออกกำลังกายบ่อย ๆ ก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้ แต่รู้หรือไม่ว่านั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพเท่านั้น!
..แล้วถ้าเราต้องการมีสุขภาพดีรอบด้าน เพื่อสร้างเสริมภาวะที่เรามีความสุขที่แท้จริง ต้องทำอย่างไร ?
การที่เราจะมีสุขภาพแข็งแรงหรือมีสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริงจะต้องคำนึงถึงการสร้างเสริมสุขภาวะให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านด้วยกัน นั่นก็คือการดูแลสุขภาพ “กาย ใจ สังคม และปัญญา” ซึ่งเราต้องดูแลและพัฒนาทั้ง 4 ด้านนี้อย่างสมดุล จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ เพราะหากเรามีร่างกายที่แข็งแรง แต่มีความเครียดสะสม มีความทุกข์ในจิตใจ หรือมีคุณภาพชีวิตในสังคมที่ไม่ดี ไม่สามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้ ก็ไม่อาจทำให้เรามีความสุขในการดำเนินชีวิตได้นั่นเอง
ความหมายและแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะเบื้องต้นเพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดีทั้ง 4 มิติ ‘กาย ใจ สังคม และปัญญา’ อย่างสมดุลนั้น มีดังนี้

กาย
✔ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

✔ ไม่มีอาการบาดเจ็บทางร่างกาย
✔ ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ
✔ มีภูมิคุ้มกันที่ดี
✔ มีร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างแข็งแรง สมวัย
✔ มีผิวพรรณที่ดีและน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

เริ่มต้นที่สุขภาพกาย การจะมีสุขภาพดีได้นั้น เราจำเป็นต้องมีการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและภูมิคุ้มกัน เพื่อส่งเสริมให้เรามีร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆเช่น โรคทางระบบสมอง โรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อ โรคระบบทางเดินอาหาร หรือแม้แต่โรคมะเร็ง เป็นต้น รวมถึงมีพัฒนาการทางร่างกายที่สมวัย อวัยวะทุกส่วนของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยสุขภาพทางด้านร่างกายนั้น ครอบคลุมทั้งเรื่องของการเกิดโรคภัยต่าง ๆ การดูแลรูปร่างให้มีความสมส่วน น้ำหนักไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน มีผิวพรรณที่แข็งแรง สดใส รวมไปจนถึงการระมัดระวังและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ทางด้านร่างกายนั่นเอง

ผู้ที่มีสุขภาพทางกายที่ดีนั้น ต้องดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและการเกิดอุบัติเหตุ จัดสมดุลของการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อความแข็งแรงของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ใจ

✔ มีจิตใจที่แจ่มใส
✔ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
✔ มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่บวก
✔ มีแนวคิดและแนวทางการดำเนินชีวิตที่ดี
✔ รับมือกับความเครียดและความวิตกกังวลได้ดี
✔ ปรับตัวและผ่านพ้นปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

เมื่อร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว เราจะต้องดูแลสุขภาพใจควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เรามีสภาพจิตใจที่ปกติ ไม่มีภาวะทางจิตใจที่อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล หรือภาวะทางจิตต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่มีการรับมืออย่างถูกต้อง

ซึ่งผู้ที่มีสุขภาพทางใจที่ดีนั้น มักมีจิตใจที่แจ่มใส มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่บวก มีแนวคิดต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตที่เป็นไปในทางที่ดี เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยการดูแลจิตใจให้มีสุขภาพที่ดีนั้น จะต้องมีการฝึกฝนจิตใจในมุมบวก ทำกิจกรรมเพื่อลดความเครียดและเพิ่มความผ่อนคลาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงการหาแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ

สังคม

✔ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
✔ มีคุณภาพชีวิตที่ดีในการดำเนินชีวิตในสังคม
✔ เข้าใจตนเองและผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี
✔ มีส่วนช่วยในการสร้างเสริมสังคมที่ดี
✔ ใส่ใจคนรอบข้างและช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นในสังคม

นอกจากการดูแลสุขภาพกายและใจให้สมบูรณ์แล้ว การมีสุขภาพดีรอบด้านก็เป็นสิ่งสำคัญ เราควรนำพาตัวเองไปอาศัยอยู่ในสังคมที่ดีเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตด้วยความปกติสุข สังคมที่ดีในที่นี้หมายถึงการที่คนในสังคม หรือชุมชนรู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คนที่อาศัยในสังคมนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม
การจะมีสังคมที่ดีนั้นไม่ใช่เพียงทัศนคติการดำเนินชีวิตเฉพาะของตัวเราเท่านั้น เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องเกื้อกูลกัน ทำให้ต้องมีความร่วมมือกันจากผู้คนรอบข้างและคนในสังคม ที่ต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเอง โดยการเริ่มจากการใส่ใจคนรอบข้างให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทุกคนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

ปัญญา

✔ สามารถแยกแยะสิ่งที่ดีและไม่ดีเพื่อสุขภาพร่างกายของตนเองได้เป็นอย่างดี
✔ มีสติและการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบ
✔ มีปัญญาที่เฉียบแหลม
✔ ฉลาดคิด ฉลาดพูด
✔ รู้จักคิดอย่างเป็นเหตุและเป็นผล
✔ เพิ่มพูนความรู้ เรียนรู้ และเปิดรับข้อมูลที่น่าเชื่อถืออยู่เสมอ

สำหรับการดูแลตัวเองเพื่อสุขภาพที่ดีในด้านสุดท้าย คือ ‘ปัญญา’ ซึ่งก็คือการฝึกฝนและสร้างเสริมปัญญาให้มีความรู้เท่าทันสิ่งต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล และสามารถใช้ความรู้ที่กลั่นกรองมาอย่างรอบคอบเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เราสามารถฝึกฝน สร้างเสริมปัญญา เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและมีความสุขได้ โดยการหาข้อมูล รับรู้ข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ รวมถึงเคล็ดลับต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต นำมาฝึกฝนและปรับใช้ในแบบที่เข้ากับตนเอง โดย hhc Thailand ได้รวบรวมบทความดี ๆ จากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ สร้างเสริมแรงบันดาลใจ และแบ่งปันแนวคิดดี ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อีกด้วย

สุขภาพแข็งแรงคือรากฐานของความสุข ชีวิตที่ปราศจากโรคภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีสติปัญญาที่เฉียบแหลม เป็นชีวิตที่เราทุกคนล้วนใฝ่ฝันถึง แต่จะฝันอย่างเดียวโดยไม่เริ่มต้นปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือดูแลตัวเองก็คงจะไม่สามารถไปถึงเป้าหมายการมีสุขภาพดีได้อย่างแน่นอน 

hhc Thailand ขอเชิญชวนให้ทุกคนเริ่มต้นดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนในอนาคต ซึ่งนอกจากตัวเองจะมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว คนรอบข้างของเราก็จะมีชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย  

การดูแลสุขภาพของตนเองนั้น มีเคล็ดลับง่าย ๆ คือการดูแลตัวเองให้เหมาะสมตามช่วงวัยหรือช่วงอายุของตนเอง เพราะในแต่ละช่วงอายุก็ล้วนมีความเสี่ยงและปัญหาทางด้านสุขภาพที่แตกต่างกันไป hhc Thailand ทำการรวบรวมข้อมูลการดูแลสุขภาพตามช่วงวัยมาแบ่งปัน เพื่อให้ทุกท่านได้เริ่มต้นดูแลตัวเองกันได้ง่าย ๆ  โดยในแต่ละช่วงวัยควรจะระมัดระวังและเน้นการดูแลสุขภาพในด้านใดบ้าง ติดตามกันต่อได้เลย

การดูแลสุขภาพในแต่ละช่วงวัย

ช่วงวัยสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ
อายุ 0-6 ปีช่วงวัยนี้เป็นช่วงเริ่มต้นการเรียนรู้และเก็บประสบการณ์ต่าง ๆ โดยต้องเน้นในเรื่องของพัฒนาการและการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ อีกทั้งยังต้องมีความระมัดระวังในเรื่องของสารอาหารและโภชนาการ นอกจากนี้ยังต้องเข้ารับวัคซีนขั้นพื้นฐานต่าง ๆ อย่างครบถ้วน
อายุ 7-18 ปีช่วงวัยนี้ควรให้ความสำคัญกับสุขภาพ ให้มีความแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นช่วงที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วันที่จะก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ โดยหากต้องการมีสุขภาพแข็งแรงจะต้องหมั่นเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านความคิด ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บในระยะยาว เช่น ยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และระมัดระวังในเรื่องของอุบัติเหตุต่าง ๆ 
อายุ 19-60 ปีเป็นช่วงวัยที่ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคหรืออาการบาดเจ็บ เนื่องจากเป็นช่วงวัยทำงานที่อาจจะมีเวลาดูแลสุขภาพน้อย ทำให้โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มักเกิดจากพฤติกรรมของตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นอาการจากการทำงานอย่าง การปวดหลัง ภาวะเครียด หรือโรคจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่นโรคจากการสูบบุหรี่ โรคอ้วน หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ควรเข้าตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อการมีสุขภาพดีและแข็งแรงนั่นเอง
อายุ 60 ปี ขึ้นไปช่วงวัยนี้ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายหรือขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงการทำจิตใจให้แจ่มใสและหากิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความเพลิดเพลิน ลดความเครียด นอกจากนี้ยังควรระมัดระวังเรื่องโรคทางกระดูก และหมั่นตรวจระดับน้ำตาลและไขมัน รวมถึงตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมออีกด้วย 

เช็คลิสต์พฤติกรรมพื้นฐาน  เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

เช็คลิสต์พฤติกรรมพื้นฐาน เพื่อสุขภาพทางกายและใจที่ดี
ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วนเรื่องโภชนาการและสารอาหาร (ครบ 5 หมู่ และจำนวนแคลอรี่พอเหมาะต่อน้ำหนักตัว) 
นอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอ (7-8 ชม. ต่อวัน) 
ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน (6-8 แก้ว) 
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมเกินไป (30 นาทีต่อวัน) 
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (ปริมาณแอลกอฮอล์ที่รับประทานได้ต่อวัน คือแอลกอฮอล์ 5% 1 กระป๋องเล็ก, ไวน์แดง 8-12% 1-2 แก้ว ต่อวัน) 
ฝึกสมาธิและบริการสมองเป็นประจำ  
ค้นหาแรงบันดาลใจและเรียนรู้แนวคิดในการดำเนินชีวิตที่ดีจากบุคคลคุณภาพ 

สำหรับใครที่สามารถเช็คลิสต์พฤติกรรมเหล่านี้ได้ครบทุกข้อนั้น เรียกได้ว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพให้มีความแข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี และหากใครที่ยังพลาดข้อไหนไป นี่คือโอกาสดี ๆ ที่ทาง hhc Thailand ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านได้มุ่งมั่นที่จะดูแลสุขภาพให้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะพื้นฐานของการมีสุขภาพแข็งแรงนั้น คือการเริ่มต้นดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง 

 

และนี่ก็เป็นเพียงเช็คลิสต์พฤติกรรมขั้นพื้นฐานเพื่อการมีสุขภาพดีและมีสุขภาพแข็งแรงเท่านั้น หากทุกคนอยากมีสุขภาพที่ดีรอบด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม สามารถติดตามบทความดี ๆ จาก hhc Thailand เพื่อเสริมความรู้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพ เคล็ดลับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม และเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต เรียนรู้แนวคิดแล้วนำมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของตนเองได้เลย!