HEALTH

เริ่มต้นดูแลสุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

แหล่งรวมข้อมูลเพื่อการ “ดูแลสุขภาพ” จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ รวมถึงข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน เพื่อให้ทุกคนสามารถค้นหาแนวทางการดูแลสุขภาพด้านต่างๆ ให้ตัวเองและคนรอบข้างมีสุขภาพแข็งแรงและคุณภาพชีวิตที่ดี
Health / Urinary

เปิดสาเหตุกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ผู้ชายเกิดจากอะไร

3
Health / Urinary

รู้จักต่อมลูกหมากโตหรือ BPH คือโรคอะไร

13
Health / Others

รู้ทันอาการของโรคเบาหวานด้วยการสังเกตแต่ละระยะ

19
Brain / Health

เมื่อพ่อแม่เป็นอัลไซเมอร์ รับมืออย่างไรให้ไหวที่สุด  

565
Cancer / Health / Others

ไวรัสตับอักเสบคือภัยเงียบคุกคามที่ไม่ควรละเลย

12
Health / Others

อาหารคนเป็นเบาหวานไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง

27
Cancer / Health

ตรวจมะเร็งตับ สามารถตรวจได้อย่างไรบ้าง

37
Cancer / Digestive / Health

เบ่งอุจจาระไม่ออก อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

27
[xxajax_load_more post_type="post" posts_per_page="8" category="health" offset="8" transition="none"]
Educational Videos

ไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง ถึงอาการไม่มี แต่เสี่ยง มะเร็งตับ

ไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง อันตรายเงียบที่ไม่ควรมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่า โรคนี้หากปล่อยไว้เรื้อรัง ย่อมนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอย่าง "มะเร็งตับ" ได้❗️
5

อันตรายที่ไม่คาดคิดจาก ยาสามัญติดบ้าน

อันตรายที่ไม่คาดคิดจาก ยาสามัญติดบ้าน
149

หัวเราะจนฉี่เล็ด เรื่องปรกติ ที่ไม่ปกติจริงเหรอ

พาไปรู้จักกลุ่มอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กับ น.ท.นพ.ศุภวิช เหลืองภัทรวงศ์ แพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
96

ลืมเล็กลืมน้อย MCI เรื่องเล็กที่ไม่เล็ก

รู้หรือไม่ว่า...ภาวะความรู้คิดบกพร่องบกพร่องเล็กน้อย หรือ MCI เป็นภาวะความเสื่อมถอยของสมองที่สามารถพัฒนาไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้
60

นอนไม่หลับบ่อยๆแก้ไขอย่างไรดี

การนอนหลับ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เราจะพาไปคลายสงสัย ⁉️ เรื่องความผิดปกติของการนอนหลับ โดยเฉพาะโรคนอนไม่หลับ ไปกับ รศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน หัวหน้าศูนย์นิทราเวช รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
29

มะเร็งเต้านมในผู้ชาย เกิดขึ้นได้ผู้ชายต้องรู้ !

ชวนมาทำความเข้าใจกับโรคมะเร็งเต้านมกันมากขึ้นกับ ผศ.นพ.ไนยรัฐ ประวงค์สุข อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา รพ.พระมงกุฎเกล้า
24

เริ่มต้นดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง ได้ที่นี่

hhc Thailand

…คลังความรู้และสาระสุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เคย…

เรื่องสุขภาพคือเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้าม เนื่องจากในวิถีการดำเนินชีวิตของเราอาจส่งผลให้ร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งในบางครั้งอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว แต่ในบางครั้งก็อาจส่งผลเสียมากมายจนกลายเป็นโรคร้ายที่ต้องรีบเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที ดังนั้นเราจึงควรเริ่มดูแลสุขภาพของตัวเองเพื่อรับมือกับอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

เคยสงสัยหรือไม่ เรากำลังป่วยเป็นโรคอะไรอยู่หรือเปล่า?

Health บทความสาระสุขภาพ

“ที่จะทำให้ทุกคนได้เริ่มต้นดูแลตัวเอง ก่อนที่จะสายเกินไป”

 

อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมักจะมีสัญญาณเตือนเสมอ เราสามารถสังเกตอาการหรือสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวเองเพื่อรับมือกับโรคร้ายต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ด้วยการติดตามบทความ Health จาก hhc Thailand ที่จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการเบื้องต้นของโรคร้าย สาเหตุหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค วิธีการรับมือ รวมไปถึงแนวทางการเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยให้เรามั่นใจในวิธีการดูแลสุขภาพของตัวเองมากยิ่งขึ้น 

เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายก็ย่อมเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา ระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพ ระบบภูมิคุ้มกันก็ลดต่ำลง การทำงานของฮอร์โมนและการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งภายในและภายนอกจะเริ่มช้าลง ส่งผลให้ผู้ที่เคยมีร่างกายที่แข็งแรงก็อาจมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โรคที่เกิดขึ้นมักจะมีความรุนแรงมากกว่าการเกิดขึ้นในผู้ที่อายุยังน้อย

ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับวิธีดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี หมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างมีวินัย เพื่อช่วยลดความเสื่อมโทรมของสภาพร่างกายและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ในระยะยาว 

– สุขภาพที่ดี เป็นพื้นฐานของการมีคุณภาพขีวิตที่ดี –
แล้วจะดีกว่าไหม? ถ้าคุณและคนรอบข้างได้เริ่มต้นดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“hhc Thailand สนับสนุนให้ทุกคนเริ่มต้นดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี
เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในทุกช่วงวัย”

