ปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ ปัญหาสุขภาพที่กระทบชีวิตใครหลายคน
คุณเคยปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ไหม ไม่ว่าจะพลิกตัวท่าไหนก็แสบท้องมากนอนไม่ได้ แต่เมื่อรับประทานอาหาร อาการปวดท้องกระเพาะนอนไม่ได้กลับหายไป ทำให้หลายคนละเลยปัญหาเหล่านี้ จนกระทั่งอาการได้พัฒนากลายเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้เวลาในการรักษานาน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหลายด้าน ดังนั้นเพื่อให้คุณเข้าใจอาการนี้มากขึ้น บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอาการของโรคกระเพาะอาหาร ตั้งแต่สาเหตุของโรค ชนิดของโรค ตลอดถึงแนวทางการรักษา เพื่อให้ทุกคนสามารถป้องกันโรคไม่ให้กลายเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้และไม่เกิดคำถามที่ว่าปวดท้องโรคกระเพาะนอนท่าไหนดี
ทำความรู้จักปัญหาสุขภาพปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้เกิดจากอะไร
โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia) หรือโรคแผลในกระเพาะอาหารเป็นโรคที่เกิดจากหลายสาเหตุที่ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดการอักเสบหรือมีแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ แสบท้องมากนอนไม่ได้ หรือท้องอืดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หากปล่อยอาการเหล่านี้ทิ้งไว้นานโดยไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ เช่น แผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับอาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ มาทำความรู้จักสาเหตุของอาการที่เรานำมาฝากกันเลย
- กรดในกระเพาะอาหาร: กรดในกระเพาะหลั่งออกมาช่วยย่อยอาหาร แต่หากกระเพาะมีปัญหาหรืออักเสบ เยื่อบุกระเพาะจะทนกรดไม่ไหว ทำให้เกิดแผลและอักเสบ
- การติดเชื้อ H. pylori: แบคทีเรีย Helicobacter Pylori (H. Pylori) ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ทั้งยังส่งผลให้แผลหายช้าหรือกลับมาเป็นซ้ำได้
- การใช้ยาแก้ปวด (NSAIDs): หากใช้ยาแก้ปวดบ่อยเกินไป เช่น แอสไพริน สามารถทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและทำให้เกิดการระคายเคืองได้
- พฤติกรรมการทานอาหาร: การทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือทานอาหารรสจัด เช่น อาหารเผ็ดและอาหารที่มีกรดสูงจะกระตุ้นให้กรดหลั่งมากเกินไปและทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดอาการอักเสบ
- ความเครียดและอารมณ์: ความเครียดจะเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการแสบร้อนหรือปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้
- การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์: การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหารและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผล
- การรับประทานยาสมุนไพรและอาหารเสริม: หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ยาสมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดอาจระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
อาการที่มักจะพบกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะมักทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวในหลาย ๆ ด้าน ทั้งปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ แสบท้องมากนอนไม่ได้จนทำให้ไม่สบายตัว หรือรู้สึกท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเป็นประจำและเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาภายในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้หากปล่อยอาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ไว้โดยไม่รักษา อาการเหล่านี้อาจทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยทรมานจากความเจ็บปวดและกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นการสังเกตอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที โดยอาการหลัก ๆ ที่มักพบในโรคกระเพาะอาหารมีดังนี้
- ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือช่องท้องส่วนบน: อาการปวดท้องกระเพาะนอนไม่ได้มักจะเกิดที่บริเวณลิ้นปี่ หรือเหนือสะดือ โดยบางครั้งอาจปวดเป็น ๆ หาย ๆ หรืออาจเกิดขึ้นนานหลายเดือนจนถึงปี
- อาการแสบท้องและจุกแน่น: ผู้ป่วยมักจะรู้สึกปวดแน่นท้อง หรือแสบร้อนในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาการนี้มักเกิดหลังจากรับประทานอาหาร หรือในบางครั้งอาจเกิดบ่อย ๆ ในตอนกลางคืน
- อาการปวดท้องเมื่อท้องว่างหรือก่อนมื้ออาหาร: โดยทั่วไปอาการปวดท้องกระเพาะนอนไม่ได้จะเกิดขึ้นเมื่อท้องว่าง หรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร และมักจะบรรเทาลงหลังจากทานอาหาร
- อาการปวดหลังมื้ออาหารหรือตอนกลางคืน: บางครั้งผู้ป่วยจะรู้สึกปวดท้องหลังจากทานอาหารรสจัด หรือเมื่อหลับไปแล้วในเวลากลางคืน ซึ่งอาการปวดอาจส่งผลให้ตื่นขึ้นมาและรบกวนการนอน