ข้อดีของการเริ่มต้นดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกต้อง

เมื่อเราเริ่มดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองอย่างถูกวิธี ในบทความ Health ได้รวบรวมความรู้เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ทั้งเคล็ดลับที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคร้ายใกล้ตัวและวิธีการรับมือ รวมถึงข่าวสารและเทรนด์สุขภาพน่ารู้ จาก hhc Thailand ส่งผลให้เราได้รับประโยชน์มากมาย ดังนี้ 

✔ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายในระยะยาว 
✔ ช่วยรักษาระดับภูมิคุ้มกันเมื่อมีอายุมากขึ้น
✔ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ
✔ สามารถรู้ทันและรับมือกับโรคร้ายได้อย่างทันท่วงที
✔ สามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็วหากมีอาการเจ็บป่วย
✔ ส่งเสริมความมีวินัยในการดูแลตัวเอง
✔ เลี่ยงผลเสียที่เกิดจากการดูแลสุขภาพแบบผิด ๆ 
✔ ช่วยเพิ่มความเปล่งปลั่งของผิวพรรณ ทำให้หน้าตาดูอ่อนเยาว์

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการดูแลรักษาสุขภาพนั้นมีอยู่มากมาย ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีต่อร่างกายของตัวเองในระยะยาวอย่างแน่นอน! มาเริ่มดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นไปกับเรา Community สำหรับคนรักสุขภาพที่ดีที่สุดจาก hhc Thailand 

เนื่องจากเราเป็นชุมชนที่รวบรวมเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้ และวิธีการดูแลสุขภาพไว้มากมาย โดยมุ่งหวังให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข จากพื้นฐานทางด้านร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทั้งทางกายและทางใจ
วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆเกี่ยวกับวิธีดูแลสุขภาพเบื้องต้นมาแบ่งปันให้คุณได้นำไปปรับใช้กับตนเองและคนรอบข้าง แต่ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาในส่วนนั้น เราไปดูกันก่อนว่าปัญหาทางด้านสุขภาพยอดฮิตที่มักพบเจอได้บ่อยครั้ง มีอะไรบ้าง 

ท๊อปฮิตปัญหาสุขภาพยอดฮิตในประเทศไทย

จากวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้เรามักจะหลงลืมการดูแลสุขภาพของตัวเอง ส่งผลให้ร่างกายขาดภูมิคุ้มกันและเกราะป้องกันโรคร้าย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพมากมายตามมา ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพยอดฮิตในประเทศไทย ได้แก่ 

  • ปัญหาเรื่องโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
  • ปัญหาเรื่องโรคเบาหวาน
  • ปัญหาเรื่องโรคความดันโลหิตสูง
  • ปัญหาเรื่องโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ
  • ปัญหาเรื่องโรคสมองเสื่อม
  • ปัญหาเรื่องโรคทางเดินอาหาร
  • ปัญหาเรื่องโรคกระดูกและข้อ
  • ปัญหาเรื่องโรคทางเดินปัสสาวะ
  • ปัญหาการนอนไม่หลับเพราะความเครียด
  • ปัญหาภาวะซึมเศร้า

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของปัญหาสุขภาพยอดฮิตในประเทศไทยที่อาจเข้ามาทำอันตรายต่อร่างกายของเราเพียงเท่านั้น ยังมีโรคต่าง ๆ อีกมากมายที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลกระทบมากมายต่อการดำเนินชีวิตของเรา ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
ดังนั้น เราจึงควรดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่ยังมีโอกาส เพื่อเสริมสร้างภุมิคุ้มกันและรู้ทันโรคร้ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง

เริ่มต้นดูแลรักษาสุขภาพด้วย ‘วิธีดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน’

การดูแลสุขภาพของตัวเองให้มีความแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ในระยะยาวนั้น เราควรให้ความสำคัญตั้งแต่พื้นฐานของการดำเนินชีวิตที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองเบื้องต้นนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับเคล็ดลับการดูแลสุขภาพ 3 ด้าน ได้แก่

✔ การรับประทานอาหารที่ดี
✔ การออกกำลังกายที่เหมาะสม
✔ การดูแลสภาวะทางอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ

ซึ่งทั้ง 3 ด้านของวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นจะมีรายละเอียดและข้อปฏิบัติอย่างไรบ้าง ทาง hhc Thailand ได้รวบรวมไว้ให้ทุกคนแล้ว

1. การรับประทานอาหารที่ดี

รู้หรือไม่? พฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อหรือโรค NCDs อย่างโรคความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น ระบบการกรองของเสียหรือระบบการกำจัดของเสียภายในร่างกายก็จะเริ่มมีประสิทธิภาพที่ลดลง หากทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก็จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายกับร่างกายของเรา

ดังนั้น เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาว เราควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรค ตามหลักการในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ดังนี้

  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ
  • เน้นการทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์สูง
  • เลี่ยงการทานอาหารหวาน มัน เค็ม
  • เลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันทรานส์
  • เลี่ยงการทานของทอดและอาหารปิ้งย่าง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละประมาณ 6-8 แก้ว
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนมากเกินไป 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารเสี่ยงโรคต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อต่าง ๆ ได้อีกด้วย

2. การออกกำลังกายที่เหมาะสม

เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปฏิบัติตามหลักการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีแล้ว วิธีดูแลสุขภาพในข้อต่อมานั่นคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม พอดีกับวัย เพื่อส่งเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในระยะยาว 

โดยเราต้องออกกำลังกายอย่างมีวินัย เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันและประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อสร้างเกราะป้องกันโรคร้ายและช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เราควรดื่มน้ำสะอาดทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายให้เพียงพอกับปริมาณของน้ำที่เสียไปในระหว่างการออกกำลังกาย เพื่อรักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกายของเรานั่นเอง

ประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

✔ ทำให้หัวใจ กล้ามเนื้อ และปอด ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
✔ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
✔ ทำให้การไหลเวียนของโลหิตในร่างกายดีขึ้น
✔ ช่วยให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
✔ ทำให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุข ลดความเครียด เพิ่มความผ่อนคลาย
✔ ช่วยในการพักผ่อน ทำให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น 
✔ ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส ใีสุขภาพผิวที่ดี

การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย

เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่เกิดประโยชน์สูงสุด เราควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเรา ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

ช่วงวัย

การออกกำลังกายที่เหมาะสม

วัยเด็ก

ในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ การออกกำลังกายจึงควรเน้นที่ความสนุกสนานและความปลอดภัย โดยเลือกกีฬาที่ได้ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วน ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว และช่วยฝึกสมาธิได้เป็นอย่างดี

กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม

✔ ฟุตบอล
✔ บาสเกตบอล
✔ แบตมินตัน
✔ ว่ายน้ำ
✔ เทนนิส

วัยรุ่น

ในช่วงวัยรุ่น คือช่วงที่เหมาะสมกับการสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย เนื่องจากอยู่ในช่วงที่มีอัตราของการเผาผลาญที่ดี และชื่นชอบการออกกำลังกายที่มีความท้าทายหรือการแข่งขัน

กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม

✔ กีฬาทุกรูปแบบ เช่น ฟุตบอล แบตมินตัน บาสเกตบอล เป็นต้น
✔ ฟิตเนสที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

วัยทำงานหรือวัยกลางคน

ในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่เหมาะสมกับวิธีดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มมีความเหนื่อยล้า ทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบการเผาผลาญเริ่มมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดน้อยลง 

กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม

✔ ปั่นจักรยาน
✔ วิ่งจ๊อกกิ้ง
✔ โยคะ 
✔ พีลาทิศ
✔ Body weight เบา ๆ

วัยสูงอายุ

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุเราควรดูแลสุขภาพโดยการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่หักโหม ควรเลือกออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยท่าทางการเคลื่อนไหวที่ง่าย ๆ เพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อ ร่างกาย และจิตใจ

กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม

✔ เดินออกกำลังกาย
✔ เต้นรำ รำไทเก็ก
✔ ยืด เหยียดกล้ามเนื้อ
✔ ทำท่ากายบริหารง่าย ๆ 

3. การดูแลสภาวะทางอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ

นอกจากการรับประทานอาหารและการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การใส่ใจดูแลจิตใจให้มีอารมณ์ที่แจ่มใสก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยเราเริ่มต้นดูแลสุขภาพทางใจได้ง่าย ๆ ด้วยการคิดบวก มองโลกในแง่ดี มองหามุมมองใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ เรายังสามารถปฏิบัติตามเคล็ดลับการดูแลสภาวะทางอารมณ์ ดังนี้

พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมตามช่วงวัย

การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่สามารถเริ่มได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง โดยการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ให้เรามีจิตใจที่แจ่มใส และมีความสุขมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างความจำ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้อีกด้วย
และนอกจากการเสริมสร้างสภาวะทางอารมณ์และการทำงานของสมอง การพักผ่อนให้เพียงพอยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย รวมถึงช่วยให้เราผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส มีความอ่อนวัยอยู่เสมอ

ข้อเสียของการนอนหลับไม่เพียงพอ
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดน้อยลง 
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงซึมตลอดทั้งวัน
  • ฮอร์โมนสืบพันธ์ุหลั่งออกมาน้อยลง
  • กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารจำพวกไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป 
  • เป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคทางระบบย่อยอาหาร เป็นต้น
ตารางการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละช่วงวัยเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี

ตารางการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละช่วงวัย

ช่วงอายุ 

ระยะเวลาที่ควรนอนหลับ

อายุ 0 – 3 เดือน

14 – 17 ชั่วโมง

อายุ 4 – 11 เดือน

12 – 15 ชั่วโมง

อายุ 1 – 2 ปี

11 – 14 ชั่วโมง

อายุ 3 – 5 ปี

10 – 13 ชั่วโมง

อายุ 6 – 13 ปี

9 – 11 ชั่วโมง

อายุ 14 – 17 ปี

8 – 10 ชั่วโมง

อายุ 18 – 25 ปี

7 – 9 ชั่วโมง

อายุ 26 – 64 ปี

7 – 9 ชั่วโมง

อายุ 65 ปี เป็นต้นไป

7 – 8 ชั่วโมง

ฝึกสติและสมาธิ   

การฝึกสมาธิ เป็นหนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพที่ช่วยให้เรารู้เท่าทันอารมณ์และสามารถรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ของตัวเองได้ดี ส่งผลให้ผู้ที่ฝึกสมาธิเป็นคนที่มีใจเป็นสุข มีความใจเย็น มองโลกในแง่ดี มีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่าย มีจิตใจที่แจ่มใส คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล รวมถึงตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ 

ด้วยเหตุนี้การฝึกสติและสมาธิจึงเป็นวิธีบำบัดความเครียดรวมถึงวิธีการดูแลสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ประโยชน์ของการฝึกสติและสมาธิ

นอกจากการฝึกสมาธิจะช่วยให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ของเราและสามารถรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ได้ดีแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนี้

  • ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ 
  • ส่งเสริมบุคลิกภาพ ท่าทางการคิด การพูด และการแสดงออก  
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง 
  • ช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ
ใช้เวลาสร้างความสุขกับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัว

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพทางอารมณ์ที่จะช่วยให้ทั้งตัวคุณเองและคนรอบข้างมีสภาวะทางอารณ์ที่ดีขึ้น นั่นก็คือการใช้เวลาเพื่อสร้างความสุขกับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัวโดยการมอบความห่วงใยให้แก่กันและกัน หาเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสุข รอบยิ้ม และเสียงหัวเราะให้กับตัวเราเอง คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวให้มากยิ่งขึ้น  

หากิจกรรมที่เพลิดเพลิน สนุกสนาน เพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

รอยยิ้มและเสียงหัวเราะคือสิ่งที่บ่งบอกถึงความสุข ความเพลิดเพลิน และสภาวะทางอารมณ์ที่ดี เราจึงควรมองหากิจกรรมที่มีความสนุกสนานเพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ให้สมองได้หลั่งสารแห่งความสุขเพื่อส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้น

โดยตัวอย่างของกิจกรรมที่มีความเพลิดเพลินเพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ รวมถึงเป็นวิธีดูแลสุขภาพที่ช่วยส่งเสริมช่วงเวลาแห่งความสุขนั้น ได้แก่

  • การเล่นกีฬา ออกกำลังกาย 
  • การวาดรูป ระบายสี สร้างผลงานศิลปะ
  • การรับชมภาพยนตร์ ซีรีย์ หรือรายการโทรทัศน์
  • การฟังเพลง 
  • การทำอาหารหรือทำขนม
  • การปลูกต้นไม้ ทำสวน 
ค้นหาแรงบันดาลใจที่ดี

การดูแลสุขภาพเพื่อส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ที่ดีที่หลายคนมักมองข้ามไป นั่นคือการค้นหาแรงบันดาลใจดี ๆ ที่จะช่วยผลักดันและเป็นแรงกระตุ้นให้เรามีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น รวมถึงยังเป็นวิธีที่ช่วยจุดประกายไอเดียและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเราได้อีกด้วย

โดยการค้นหาแรงบันดาลใจที่ดีจะช่วยให้เราได้เห็นถึงมุมมองในการดำเนินชีวิตที่หลากหลายและนิยามของความสุขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ทำให้เราได้เรียนรู้ เข้าใจในเหตุผลของการดำเนินชีวิต รวมถึงเป็นแนวทางที่ทำให้เราได้ค้นพบความสุขที่แท้จริงในรูปแบบของตัวเราเอง

ตัวอย่างวิธีการค้นหาแรงบันดาลใจที่ดี
  • มองหาแรงบันดาลใจจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จ 
  • เดินทางไปยังสถานที่ใหม่ ๆ สิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ และสังคมใหม่ ๆ
  • รับฟังเรื่องราวของผู้คนรอบข้าง
  • มองหาไอเดียและแรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือ ดูหนัง และฟังเพลง

โรคที่ไม่แสดงอาการ รับมือได้ด้วยการตรวจสุขภาพพื้นฐาน

ถึงแม้ว่าอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมักจะแสดงอาการที่เป็นสัญญาณเตือนให้เราได้รู้เท่าทันอยู่เสมอ แต่ในบางครั้งโรคร้ายอาจมาในรูปแบบของภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการ เมื่อรู้ตัวอีกทีก็เข้าสู่ระดับขั้นเป็นโรคที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เราจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองร่วมกับการเข้ารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพื่อทำการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้น

ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพคือเราจะสามารถตรวจพบโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการ เพื่อเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสม เป็นการรับมือกับโรคร้ายไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการรุนแรง รวมถึงเป็นการติดตามเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพ ทำให้เราได้รู้ถึงความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ของการเป็นโรคร้าย เพื่อเริ่มต้นการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกวิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงหาแนวทางป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป 

โดยการตรวจสุขภาพนั้นควรเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป (ยกเว้นในกรณีที่มีความสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงในการเกิดโรค ก็สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ทันที) ซึ่งในแต่ละช่วงวัยจะมีการให้ความสำคัญกับรายการในการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกันไปตามความเสี่ยงและอัตราของการเกิดโรคในช่วงวัยนั้น ๆ 

และในส่วนนี้ hhc Thailand ขอยกตัวอย่างการตรวจสุขภาพของวัยผู้สูงอายุ ว่ามีโรคใดบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างเจาะลึก ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ผู้สูงอายุกับความถี่ของการตรวจสุขภาพแบบเจาะลึก

วัยสูงอายุคือวัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ เนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความเสื่อมถอย และอ่อนแอลง ทำให้หากไม่มีวิธีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดโรคร้ายขึ้นในช่วงวัยนี้ได้ง่าย

โรคที่มักพบบ่อยในวัยสูงอายุนี้ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคไต โรคความดันโลหิตสูง และโรคอัลไซเมอร์ ในช่วงวัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งช่วงวัยที่ควรหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและเป็นการรับมือกับโรคร้ายต่าง ๆ ให้หายได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นนั่นเอง

โดยผู้สูงอายุสามารถตรวจสุขภาพในด้านต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น

ตรวจสุขภาพตา 

การตรวจสุขภาพตาเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรคทางตาที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเพื่อการดูแลสุขภาพตาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโรคทางตาที่มักพบบ่อยในวัยนี้ ได้แก่ โรคต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม และภาวะสายตายาว

คำแนะนำในการตรวจสุขภาพตา

✔ อายุ 60 – 64 ปีควรตรวจตาทุก ๆ 2 – 4 ปี
✔ อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาทุก ๆ 1 – 2 ปี

ตรวจสุขภาพหู

วัยสูงอายุมักจะมาพร้อมกับอาการความผิดปกติทางการได้ยิน ในการตรวจนี้จึงเป็นการตรวจสมรรถภาพทางการได้ยิน เพื่อคัดกรองผู้สูงอายุว่ามีปัญหาทางด้านทางการได้ยินหรือไม่ ทั้งอาการหูหนวก หูตึง หรือภาวะประสาทหูเสื่อม

ตรวจสุขภาพจิต

การตรวจสุขภาพจิตเป็นการตรวจสภาวะทางอารมณ์และสภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุ โดยครอบคลุมทั้งการประเมินอาการทางจิตเวชต่าง ๆ รวมไปจนถึงอาการที่พบได้บ่อยอย่างภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั่นเอง

ตรวจผิวหนัง

เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุมีอาการทางผิวหนัง จึงควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนัง ภาวะผิวหนังแห้ง และเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งหากผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเบาหวานจะต้องมีการตรวจในส่วนนี้เป็นพิเศษ

ตรวจสุขภาพช่องปาก เหงือก และฟัน

การตรวจสุขภาพทางช่องปาก เป็นการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพฟันและเหงือก เช่น อาการฟันผุ เหงือกอักเสบ และปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุอย่างปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร เพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที

ตรวจเต้านม (สำหรับผู้หญิง)

การตรวจสุขภาพของเต้านมเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นการตรวจหาก้อนเนื้อเพื่อนำไปตรวจวินิจฉัยหาความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เลือกใช้วิธีดูแลสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที หากมีความผิดปกติหรือมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น

คำแนะนำในการตรวจเต้านม 

✔ อายุ 60 – 69 ปีควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี
✔ อายุ 70 ปีขึ้นไป ตรวจได้ตามความเหมาะสม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (สำหรับผู้หญิง)

การตรวจสุขภาพเพื่อจะคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (สำหรับผู้หญิง) เป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรตรวจเพื่อคัดกรองอยู่เสมอแม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิง 

คำแนะนำในการตรวจมะเร็งปากมดลูก

✔ อายุ 60 – 64 ปีควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี
✔ อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจได้ตามความเหมาะสม

ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว รวมถึงเกล็ดเลือด เพื่อวิเคราะห์สุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเรื่องของโรคโลหิตจาง การติดเชื้อในกระแสเลือด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น

คำแนะนำในการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

✔ อายุ 70 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจทุกปี

ตรวจระดับไขมันในเลือด

การตรวจระดับไขมันในเลือด เป็นการตรวจเพื่อวัดระดับไขมันในเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติหรือไม่ เพื่อทำการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และมีการวางแผนวิธีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม หากมีค่าระดับไขมันในเส้นเลือดมากกว่าปกติ

คำแนะนำในการตรวจระดับไขมันในเลือด

✔ ผู้สูงอายุควรตรวจทุก ๆ 5 ปี 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการตรวจสุขภาพในวัยสูงอายุเพียงเท่านั้น ในการเข้ารับการตรวจจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของแผนการตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและแพ็คเกจต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป เราสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพรอบด้านที่ดีแม้เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุนั่นเอง

เริ่มต้นดูแลรักษาสุขภาพด้วย ‘วิธีดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน’

การดูแลสุขภาพของตัวเองให้มีความแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ในระยะยาวนั้น เราควรให้ความสำคัญตั้งแต่พื้นฐานของการดำเนินชีวิตที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองเบื้องต้นนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับเคล็ดลับการดูแลสุขภาพ 3 ด้าน ได้แก่

✔ การรับประทานอาหารที่ดี
✔ การออกกำลังกายที่เหมาะสม
✔ การดูแลสภาวะทางอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ

ซึ่งทั้ง 3 ด้านของวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นจะมีรายละเอียดและข้อปฏิบัติอย่างไรบ้าง ทาง hhc Thailand ได้รวบรวมไว้ให้ทุกคนแล้ว

1. การรับประทานอาหารที่ดี

รู้หรือไม่? พฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อหรือโรค NCDs อย่างโรคความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น ระบบการกรองของเสียหรือระบบการกำจัดของเสียภายในร่างกายก็จะเริ่มมีประสิทธิภาพที่ลดลง หากทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก็จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายกับร่างกายของเรา

ดังนั้น เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาว เราควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรค ตามหลักการในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ดังนี้

  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ
  • เน้นการทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์สูง
  • เลี่ยงการทานอาหารหวาน มัน เค็ม
  • เลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันทรานส์
  • เลี่ยงการทานของทอดและอาหารปิ้งย่าง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละประมาณ 6-8 แก้ว
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนมากเกินไป 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารเสี่ยงโรคต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อต่าง ๆ ได้อีกด้วย

2. การออกกำลังกายที่เหมาะสม

เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปฏิบัติตามหลักการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีแล้ว วิธีดูแลสุขภาพในข้อต่อมานั่นคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม พอดีกับวัย เพื่อส่งเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในระยะยาว 

โดยเราต้องออกกำลังกายอย่างมีวินัย เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันและประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อสร้างเกราะป้องกันโรคร้ายและช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เราควรดื่มน้ำสะอาดทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายให้เพียงพอกับปริมาณของน้ำที่เสียไปในระหว่างการออกกำลังกาย เพื่อรักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกายของเรานั่นเอง

ประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

✔ ทำให้หัวใจ กล้ามเนื้อ และปอด ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
✔ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
✔ ทำให้การไหลเวียนของโลหิตในร่างกายดีขึ้น
✔ ช่วยให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
✔ ทำให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุข ลดความเครียด เพิ่มความผ่อนคลาย
✔ ช่วยในการพักผ่อน ทำให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น 
✔ ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส ใีสุขภาพผิวที่ดี

การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย

เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่เกิดประโยชน์สูงสุด เราควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเรา ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

ช่วงวัย

การออกกำลังกายที่เหมาะสม

วัยเด็ก

ในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ การออกกำลังกายจึงควรเน้นที่ความสนุกสนานและความปลอดภัย โดยเลือกกีฬาที่ได้ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วน ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว และช่วยฝึกสมาธิได้เป็นอย่างดี

กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม

✔ ฟุตบอล
✔ บาสเกตบอล
✔ แบตมินตัน
✔ ว่ายน้ำ
✔ เทนนิส

วัยรุ่น

ในช่วงวัยรุ่น คือช่วงที่เหมาะสมกับการสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย เนื่องจากอยู่ในช่วงที่มีอัตราของการเผาผลาญที่ดี และชื่นชอบการออกกำลังกายที่มีความท้าทายหรือการแข่งขัน

กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม

✔ กีฬาทุกรูปแบบ เช่น ฟุตบอล แบตมินตัน บาสเกตบอล เป็นต้น
✔ ฟิตเนสที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

วัยทำงานหรือวัยกลางคน

ในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่เหมาะสมกับวิธีดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มมีความเหนื่อยล้า ทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบการเผาผลาญเริ่มมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดน้อยลง 

กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม

✔ ปั่นจักรยาน
✔ วิ่งจ๊อกกิ้ง
✔ โยคะ 
✔ พีลาทิศ
✔ Body weight เบา ๆ

วัยสูงอายุ

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุเราควรดูแลสุขภาพโดยการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่หักโหม ควรเลือกออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยท่าทางการเคลื่อนไหวที่ง่าย ๆ เพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อ ร่างกาย และจิตใจ

กีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม

✔ เดินออกกำลังกาย
✔ เต้นรำ รำไทเก็ก
✔ ยืด เหยียดกล้ามเนื้อ
✔ ทำท่ากายบริหารง่าย ๆ 

3. การดูแลสภาวะทางอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ

นอกจากการรับประทานอาหารและการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การใส่ใจดูแลจิตใจให้มีอารมณ์ที่แจ่มใสก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยเราเริ่มต้นดูแลสุขภาพทางใจได้ง่าย ๆ ด้วยการคิดบวก มองโลกในแง่ดี มองหามุมมองใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ เรายังสามารถปฏิบัติตามเคล็ดลับการดูแลสภาวะทางอารมณ์ ดังนี้

พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมตามช่วงวัย

การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่สามารถเริ่มได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง โดยการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ให้เรามีจิตใจที่แจ่มใส และมีความสุขมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างความจำ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้อีกด้วย

และนอกจากการเสริมสร้างสภาวะทางอารมณ์และการทำงานของสมอง การพักผ่อนให้เพียงพอยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย รวมถึงช่วยให้เราผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส มีความอ่อนวัยอยู่เสมอ

ข้อเสียของการนอนหลับไม่เพียงพอ
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดน้อยลง 
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงซึมตลอดทั้งวัน
  • ฮอร์โมนสืบพันธ์ุหลั่งออกมาน้อยลง
  • กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารจำพวกไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป 
  • เป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคทางระบบย่อยอาหาร เป็นต้น
ตารางการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละช่วงวัยเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี

ตารางการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละช่วงวัย

ช่วงอายุ 

ระยะเวลาที่ควรนอนหลับ

อายุ 0 – 3 เดือน

14 – 17 ชั่วโมง

อายุ 4 – 11 เดือน

12 – 15 ชั่วโมง

อายุ 1 – 2 ปี

11 – 14 ชั่วโมง

อายุ 3 – 5 ปี

10 – 13 ชั่วโมง

อายุ 6 – 13 ปี

9 – 11 ชั่วโมง

อายุ 14 – 17 ปี

8 – 10 ชั่วโมง

อายุ 18 – 25 ปี

7 – 9 ชั่วโมง

อายุ 26 – 64 ปี

7 – 9 ชั่วโมง

อายุ 65 ปี เป็นต้นไป

7 – 8 ชั่วโมง

ฝึกสติและสมาธิ   

การฝึกสมาธิ เป็นหนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพที่ช่วยให้เรารู้เท่าทันอารมณ์และสามารถรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ของตัวเองได้ดี ส่งผลให้ผู้ที่ฝึกสมาธิเป็นคนที่มีใจเป็นสุข มีความใจเย็น มองโลกในแง่ดี มีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่าย มีจิตใจที่แจ่มใส คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล รวมถึงตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ ด้วยเหตุนี้การฝึกสติและสมาธิจึงเป็นวิธีบำบัดความเครียดรวมถึงวิธีการดูแลสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ประโยชน์ของการฝึกสติและสมาธิ

นอกจากการฝึกสมาธิจะช่วยให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ของเราและสามารถรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ได้ดีแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนี้

  • ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ 
  • ส่งเสริมบุคลิกภาพ ท่าทางการคิด การพูด และการแสดงออก  
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง 
  • ช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ
ใช้เวลาสร้างความสุขกับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัว

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพทางอารมณ์ที่จะช่วยให้ทั้งตัวคุณเองและคนรอบข้างมีสภาวะทางอารณ์ที่ดีขึ้น นั่นก็คือการใช้เวลาเพื่อสร้างความสุขกับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัวโดยการมอบความห่วงใยให้แก่กันและกัน หาเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสุข รอบยิ้ม และเสียงหัวเราะให้กับตัวเราเอง คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวให้มากยิ่งขึ้น  

หากิจกรรมที่เพลิดเพลิน สนุกสนาน เพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

รอยยิ้มและเสียงหัวเราะคือสิ่งที่บ่งบอกถึงความสุข ความเพลิดเพลิน และสภาวะทางอารมณ์ที่ดี เราจึงควรมองหากิจกรรมที่มีความสนุกสนานเพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ให้สมองได้หลั่งสารแห่งความสุขเพื่อส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้น

โดยตัวอย่างของกิจกรรมที่มีความเพลิดเพลินเพื่อสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ รวมถึงเป็นวิธีดูแลสุขภาพที่ช่วยส่งเสริมช่วงเวลาแห่งความสุขนั้น ได้แก่

  • การเล่นกีฬา ออกกำลังกาย 
  • การวาดรูป ระบายสี สร้างผลงานศิลปะ
  • การรับชมภาพยนตร์ ซีรีย์ หรือรายการโทรทัศน์
  • การฟังเพลง 
  • การทำอาหารหรือทำขนม
  • การปลูกต้นไม้ ทำสวน 
ค้นหาแรงบันดาลใจที่ดี

การดูแลสุขภาพเพื่อส่งเสริมสภาวะทางอารมณ์ที่ดีที่หลายคนมักมองข้ามไป นั่นคือการค้นหาแรงบันดาลใจดี ๆ ที่จะช่วยผลักดันและเป็นแรงกระตุ้นให้เรามีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น รวมถึงยังเป็นวิธีที่ช่วยจุดประกายไอเดียและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเราได้อีกด้วย

โดยการค้นหาแรงบันดาลใจที่ดีจะช่วยให้เราได้เห็นถึงมุมมองในการดำเนินชีวิตที่หลากหลายและนิยามของความสุขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ทำให้เราได้เรียนรู้ เข้าใจในเหตุผลของการดำเนินชีวิต รวมถึงเป็นแนวทางที่ทำให้เราได้ค้นพบความสุขที่แท้จริงในรูปแบบของตัวเราเอง

ตัวอย่างวิธีการค้นหาแรงบันดาลใจที่ดี
  • มองหาแรงบันดาลใจจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จ 
  • เดินทางไปยังสถานที่ใหม่ ๆ สิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ และสังคมใหม่ ๆ
  • รับฟังเรื่องราวของผู้คนรอบข้าง
  • มองหาไอเดียและแรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือ ดูหนัง และฟังเพลง

โรคที่ไม่แสดงอาการ รับมือได้ด้วยการตรวจสุขภาพพื้นฐาน

ถึงแม้ว่าอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมักจะแสดงอาการที่เป็นสัญญาณเตือนให้เราได้รู้เท่าทันอยู่เสมอ แต่ในบางครั้งโรคร้ายอาจมาในรูปแบบของภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการ เมื่อรู้ตัวอีกทีก็เข้าสู่ระดับขั้นเป็นโรคที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เราจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองร่วมกับการเข้ารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพื่อทำการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้น

ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพคือเราจะสามารถตรวจพบโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการ เพื่อเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสม เป็นการรับมือกับโรคร้ายไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการรุนแรง รวมถึงเป็นการติดตามเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพ ทำให้เราได้รู้ถึงความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ของการเป็นโรคร้าย เพื่อเริ่มต้นการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกวิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงหาแนวทางป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป

โดยการตรวจสุขภาพนั้นควรเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป (ยกเว้นในกรณีที่มีความสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงในการเกิดโรค ก็สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ทันที) ซึ่งในแต่ละช่วงวัยจะมีการให้ความสำคัญกับรายการในการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกันไปตามความเสี่ยงและอัตราของการเกิดโรคในช่วงวัยนั้น ๆ และในส่วนนี้ hhc Thailand ขอยกตัวอย่างการตรวจสุขภาพของวัยผู้สูงอายุ ว่ามีโรคใดบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างเจาะลึก ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ผู้สูงอายุกับความถี่ของการตรวจสุขภาพแบบเจาะลึก

วัยสูงอายุคือวัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ เนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความเสื่อมถอย และอ่อนแอลง ทำให้หากไม่มีวิธีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดโรคร้ายขึ้นในช่วงวัยนี้ได้ง่าย

โรคที่มักพบบ่อยในวัยสูงอายุนี้ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคไต โรคความดันโลหิตสูง และโรคอัลไซเมอร์ ในช่วงวัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งช่วงวัยที่ควรหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและเป็นการรับมือกับโรคร้ายต่าง ๆ ให้หายได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นนั่นเอง โดยผู้สูงอายุสามารถตรวจสุขภาพในด้านต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น

ตรวจสุขภาพตา 

การตรวจสุขภาพตาเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองโรคทางตาที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเพื่อการดูแลสุขภาพตาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโรคทางตาที่มักพบบ่อยในวัยนี้ ได้แก่ โรคต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม และภาวะสายตายาว

คำแนะนำในการตรวจสุขภาพตา

✔ อายุ 60 – 64 ปีควรตรวจตาทุก ๆ 2 – 4 ปี
✔ อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาทุก ๆ 1 – 2 ปี

ตรวจสุขภาพหู

วัยสูงอายุมักจะมาพร้อมกับอาการความผิดปกติทางการได้ยิน ในการตรวจนี้จึงเป็นการตรวจสมรรถภาพทางการได้ยิน เพื่อคัดกรองผู้สูงอายุว่ามีปัญหาทางด้านทางการได้ยินหรือไม่ ทั้งอาการหูหนวก หูตึง หรือภาวะประสาทหูเสื่อม

ตรวจสุขภาพจิต

การตรวจสุขภาพจิตเป็นการตรวจสภาวะทางอารมณ์และสภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุ โดยครอบคลุมทั้งการประเมินอาการทางจิตเวชต่าง ๆ รวมไปจนถึงอาการที่พบได้บ่อยอย่างภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั่นเอง

ตรวจผิวหนัง

เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุมีอาการทางผิวหนัง จึงควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนัง ภาวะผิวหนังแห้ง และเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งหากผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเบาหวานจะต้องมีการตรวจในส่วนนี้เป็นพิเศษ

ตรวจสุขภาพช่องปาก เหงือก และฟัน

การตรวจสุขภาพทางช่องปาก เป็นการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพฟันและเหงือก เช่น อาการฟันผุ เหงือกอักเสบ และปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุอย่างปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร เพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที

ตรวจเต้านม (สำหรับผู้หญิง)
การตรวจสุขภาพของเต้านมเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นการตรวจหาก้อนเนื้อเพื่อนำไปตรวจวินิจฉัยหาความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เลือกใช้วิธีดูแลสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที หากมีความผิดปกติหรือมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น

คำแนะนำในการตรวจเต้านม 
✔ อายุ 60 – 69 ปีควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี
✔ อายุ 70 ปีขึ้นไป ตรวจได้ตามความเหมาะสม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (สำหรับผู้หญิง)

การตรวจสุขภาพเพื่อจะคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (สำหรับผู้หญิง) เป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรตรวจเพื่อคัดกรองอยู่เสมอแม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิง 

คำแนะนำในการตรวจมะเร็งปากมดลูก

✔ อายุ 60 – 64 ปีควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี
✔ อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจได้ตามความเหมาะสม

ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว รวมถึงเกล็ดเลือด เพื่อวิเคราะห์สุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเรื่องของโรคโลหิตจาง การติดเชื้อในกระแสเลือด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น

คำแนะนำในการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

✔ อายุ 70 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจทุกปี

ตรวจระดับไขมันในเลือด

การตรวจระดับไขมันในเลือด เป็นการตรวจเพื่อวัดระดับไขมันในเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติหรือไม่ เพื่อทำการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และมีการวางแผนวิธีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม หากมีค่าระดับไขมันในเส้นเลือดมากกว่าปกติ

คำแนะนำในการตรวจระดับไขมันในเลือด

✔ ผู้สูงอายุควรตรวจทุก ๆ 5 ปี 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการตรวจสุขภาพในวัยสูงอายุเพียงเท่านั้น ในการเข้ารับการตรวจจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของแผนการตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและแพ็คเกจต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป เราสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพรอบด้านที่ดีแม้เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุนั่นเอง 

เช็คลิสต์เบื้องต้น 

คุณกำลังมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคร้ายอยู่หรือเปล่า?

ทานอาหารหวาน มัน เค็ม และของทอดมากเกินไป

 

มีพฤติกรรมนอนดึก นอนเช้า หรือนอนน้อย 

 

ตนเองหรือคนใกล้ตัวสูบบุหรี่

 

ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่เสมอ

 

ใช้สารเสพติด

 

มีภาวะความเครียดเป็นประจำ

 

ขาดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

 

หากคุณกำลังมีพฤติกรรมเหล่านี้ ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเริ่มดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างถูกวิธี ผ่านการติดตามบทความ Health จาก hhc Thailand ที่รวบรวมทุกสาระสุขภาพและเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคร้าย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ทั้งกับตัวคุณเองและคนรอบข้างในสังคม

เพราะการปราศจากโรคภัย คือพื้นฐานของความสุขในชีวิต’

 

รวมวิธีดูแลสุขภาพในทุกช่วงวัย ทั้งวิธีดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคร้าย การรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมถึงเคล็ดลับที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้าง ให้คุณได้รู้ถึงวิธีการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและมีความสุขในทุกช่วงเวลาของการดำเนินชีวิต 

ดูแลสุขภาพของตัวเองและส่งต่อความห่วงใยให้คนรอบข้าง 
‘เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เคย’
ผ่านบทความ Health จาก hhc Thailand 

————————————–

hhc Thailand
“A Community for a Better Living”
– แหล่งรวมทุกเรื่องราว เพื่อชีวิตที่ดีในแบบคุณ –