- ท้องอืดและอาหารไม่ย่อย: ผู้ป่วยอาจรู้สึกท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือมีลมในท้อง รวมถึงอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในโรคกระเพาะอาหาร
- น้ำหนักลดและเบื่ออาหาร: ในบางกรณีผู้ป่วยอาจน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีอาการเบื่ออาหารและรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหารได้
- อาการแสบร้อนกลางอกและการย่อยอาหารผิดปกติ: บางครั้งผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนกลางอก คล้ายกับกรดไหลย้อน หรือรู้สึกอาหารไม่ย่อย ซึ่งเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร
แยกให้ออก ปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้หรือปวดท้องโรคกรด
ไหลย้อน
หลายคนอาจสงสัยว่าโรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia) และโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นโรคเดียวกันไหม ด้วยอาการต่าง ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันซึ่งอาจทำให้บางครั้งผู้ป่วยปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้เกิดความสับสนว่าเป็นอาการของโรคใด แต่ในความจริงแล้ว ทั้งสองโรคนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และเพื่อให้ทุกคนสามารถแยกแยะโรคกระเพาะอาหารและโรคกรดไหลย้อนได้ ตลอดถึงสามารถเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง เราจึงได้รวบรวมข้อแตกต่างของสองโรคนี้มาฝาก ดังนี้
หัวข้อ | โรคกระเพาะอาหาร | โรคกรดไหลย้อน |
---|---|---|
สาเหตุหลัก | การอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหาร | การไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารขึ้นไปยังหลอดอาหาร |
การรับประทานอาหาร | ปวดท้องเกิดก่อนหรือหลังมื้ออาหาร รวมถึงเมื่อท้องว่าง | แสบร้อนหลังทานอาหาร 30-60 นาที หรืออาจเกิดตอนกลางคืน |
อาการหลัก | ปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ หรือมีอาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ | แสบร้อนบริเวณหน้าอกหรือลิ้นปี่ |
อาการที่พบร่วมด้วย | ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ หรืออาเจียน | เรอบ่อย รู้สึกเหมือนมีน้ำรสขมหรือรสเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นมาทางปาก |
ความรุนแรงของอาการ | อาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ และอาจทวีความรุนแรงขึ้นหากปล่อยไว้ | อาการแสบร้อนสามารถรบกวนการนอนหลับและอาจเกิดซ้ำหลังทานอาหาร |
การรักษาเบื้องต้น | รักษาด้วยการลดกรดในกระเพาะอาหาร หรือใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีติดเชื้อ | ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และใช้ยาลดกรด ยาลดการหลั่งกรด หรือยาอื่น ๆ ตามคำแนะนำของเภสัชกรและแพทย์ |
ชนิดของโรคกระเพาะอาหาร
อาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ หรือแสบท้องมากนอนไม่ได้จากโรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งยังสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล โรคกระเพาะอาหารชนิดมีแผล หรือแม้กระทั่งโรคชนิดร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติในระยะยาว ฉันนั้นเพื่อให้คุณสามารถเข้ารับการรักษาได้ตรงจุดยิ่งขึ้น การเข้าใจโรคกระเพาะอาหารแต่ละชนิดจึงเป็นสำคัญที่ควรใส่ใจ
โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล
โรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผลเป็นโรคกระเพาะอาการชนิดที่พบได้บ่อยมากที่สุด ซึ่งมักเกิดจากกรดในกระเพาะที่มากเกินไป หรือการบีบตัวที่ผิดปกติของกระเพาะ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter Pylori (H. Pylori) ส่งผลให้เกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบและมีอาการปวดท้องกระเพาะนอนไม่ได้หรือแสบท้องมากนอนไม่ได้ตามมา
โรคกระเพาะอาหารชนิดมีแผล
โรคกระเพาะอาหารชนิดมีแผลเป็นชนิดของโรคกระเพาะอาหารที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter Pylori (H. Pylori) หรือเกิดจากการใช้ยาแก้ปวดประเภทที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) อย่างแอสไพรินและยาต้านเกล็ดเลือด ซึ่งยาเหล่านี้มีผลให้เกิดการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร รวมถึงลำไส้เล็กส่วนต้นจนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้อย่างรุนแรงหรือเรื้อรัง
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
อีกหนึ่งชนิดของโรคกระเพาะอาหารที่มีความรุนแรงกว่าชนิดอื่น ๆ คือโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้น้อย แต่มักมาพร้อมกับอาการปวดท้องกระเพาะนอนไม่ได้ ซึ่งเกิดจากเซลล์มะเร็งที่เติบโตในกระเพาะอาหาร ทั้งยังสามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ ดังนั้นการทราบและเข้ารับวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจึงสำคัญมาก เพื่อให้การรักษาได้ผลดีมากที่สุด
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันอาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ !
แม้ว่าอาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้จะดูเหมือนโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการป้องกันและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง เกิดขึ้นซ้ำ หรือนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอย่างมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างระมัดระวังและรักษาสุขภาพให้ดีเพื่อป้องกันอาการปวดท้องกระเพาะนอนไม่ได้จะช่วยได้อย่างมาก โดยคุณสามารถเริ่มต้นได้
ง่าย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้
- กินอาหารให้เป็นเวลา: พยายามรับประทานอาหารในเวลาที่แน่นอน เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนักเกินไป
- อย่าปล่อยให้ท้องว่าง: หากรู้สึกหิว ควรรับประทานอาหารรองท้องด้วยนม น้ำเต้าหู้ หรือเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ส่งกระทบต่อกระเพาะอาหาร
- เลี่ยงการกินอาหารรสจัด: อาหารรสเผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัดสามารถกระตุ้นการหลังกรดในกระเพาะอาหารให้มากเกินไป ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารจึงควรหลีกเลี่ยง
- ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา: หากจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดหรือยาต้านการอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงผลจากยาเหล่านั้นที่อาจทำให้กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับที่เพียงพอช่วยให้กระเพาะอาหารและระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากสามารถทำให้กระเพาะอาหารระคายเคืองและอาจเป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่สามารถเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารและทำให้เกิดแผลได้ง่าย
- ผ่อนคลายความเครียด: การจัดการกับความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคกระเพาะอาหารเป็นอย่างดี
เผยแนวทางการรักษาและการบรรเทาอาการปวดท้องโรคกระเพาะ
นอนไม่ได้
นอกจากการป้องกันแล้ว หากคุณกำลังเผชิญกับอาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ หรือแสบท้องมากนอนไม่ได้ การรักษาโรคกระเพาะอาหารนั้นก็สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของการ ซึ่งคุณสามารถเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาอาการ ตลอดถึงป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้
การรักษาด้วยยา
หากคุณเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แพทย์มักจะมีการสั่งยาต่าง ๆ เช่น ยาลดกรดหรือยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจต้องมีการรับประทานติดต่อกันประมาณ 6-8 สัปดาห์เพื่อให้แผลหายดี นอกจากนี้หากคุณมีการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter Pylori (H. Pylori) แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
การปรับการใช้ยาต้านการอักเสบ
หากคุณเป็นแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แพทย์อาจมีการสั่งให้ปรับเปลี่ยนการใช้ยาจาก NSAIDs ไปเป็นยาแก้ปวดที่มีความเสี่ยงต่ำแทน เช่น พาราเซตามอล พร้อมกับการรับประทานยาลดกรดและยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร
การผ่าตัด
ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก เช่น มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กฉีกขาด การผ่าตัดจะเป็นอีกทางเลือกการรักษาที่สามารถป้องกัน
ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเกิดขึ้นอยู่การประเมินของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เห็นได้ว่าอาการปวดท้องโรคกระเพาะนอนไม่ได้ หรือแสบท้องมากนอนไม่ได้เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งการติดเชื้อ การใช้ยา การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือการทานอาหารที่มีกรดมากเกินไป ซึ่งอาการจากสาเหตุเหล่านี้นำมาซึ่งผลกระทบที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดจนเกิดคำถามว่าปวดท้องโรคกระเพาะนอนท่าไหนดี ดังนั้นหากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาปวดท้องกระเพาะนอนไม่ได้ ไม่ควรละเลยอาการหรือมองข้ามไป เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงและนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและรักษาอย่างถูกต้อง ตลอดถึงรู้จักดูแลตัวเองเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงในระยะยาว